วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

"มารีอา เทเรซา" ชีวิตที่พลิกผัน



บุญราศีมารีอา เทเรซา แห่ง นักบุญโยเซฟ
Bl.Maria Therese of Saint Joseph
ฉลองในวันที่ : 20 กันยายน

ใกล้เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ในวันที่ 19 มิถุนายน ค..1855 ณ เมืองซานดูว์ ประเทศเยอรมนีปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโปแลนด์ จะเป็นวันที่โลกจะต้องจารึกว่า อนาคตนักบุญตัวน้อยๆได้ลืมตาดูโลกเป็นครั้งแรกในครอบครัวโปรเตสแตนต์นิกายลูเธอร์แลนของศิษยาภิบาลประจำเมืองนาม เฮอร์มันน์ เทรากอท เทาซ์เชอร์กับ มารีอา เปาลีน วาน เดน บ๊อชหญิงสาวผู้ทะนุถนอมความจงภักดีเป็นพิเศษต่อพระนางมารีย์ ดังนั้นเธอจึงตั้งนามบุตรสาวของเธอว่า อันนา มารีอา

ท่านเติบโตขึ้นมาในความสงบ พร้อมๆกับความก้าวหน้าในวิถีทางของพระเจ้า จนในปี ..1862 ท่านก็ได้ย้ายติดตามบิดามานดาของท่านไปอยู่เมืองอาร์นสวาลเด และกรุงเบอร์ลินในอีกสามปีถัดมา จากนั้นในระหว่างปี ค..1870 – ..1872 ในฐานะนักศึกษาท่านย้ายไปอยู่กับพี่ชายของท่าน โมราวิซเชน’  ในช่วงเวลานั้นเองที่ท่านเริ่มสงสัยในความเชื่อของท่านต่อลูเธอร์แลน


ต่อมาในปี ..1874 ท่านก็สูญเสียมารดาของท่าน ดังนั้นจึงต้องรับภาระงานในครัวเรือนเพิ่ม จนเมื่อบิดาของท่านสมรสใหม่อีกครั้งในปี ..1879  ท่านก็สามารถที่จะเริ่มอุทิศตัวเพื่อทำงานการกุศลและเหนือสิ่งอื่นใดคือการช่วยเหลือเยาวชนที่ถูกทอดทิ้ง กระทั้งในปี ค..1885 ขณะที่ท่านอายุได้ประมาณ 30 ปี ท่านก็ได้เข้าบริหารงานในสถาบันเพื่อผู้ป่วยโรคจิตในโคโลญ  ที่นั่นเองท่านได้เรียนรู้หลายเรื่องเกี่ยวกับคาทอลิกและได้รู้จักพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า


กระทั้งในที่สุดในวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ.1888 บนความไม่พอใจของบิดาท่าน ท่านก็ได้รับศีลล้างบาปเข้าเป็นคริสตังตามความปรารถนาของท่าน  และอีกหนึ่งเดือนต่อมาท่านจึงได้รับศีลมหาสนิทในวันที่ 8 ธันวาคม  ก่อนในปีต่อมาท่านก็ได้รับการเจิมด้วยน้ำมันแห่งศีลกำลัง ซึ่งจากการที่ท่านกลับใจเป็นคาทอลิกในครั้งนี้ส่งผลให้ท่านต้องถูกถอดถอนออกจางานโดยผู้บริหารสถาบันโปรเตสแตนและถูกบิดาของท่านเลิกสนับสนุนท่านจนทำให้ท่านไม่สามารถที่จะกลับบ้านไปหาบิดาของท่าน


ทำให้ในตอนนี้สภาพของท่านคือคนว่างงานและไม่มีที่อยู่อาศัย แต่กระนั้นในสถานการณ์เช่นนี้ท่านก็ได้รับความอนุเคราะห์จากภคินีคณะออกัสติเนี่ยน ที่ให้ที่พักพิงชั่วคราวแก่ท่านในอารามของพวกเขาในโคโลญ โดยในอารามท่านได้รับหน้าที่เป็นคนทำความสะอาดภายในอาราม  พักอยู่ในอารามได้ระยะหนึ่งท่านก็ตัดสินใจเดินทางไปยังกรุงเบอร์ลิน และภายหลังการอธิษฐานในตอนเช้าท่านก็ได้ข้อสรุปว่าท่านจะอุทิศตัวเพื่อเจ้าอย่างที่ท่านต้องการมานาน ยิ่งเมื่อท่านได้อ่านชีวประวัติของนักบุญเทเรซาแห่งอาวีลา ท่านก็ได้โอบกอดจิตวิญญาณการเรียนการสอนของคาเมไลท์ในทันทีเพราะมันเป็นความปรารถนาของท่านที่จะพบคณะใหม่เพื่อจะดำเนินงานเมตตาธรรม


และจากการทำงานที่อารามท่านจึงได้รับเงินมา 700 มาร์ค ดังนั้นในวันที่ 2 สิงหาคม ..1891 หลังจากได้รับความเห็นชอบของพระสังฆราช ‘บ้านนักบุญโยเซฟ’ จึงถูกตั้งขึ้นโดยท่าน ณ พาพเพลอาลลี 91 กรุงเบอร์ลิน เพื่อเป็นที่พักพิงของเด็กผู้ยากไร้ โดยในครั้งแรกท่านทำงานร่วมกับลูกจ้าง จนกระทั้งมีลูกจ้างหญิงหลายๆคนของท่านขอเข้าร่วมด้วยในปี ค..1893


ไม่นานหลังจากนั้นท่านก็เปิดบ้านหลังที่สองและเริ่มต้นการทำงานใหม่เพื่อประโยชน์ของพระสงฆ์ ครอบครัวและชาวอิตาลีที่อาศัยอยู่ในกรุงเบอร์ลิน และถึงแม้จะมีปัญหามากมายเพียงใดท่านก็ยังคงก้าวไปพร้อมกับความวางใจในพระเจ้าและเชื่อว่ามันคือการทดลองของพระองค์และจะไม่ยอมแพ้มัน ซึ่งการที่มีผู้หญิงอุทิศตัวมาช่วยงานมากขึ้น ท่านก็คิดที่จะตั้งคณะที่ดำเนินชีวิตตามกฎของคาร์เมไลท์และอุทิศตัวพลีกรรมเพื่อพระหฤทัย จนผ่านไปหลายปีแห่งการเรียนรู้และการติดต่อกับคณะคาร์เมไลท์  ในที่สุดท่านก็มาถึงเป้าหมาย “คณะคาร์เมไลท์แห่งพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า” ถูกตั้งในขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม ค..1891


และเพื่อการให้ได้รวมกับคณะคาร์เมไลท์แล้ว ในปี ค..1897 ท่านจึงยื่นเรื่องนี้ผ่านพระสังฆราชประจำสังฆมณฑลแต่พระคุณเจ้าก็ไม่อนุญาตคณะใหม่ของท่าน ทำให้ในปี ค..1899 ต้องมีการย้ายคณะชั่วคราวไปอยู่ที่เมืองซิททาร์ด ประเทศเนเธอร์แลนด์ จากนั้นไปยังเมืองมัลดอนในประเทศอังกฤษ ที่สุดแล้วในวันที่ 3มกราคม ค..1905  พระคาร์ดินัลฟรานซ์ ซาโตลลี ประมุขสังฆมณฑฟราสกาตีก็ได้ลงนามอนุมัติชคณะใหม่นี้อย่างเป็นทางการ พร้อมกันนี้ได้อนุญาตให้ทางคณะตั้งบ้านแม่และนวกะสถาน ที่ รอกกา ดิ ปาปา


