นักบุญเทเรซา
เบเนดิกตา แห่ง ไม้กางเขน
Saint Teresia Benedicta of the Cross
ฉลองในวันที่
: 9 สิงหาคม
องค์อุปถัมภ์
: มรณะสักขี
, การตายของบิดามารดา
, ทวีปยุโรป
,
วันเยาวชนโลก ,
ชาวยิวผู้กลับใจ
ทุกๆปีชาวยิวทั่วโลกจะพร้อมใจกันปฏิบัติวันลบมลทินบาป(Day of Atonement) ซึ่งพวกเขาถือถือว่าวันนี้เป็นวันปีใหม่
เป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้น เรียกว่า “รอชฮาชานา” แต่ในปี ค.ศ.1891 วันนี้ในปีนั่นจะเป็นวันที่โลกต้องจารึกว่า
นักปราชญ์แห่งศตวรรษที่ 20 ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในครอบครัวชาวยิวของนายซีกริด
สไตน์ ผู้ทำธุรกิจการค้าไม้ กับ นางเอากุสเต สไตน์ สองสามีภรรยาชาวยิวที่อาศัยอยู่ในเมืองเบรสเลา ในจักรวรรดิเยอรมันอันเกรียงไกร (ปัจจุบันคือเมืองวรอตสวัฟ จังหวัดโลว์เออร์ ไซลีเชีย
ประเทศโปแลนด์)
ผู้มีบุตรธิดาด้วยกันแล้วถึงสิบคน
12 ตุลามคม ค.ศ.1891 เป็นวันแห่งความปริติยินดีของครัวสไตน์ยิ่งนัก เมื่อทารกน้อยเพศหญิงได้ลืมตาขึ้นมาดูโลกในฐานะบุตรคนสุดท้องจากสิบเอ็ดคนขอครอบครัว
พวกเขาต่างเฉลิงฉลองให้กลับการเริ่มต้นใหม่ของปีและการเกิดของหนูน้อยที่ตอนนี้ได้ชื่อใหม่ว่า
“เอดิธ สไตน์” ไปพร้อมๆกัน แต่อนิจจาความสุขของครอบครัวก็อยู่ได้ไม่นาน เพราะขณะที่ท่านอายุได้ประมาณ 2 ปี บิดาของท่านก็ได้มาด่วนจากครอบครัวของท่านไป
ดังนั้นมารดาของท่านจึงเข้ามาสานต่อธุรกิจค้าไม้ของบิดาท่าน ในขณะเดียวกันก็คอยดูแลลูกๆของเธออีกเจ็ดคน (สี่คนเสียชีวิตตั้งแต่เด็ก) ด้วยความรัก ความอบอุ่นและความศรัทธาตามพระบัญญัติของพระเจ้า ที่ทรงประทานแด่โมเสส ซึ่งในเรื่องนี้ท่านได้ยกย่องมารดาของท่านว่าคือตัวอย่างที่มีชีวิตของสตรีแกร่งในพระธรรมสุภาษิต กระนั้นก็เถอะแม้บ้านของท่านจะอบอวลไปด้วยศรัทธาเพียงใดสุดแล้ว ที่สุดท่านก็ได้ละทิ้งจากความเชื่อดั้งเดิมที่บรรพชนของท่านสั่งสมมานานนับพันปี บัดนั้ท่านเชื่อว่าไม่มีพระเจ้าจอมฟ้าสวรรค์และแผ่นดิโนลกอีกต่อไปแล้ว
ดังนั้นมารดาของท่านจึงเข้ามาสานต่อธุรกิจค้าไม้ของบิดาท่าน ในขณะเดียวกันก็คอยดูแลลูกๆของเธออีกเจ็ดคน (สี่คนเสียชีวิตตั้งแต่เด็ก) ด้วยความรัก ความอบอุ่นและความศรัทธาตามพระบัญญัติของพระเจ้า ที่ทรงประทานแด่โมเสส ซึ่งในเรื่องนี้ท่านได้ยกย่องมารดาของท่านว่าคือตัวอย่างที่มีชีวิตของสตรีแกร่งในพระธรรมสุภาษิต กระนั้นก็เถอะแม้บ้านของท่านจะอบอวลไปด้วยศรัทธาเพียงใดสุดแล้ว ที่สุดท่านก็ได้ละทิ้งจากความเชื่อดั้งเดิมที่บรรพชนของท่านสั่งสมมานานนับพันปี บัดนั้ท่านเชื่อว่าไม่มีพระเจ้าจอมฟ้าสวรรค์และแผ่นดิโนลกอีกต่อไปแล้ว
หลังจากจบชั้นมัธยมในปี
ค.ศ.1913 แล้ว ท่านก็ได้เข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเมืองเบรสเลา
