บุญราศีเอลิซาเบธ
แห่ง พระตรีเอกภาพ
Bl. Élisabeth
of the Trinity
ฉลองในวันที่ : 9 พฤศจิกายน
18
กรกฎาคม ค.ศ.1880 ช่างเป็นวันที่แสนดีอะไรอย่างนี้นะ
สำหรับครอบครัวเล็กๆในค่ายอาวอร (Avord)
ของกับตันโจเซฟ กับ นางมารี โรลอง กาเทส (Captain Joseph and Marie Rolland Catez) เพราะวันนี้พวกเขาได้ต้อนรับบุตรหัวปีเพศหญิงคนแรกของพวกเขา
หลังจากที่ทั้งสองต้องทนกังวลจากที่แพทย์ได้กล่าวว่าบุตรีคนแรกของพวกเขาอาจจะไม่รอด
สี่วันหลังจากนั้น
ในวันที่ 22
กรกฎาคม ค.ศ.1880 หนูน้อยได้รับศีลล้างบาปด้วยชุดสีขาวภายในอ้อมแขนมานดาของท่านในวัดประจำค่ายในนามว่า
“มารี เอลิซาเบธ โฌเซฟิน” โดยมีคุณตาเรย์มอง โรลอง(Raymond Rolland)และคุณยายแอน มาร์เกอริต โฌเซฟิน โรลอง (Anne Marguerite Joséphine Rolland) เป็นพ่อแม่ทูนหัว
เพียงสี่เดือนหลังจากที่ท่านเกิด
ในปี ค.ศ.1881
ครอบครัวของท่านก็ได้ย้ายมาอยู่ที่โอซอง (Auxonne) และ ดีฌง (Dijon) ในปี ค.ศ.1882 ที่นั่นมารดาของท่านแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีชีวิตเป็นของตัวเองเลย
เพราะมัวแต่วุ่นอยู่กับท่านตลอด
วัยเด็กท่านนั้นเป็นเด็กที่อารมณ์โกธรที่เหลือร้ายประมาณว่าทุกคนก่อนหน้าท่านต้องหลีกทางให้ท่าน
แต่ข้อเสียนี้ก็เริ่มได้รับเครื่องหมายแห่งการเปลี่ยนแปลงในปี ค.ศ.1887 เริ่มจากการจากไปของคุณตาในเดือนมกราคม
ขณะอาศัยอยู่กับบุตรสาวที่รักของเขา มิทันใดที่เมฆหมอกแห่งโศกเศร้าจะจางหายไป
บิดาของท่านก็มาด่วนจากไปอีกคนด้วยอาการหัวใจวายในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน
ทิ้งไว้แต่เพียงมาดามกาเทส ท่านและน้องมาร์เกอริตเท่านั้น
ดังนั้นมานดาของท่านจึงหอบหิ้วท่านและน้องสาวไปอยู่อพาร์ทเมนท์ย่านชานเมืองของดีฌง และบ้านใหม่หลังนี้เองที่ทำให้ท่านค้นพบคาร์แมล
ผ่านบานหน้าต่างในห้องของท่านเอง และถึงแม้ว่าบิดาของท่านจะจากไปแล้ว
ท่านก็ยังคงมีอารมณ์ที่มีแต่จะทวีความรุนแรงขึ้น
จนกระทั้งท่านได้เรียนรู้จักศีลอภัยบาป
มันนำมาสู่การต่อสู้อย่างเห็นได้ชัดกับข้อเสียนี้
ท่านสัญญาต่อมารดาของท่านว่าท่านจะทำตัวให้น่ารัก อดทนและเชื่อฟัง
ที่สุดความพยายามของท่านก็บรรลุผล
กับการเอาชนะอารมณ์ที่แสนร้ายของท่าน เมื่อท่านอายุได้ 11 ปี ท่านก็ได้รับพระวรกายของพระคริสต์เป็นครั้งแรก
ในวันที่ 19
เมษายน ค.ศ.1891
น้ำตาแห่งความปิติหลั่งรินแก้มของท่านหลังจากรับพระองค์ “ดิฉันไม่หิวอีกต่อไปแล้วละ
พระเยซูเจ้าทรงเลี้ยงดูดิฉัน” คือคำกล่าวของท่านหลังจากออกจากวัดกับมารี
หลุยส์เพื่อนของท่าน และหลังจากนั้นมาท่านก็สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น
ในโอกาสครบรอบ
7 ปีแห่งการรับพระวรกายกวีหนึ่งบทก็ได้ถูกท่านรังสรรค์ขึ้นมาเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์นี้ว่า
ครั้นพระเยซูเจ้าทรงกระทำตัวข้าให้เป็นที่ประทับของพระองค์
ครั้งพระเจ้าทรงครองดวงใจข้า