หนึ่งปีถัดมาในวันที่ 3 มกราคม ด้วยวัย 50 ปี ท่านจึงได้เข้าพิธีปฏิญาณตนครั้งแรกพร้อมรับนามใหม่ว่าว่า ‘ภคินีมารีอา เทเรซา แห่ง นักบุญโยเซฟ’ และได้เข้าพิธีปฏิญาณตนตลอดชีพในวันที่ 3 มกราคม ค..1909 และอีกสิบห้าปีต่อมาจึงมีการย้ายบ้านแม่ของคณะกลับไปที่เมืองซิททาร์ด ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่นั่นท่านส่งเสริมให้มีการบำเพ็ญพรตและการขยายของคณะไปทั่วยุโรปและอเมริกาในปี ค..1912


ท่านได้เป็นตัวอย่างของความศักดิ์สิทธิ์ในความอ่อนน้อมถ่อมตนของคนในคณะ ท่านสมบูรณ์ด้วยคุณธรรมคริสตชนที่สมบูรณ์แบบ ในฐานะสาวกของพระเยซูเจ้าท่านเป็นผู้มอบความเชื่อที่เต็มไปด้วยพระกิตติคุณของพระเจ้าและมอบการศึกษาของวัด ส่วนความเชื่อของท่านนั้นหล่อเลี้ยงโดยการภาวนาและพระคัมภีร์ ท่านเชื่อฟังในพระประสงค์ของพระเจ้าและโบสถ์ ท่านอาบน้ำให้คนยากจนคนยากจน ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ภคินีของท่าน ท่านคอยให้คำปรึกษา ความช่วยเหลือ คำปลอบใจแก่ผู้ที่มีปัญหา  ท่านกระตุ้นจิตวิญญาณของบรรดาธิดาของท่านให้ปฏิบัติตามกฎ ให้มีความกระตือรือร้นในการแพร่ธรรมและมีความสามัคคีมีในหมู่คณะ


ขณะที่สถานการณ์เรียกร้องให้ท่านเป็นตัวอย่างท่านก็เป็นตัวอย่างของความอ่อนโยน ความเด็ดเดี่ยว ความสุภาพ ความเที่ยงตรง ความเมตตา ความมีไหวพริบและความกระตือรือร้น ทั้งหมดนำโดยความรักแท้จริง ทั้งพยายามที่จะสลักเสลาพระพักตร์ของพระเยซูเจ้าในตัวท่านและในตัวของบรรดาธิดาน้อยๆของท่าน ท่านพยายามชิดสนิทสนิทกับพระเจ้าด้วยการตกแต่งภายในจิตวิญญาณของท่านเช่นเดียวกับการที่ท่านทุมเทให้กับศีลมหาสนิท พระหฤทัยของพระเยซูเจ้า พระมารดาของพระผู้มาไถ่ นักบุญโยเซฟและนักบุญเทเรซาแห่งอาวิลลา

และตั้งแต่ที่ท่านชิดสนิทกับพระเยซูเจ้าเจ้าบ่าวของท่าน ท่านก็ได้เก็บดวงใจน้อยๆของท่านไว้จากสิ่งยั่วยวนภายนอกและจากความรักต่อสิ่งทางโลก เพราะท่านหวังที่จะมอบดวงใจนี้ให้แด่สุดที่รักของท่าน ท่านวางใจในพระองค์อย่างสิ้นสุดใจ แม้คราวที่คณะท่านตกอยู่ในสภาวะวิกฤตทางการเงินอย่างรุนแรง ท่านก็มิได้ละทิ้งความใจต่อพระองค์ ท่านกล่าวว่าหลังจากท่านจากไปแล้วทางคณะจะได้รับเงิน มันเป็นจริงเพราะหลังจาการรับใช้ผู้อื่นมาตลอดในที่สุดท่านก็ได้จากไปสงบด้วยวัย 83 ปี ในวันที่ 20 กันยายน ค..1938 ณ บ้านแม่ของคณะ

ร่างของท่านถูกฝังไว้ ณ บ้านแม่ของคณะ เมืองซิททาร์ด ประเทศเนเธอร์แลนด์ หลังการจากไปของท่านก็ได้มีการเปิดกระบวนการขอแต่งตั้งท่านเป็นบุญราศีและที่สุดหลังจากอัศจรรย์การรักษาโรคเชื้อราที่เท้าที่รุกรามมาหกสิบกว่าปี สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ก็ได้ทรงลงพระนางในเอกสารอนุมัติการประกาศแต่งตั้งคารวียะมารีอา เทเรซา แห่ง นักบุญโยเซฟ เป็นบุญราศี ดังนั้นจึงมีการจัดงานสถาปนาท่านเป็นบุญราศีขึ้นที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในวันที่ 13 พฤษภาคม ค..2006  ซึ่งการสถาปนานี้นับเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในเนเธอร์แลนด์


ท่านที่รักทั้งหลาย ถ้าพระเจ้าทรงรักเราทั้งหลายเช่นนี้ เราก็ควรจะรักซึ่งกันและกันด้วย(ยอห์น 4:11)  ชีวิตของท่านคือชีวิตคริสตชนที่แท้จริง เพราะขณะเดียวกับที่ท่านมอบความรักแด่พระเจ้าอย่างสิ้นสุดใจ ท่านก็ไม่ลืมที่จะมอบความรักแด่เด็กที่ยากจนและถูกทอดทิ้งผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง ผู้อพยพ โดยที่ท่านไม่แบ่งชนชั้น เชื้อชาติ ท่านมอบความรักให้เขาอย่างไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทนเลยซักนิด พี่น้องที่รักบุคคลใดรักพี่น้อง รักคนอื่นอย่างไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทน บุคคลนั้น แหละย่อมมีนามว่าประชากรของพระเจ้า


ข้าแต่ท่านบุญราศีมารีอา เทเรซา แห่ง นักบุญโยเซฟ ช่วยวิงวอนเทอญ

ข้อมูลอ้างอิง

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

"คุณแม่อิวพาเซีย" ตู้ศีลเคลื่อนที่




นักบุญอิวพาเซีย แห่งพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า
St.Euphrasia of the Sacred Heart of Jesus
ฉลองในวันที่ 29 สิงหาคม

นายเชรพูคาราน อันโตนี กับ นางคูทเจตี เอลูวาทิทกาล ป็นสองสามีภรรยาเจ้าของที่ดินผู้ร่ำรวย ที่ปลูกบ้านอยู่ที่หมู่บ้านคาทโทร (Kattoor) ใกล้เมืองทริสซู(Thrissur) รัฐเกรละ ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย เด็กหญิงโรl เอลูวาทิทกาล(Rose Eluvathingal) เป็นบุตรคนแรกของครอบครัวนั้น ท่านเกิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ.1877 และได้รับศีลล้างบาปตามนามนักบุญโรซาในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ.1877  ณ วัดพระมานดาแห่งคาร์เมล (the Mother of Carmel Church) ใน เอดาทูรูตี(Edathuruthy)

มารดาของท่านเป็นคนเคร่งศาสนา ดังนั้นเธอจึงคอยสอนไห้ท่านภาวนาและร่วมมิสซา นอกจากนั้นมารดาของท่านยังคอยเล่าเรื่องราวต่างๆโดยเฉพาะเรื่องของนักบุญโรซา แห่ง ลิมา ศาสนานามของท่าน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเติบโตขึ้นมาด้วยความปรารถนาที่จะรับทุกข์ทรมานเพื่อพระเยซูคริสต์เจ้าและจะรักษาพรหมจารีไว้ และจะทำทั้งหมดนี้ในที่เงียบสงบ ซ่อนเร้น ในช่วงระหว่างปีที่ท่านโตขึ้นท่านก็เริ่มตีตัวออกห่างจากทางโลกและเริ่มสนใจเรื่องวิญญาณ และที่อายุประมาณ 9 ปีแม่พระได้ทรงประจักษ์มาหาท่าน ซึ่งมันทำให้หลังจากนั้นท่านมุ่งมั่นที่จะไม่แต่งงานตลอดชีวิตให้พระเจ้าโดยการถวายตัวทั้งครบแด่พระองค์