ในสาขาวิชาภาษาเยอรมันและประวัติศาสตร์ แม้วันจะเป็นเรื่องแบบ “ขนมปังกะเนย” (วลีนี้ความหมายประมาณว่าเรื่องพื้นฐาน) โดยผลประโยชน์ที่แท้จริงของท่านคือเรื่องปรัชญาและสิทธิ์ของสตรี
นอกจากนั้นท่านยังได้เข้าร่วมสมาคมปรัสเซียนเพื่อสิทธิของสตรี (the Prussian Society for Women's Franchise.) ท่านเขียนถึงช่วงนั้นว่า “เมื่อดิฉันอยู่ที่โรงเรียนและปีแรกของดิฉันในมหาวิทยาลัย ดิฉันเป็นผู้หญิงที่สนับสนุนเพศของตัวให้มีสิทธิออกเสียงแบบหัวรุนแรง จนจากนั้นดิฉันก็ได้สูญเสียความสนใจปัญหาทั้งสิ้น
ตอนนี้ดิฉันกำลังมองหา วจนปฏิบัติศาสตรการแก้ปัญหาอย่างหมดจด”
ต่อมาในปี ค.ศ.1913 ท่านก็ได้ย้ายไปอยู่เมืองเกิร์ทธิงเก้น เพื่อเข้ารับการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย
ภายใต้คำแนะนำจากเอ็ดมันด์ ฮุสเซิร์ล
ที่นั่นท่านเป็นทั้งนักเรียน
ผู้ช่วยสอนของเขาและเขาก็ยังได้กลายมาเป็นครูสอนพิเศษของท่านในภายหลังสำหรับปริญญาเอกและที่นั่นท่านก็ได้พบกับนักปรัชญาอีกท่านหนึ่ง
เขาผู้นั่นคือผู้ที่จุดประกายเรื่องคริสตังให้วิญญาณของท่าน เขาคือแม็กซ์ เชเลอร์ อย่างไรก็ตามท่านก็ไม่เคยลืมเรื่อง “ขนมปังกะเนย” และจบการศึกษาด้วยความโดดเด่นในเดือนมกราคม
ค.ศ.1915
“ดิฉันไม่มีชีวิตของตัวเองเลย” ท่านเขียนเมื่อท่านไปเป็นอาสาสมัครกาชาดที่โรงพยาบาลทหาร ในคราวที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุขึ้น มันเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากมากสำหรับท่าน
เพราะท่านมองเห็นผู้คนมากมายล้มตาย ขณะเดียวกันก็มีผู้ป่วยเข้ามาแทนเสมอมิได้ขาด
จนกระทั้งในปี ค.ศ.1916 ขณะที่โรงพยาบาลกำลังจะล้มละลาย
ท่านก็ได้ตัดสินใจติดตามฮุสเซิร์ลในฐานะผู้ช่วยของเขา ไปยังเมืองไฟรบวร์ก อิมไบรส์ ประเทศเยอรมันนี
ที่นั่นท่านเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยประจำเมืองและจบมาด้วยปริญญาเอกเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาปรัชญาในปี
ค.ศ.1917 จากวิทยานิพนธ์เรื่อง
“ปัญหาของการเอาใจใส่” ที่ท่านเขียนขึ้นเอง
ในช่วงเวลานี้เอง ท่านก็ได้เดินทางไปที่อาสนวิหารของเมืองแฟรงค์เฟิร์ต ณ ที่นั่น ท่านได้เห็นสตรีผู้หนึ่ง
หอบหิ้วตระกร้าสินค้าในมือ เดินเข้าในอาสนวิหารและคุกเข่าเพื่อภาวนาสั้นๆ
ท่านอธิบายถึงเรื่องนี้ว่า “สิ่งนี้เป็นสิ่งใหม่สำหรับดิฉัน ทั้งในธรรมศาลาและคริสตจักรโปเตสแตนส์ที่ดิฉันเคยไปเยือนผู้คนก็แค่เข้าไปทำพิธี แต่ ณ ที่นี่ ดิฉันได้เห็นคนตรงออกมาจากตลาดที่วุ่นวายเข้าไปในโบสถ์อันว่างเปล่า
ราวกับว่าเธอกำลังจะไปพูดคุยอย่างสนิทสนมกับใครสักคน มันเป็นสิ่งที่ดิฉันไม่เคยลืมเลย” และในช่วงท้ายวิทยานิพนธ์ว่า “มีผู้คนที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่ฉับพลันที่เกิดขึ้นภายในพวกเขาและตัวพวกเขาเป็นผลมาจากพระหรรษทานของพระเจ้า”
ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน
ค.ศ.1917 ท่านได้แวะกลับไปยังเมืองเกิร์ทธิงเก้น
เพื่อเยี่ยมภรรยาเพื่อนท่านที่ตอนนี้การเป็นหม้ายเพราะเพื่อนท่านได้สิ้นใจลง ในครั้งแรกท่านรู้สึกไม่สบายใจที่ต้องพูดคุยกับภรรยาหม้ายของเพื่อน แต่ท่านก็ต้องแปลกใจ เมื่อท่านพบความจริงว่าเธอคือสตรีใจศรัทธา “นี่คือการเผชิญหน้ากันครั้งแรกของดิฉันกับไม้กางเขนและพระฤทธานุภาพอันได้มอบไว้แด่ผู้ที่น้อมรับมัน …..
มันเป็นช่วงที่ความไม่เชื่อของดิฉันได้พังทลายลงและพระคริสตเจ้าทรงเริ่มทอแสงมายังดิฉัน–พระคริสตเจ้าในธรรมล้ำลึกแห่งไม้กางเขน” ใช่แล้ว ในตอนนี้พระเจ้าได้ทรงสาดแสงแห่งพระเมตตาลงที่ดวงใจของท่านแล้ว
ด้วยพระเมตตาขององค์ พระองค์ทรงเปลี่ยนดวงใจที่เคยทิ้งและเฉยฉาพระองค์ไปให้กลับมาแนบชิดกับพระองค์อีกครั้งหนึ่งแล้ว
จงดูเถิดพี่น้องว่าพระเมตตาของพระเจ้าทรงกระทำได้ทุกสิ่ง
ฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ.1918 ท่านได้ไปงานเป็นผู้ช่วยสอนฮุสเซิร์ล
ทั้งที่ในความจริงท่าต้องการทำงานอิสสระ มันไม่เป็นความจริงจนกระทั้งปี ค.ศ.1930 ท่านจึงได้พบเขาภายหลังจากที่ท่านรับศีลล้างบาปแล้ว ทุกคนย่อมมีความฝันใช่ไหมละ
ไม่ว่าจะหญิงหรือชายก็มีเหมือนกัน ท่านก็ด้วย ท่านใฝ่ฝันที่จะเป็นศาสตราจารย์
อันเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้สำหรับผู้หญิงสมัยนั้น
ฮุสเซิร์ลได้เขียนถึงเรื่องนี้ในเอกสารอ้าอิงว่า “หากอาชีพนักวิชาการเปิดโอกาสให้สตรี
ข้าพเจ้าก็จะเสนอชื่อเธออย่างเต็มใจและทำนองเดียวกันเธอคือตัวเลือกแรกของข้าพเจ้าสำหรับตำแหน่งศาสตราจารย์” แต่ท้ายที่สุดท่านก็ถูกปฏิเสธเพียงเพราะท่านเป็นชาวยิว
หลังจากนั้นท่านก็ได้กลับบ้านเกิดของท่าน
และที่นั่นท่านได้อ่านพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่
, เคียร์เคอกอร์ และหนังสือที่เขียนโดยนักบุญอิกญาซิโอ
ซึ่งท่านตระหนักดีว่าท่านในขณะที่อ่าน ท่านมิได้อ่านเพียงเพราะชอบ
แต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องทำอย่างนั้นจริงๆ
ท่านใช้เวลาหลายอาทิตย์ในฤดูร้อนปี
ค.ศ.1921
ในเบิร์กซาเบิร์น (Bergzabern) บนที่ดินของสุภาพสตรีนามเฮ็ดวิก คอนราด-มาร์ทิอัส (Hedwig
Conrad-Martius) เธอเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของฮุสเซิร์ลเช่นกัน
ภายหลังเธอตัดสินใจหันไปนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปเตสแตนส์ตามสามีของเธอ ณ
ที่นั่นในเย็นวันหนึ่งท่านได้หยิบหนังสือประวัตินักบุญเทเรซาแห่งอาวิลลาขึ้นมาอ่านและอ่านมันต่อตลอดทั้งคืน
เมื่ออ่านจบท่านถึงพูดกับตัวเองขึ้นว่า “นี่สิความจริง”