สันติสุขก็เกิดขึ้นตั้งแต่เวลานั้น
ตั้งแต่ครั้งการรับศีลน่าพิศวง(mysterious colloquy)
ที่ศักดิ์สิทธิ์และโอชาการพบปะ
ข้าได้รับแรงบาดาลใจว่า มิมีอื่นใด
แต่จะมอบถวายชีวิตของข้าเพื่อที่จะคืนสู่ความรักที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่เป็นที่รักแห่งมหาสนิทศีล
ผู้พักผ่อนในดวงใจที่แสนอ่อนแอของข้า
อันเออล้นไปด้วยความพอพระทัยของพระองค์
“หนูรู้ไหมว่าเอลิซาเบธแปลว่าบ้านของพระเจ้า” คุณแม่มารีแห่งพระเยซูเจ้าพดขึ้นเมื่อได้รู้ชื่อของท่าน ในระหว่างการสนทนาผ่านลูกกรงของอารามคาร์เมไลท์ของดีฌง
ที่ท่านกับมารดาไปในบ่ายวันเดียวกันกับที่ท่านรับศีลมหาสนิท
และหลังจากนั้นสองสามวันต่อมาคุณแม่ก็ได้ส่งบัตรศักดิ์ที่มีข้อความเขียนด้วยลายมือด้านหลังว่า
“ชื่ออันมีพระพรของหนูแฝงไปด้วยรหัสธรรม จงพบเจอความสำเร็จในวันดีๆนี้ เด็กน้อย ดวงใจของหนูคือบ้านของพระเจ้าบนโลก
ของพระเจ้าผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรัก”
พรสวรรค์พิเศษ
ท่านมีพรสวรรค์ทางด้านดนตรี โดยเฉพาะเปียโนที่ท่านทั้งเรียนที่โรงเรียนและที่บ้านเป็นเวลาหลายชั่วโมง
ท่านสามารถเรียนมันได้อย่างรวดเร็วและได้รับรางวัลจากนายดีทริช ท่านสอบได้อย่างดีเลิศในโรงเรียนดนตรี
และได้รับรางวัลในชั้นเรียนวิชาทฤษฎีดนตรีภาคปฏิบัติของนายพลาเดล(Pradel) ในปี ค.ศ.1893
ท่านยังมีโอกาสได้ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนดนตรีที่ดีฌงตั้งแต่ปี ค.ศ.1888 – ค.ศ.1895
อีกด้วย
กระแสเรียก วันหนึ่งที่อายุ
14 หลังจากการรับศีลมหาสนิท ท่านก็สัมผัสได้ถึงกระแสเรียกการเป็นคาร์เมไลท์ของท่าน
แต่เมื่อนำเรื่องนี้ไปปรึกษากับมานดาของท่าน คำตอบที่ได้ก็คือไม่
เพราะมานดาของท่านไม่เชื่อว่าท่านมีกระแสเรียกในด้านนี้
จึงพยายามผลักดันท่านให้เข้าชีวิตสังคม
ดังนั้นระหว่างที่รอท่านจึงได้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคม
ท่านได้รับเชิญไปรับประทานอาหารค่ำและจบลงด้วยการขอให้ท่านเล่นเปียโนให้ฟัง
เวลาเดียวกันท่านก็ได้มีส่วนร่วมในการสอนคำสอนในเขตวัด
เป็นนักคณะนักร้องประสานเสียง นำคนหนุ่มสาวเข้าวัดในเดือนแม่พระ คอยเตรียมตัวเด็กๆที่จะรับศีลมหาสนิทครั้งแรก
และในฤดูร้อนท่านก็จะมีวันที่จะไปดูแลลูกๆของลูกจ้างในโรงงานยาสูบท้องถิ่น
บันทึกของท่านถูกเขียนขึ้นเมื่อท่านมีอายุ
18 ปี มันแสดงให้เห็นถึงรสนิยมเรื่องภูเขาของท่านเพราะท่านมักใช้เวลาในช่วงวันหยุดไปกับการเที่ยวภูเขาหรือทะเล
ต่อมาในระหว่างการพักผ่อนในเดือนมกราคม ปี
ค.ศ.1899
ท่านก็ได้อ่านหนังสือหนทางสู่ความครบครันของนักบุญเทเรซาแห่งอาวิลลาและค้นพบอะไรมากมายตามคำพูดของนักบุญเทเรซา
ที่สุดหลังจากเวลารอคอยอันยาวนาน มารดาท่านก็ยอมให้ท่านเข้าอารามซึ่งนับเป็นการตัดสินใจที่เจ็บปวดยิ่งของเธอ
แต่อาศัยคำแนะนำของเพื่อนที่ดี และสภาพของท่านที่คอยแต่เฝ้ารอเวลานั้นเวลาเป็นชีลับอย่างไม่สิ้นสุด