 ที่วัยแรกรุ่น ท่านก็มีความต้องการที่จะเข้าคณะภคินีแห่งพระมานดาแห่งคาร์เมล (the Sisters of the Mother of Carmel) คณะพื้นเมืองแรกของสตรีที่ดำเนินชีวิตภายใต้กฎของคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้าชั้น 3 โดยคณะนี้ก่อตั้งโดยบุญราศีคูริอาคอส เอลีอาส ชาวารา กับ คุณพ่อเลโอโพลด์ เบคคาร์(Leopold Beccar)  แต่ฝั่งบิดาของท่านก็อยากให้ท่านเข้าพิธีวิวาห์กับชายหนุ่มที่ร่ำรวย ดังนั้นเขาจึงคัดค้าน

หลังจากนั้นตลอดสองปีต่อมาในการภาวนา พลีกรรม อดอาหาร จนถึงขั้นล้มป่วย แต่แทนที่ท่านจะจากไปน้องสาวของท่านกลับจากอย่างกะทันหันไปแทน ด้วยเหตุการณ์นี้ทำให้ดวงใจบิดาท่านเปลี่ยนไป เขาโทษตัวเองที่ไม่ยอมให้ท่านทำที่หวัง ดังนั้นเขาจึงอนุญาตให้ท่านเข้าอารามและเป็นคนพาท่านซึ่งขณะนั้นมีอายุ 10 ปีไปส่งยังอารามแม่ของคณะภคินีแห่งพระมารดาแห่งคาร์เมลในคูนามมาวู(Koonammavu) ในวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ.1888


Photobucket | blessed euphras
และถึงแม้ท่านจะมีความปรารถนาต่อชีวิตทางศาสนา แต่กระนั้นท่านก็ต้องประสพปัญหาด้านสุขภาพที่ต่างพากันโจมตีท่าน จนทำให้ต่อมาบรรดาภคินีทั้งหลายมีมติจะส่งท่านกลับบ้าน แต่ผ่านการประจักษ์มาของครอบครัวศักดิ์สิทธิ์แก่ท่าน ท่านก็ได้รับการรักษาอย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้ในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ.1897 ท่านก็ได้ไล่ตามเสียงเรียกของพระเจ้ามาอีกขั้นด้วยการเป็นโปสตุลันต์และได้รับผ้าคลุมศรีษะ  พร้อมศาสนานามใหม่ว่า อิวพราเซีย แห่งพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า

จากนั้นในวันที่ 10 มกราคม ค.ศ.1898 ท่านก็ได้เข้าเป็นนวกะ พร้อมกับได้รับการฝึกคุณธรรมของความนบนอบ ความเมตตาจิต ความสละ และเติบโตขึ้นมาในความศักดิ์โดยผ่านความช่วยเหลือของพระนางพรหมจารีมารีย์ ช่วงเวลาเดียวกันนั้นท่านก็ต้องถูกรังควานจากการเจ็บป่วย  การทดลอง แต่สุดท้ายหลังการทดลองจบลงท่านก็ได้รับความปิติยินดีในวิญญาณเป็นล้มพ้นเป็นเครื่องตอบแทน พี่น้องที่รักจงอย่ากลัวที่จะถูกทดลอง เพราะสิ่งตอบแทนที่ได้จากการทดลองนั้นแสนยิ่งใหญ่มันคือความปิติทางวิญญาณที่หากหาได้ในทางโลกไม่

วันที่ 24 พฤษาคม ค.ศ.1900 อารามเซนต์แมรี่ ก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในสถานที่ปัจจุบันคือสังฆมณฑลทริชูร์(Trichur) วันเดียวกันที่อารามแม่ก็มีพิธีปฏิญาณตนตลอดชีวิต หนึ่งในเจ้าสาวในวันนั้นคือท่านซึ่งเต็มไปด้วยความสุขที่ไม่อาจสรรหาคำใดๆมาบรรยายได้เลย



หลังจากจบพิธีปฏิญาณตนแล้ว ท่านก็ได้รับหน้าที่ให้เป็นผู้ช่วยของนวกะจารย์  และกลายมาเป็นนวกะจารย์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1904 – ค.ศ.1903 และถึงแม้ว่าสุขภาพของท่านจะอ่อนแอเพียงใด ท่านก็ได้แสดงออกถึงคุณธรรมความนบนอบ ความยากจน การใช่โทษบาป ความเชื่อฟังและการปล่อยไปให้เป็นไปตามน้ำพระทัยของพระเจ้า ให้เป็นที่ประจักษ์แก่เหล่านวกะที่ท่านสอน

แม้ว่าท่านจะอย่างอยู่เงียบๆ มีชีวิตที่ซ่อนเร้น ท่านก็ได้รับเลือกให้ไปเป็นคุณแม่อธิการของอารามเซนต์แมรี่ ที โอลลูร์ (Ollur) และเนื่องจากความอ่อนน้อมถ่อมตนอันลึกซึ่งของท่าน ท่านพบว่ามันยากที่จะยอมรับหน้าที่ใหม่นี้ได้ แต่หลังจากที่ท่านนำรูปปั้นพระหฤทัยมาตั้งไว้ที่ใจกลางอาราม ท่านก็ได้ถวายหน้าที่คุณแม่อธิการแด่พระหฤทัยอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระองค์ ท่านอยู่ในตำแหน่งนั้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1913 ค.ศ.1916 และอยู่ที่นั้นต่อไปอีก 48 ปี


การภาวนาคือลมหายใจของท่านในทุกๆที่ที่ท่านอยู่ ทำให้คนในท้องถิ่นต่างเรียกท่านว่า คุณแม่ภาวนา (Praying Mother) ส่วนภคินีในอารามจะเรียกท่านว่า ตู้ศีลเคลื่อนที่ (the mobile tabernacle) นอกจากนั้นท่านยังมีพระพรของคำแนะนำทางจิตวิญญาณ พระสังฆราชยอห์น เมนาเชรรี (Bishop John Menacherry) จึงสั่งให้ท่านเผยเกี่ยวกับชีวิตทางจิตวิญญาณของท่านแก่เขา ซึ่งเขาก็จดมันไว้ทุกตัวอักษรที่ท่านบอก

สถานที่ที่ท่านชอบไปใช่ส่วนใหญ่ของวันคือวัดประจำอาราม เพื่อเฝ้าศีลและเช่นกันท่านยังหล่อเลี่ยงความรัก ความภักดีต่อแม่พระ ด้วยเหตุผลนี้ท่านจึงกลายเป็นอัครสาวกโดยธรรมชาติของศีลมหาสนิทและสายประคำ นอกจากนั้นท่านยังทุ่มเทให้กับความรัก ท่านได้รับการปลอบประโลมจากองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ถูกตรึงกางเขน และความแข็งแรงของท่านก็มาจากพระเยซูเจ้า คู่หมั้นของท่านในพิธีแต่งงานแห่งจิตวิญญาณ  ท่านเป็นคนอ่นน้อมถ่อมตนที่จะยอมรับความทุกข์ ความเข้าใจผิด