และต่อมาเมื่อท่านมองชีวิตของท่านย้อนไปท่านก็เขียนว่า “ความปรารถนาของดิฉันสำหรับความจริงก็คือการีสวดภาวนาเพียงอย่างเดียว”
ดังนั้นด้วยเหตุนี้
ด้วยหนังสือเล่มนั้น หนังสือที่มีชื่อว่า “ชีวิต” ที่นักบุญเทเรซาแห่งอาวิลลาเป็นผู้เขียนขึ้น
ก็ทำให้นักปรัชญาหญิงกลับใจรับศีลล้างบาป
เป็นสมาชิกของพระศาสนจักรคาทอลิกหลังจากที่ได้ดำเนินชีวิตตามลัทธิอเทวนิยมมาเป็นเวลานาน ในวันที่ 1
มกราคม ค.ศ.1922 ณ วัดนักบุญมาร์ติน ในชุดแต่งงานสีขาวของเอ็ดวิก
ท่านได้รับศีลล้างบาป โดยมีเฮ็ดวิก คอนราด เป็นแม่ทูนหัว
ณ
ตอนนี้ท่านทราบแล้วว่าพระเยซูเจ้าตอนนี้มิเพียงแทรกพระวรกายอยู่ที่จิตวิญญาณท่าน
แต่คือทรงแทรกพระวรกายของพระองค์เช่นกันในโลหิตของท่านด้วย วันฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหารปีเดียวกันองค์พระจิตเจ้าก็ได้ส่องสว่างลงมายังตัวท่านโดยผ่านการปรกมือของพระสังฆราชแห่งชไปเออร์ ณ โบสถ์ส่วนตัวของพระคุณเจ้า
หลังจากนั้นท่านก็ได้กลับเมืองเบรสเลาบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน ที่นั่นท่านได้ทักทายมารดาของท่านว่า
“คุณแม่ค่ะ หนูเป็นคาทอลิกแล้วค่ะ” ก่อนท่านและมารดาจะร้องไห้ออกมาพร้อมๆกัน
เป็นดังพระวาจาทีว่า “นี่แหละ ชาวอิสราเอลแท้
ในตัวเขาไม่มีอุบาย” (ยอห์น 1:47) พี่น้องที่รัก
ในพระวาจานี้พระเยซูเจ้าทรงได้ตรัสสอนเราว่าการที่เราจะเป็นประชากรของพรเป็นเจ้าได้นั้นเราต้องเป็นเฉกเช่นแก้วที่ใสสะอาด
ที่แม้จะมองมุมไหนก็ยังใสเช่นเดิม หากพี่น้องที่รักทำได้เช่นนี้แล้ว
พี่น้องทั้งหลายจึงจะสามารถเป็นชาวอิสราเอลที่พระเจ้าทรงเรียกว่าประชากรของพระเจ้าได้อย่างแน่แท้
ทันทีหลังจากที่ได้กลับมาแนบสนิทกับพระเจ้าแล้ว
ท่านก็มีความปรารถนาที่จะไปเป็นลูกสาวน้อยๆของนักบุญเทเรซาในอารามคาร์แมล
ท่านจึงนำเรื่องนี้ไปกล่าวแก่คุณพ่อจิตตราธิการ แต่ก็ถูกสั่งให้รอไปก่อน จนถึงวันสมโภชปัสกาปี
ค.ศ.1931
ด้วยเหตุนี้ระหว่างนั้นท่านจึงได้เข้าทำงานสอนวิชาประวัติศาสตร์และภาษาเยอรมันที่โรงเรียนของคณะภคินีโดมินิกันและที่วิทยาลัยครูของอารามนักบุญมักดาเลนในชไปเออร์
เช่นเดียวกับนักบุญทอมัส
อไควนัส ท่านก็แปลหนังสือ De Veritate หรือ บนความจริง เป็นภาษาเยอรมัน และเพื่อให้ได้รับพละกำลังเพื่อชีวิตและการทำงาน
ท่านมักจะไปที่อารามเบเนดิกตินในเบวรอน(Beuron) เพื่อร่วมงานสมโภชที่ยิ่งใหญ่ของปีในโบสถ์ และขุมพลังที่แท้จริงของท่านก็คือ
การฟังมิสซาและรับศีลมหาสนิททุกวัน ท่านเขียนบันทึกว่า “ชีวิตของสตรีผู้หนึ่ง จะมีชีวิตฝ่ายจิตที่มีความรักต่อพระอย่างแท้จริงได้ก็ต่อเมื่อเป็นชีวิตแห่งศีลมหาสนิท” และหนึ่งในนักเรียนของท่านให้การว่า “ภาพที่เธอสวดภาวนาทุกวันในมิสซานั้น
เหนือมิติธรรมชาติ ฉันจำคำพูดของเธอไม่ค่อยได้....
