แม่พระแห่งซีลูวา
Our Lady of
Siluva
ประเทศลิทัวเนีย
เป็นประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในยุโรปตะวันออกบนชายฝั่งของทะเลบอลติก
มีพรมแดนทางภาคเหนือติดกับประเทศลัตเวีย ทางภาคใต้และตะวันออกติดกับประเทศเบลารุส
และทางภาคตะวันตกติดกับประเทศโปแลนด์และรัสเซียบางส่วน ดั้งเดิมมานั้นลิทัวเนีบมิได้มีศาสนาใดๆ
กระทั้งในปี ค.ศ.1251
เมื่อเจ้าชายยากีลโล แห่ง ลิทัวเนีย ทรงเข้าพระราชพิธีเสกสมรสกับนักบุญเจดวิกา แห่ง
โปแลนด์ พระองค์และประชาชนก็ได้กลับใจมาเป็นคริสตชน
แต่เนื่องจากการโจมตีและปล้นสะดมของอัศวินทิวทอนิก ทำให้การแพร่ธรรมเกินการหยุดชะงัก กระทั้งในปี ค.ศ.1410
เมื่ออัศวินทิวทอนิกพ่ายแพ้ต่อพระเจ้าวีเตาตัสมหาราช
หลังจากนั้นที่ปรึกษาคนสนิทของพระเจ้าวีเตาตัส อันเป็นคริสตชนใจศรัทธานาม “เปตรัส
เกียดเกาดัส” ก็ได้สร้างวัดหลังแรกขึ้นที่ซีลูวาเพื่อถวายเกียรติแด่แม่พระบังเกิดในปี
ค.ศ.1457 ซึ่งหลังจากถวายวัดได้ไม่นานอัศจรรย์มากมายก็พลันบังเกิดขึ้น
จนทำให้วัดหลังนี้กลายเป็นที่แสวงบุญของบรรดาผู้ศรัทธาแม่พระที่หลังไหลมา
โดยเฉพาะในวันที่ 8
กันยายนของทุกปีคริสตชนลิทัวเนียจะพากันมายังที่นี่เพื่อร่วมฉลองแม่พระบังเกิดเสมอ
ต่อมาก็เกิดไฟไหม้บางส่วนของวัดในอีกสีสิบปีต่อมา
จึงมีการสร้างวัดหลังที่สองขึ้นในปี ค.ศ.1500 โดยอันดิว ซาวีซา ผู้รับมรดกต่อจากเปตรัส ณ ตรงนี้ ขอกล่าวกับมาถึงพระรูปภายในวัดอันเป็นไอคอนลักษณะแบบแม่พระแห่งหนทาง
มีลักษณะคล้ายๆกับพระรูปแม่พระผู้พิทักษ์ชาวโรมัน ที่ประดิษฐานอยู่ที่มหาวิหารซานตา มารีอา มาจจอเร่ กรุงโรม
ตามตำนานเล่าว่าพระรูปที่วัดซีลูวานี้ถูกนำมาจากโรมเพื่อเป็นของขวัญแก่เปตรัส เกียดเกาดัสในปี ค.ศ. 1457
แต่แล้วเมฆฝนครั้งยิ่งใหญ่ก็ได้มาเยือนยังสักการสถานอันศักดิ์สิทธิ์นี้
เมื่อผู้ปกครองในพื้นที่เกิดกลับใจเป็นโปสแตสแตนต์นิกายคาลวินที่ร้อนรนเช่นเดียวกันกับบรรดาบุคคลชั้นสูงและปัญญาชนทั้งหลาย
ในปี ค.ศ.1532
ทำให้คริสตชนในซีลูวาเริ่มถูกเบียดเบียนจนที่สุดแล้ววัดก็ถูกยึดและถูกเปลี่ยนไปเป็นนิกายคาลวิน
ไม่เพียงเท่านั้นด้วยอิทธิพลของโปรแตสแตนต์ในสมัยนั้น ในปีเดียวกัน ยอห์น ซาวีซา