ความชิดสนิทของท่านกับพระเยซูเจ้ามาจากฐานะของท่าน ที่จะให้ตัวของท่านเองแด่คนอื่น ท่านมอบความรักอันอ่อนโยนด้วยดวงใจที่บริสุทธิ์เยี่ยงมารดาแก่ทุกคนที่มาขอความช่วยเหลือ ท่านจะปลอบเขาด้วยข้อพระวรสารของพระเยซูเจ้าและวิงวอนเพื่อพวกเขา บางครั้งท่านก็ต้องรู้สึกทุกข์จาปัญหาของวัด ท่านทูลถวายการตัดกิเลส และการใช้โทษบาปของท่านสำหรับการกลับใจของคนนอกศาสนา และขอให้บรรดานวกะและเด็กๆ ร่วมกันภาวนาเพื่อพวกเขา

ท่านอธิษฐานอย่างร้อนรนต่อหน้าศีลมหาสนิทเพื่อพระสงฆ์และนักบวช และยังได้เสนอชีวิตของท่านเพื่อความรักของพระเจ้า ท่านปล่อยให้มันเป็นไปตามน้ำพระทัยของพระองค์และในที่สุดด้วยอาย 74 ปี ท่านก็ได้คืนชีวิตไปสู่อ้อมกอดของพระองค์ในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ.1952



หลังจากการจากไปของท่านแล้วหลายคนที่ท่านเคยช่วยเหลือเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ก็ต่างพากันมาวิงวอนที่หลุมศพของท่าน ในปี ค.ศ.1990 จึงมีการย้ายร่างของท่านไปไว้ในวัดของอาราม หลังจากเสนอเรื่องของท่านไปยังวาติกันในปี ค.ศ.2002 ก็ได้ประกาศให้ท่านเป็นข้ารับใช้พระเจ้า และคารวียะในวันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม ค.ศ.2006 และหลังจากอัศจรรย์การรักษาผ่านการเสนอวิงวอนของท่าน ในวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ.2006 ท่านก็ได้รับการสถาปนาเป็นบุญราศีองค์ที่ห้าของรัฐเกรละและองค์ที่หกของประเทศอินเดีย



นี่แหละเป็นบัญญัติของเรา คือให้ท่านทั้งหลายรักซึ่งกันและกัน เหมือนดังที่เราได้รักท่าน (ยอห์น 15:12) การที่เราจะเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์นั้น ไม่ใช้เพียงแค่เราศรัทธาอย่างเดียว แต่เราต้องเป็นเช่นตู้ศีลที่ใครทุกข์ใจแล้วมาหาเราก็จะพบสันตุสุขทางใจกลับไปเพราะเราจะมอบความรักให้เขาอย่างมิหวังสิ่งใดเช่นมารดมอบให้บุตร เช่นเดียวกันคุณแม่อิวพราเซียที่ต้อนรับทุกคนที่มาหาด้วยความรักเช่นมารดา คุณแม่เป็นดังตู้ศีลที่ยามเวลาเราทุกข์แล้วมาหาคุณแม่ คุณแม่ก็จะปลอบประโลมใจเราด้วยพระวาจาของพระเจ้า ด้วยความรักเช่นมารดาที่ไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทนเลย
นอกจากนั้นเราต้องเลียนแบบท่านที่การภาวนาคือลมหายใจ คุณแม่ภาวนาในทุกที่ที่คุณแม่อยู่ เราคริสตชนก็เช่นกันเพราะชีวิตคริสตชนก็คือการภาวนา หากปราศจากการภาวนาคริสตชนก็หาใช่คริสตชนไม่


ข้าแต่บุญราศีอิวพาเซีย แห่งพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า ช่วยวิงวอนเทอญ


ข้อมูลอ้างอิง

ทานตะวันแห่งเทือกเขาคาร์แมล "นักบุญเทเรซา เบเนดิกตา"



นักบุญเทเรซา เบเนดิกตา แห่ง ไม้กางเขน
Saint Teresia Benedicta of the Cross
ฉลองในวันที่ : 9 สิงหาคม
องค์อุปถัมภ์ : มรณะสักขี , การตายของบิดามารดา , ทวีปยุโรป , วันเยาวชนโลก , ชาวยิวผู้กลับใจ


ทุกๆปีชาวยิวทั่วโลกจะพร้อมใจกันปฏิบัติวันลบมลทินบาป(Day of Atonement) ซึ่งพวกเขาถือถือว่าวันนี้เป็นวันปีใหม่ เป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้น เรียกว่า รอชฮาชานา แต่ในปี ค..1891 วันนี้ในปีนั่นจะเป็นวันที่โลกต้องจารึกว่า นักปราชญ์แห่งศตวรรษที่ 20 ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในครอบครัวชาวยิวของนายซีกริด สไตน์ ผู้ทำธุรกิจการค้าไม้ กับ นางเอากุสเต สไตน์ สองสามีภรรยาชาวยิวที่อาศัยอยู่ในเมืองเบรสเลา ในจักรวรรดิเยอรมันอันเกรียงไกร (ปัจจุบันคือเมืองวรอตสวัฟ จังหวัดโลว์เออร์ ไซลีเชีย ประเทศโปแลนด์)  ผู้มีบุตรธิดาด้วยกันแล้วถึงสิบคน

12 ตุลามคม ค..1891 เป็นวันแห่งความปริติยินดีของครัวสไตน์ยิ่งนัก เมื่อทารกน้อยเพศหญิงได้ลืมตาขึ้นมาดูโลกในฐานะบุตรคนสุดท้องจากสิบเอ็ดคนขอครอบครัว พวกเขาต่างเฉลิงฉลองให้กลับการเริ่มต้นใหม่ของปีและการเกิดของหนูน้อยที่ตอนนี้ได้ชื่อใหม่ว่า เอดิธ สไตน์ไปพร้อมๆกัน แต่อนิจจาความสุขของครอบครัวก็อยู่ได้ไม่นาน เพราะขณะที่ท่านอายุได้ประมาณ 2 ปี บิดาของท่านก็ได้มาด่วนจากครอบครัวของท่านไป 



ดังนั้นมารดาของท่านจึงเข้ามาสานต่อธุรกิจค้าไม้ของบิดาท่าน ในขณะเดียวกันก็คอยดูแลลูกๆของเธออีกเจ็ดคน (สี่คนเสียชีวิตตั้งแต่เด็ก) ด้วยความรัก ความอบอุ่นและความศรัทธาตามพระบัญญัติของพระเจ้า ที่ทรงประทานแด่โมเสส  ซึ่งในเรื่องนี้ท่านได้ยกย่องมารดาของท่านว่าคือตัวอย่างที่มีชีวิตของสตรีแกร่งในพระธรรมสุภาษิต กระนั้นก็เถอะแม้บ้านของท่านจะอบอวลไปด้วยศรัทธาเพียงใดสุดแล้ว ที่สุดท่านก็ได้ละทิ้งจากความเชื่อดั้งเดิมที่บรรพชนของท่านสั่งสมมานานนับพันปี บัดนั้ท่านเชื่อว่าไม่มีพระเจ้าจอมฟ้าสวรรค์และแผ่นดิโนลกอีกต่อไปแล้ว