แต่สิ่งที่จำได้อย่างแน่ชัดคือภาพความสงบนิ่งของเธอ สิ่งที่เธอพูดสอนนั้น
เราอาจจำไม่ได้ แต่พวกเราจดจำสิ่งที่เธอเป็นอยู่ได้อย่างแม่นยำ”
“ถ้าผู้ใดมาหาดิฉัน ดิฉันก็ปรารถนานำพวกเขาไปหาพระองค์” ท่านทำเช่นนั้นจริง เมื่อท่านได้เข้ารับตำแหน่งอาจารย์ที่แผนกโรมันคาทอลิกของสถาบันเยอรมันเพื่อการวิจัยทางการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยของเมืองมุนสเตอร์ (the Roman Catholic division of the German Institute for
Educational Studies at the University of Munster) ในปี ค.ศ.1932 ด้วยการที่ท่านแสวงหาหนทางที่จะเป็น
"เครื่องมือของพระเจ้า" ในทุกสิ่งที่ท่านได้สอนไป และที่นั่นเช่นกันท่านได้พัฒนามานุษยวิทยาของท่าน
แต่เพียงปีเดียวหลังจากที่ท่านเข้าทำงาน
ท่านก็ต้องออกจากงาน เพราะ กฎหมายอารยันของพวกนาซี พวกที่ทำให้เยอรมันทั้งประเทศตกอยู่ในความมืดมิดตั้งแต่ปี
ค.ศ.1933 “ดิฉันเคยได้ยินมาตรการรุนแรงต่อต้านชาวยิวมาก่อน
แต่ตอนนี้มันเริ่มปรากฏขึ้นที่ดิฉันที่พระเจ้าได้ทรงวางพระหัตถ์ของพระองค์หนักหน่วงบนประชากรของพระองค์และว่าโชคชะตาของประชากรเหล่านี้คงจะเช่นเดียวกันกับดิฉัน
” และนอกจากนั้นท่านยังเขียนอีกว่า “ถ้าดิฉันไม่สามารถไปที่นี่
ก็ไม่มีใครอีกแล้วที่มีโอกาศใดๆ สำหรับดีิฉันในเยอรมัน” ท่านเขียน “ดิฉันได้กลายเป็นคนแปลกหน้าในโลกไปแล้ว”
ในตอนนี้อัครอธิการ(The
Arch-Abbot)
ของเบวรอนและวัลเซอร์ (Walzer)
ไม่ห้ามท่านเข้าอารามคาร์เมไลท์อีกแล้ว ท่านได้พบกับภคินีคาร์แมลที่โคโลญในปีเดียวกัน “กิจการของมนุษย์ไม่สามารถช่วยเราได้ มีแต่เพียงพระมหาทรมานของพระคริสตเจ้าเท่านั้นที่ช่วยได้
ความปรารถนาของดิฉันคือการส่วนในมัน” ซึ่งการเข้าอารามคณะคาร์เมไลท์ในครั้งนี้มิใช่เป็นการหลีกหนีภัย
แต่เป็นการไล่ตามกระแสเรียกของท่าน
หลังจากนั้นท่านก็ได้กลับไปบ้านเกิดของท่านเพื่ออำลามารดาและครอบครัวก่อนที่จะเข้าอาราม
ท่านอยู่ที่นั่นจนถึงวันเกิดของท่าน ท่านก็ได้เดินไปที่ศาลาธรรมกับมารดาท่าน “ทำไมลูกถึงรู้จักมันละ”มารดาของท่านเอ่ยขึ้นในวันสุดท้ายที่เธอจะได้เจอหน้าบุตรสาวของเธอ “แม่ไม่อยากจะพูดอะไรเกี่ยวกับเขา
เขาอาจจะเป็นคนดีมากก็จริงอยู่ แต่ทำไมเขาต้องกระทำตัวเองเป็นพระเจ้าเสียละ?” ทันทีมารดาของท่านก็เริ่มร่ำไห้
วันถัดมาท่านอยู่บนรถไฟไปแทนที่โคโลญ
ดวงใจของท่านในตอนนั้นแทนที่จะร่ำไห แต่มันกับเต็มไปด้วยสันติสุขของพระเจ้า