ทายาทของอินดิวพร้อมด้วยขุนนางลิทัวเนียก็ได้พร้อมใจกันหันไปเข้านิกายลูเธอร์ลัน
ซึ่งแม้เขาจะเป็นเจ้าของที่ดินของวัด
เขาก็หาได้ใยดีไม่
ตรงข้ามเขาได้สร้างโบสถ์นิกายลูเธอร์ลันขึ้นไม่ห่างจากวัดหลังนี้เท่าไรนัก หากมองกลับไป ณ ตอนนั้นซีลูวามิได้เป็นดินแดนคริสตังอีกต่อไปตรงข้ามมันกลายเป็นดินแดนของลูเธอร์ลันอันเข็มแข็งกระทั้งในปี
ค.ศ.1550 เมื่อมีนิกายคาลวินเริ่มเข้ามา ในปี ค.ศ.1551 ที่ดินผืนนี้ก็ตกเป็นของน้องชายของยอห์น
แต่ก่อนที่คริสตังจะหายไป
คุณพ่อเจ้าวัดองค์สุดท้ายในเวลานั้น ก็ได้รับการดลใจจากสวรรค์
คุณพ่อจึงตัดสินใจสร้างกล่องที่แข็งแรงมากๆขึ้น
แล้วบรรจุภาพไอคอนประจำวัด อุปกรณ์มิสซา และเอกสารที่พิสูจน์ว่าพระเจ้าวีเตาตัสมหาราชได้ถวายที่ดินนี้แก่พระศาสนจักรไว้ในกล่องนั้น
ก่อนปิดผนึกและนำไปฝังไว้ใกล้ๆโขดหินขนาดใหญ่ อันเป็นช่วงเวลาสั้นๆก่อนที่วัดหลังนี้จะถูกยึดและถูกทำลายลงอย่างพอดิบพอดี
แต่กระนั้นอย่างไรก็ไม่มีใครรู้เลยว่ามันอยู่ที่ไหน
จนทีละนิด
ละนิด กาลเวลาก็ค่อยๆผ่านไปถึงแปดสิบปี
กลุ่มคริสตังก็ค่อยๆเลือนหายไปจากความทรงจำของทุกคน ยกเว้นคนเฒ่าคนแก่ที่ยังพอจำอย่างเลือนรางได้ว่าที่นี่เคยมีวัดคาทอลิก ทุกอย่างดำเนินต่อไปตามปกติบรรดาเยาวชนรุ่นต่อๆมาต่างถูกสอนตามความเชื่อลูเธอร์ลัน
กระทั้งวันหนึ่งในฤดูร้อน ปี ค.ศ.1608 ขณะบรรดาเด็กเลี้ยงแกกำลังเล่นกันอย่างสนุกสนานในเขตชานหมู่บ้านซีลูวา
ใกล้ๆกับก้อนหินขนาดใหญ่ๆติดกับป่า บนทุ่งหญ้าสีเขียว
พวกเขาต่างพาตะโกนโต้ตอบกันไปมาอย่างสนุกสนานตามประสาเด็กๆ
ทันใดนั้นเองพวกเขาก็ได้ยินเสียงคนร้องไห้ดังขึ้นมาและพบกับสตรีนางหนึ่งอุ้มทารกอยู่ในอ้อมแขนยืนอยู่บนก้อนหินใหญ่นั้น
สตรีนั้นช่างงดงาม แต่กำลังร้องไห้อย่างขมขื่นปานประหนึ่งใจจะขาด เธอเต็มไปด้วยความเศร้าโศกอย่างชัดเจน
เธอนั้นมิได้พูดอะไรกับพวกเขา คงทำเพียงมองไปยังพวกเขาด้วยความเศร้า หยดน้ำตามากมายพรั่งพรูออกจากสองตานั้นอาบสองแก้ม
บางกระเด็นตกสู่หินเบื้องล่าง
เธอสวมชุดที่พวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อนคือมีผ้าคลุมไหล่สีฟ้าและเสื้อคลุมสีขาว
ผมของเธอเป็นสีน้ำตาลยาวสลวยปรกไหล่ ทั้งเธอและทารกนั้นล้มอรอบไปด้วยแสงประหลาด