หลังจากจบชั้นมัธยมในปี ค.ศ.1913 แล้ว ท่านก็ได้เข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเมืองเบรสเลา ในสาขาวิชาภาษาเยอรมันและประวัติศาสตร์ แม้วันจะเป็นเรื่องแบบ ขนมปังกะเนย” (วลีนี้ความหมายประมาณว่าเรื่องพื้นฐาน) โดยผลประโยชน์ที่แท้จริงของท่านคือเรื่องปรัชญาและสิทธิ์ของสตรี นอกจากนั้นท่านยังได้เข้าร่วมสมาคมปรัสเซียนเพื่อสิทธิของสตรี (the Prussian Society for Women's Franchise.) ท่านเขียนถึงช่วงนั้นว่า เมื่อดิฉันอยู่ที่โรงเรียนและปีแรกของดิฉันในมหาวิทยาลัย ดิฉันเป็นผู้หญิงที่สนับสนุนเพศของตัวให้มีสิทธิออกเสียงแบบหัวรุนแรง จนจากนั้นดิฉันก็ได้สูญเสียความสนใจปัญหาทั้งสิ้น ตอนนี้ดิฉันกำลังมองหา วจนปฏิบัติศาสตรการแก้ปัญหาอย่างหมดจด

ต่อมาในปี ค..1913 ท่านก็ได้ย้ายไปอยู่เมืองเกิร์ทธิงเก้น เพื่อเข้ารับการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ภายใต้คำแนะนำจากเอ็ดมันด์ ฮุสเซิร์ล  ที่นั่นท่านเป็นทั้งนักเรียน ผู้ช่วยสอนของเขาและเขาก็ยังได้กลายมาเป็นครูสอนพิเศษของท่านในภายหลังสำหรับปริญญาเอกและที่นั่นท่านก็ได้พบกับนักปรัชญาอีกท่านหนึ่ง เขาผู้นั่นคือผู้ที่จุดประกายเรื่องคริสตังให้วิญญาณของท่าน เขาคือแม็กซ์ เชเลอร์  อย่างไรก็ตามท่านก็ไม่เคยลืมเรื่องขนมปังกะเนยและจบการศึกษาด้วยความโดดเด่นในเดือนมกราคม ค..1915 

ดิฉันไม่มีชีวิตของตัวเองเลย ท่านเขียนเมื่อท่านไปเป็นอาสาสมัครกาชาดที่โรงพยาบาลทหาร ในคราวที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุขึ้น มันเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากมากสำหรับท่าน เพราะท่านมองเห็นผู้คนมากมายล้มตาย ขณะเดียวกันก็มีผู้ป่วยเข้ามาแทนเสมอมิได้ขาด จนกระทั้งในปี ค..1916 ขณะที่โรงพยาบาลกำลังจะล้มละลาย ท่านก็ได้ตัดสินใจติดตามฮุสเซิร์ลในฐานะผู้ช่วยของเขา ไปยังเมืองไฟรบวร์ก อิมไบรส์ ประเทศเยอรมันนี ที่นั่นท่านเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยประจำเมืองและจบมาด้วยปริญญาเอกเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาปรัชญาในปี ค..1917 จากวิทยานิพนธ์เรื่อง ปัญหาของการเอาใจใส่ ที่ท่านเขียนขึ้นเอง


ในช่วงเวลานี้เอง ท่านก็ได้เดินทางไปที่อาสนวิหารของเมืองแฟรงค์เฟิร์ต ณ ที่นั่น ท่านได้เห็นสตรีผู้หนึ่ง หอบหิ้วตระกร้าสินค้าในมือ เดินเข้าในอาสนวิหารและคุกเข่าเพื่อภาวนาสั้นๆ ท่านอธิบายถึงเรื่องนี้ว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งใหม่สำหรับดิฉัน ทั้งในธรรมศาลาและคริสตจักรโปเตสแตนส์ที่ดิฉันเคยไปเยือนผู้คนก็แค่เข้าไปทำพิธี แต่ ณ ที่นี่ ดิฉันได้เห็นคนตรงออกมาจากตลาดที่วุ่นวายเข้าไปในโบสถ์อันว่างเปล่า ราวกับว่าเธอกำลังจะไปพูดคุยอย่างสนิทสนมกับใครสักคน มันเป็นสิ่งที่ดิฉันไม่เคยลืมเลย และในช่วงท้ายวิทยานิพนธ์ว่า มีผู้คนที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่ฉับพลันที่เกิดขึ้นภายในพวกเขาและตัวพวกเขาเป็นผลมาจากพระหรรษทานของพระเจ้า

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค..1917 ท่านได้แวะกลับไปยังเมืองเกิร์ทธิงเก้น เพื่อเยี่ยมภรรยาเพื่อนท่านที่ตอนนี้การเป็นหม้ายเพราะเพื่อนท่านได้สิ้นใจลง ในครั้งแรกท่านรู้สึกไม่สบายใจที่ต้องพูดคุยกับภรรยาหม้ายของเพื่อน  แต่ท่านก็ต้องแปลกใจ เมื่อท่านพบความจริงว่าเธอคือสตรีใจศรัทธา นี่คือการเผชิญหน้ากันครั้งแรกของดิฉันกับไม้กางเขนและพระฤทธานุภาพอันได้มอบไว้แด่ผู้ที่น้อมรับมัน ….. มันเป็นช่วงที่ความไม่เชื่อของดิฉันได้พังทลายลงและพระคริสตเจ้าทรงเริ่มทอแสงมายังดิฉันพระคริสตเจ้าในธรรมล้ำลึกแห่งไม้กางเขน ใช่แล้ว ในตอนนี้พระเจ้าได้ทรงสาดแสงแห่งพระเมตตาลงที่ดวงใจของท่านแล้ว ด้วยพระเมตตาขององค์ พระองค์ทรงเปลี่ยนดวงใจที่เคยทิ้งและเฉยฉาพระองค์ไปให้กลับมาแนบชิดกับพระองค์อีกครั้งหนึ่งแล้ว จงดูเถิดพี่น้องว่าพระเมตตาของพระเจ้าทรงกระทำได้ทุกสิ่ง


ฤดูใบไม้ร่วง ..1918 ท่านได้ไปงานเป็นผู้ช่วยสอนฮุสเซิร์ล ทั้งที่ในความจริงท่าต้องการทำงานอิสสระ มันไม่เป็นความจริงจนกระทั้งปี ค..1930 ท่านจึงได้พบเขาภายหลังจากที่ท่านรับศีลล้างบาปแล้ว ทุกคนย่อมมีความฝันใช่ไหมละ ไม่ว่าจะหญิงหรือชายก็มีเหมือนกัน ท่านก็ด้วย ท่านใฝ่ฝันที่จะเป็นศาสตราจารย์ อันเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้สำหรับผู้หญิงสมัยนั้น ฮุสเซิร์ลได้เขียนถึงเรื่องนี้ในเอกสารอ้าอิงว่า หากอาชีพนักวิชาการเปิดโอกาสให้สตรี ข้าพเจ้าก็จะเสนอชื่อเธออย่างเต็มใจและทำนองเดียวกันเธอคือตัวเลือกแรกของข้าพเจ้าสำหรับตำแหน่งศาสตราจารย์ แต่ท้ายที่สุดท่านก็ถูกปฏิเสธเพียงเพราะท่านเป็นชาวยิว

หลังจากนั้นท่านก็ได้กลับบ้านเกิดของท่าน และที่นั่นท่านได้อ่านพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่  , เคียร์เคอกอร์ และหนังสือที่เขียนโดยนักบุญอิกญาซิโอ ซึ่งท่านตระหนักดีว่าท่านในขณะที่อ่าน ท่านมิได้อ่านเพียงเพราะชอบ แต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องทำอย่างนั้นจริงๆ  