และหลังจากนี่ไปท่านก็คอยส่งจดหมายมาหามารดาของท่านเสมอ
แต่ทุกครั้งมารดาของท่านก็ไม่เคยตอบกลับมาเลย คงจะมีแต่จดหมายของพี่โรซาส่งมาบอกข่าวสารจากบ้านเกิดเพียงเท่านั้น
หลังจากที่มาถึงแล้วท่านก็ได้เข้าอารามแม่พระแห่งสันติภาพ
ในเมืองโคโลญและได้รับเสื้อคณะพร้อมชื่อใหม่ว่า “ภคินีเทเรซา เบเนดิกตา แห่ง ไม้กางเขน ” ในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ.1934 โดยมีอัครอธิการบิวรอนเป็นประธานในพิธีมิสซา
ท่านเขียนในปี ค.ศ.1938 ว่า “ดิฉันเข้าใจดีว่าไม้กางเขนเป็นโชคชะตาของประชากรของพระเจ้า
ซึ่งปรากฏชัดในเวลานี้(1933) ดิฉันรู้สึกว่าบรรดาผู้ที่เข้าใจในกางเขนของพระคริสตเจ้า
ควรจะรับแบกมันด้วยตัวของเขาเองในนามของทุกคน ถูกแล้วบัดนี้ดิฉันได้รู้ถึงความหมายของการสมรสกับองค์พระผู้เป็นเจ้าผ่านเครื่องหมายแห่งกางเขนเป็นอย่างดี
แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่มีทางหรอกเข้าใจมัน เพราะมันคือธรรมล้ำลึก” 21
เมษายน ค.ศ.1935 ท่านได้เข้าพิธีปฏิญาณตนชั่วคราวในระยะไล่ๆกับที่มารดาของท่านเสียชีวิต
และอีก
3 ปีต่อมา ในวันที่ 21 เมษายน ค.ศ.1938 ท่านก็ได้เข้าพิธีปฏิญาณตนตลอดชีวิต
และได้หยิบยืมวลีของนักบุญยอห์น แห่ง ไม้กางเขนมาหนึ่งวลีคือ “นับจากนี้ไปกระแสเรียกเดียวของข้าฯ
คือความรัก” มาพิมพ์ลงในรูปภาพสักการะของท่าน (her
devotional picture) หลังจากนั้นที่ท่านได้เป็นคาร์แมลโดยสมบูรณ์แล้ว
ท่านก็ได้เขียนหนังสือ “ความเที่ยงแท้และการเป็นนิรันดร์” (Finite and Eternal Be)
ท่านไม่ได้เข้าอารามเพื่อหนีโลก
แต่เพื่อวิงวอนเพื่อทุกคน ดั่งที่ท่านเขียนว่า “บรรดาผู้เป็นสมาชิกคณะคาร์เมไลท์มิได้ตัดญาติขาดมิตรของตัวเอง
แต่มีหน้าวิงวอนเพื่อพวกเขา เพราะนั่นคือกระแสเรียกของพวกเราคือการวอนขอพระเจ้าเพื่อทุกคน” โดยเฉพาะเพื่อบรรดาประชากรของท่าน “ดิฉันคิดเช่นเดียวกับราชินีเอสเธอร์ผู้ถูกนำตัวมาจากประชากรอันชอบธรรมของเธอ
เพราะองค์พระเจ้าประสงค์ให้เธอวอนขอกษัตริย์ในนามชนชาติของเธอ
ดิฉันเป็นเพียงคนยากไร้และไร้อำนาจเช่นเอสเธอร์น้อย แต่องค์กษัตริย์ผู้ได้เลือกดิฉันนั้นทรงไร้ขอบเขตและเปี่ยมพระเมตตา
นี่แหละคือการปลอบประโลมใจของดิฉัน”(31
ตุลาคม ค.ศ.1938)
แต่แล้วอยู่ๆในวันที่
9 พฤศจิกายน ค.ศ.1938 โศกนาฏกรรมการฆ่าล้างชาวยิวครั้งยิ่งใหญ่ของนาซี