หลังจากนั้นเมื่อเด็กๆเหล่านั้นกลับไปบ้านพวกเขาก็เริ่มเล่าถึงเรื่องที่พวกเขาเห็นมาแก่ทั้งพ่อแม่และญาติๆ
หนึ่งในนั้นวิ่งไปเล่าเรื่องนี้ให้ศาสนาจารย์ฟัง
และด้วยปากต่อปากกันไปทำให้ในวันรุ่งขึ้นผู้คนก็ได้พากันแห่ไปยังที่สตรีนางนั้นปรากฏขึ้น
บ้างก็พากันไปเย้ยหยันกันเสียงดัง
แต่บ้างก็เชื่อเพราะบรรดาเด็กทุกคนต่างยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงทั้งน้ำตาอันซื่อๆ
ซึ่งแม้จะจับสอบสวนทั้งแยกและหมู่ทุกคนก็ต่างตอบตรงกันแม้ในรายละเอียดที่เล็กที่สุด
ศาสนาจารย์และอธิการโรงเรียนศาสนาจารย์นาม
ซาเลียโมนัส กรอซีอุส ก็ร่วมสังเกตการณ์ด้วย โดยศาสนาจารย์พยายามอธิบายว่าเป็นเรื่องหลอกเด็ก
เขาอธิบายว่าความจริงมันคือปีศาจที่ต้องการชักจูงออกจากการเป็นชาวคริสต์นิกายคาลวินนี้ และขณะที่เขากำลังพูดเช่นนี้นี่เอง
สตรีคนเดิมก็ได้ประจักษ์มาอีกครั้ง ณ จุดเดิม พร้อมทารกในอ้อมแขน
ด้วยน้ำตาแห่งความเศร้าในตาคู่นั้น เช่นเดียวกันกับเมื่อวาน ณ
จุดนี้สถานการณ์ตกอยู่ในความเงียบไม่มีใครกล้าแม้นจะปริปากด้วยความกลัวสุดชีวิต
คงมีแต่ศาสนาจารย์ที่พอรวบรวมความกล้าถามสตรีนั้นว่า
“เธอร้องไห้ทำไม” เธอจึงตรัสตอบเขาด้วยน้ำเสียงเศร้าสร้อยว่า “แต่เดิมมา ณ ที่แห่งนี้ พระบุตรของแม่ได้รับเกียรติและความเคารพ
แต่มาตอนนี้ลูกทุกคนต่างเอาเมล็ดมาหว่านและเพาะปลูกแทน” กล่าวเสร็จสตรีนั้นก็หายไปในทันที เหตุการณ์ครั้งนี้ทุกคนที่มา ณ
ที่นั่นต่างเห็นด้วยการทั้งสิ้น จึงไม่เป็นประโยชน์ที่ศาสนาจารย์จะปฏิเสธมัน
แต่อย่างไรเขาก็สรุปว่ามันคืออุบายของปีศาจ
เรื่องการประจักษ์นี้ลือไปถึงชายชราตาบอดวัยร้อยปีเศษในหมู่บ้านใกล้ๆ
ซึ่งทำให้เขานึกได้ว่าเขาเคยช่วยคุณพ่อเจ้าวัดองค์สุดท้ายของซีลูวาฝังกล่องที่บรรจุสมบัติล่ำค่าของวัดไว้ข้างก้อนหินเมื่อคืนหนึ่งในแปดสิบปีที่แล้ว
ดังนั้นเขาจึงขอให้ชาวบ้านช่วยพาไปที่นั่นเพื่อชี้จุด แต่ยังไม่ทันถึงสถานที่นั้น
ดวงตาอันมืดบอดของเขาก็ได้รับการรักษาให้หาย
มันทำให้เขาถึงกับต้องคุกเข่าลงด้วยความยินดีและความขอบพระคุณ
ดังนั้นเขาจึงสามารถชี้จุดได้อย่างแน่นอน และเมื่อทำการขุดก็พบกล่องนั้นจริงๆและเมื่อเปิดออกก็พบตามนั้นคือพระรูป
อุปกรณ์มิสซา และเอกสารต่างๆ
ซึ่งมีส่วนสำคัญในการต่อสู้ในชั้นศาลจนสามารถโอนที่ดินคืนมาได้ถึงจะใช้เวลานานนับ