ท่านใช้เวลาหลายอาทิตย์ในฤดูร้อนปี ค..1921 ในเบิร์กซาเบิร์น (Bergzabern) บนที่ดินของสุภาพสตรีนามเฮ็ดวิก คอนราด-มาร์ทิอัส (Hedwig Conrad-Martius) เธอเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของฮุสเซิร์ลเช่นกัน ภายหลังเธอตัดสินใจหันไปนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปเตสแตนส์ตามสามีของเธอ ณ ที่นั่นในเย็นวันหนึ่งท่านได้หยิบหนังสือประวัตินักบุญเทเรซาแห่งอาวิลลาขึ้นมาอ่านและอ่านมันต่อตลอดทั้งคืน เมื่ออ่านจบท่านถึงพูดกับตัวเองขึ้นว่า นี่สิความจริง  และต่อมาเมื่อท่านมองชีวิตของท่านย้อนไปท่านก็เขียนว่า ความปรารถนาของดิฉันสำหรับความจริงก็คือการีสวดภาวนาเพียงอย่างเดีย

 ดังนั้นด้วยเหตุนี้ ด้วยหนังสือเล่มนั้น หนังสือที่มีชื่อว่า ชีวิตที่นักบุญเทเรซาแห่งอาวิลลาเป็นผู้เขียนขึ้น ก็ทำให้นักปรัชญาหญิงกลับใจรับศีลล้างบาป เป็นสมาชิกของพระศาสนจักรคาทอลิกหลังจากที่ได้ดำเนินชีวิตตามลัทธิอเทวนิยมมาเป็นเวลานาน ในวันที่ 1 มกราคม ค..1922 ณ วัดนักบุญมาร์ติน ในชุดแต่งงานสีขาวของเอ็ดวิก ท่านได้รับศีลล้างบาป โดยมีเฮ็ดวิก คอนราด เป็นแม่ทูนหัว  ณ ตอนนี้ท่านทราบแล้วว่าพระเยซูเจ้าตอนนี้มิเพียงแทรกพระวรกายอยู่ที่จิตวิญญาณท่าน แต่คือทรงแทรกพระวรกายของพระองค์เช่นกันในโลหิตของท่านด้วย วันฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหารปีเดียวกันองค์พระจิตเจ้าก็ได้ส่องสว่างลงมายังตัวท่านโดยผ่านการปรกมือของพระสังฆราชแห่งชไปเออร์ ณ โบสถ์ส่วนตัวของพระคุณเจ้า



หลังจากนั้นท่านก็ได้กลับเมืองเบรสเลาบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน ที่นั่นท่านได้ทักทายมารดาของท่านว่า คุณแม่ค่ะ หนูเป็นคาทอลิกแล้วค่ะก่อนท่านและมารดาจะร้องไห้ออกมาพร้อมๆกัน เป็นดังพระวาจาทีว่า นี่แหละ ชาวอิสราเอลแท้ ในตัวเขาไม่มีอุบาย (ยอห์น 1:47)    พี่น้องที่รัก ในพระวาจานี้พระเยซูเจ้าทรงได้ตรัสสอนเราว่าการที่เราจะเป็นประชากรของพรเป็นเจ้าได้นั้นเราต้องเป็นเฉกเช่นแก้วที่ใสสะอาด ที่แม้จะมองมุมไหนก็ยังใสเช่นเดิม หากพี่น้องที่รักทำได้เช่นนี้แล้ว พี่น้องทั้งหลายจึงจะสามารถเป็นชาวอิสราเอลที่พระเจ้าทรงเรียกว่าประชากรของพระเจ้าได้อย่างแน่แท้

ทันทีหลังจากที่ได้กลับมาแนบสนิทกับพระเจ้าแล้ว ท่านก็มีความปรารถนาที่จะไปเป็นลูกสาวน้อยๆของนักบุญเทเรซาในอารามคาร์แมล ท่านจึงนำเรื่องนี้ไปกล่าวแก่คุณพ่อจิตตราธิการ แต่ก็ถูกสั่งให้รอไปก่อน จนถึงวันสมโภชปัสกาปี ค..1931 ด้วยเหตุนี้ระหว่างนั้นท่านจึงได้เข้าทำงานสอนวิชาประวัติศาสตร์และภาษาเยอรมันที่โรงเรียนของคณะภคินีโดมินิกันและที่วิทยาลัยครูของอารามนักบุญมักดาเลนในชไปเออร์


เช่นเดียวกับนักบุญทอมัส อไควนัส ท่านก็แปลหนังสือ De Veritate หรือ บนความจริง เป็นภาษาเยอรมัน และเพื่อให้ได้รับพละกำลังเพื่อชีวิตและการทำงาน ท่านมักจะไปที่อารามเบเนดิกตินในเบวรอน(Beuron)  เพื่อร่วมงานสมโภชที่ยิ่งใหญ่ของปีในโบสถ์ และขุมพลังที่แท้จริงของท่านก็คือ การฟังมิสซาและรับศีลมหาสนิททุกวัน ท่านเขียนบันทึกว่า ชีวิตของสตรีผู้หนึ่ง จะมีชีวิตฝ่ายจิตที่มีความรักต่อพระอย่างแท้จริงได้ก็ต่อเมื่อเป็นชีวิตแห่งศีลมหาสนิท” และหนึ่งในนักเรียนของท่านให้การว่า “ภาพที่เธอสวดภาวนาทุกวันในมิสซานั้น เหนือมิติธรรมชาติ ฉันจำคำพูดของเธอไม่ค่อยได้.... แต่สิ่งที่จำได้อย่างแน่ชัดคือภาพความสงบนิ่งของเธอ สิ่งที่เธอพูดสอนนั้น เราอาจจำไม่ได้ แต่พวกเราจดจำสิ่งที่เธอเป็นอยู่ได้อย่างแม่นยำ

ถ้าผู้ใดมาหาดิฉัน  ดิฉันก็ปรารถนานำพวกเขาไปหาพระองค์ ท่านทำเช่นนั้นจริง เมื่อท่านได้เข้ารับตำแหน่งอาจารย์ที่แผนกโรมันคาทอลิกของสถาบันเยอรมันเพื่อการวิจัยทางการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยของเมืองมุนสเตอร์ (the Roman Catholic division of the German Institute for Educational Studies at the University of Munster) ในปี ค.ศ.1932  ด้วยการที่ท่านแสวงหาหนทางที่จะเป็น "เครื่องมือของพระเจ้า" ในทุกสิ่งที่ท่านได้สอนไป และที่นั่นเช่นกันท่านได้พัฒนามานุษยวิทยาของท่าน  


แต่เพียงปีเดียวหลังจากที่ท่านเข้าทำงาน ท่านก็ต้องออกจากงาน เพราะ กฎหมายอารยันของพวกนาซี พวกที่ทำให้เยอรมันทั้งประเทศตกอยู่ในความมืดมิดตั้งแต่ปี ค.ศ.1933  ดิฉันเคยได้ยินมาตรการรุนแรงต่อต้านชาวยิวมาก่อน แต่ตอนนี้มันเริ่มปรากฏขึ้นที่ดิฉันที่พระเจ้าได้ทรงวางพระหัตถ์ของพระองค์หนักหน่วงบนประชากรของพระองค์และว่าโชคชะตาของประชากรเหล่านี้คงจะเช่นเดียวกันกับดิฉัน และนอกจากนั้นท่านยังเขียนอีกว่า ถ้าดิฉันไม่สามารถไปที่นี่ ก็ไม่มีใครอีกแล้วที่มีโอกาศใดๆ สำหรับดีิฉันในเยอรมันท่านเขียน ดิฉันได้กลายเป็นคนแปลกหน้าในโลกไปแล้ว