ก็เปิดฉากขึ้น ชาวยิวมากมายถูกกวาดต้อนไปฆ่าอย่างเลือดเย็น
ชาวยิวที่เหลือก็ต่างตกอยู่ในความกลัว ศาลาธรรมอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวก็ถูกทำลายลงด้วยไฟ
ทำให้ตอนนั้นกำแพงที่สูงลิ่วของอารามที่เคยปลอดภัยสำหรับท่านที่เป็นยิว
กับไม่ปลอดภัยอีกต่อไปแล้ว ด้วยสาเหตุนี้เองทำให้ในคืนส่งท้ายปี
ค.ศ.1938 กลางหิมะสีขาวโพลน ท่านก็ถูกพาลักลอบข้ามพรมแดนเข้าไปลี้ภัยในอารามเมืองเอ็ค
จังหวัดลิมบูร์ก ประเทศเนเธอร์แลนด์
“แม้บัดนี้ดิฉันก็น้อมรับความตายที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมไว้ให้ในการยอมจำนนโดยสมบูรณ์และด้วยความยินดีที่ว่ามันคือพระประสงค์ของความบริสุทธิ์ยิ่งสำหรับดิฉัน
ดิฉันยังวอนขอพระเจ้าให้ทรงรับชีวิตและความตายเพื่อคารวะกิจและพระเกียรติมงคลของพระองค์
เพื่อภาระทั้งหมดของดวงพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าและดวงหทัยของพระนางมารีย์และพระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์
เป็นพิเศษเพื่อการธำรงอยู่ การทำให้ศักดิ์สิทธิ์
และความครบครันของคณะอันศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะอารามที่โคโลญและเอ็คในการชดเชยในนามชาวยิวและเพื่อให้องค์พระผู้เป็นเจ้าจะเป็นที่ยอมรับจากประชากรของพระองค์
และพระอาณาจักรของพระองค์จะมาในพระสิริรุ่งโรจน์ เพื่อความรอดของเยอรมันและสันภาพในโลก
ท้ายที่สุดเพื่อสมาชิกในครอบครัวของดิฉัน ทั้งที่ยังอยู่และสิ้นใจไปแล้ว และเพื่อผู้ที่พระเจ้าทรงประทานแก่ดิฉัน
: ไม่ให้แม้คนหนึ่งในพวกเขาหลงหายของดิฉันไว้กับพระองค์”
ช่วงนั้นเองที่สภาพระสังฆราชฮอลแลนด์ได้ออกประกาศ
ประณามการกระทำของกองทัพนาซีในระหว่างพิธีมิสซาวันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ.1942
ซึ่งเป็นเหมือนการเอาน้ำมันราดบนกองเพลิงชัดๆ เพราะหลังจากนั้นกองทหารนาซีก็ตอบโต้ด้วยการล้อมจับ
ผู้ที่มีเชื้อสายยิวในฮอลแลนด์ทุกคน ท่านก็ไม่พ้นการล้อมจับครั้งนี้
เพราะขณะที่บรรดาภคินีทั้งหลายในอารามรวมท่านและพี่โรซาของท่านซึ่งขณะนั้นทำงานรับใช้อยู่ในอารามกำลังอยู่ในวัดของอารามวันนั้นเป็นวันที่
2 สิงหาคาม ค.ศ.1942 ท่านซึ่งขณะนั้นกำลังเขียนหนังสือศาสตร์แห่งกางเขนและกำลังพยายามจะไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์และพี่สาวก็ถูกสั่งให้ไปรายงานตัวและถูกจับกุม “มา เราจะไปเพื่อประชาชนของพวกเรา” คำพูดสุดท้ายของท่านในอารามเอ็ค จ่าหน้าถึงพี่โรซา