10 ปี ก็ตาม วัดไม้หลังเล็กจึงเริ่มก่อรูปร่างขึ้นมา
นำไปสู่อัศจรรย์มากมาย จนถึงปี ค.ศ.1641 จึงได้มีการสร้างวัดขนาดใหญ่ขึ้นใหม่เพื่อรองรับจำนวนผู้แสวงบุญที่หลั่งไหลกันมายังที่นี่พร้อมโรงเรียนฟรีสำหรับเด็กในหมู่บ้าน หลังจากนั้นสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 6 ก็ได้ทรงประกาศรับรองการประจักษ์ครั้งนี้ในวันที่
17 สิงหาคม ค.ศ.1775
จำนวนความศรัทธาต่อพระรูปนี้นับวันยิ่งทวีขึ้นเรื่อยๆ
แต่ก็ต้องหยุดชะงักในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และการถูกปกครองโดยรัสเซีย
จนในปี ค.ศ.1905
เมื่อลิทัวเนียได้รับเอกราช ผู้คนกว่า 30,000 คนก็ได้พร้อมใจกันมาร่วมฉลองแม่พระอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้ง
ปัจจุบันวัดหลังปัจจุบันถูกสร้างในปี ค.ศ.1925 เหตุจากเกิดไฟไหม้วัดหลังเดิมที่เป็นศิลปะแบบเรเนซอง
จากนั้นในปี ค.ศ.2002 วัดแห่งนี้ก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิหารแม่พระบังเกิด
ส่วนจุดประจักษ์นั้นได้มีการสร้างวัดครอบไว้อีกหลัง
โดยวัดหลังปัจจุบันถูกสร้างขึ้น ค.ศ.1912 ในโอกาสครอบรอบ 300 ปี การประจักษ์ โดยมีลักษณะที่โดดเด่นมากๆ โดยส่วนหินที่แม่พระทรงประทับยืนนั้นถูกครอบด้วยพระแท่นไว้
ปัจจุบันเรายังสามารถมองเห็นหินนั้นได้จากทั้งสองด้านของพระแท่น
โดยผู้แสวงบุญที่นั่นนิยมเดินเข่ารอบพระแท่น ก่อนก้มจูบหินที่ยื้นออกมา สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น
ปอล ที่ 2 ก็ได้ทรงมีโอกาสเสด็จมาภาวนาที่นี่ด้วยเช่นกัน
ซีลูวา
กลายเป็น “ลูร์ดแห่งลิทัวเนีย” และ “ขุมทรัพย์อันยิ่งใหญ่ของลิทัวเนีย” ที่นี่พระแม่ได้ทรงนำบรรดาลูกแกะที่พลัดหายไปให้กลับคืนมา
แม่พระแห่งซีลูวาไม่ใช่เพียงแค่รูปภาพและวัด
แต่มากกว่านั้นแม่พระแห่งซีลูวาคือตัวแทนความเชื่ออันไม่มีที่สิ้นสุดของประเทศลิทัวเนีย
ในทุกๆเวลาๆ การประจักษ์ครั้งนี้ยืนยันถึงนามของพระแม่ที่ว่า แม่คือ “ราชินีประกาศก” อย่างแท้จริง และยืนยันว่าแม่ไม่เคยทิ้งเราไปไหน แม้น้องคนสุดท้องของพระศาสนจักรยุโรปอย่างลิทัวเนียก็ตาม
ที่ละทิ้งแม่ไปก็ตามสมนาม “แม่”
“ข้าแต่แม่พระแห่งซีลูวา ช่วยวิงวอนเทอญ”
ข้อมูลอ้างอิง