ในตอนนี้อัครอธิการ(The Arch-Abbot) ของเบวรอนและวัลเซอร์ (Walzer) ไม่ห้ามท่านเข้าอารามคาร์เมไลท์อีกแล้ว ท่านได้พบกับภคินีคาร์แมลที่โคโลญในปีเดียวกัน กิจการของมนุษย์ไม่สามารถช่วยเราได้ มีแต่เพียงพระมหาทรมานของพระคริสตเจ้าเท่านั้นที่ช่วยได้ ความปรารถนาของดิฉันคือการส่วนในมัน” ซึ่งการเข้าอารามคณะคาร์เมไลท์ในครั้งนี้มิใช่เป็นการหลีกหนีภัย แต่เป็นการไล่ตามกระแสเรียกของท่าน


หลังจากนั้นท่านก็ได้กลับไปบ้านเกิดของท่านเพื่ออำลามารดาและครอบครัวก่อนที่จะเข้าอาราม ท่านอยู่ที่นั่นจนถึงวันเกิดของท่าน ท่านก็ได้เดินไปที่ศาลาธรรมกับมารดาท่าน ทำไมลูกถึงรู้จักมันละมารดาของท่านเอ่ยขึ้นในวันสุดท้ายที่เธอจะได้เจอหน้าบุตรสาวของเธอ แม่ไม่อยากจะพูดอะไรเกี่ยวกับเขา เขาอาจจะเป็นคนดีมากก็จริงอยู่ แต่ทำไมเขาต้องกระทำตัวเองเป็นพระเจ้าเสียละ?” ทันทีมารดาของท่านก็เริ่มร่ำไห้

วันถัดมาท่านอยู่บนรถไฟไปแทนที่โคโลญ ดวงใจของท่านในตอนนั้นแทนที่จะร่ำไห แต่มันกับเต็มไปด้วยสันติสุขของพระเจ้า และหลังจากนี่ไปท่านก็คอยส่งจดหมายมาหามารดาของท่านเสมอ แต่ทุกครั้งมารดาของท่านก็ไม่เคยตอบกลับมาเลย คงจะมีแต่จดหมายของพี่โรซาส่งมาบอกข่าวสารจากบ้านเกิดเพียงเท่านั้น


 หลังจากที่มาถึงแล้วท่านก็ได้เข้าอารามแม่พระแห่งสันติภาพ ในเมืองโคโลญและได้รับเสื้อคณะพร้อมชื่อใหม่ว่า ภคินีเทเรซา เบเนดิกตา แห่ง ไม้กางเขน ในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ.1934 โดยมีอัครอธิการบิวรอนเป็นประธานในพิธีมิสซา ท่านเขียนในปี ค.ศ.1938 ว่า ดิฉันเข้าใจดีว่าไม้กางเขนเป็นโชคชะตาของประชากรของพระเจ้า ซึ่งปรากฏชัดในเวลานี้(1933) ดิฉันรู้สึกว่าบรรดาผู้ที่เข้าใจในกางเขนของพระคริสตเจ้า ควรจะรับแบกมันด้วยตัวของเขาเองในนามของทุกคน ถูกแล้วบัดนี้ดิฉันได้รู้ถึงความหมายของการสมรสกับองค์พระผู้เป็นเจ้าผ่านเครื่องหมายแห่งกางเขนเป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่มีทางหรอกเข้าใจมัน เพราะมันคือธรรมล้ำลึก” 21 เมษายน ค.ศ.1935 ท่านได้เข้าพิธีปฏิญาณตนชั่วคราวในระยะไล่ๆกับที่มารดาของท่านเสียชีวิต

และอีก 3 ปีต่อมา ในวันที่ 21 เมษายน ค.ศ.1938 ท่านก็ได้เข้าพิธีปฏิญาณตนตลอดชีวิต และได้หยิบยืมวลีของนักบุญยอห์น แห่ง ไม้กางเขนมาหนึ่งวลีคือ นับจากนี้ไปกระแสเรียกเดียวของข้าฯ คือความรัก มาพิมพ์ลงในรูปภาพสักการะของท่าน (her devotional picture) หลังจากนั้นที่ท่านได้เป็นคาร์แมลโดยสมบูรณ์แล้ว ท่านก็ได้เขียนหนังสือ ความเที่ยงแท้และการเป็นนิรันดร์ (Finite and Eternal Be)



ท่านไม่ได้เข้าอารามเพื่อหนีโลก แต่เพื่อวิงวอนเพื่อทุกคน ดั่งที่ท่านเขียนว่า บรรดาผู้เป็นสมาชิกคณะคาร์เมไลท์มิได้ตัดญาติขาดมิตรของตัวเอง แต่มีหน้าวิงวอนเพื่อพวกเขา เพราะนั่นคือกระแสเรียกของพวกเราคือการวอนขอพระเจ้าเพื่อทุกคน โดยเฉพาะเพื่อบรรดาประชากรของท่าน ดิฉันคิดเช่นเดียวกับราชินีเอสเธอร์ผู้ถูกนำตัวมาจากประชากรอันชอบธรรมของเธอ เพราะองค์พระเจ้าประสงค์ให้เธอวอนขอกษัตริย์ในนามชนชาติของเธอ ดิฉันเป็นเพียงคนยากไร้และไร้อำนาจเช่นเอสเธอร์น้อย แต่องค์กษัตริย์ผู้ได้เลือกดิฉันนั้นทรงไร้ขอบเขตและเปี่ยมพระเมตตา นี่แหละคือการปลอบประโลมใจของดิฉัน(31 ตุลาคม ค..1938)

แต่แล้วอยู่ๆในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1938 โศกนาฏกรรมการฆ่าล้างชาวยิวครั้งยิ่งใหญ่ของนาซี ก็เปิดฉากขึ้น ชาวยิวมากมายถูกกวาดต้อนไปฆ่าอย่างเลือดเย็น ชาวยิวที่เหลือก็ต่างตกอยู่ในความกลัว ศาลาธรรมอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวก็ถูกทำลายลงด้วยไฟ ทำให้ตอนนั้นกำแพงที่สูงลิ่วของอารามที่เคยปลอดภัยสำหรับท่านที่เป็นยิว กับไม่ปลอดภัยอีกต่อไปแล้ว ด้วยสาเหตุนี้เองทำให้ในคืนส่งท้ายปี ค.ศ.1938 กลางหิมะสีขาวโพลน ท่านก็ถูกพาลักลอบข้ามพรมแดนเข้าไปลี้ภัยในอารามเมืองเอ็ค จังหวัดลิมบูร์ก ประเทศเนเธอร์แลนด์

ที่นั่นท่านได้ใช่เวลาประพันธ์หนังสือที่บรรยายถึงการวิจัยเรื่องนักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขน หนังสือเล่มนั้นคือ ศาสตร์แห่งกางเขน” (The Science of the Cross) และได้เขียนพินัยกรรมของท่านเองในวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ.1939

แม้บัดนี้ดิฉันก็น้อมรับความตายที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมไว้ให้ในการยอมจำนนโดยสมบูรณ์และด้วยความยินดีที่ว่ามันคือพระประสงค์ของความบริสุทธิ์ยิ่งสำหรับดิฉัน ดิฉันยังวอนขอพระเจ้าให้ทรงรับชีวิตและความตายเพื่อคารวะกิจและพระเกียรติมงคลของพระองค์ เพื่อภาระทั้งหมดของดวงพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าและดวงหทัยของพระนางมารีย์และพระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์ เป็นพิเศษเพื่อการธำรงอยู่ การทำให้ศักดิ์สิทธิ์ และความครบครันของคณะอันศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะอารามที่โคโลญและเอ็คในการชดเชยในนามชาวยิวและเพื่อให้องค์พระผู้เป็นเจ้าจะเป็นที่ยอมรับจากประชากรของพระองค์ และพระอาณาจักรของพระองค์จะมาในพระสิริรุ่งโรจน์ เพื่อความรอดของเยอรมันและสันภาพในโลก ท้ายที่สุดเพื่อสมาชิกในครอบครัวของดิฉัน ทั้งที่ยังอยู่และสิ้นใจไปแล้ว และเพื่อผู้ที่พระเจ้าทรงประทานแก่ดิฉัน : ไม่ให้แม้คนหนึ่งในพวกเขาหลงหายของดิฉันไว้กับพระองค์