หลังจากนั้นท่านก็ถูกส่งไปค่ายนรกเอาชวิตซ์ ในตอนเช้าของวันที่ 7 สิงหาคม ด้วยรถไฟ ซึ่งจำนวนชาวยิวที่ถูกส่งไปในครั้งนั้นมีจำนวนทั้งสิ้น 981 คน การเดินทางครั้งนี้ใช้เวลาประมาณสองวัน จึงมาถึงคุกนรกแห่งนี้ ในวันที่ 9 สิงหาคม ปีเดียวกัน ด้วยอายุ 50 ปี ท่านก็ได้ก้าวย่างเข้าไปสู่ห้องรมแก๊สอย่างอาจหาญและสิ้นใจด้วยการถูกแก๊สพิษ ณ ที่แห่งนั่น หลังจากนั้นร่างของท่านจึงถูกกำจัดด้วยการเผาไปพร้อมๆกับศพอื่น
แม้กายาจะม้วยมอดไป
แต่ความดีหาม้วยมอดไปตามกระแสเพลิงนั้นไม่
เพราะหลังจากการสอบสวนและผ่านการอนุมัติจากสมเด็จพระสันตะปาปา ในวันที่ 1 พฤษภาคม
ค.ศ.1987
ระหว่างการเยี่ยมโคโลญของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2
พระองค์ก็ได้ทรงประกอบพิธีมิสซาในวโรกาสสถาปนาท่านขึ้นเป็นบุญราศีมรณะสักขี
และหลังจากอัศจรรย์การรักษาเด็กหญิงผู้กินยาพาราเซตามอลเกินขนาด จนทำให้เนื้อเยื่อไตตาย
แต่โดยผ่านคำเสนอวิงวอนของท่าน ไม่นานสาวน้อยก็กลับมาสุขภาพสมบูรณ์เช่นเดิม
แพทย์ที่รักษาเธอยีนยันว่ามันคืออัศจรรย์
เป็นระยะเวลาถึง 11 ปีหลังจากที่ท่านได้รับการสถาปนาเป็นบุญราศี ในวันที่
11 ตุลาคม ค.ศ.1998
ณ ลานหน้ามหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่สอง
ก็ได้ทรงสถาปนาท่านเป็นนักบุญนามเทเรซาองค์ที่ห้าของคณะคาร์เมไลท์ (นักบุญเทเรซาแห่งอาวิลลา , แห่งลิซิเออร์ , แห่งฟลอเรส , แห่งแอนดีส )
ชีวิตของท่านเต็มไปด้วยการแสวงหาสัจธรรมความจริงของชีวิต
ประดุจเดียวกับดอกทานตะวัน ที่จะหันหน้าของมันไปตามทิศทางของดวงอาทิตย์ “ผู้เเสวงหาพระปรีชาญาณจะไม่พินาศ” พระเจ้าทรงประทานปรีชาญาณแก่ยาโคบผู้รับใช้ของพระองค์ แก่อิสราเอล ประชากรที่ทรงรัก เพราะเหตุนี้ ปรีชาญาณจึงปรากฏบนแผ่นดิน มาอยู่กับมวลมนุษย์ แต่ขึ้นอยู่ว่ามนุษย์ผู้นั้นจะแสวงหาปรีชาญาณของพระเจ้าหรือไม่
นักบุญเทเรซา เบเนดิกตา แห่ง ไม้กางเขน
ได้แสดงให้เราเห็นว่าหากท่านไม่แสวงหาในช่วงแรกของชีวิตท่าน
ท่านก็คงจะไม่ได้พบกับพระเยซูเจ้าและคงจะไม่ได้เป็นนักบุญหรือคงดิ่งลงสู่เหวนรกเป็นแน่แท้
พี่น้องที่รักผู้ใดที่เเสวงหาพระปรีชาญาณบนพื้นโลกแล้วไซร้ ผู้นั้น ณ
เมืองสวรรค์เขาย่อมได้รับการขนานนามว่าเป็น “นักบุญ”
“ข้าแต่ท่านนักบุญเทเรซา เบเนดิกตา แห่ง ไม้กางเขน ช่วยวิงวอนเทอญ”
อ้างอิง