นอกเหนือจากนั้นท่านยังได้เขียน ชีวิตของครอบครัวชาวยิวจากเรื่องราวชีวิตจริงของครัวท่าน ดิฉันเพียงแค่ต้องการบันทึกสิ่งที่ดิฉันมีประสบการณ์ส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์ของชาวยิว ในเรื่องนี้ท่านได้ชี้ให้เห็นว่า พวกเราผู้ที่เติบโตขึ้นมาในศาสนายูดายมีหน้าที่จะต้องเป็นพยาน .... เพื่อคนหนุ่มสาวผู้ที่กำลังเติบโตขึ้นมาในความเกลียดชังทางเชื้อชาติจากวัยเด็ก


ช่วงนั้นเองที่สภาพระสังฆราชฮอลแลนด์ได้ออกประกาศ ประณามการกระทำของกองทัพนาซีในระหว่างพิธีมิสซาวันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ.1942 ซึ่งเป็นเหมือนการเอาน้ำมันราดบนกองเพลิงชัดๆ เพราะหลังจากนั้นกองทหารนาซีก็ตอบโต้ด้วยการล้อมจับ ผู้ที่มีเชื้อสายยิวในฮอลแลนด์ทุกคน ท่านก็ไม่พ้นการล้อมจับครั้งนี้ เพราะขณะที่บรรดาภคินีทั้งหลายในอารามรวมท่านและพี่โรซาของท่านซึ่งขณะนั้นทำงานรับใช้อยู่ในอารามกำลังอยู่ในวัดของอารามวันนั้นเป็นวันที่ 2 สิงหาคาม ค.ศ.1942 ท่านซึ่งขณะนั้นกำลังเขียนหนังสือศาสตร์แห่งกางเขนและกำลังพยายามจะไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์และพี่สาวก็ถูกสั่งให้ไปรายงานตัวและถูกจับกุม มา เราจะไปเพื่อประชาชนของพวกเรา คำพูดสุดท้ายของท่านในอารามเอ็ค จ่าหน้าถึงพี่โรซา


ท่านถูกส่งไปเมืองอัมเออร์สฟูร์ต(Amersfoort) และ เวสเทอร์บ็อร์ก(Westerbork) ท่านกล่าวว่า ฉันไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าผู้คนจะต้องประสบเช่นนี้ ไม่มีทางแน่ที่ฉันจะไม่รู้ว่าบรรดาพี่ชายน้องชายและพี่สาวน้องสาวของฉันต้องทรมานเช่นนี้ฉันสวดให้พวกเขาทุกชั่วโมง พระเจ้าจะทรงสดับคำภาวนาฉันไหม แน่นอนพระองค์ทรงได้ยินพวกเขาในความทุกข์ของพวกเขาเสมอ” ศาสตราจารย์ยัง โนตา ที่มาพร้อมท่าน เขียนในภายหลังว่า เธอเป็นประจักษ์พยานถึงการสำแดงองค์ของพระเจ้าในโลกที่พระเจ้าได้หายไป

หลังจากนั้นท่านก็ถูกส่งไปค่ายนรกเอาชวิตซ์ ในตอนเช้าของวันที่ 7 สิงหาคม ด้วยรถไฟ ซึ่งจำนวนชาวยิวที่ถูกส่งไปในครั้งนั้นมีจำนวนทั้งสิ้น 981 คน  การเดินทางครั้งนี้ใช้เวลาประมาณสองวัน จึงมาถึงคุกนรกแห่งนี้ ในวันที่ 9 สิงหาคม ปีเดียวกัน ด้วยอายุ 50 ปี ท่านก็ได้ก้าวย่างเข้าไปสู่ห้องรมแก๊สอย่างอาจหาญและสิ้นใจด้วยการถูกแก๊สพิษ ณ ที่แห่งนั่น หลังจากนั้นร่างของท่านจึงถูกกำจัดด้วยการเผาไปพร้อมๆกับศพอื่น 


แม้กายาจะม้วยมอดไป แต่ความดีหาม้วยมอดไปตามกระแสเพลิงนั้นไม่ เพราะหลังจากการสอบสวนและผ่านการอนุมัติจากสมเด็จพระสันตะปาปา ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ.1987  ระหว่างการเยี่ยมโคโลญของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 พระองค์ก็ได้ทรงประกอบพิธีมิสซาในวโรกาสสถาปนาท่านขึ้นเป็นบุญราศีมรณะสักขี และหลังจากอัศจรรย์การรักษาเด็กหญิงผู้กินยาพาราเซตามอลเกินขนาด จนทำให้เนื้อเยื่อไตตาย แต่โดยผ่านคำเสนอวิงวอนของท่าน ไม่นานสาวน้อยก็กลับมาสุขภาพสมบูรณ์เช่นเดิม แพทย์ที่รักษาเธอยีนยันว่ามันคืออัศจรรย์  เป็นระยะเวลาถึง 11 ปีหลังจากที่ท่านได้รับการสถาปนาเป็นบุญราศี ในวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ.1998 ณ ลานหน้ามหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่สอง ก็ได้ทรงสถาปนาท่านเป็นนักบุญนามเทเรซาองค์ที่ห้าของคณะคาร์เมไลท์ (นักบุญเทเรซาแห่งอาวิลลา , แห่งลิซิเออร์ , แห่งฟลอเรส , แห่งแอนดีส )


 ชีวิตของท่านเต็มไปด้วยการแสวงหาสัจธรรมความจริงของชีวิต ประดุจเดียวกับดอกทานตะวัน ที่จะหันหน้าของมันไปตามทิศทางของดวงอาทิตย์ ผู้เเสวงหาพระปรีชาญาณจะไม่พินาศ  พระเจ้าทรงประทานปรีชาญาณแก่ยาโคบผู้รับใช้ของพระองค์ แก่อิสราเอล ประชากรที่ทรงรัก เพราะเหตุนี้ ปรีชาญาณจึงปรากฏบนแผ่นดิน มาอยู่กับมวลมนุษย์ แต่ขึ้นอยู่ว่ามนุษย์ผู้นั้นจะแสวงหาปรีชาญาณของพระเจ้าหรือไม่ นักบุญเทเรซา เบเนดิกตา แห่ง ไม้กางเขน ได้แสดงให้เราเห็นว่าหากท่านไม่แสวงหาในช่วงแรกของชีวิตท่าน ท่านก็คงจะไม่ได้พบกับพระเยซูเจ้าและคงจะไม่ได้เป็นนักบุญหรือคงดิ่งลงสู่เหวนรกเป็นแน่แท้ พี่น้องที่รักผู้ใดที่เเสวงหาพระปรีชาญาณบนพื้นโลกแล้วไซร้ ผู้นั้น ณ เมืองสวรรค์เขาย่อมได้รับการขนานนามว่าเป็น นักบุญ


ข้าแต่ท่านนักบุญเทเรซา เบเนดิกตา แห่ง ไม้กางเขน ช่วยวิงวอนเทอญ

อ้างอิง

คือปัสกาของ 'การ์โลส มานูเอล' ตอนจบ

บุญราศีการ์โลส มานูเอล เซซิลิโอ โรดริเกซ ซันติอาโก Bl. Carlos Manuel Cecilio Rodríguez Santiago วันฉลอง: 13 กรกฎาคม และ 4 พฤษภาคม (ในปวยร์โต...