กำหนดการเข้าอารามของท่านถูกจัดในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ.1901 ระหว่างรอท่านก็ดำเนินชีวิตตามปกติจนถึงคืนวันที่ 1 สิงหา ท่านก็สวดภาวนาในเวลากลางคืนเช่นปกติ
ด้วยความปรารถนาพร้อมสุดที่รักของท่านในความสันโดษแห่งกางเขน
แต่กลับกันกับมาดามกาเตส
เธอกับไม่สามรถหลับตาลงได้ ที่สุดเธอจึงตัดสินใจลุกขึ้นมาคุกเข่าที่ข้างเตียงของบุตรสาวด้วยน้ำตา
พลางตัดพ้อถามธิดาน้อยว่า “ทำไมลูกถึงทิ้งแม่ไปละ” ฟังความดังนั้นธิดาน้อยก็ตอบมารดาผู้โศกาว่า “อ้า คุณแม่ที่รักของหนู หนูจะสามารถต้านทานพระสุรเสียงของพระเจ้าที่เรียกชื่อหนูได้อย่างไร
พระองค์ทรงโอบหนูไว้ด้วยพระหัตถ์และทรงตรัสกับหนูว่าพระองค์ไม่รู้ น้อยพระทัย ถูกทอดทิ้ง
แล้วหนูจะทอดทิ้งพระองค์ ได้อย่างไร …. เพื่อพระองค์หนูจำต้องสละแม้ความเศร้าโศกของหนูที่คุณแม่มอบให้ หรือ การที่คุณแม่ต้องดื่มด่ำความเจ็บปวดก็ตามที”
“ดิฉันไม่สามารถทำอะไรได้
ดิฉันเพียงทิ้งตัวของดิฉันลงในอ้อมพระหัตถ์ของพระองค์ เช่นเด็กเล็ก” วันถัดมาท่านก็ตื่นตั้งแต่หกโมงเช้า
ก่อนรีบจัดแจงข้าวของต่างๆแล้วไปที่รูปบิดาเพื่อขอพร ตามด้วยแม่และน้อง
หลังจากนั้นจึงเดิน
ทางมาร่วมมิสซาที่วัดน้อยของอารามที่ดีฌงในเวลาแปดโมงและได้เดินเข้าอารามไปในวันนั้นหลังมิสซาจบลง
“ถ้าแม่รู้ว่าหนูรักแม่มากแค่ไหน
หนูคิดว่าคงไม่สามารถขอบคุณได้เพียงพอสำหรับการให้หนูได้เป็นคาร์แมลที่รักที่หนูมีความสุขมากๆ
มันเป็นเพียงเรื่องเล็กๆของคุณแม่
เช่นเดียวกันกับที่หนูเป็นหนี้ความสุขของหนู
คุณแม่รู้ดีว่าถ้าคุณแม่ได้กล่าวกับคำว่า ‘ได้’ เอลิซาเบซน้อยของคุณแม่ก็จะคงอยู่กับคุณต่อไป”
จดหมายถึงมารดาหลังเข้าอาราม
“โอ้ ข้าแต่พระเจ้าผู้ทรงเป็นองค์ความดี
ลูกหาได้สรรหาคำใดที่จะแสดงถึงความสุขของลูกได้ ทุกวันลูกก็ยิ่งซาบซึ้งขึ้นเรื่อยๆ
ที่นี่ ไม่มีสิ่งใดมากไปกว่าพระองค์ ผู้ทรงเป็นทุกสิ่ง
เพียงพระองค์และจากพระองค์ก็เพียงพอแล้ว เราพบพระองค์ทุกที่
ไม่ว่าเวลาซักรีดถึงเวลาสวดภาวนา”
จดหมายถึงน้องสาว
พิธีรับเสื้อคณะ
ในครั้งแรกมีความเป็นไปได้มากที่จะถูกจัดขึ้นในวันที่ 27 ธันวาคม ปีเดียวกันกับที่ท่านเข้าอาราม ซึ่งตรงกับวันฉลองนักบุญยอห์น
อัครสาวก เพราะเป็นวันที่ครอบครัวและพระสงฆ์ที่ท่านสนิทสามารถมาได้
แต่ท้ายสุดพิธีรับชุดคณะของท่านก็ตกลงเป็นวันสมโภชแม่พระผู้ปฏิสนธินิรมล
ปีเดียวกัน แทน ซึ่งนับเป็นวันที่ท่านรักด้วยเหตุผลสองข้อคือ
1.ในวันนี้พระศาสนจักรร่วมกันสมโภชรหัสธรรมแห่งการปฏิสนธินิรมล
ที่ดึงดูดท่านด้วยธรรมล้ำลึกแห่งความบริสุทธิ์
ความบริสุทธิ์อันมิได้มาจากการเป็นอิสระมลทินแต่เดิม
แต่เป็นการกระทำของหัวใจอันได้รับจากพระเจ้า
“ให้ลูกบริสุทธิ์ทุกวันวา
แลรักษาลูกพ้นบาปมัวหมอง
โปรดคอยเฝ้าหทัยอย่าร้างรอน
อดิศรแลมารีนิรมลเอย”
8 ธันวาคม ค.ศ.1897
2.นับเป็นความบังเอิญพอดีที่ปีนั้น
วันสมโภชตรงกับวันอาทิตย์พอดี อันมีข้อสัมพันธ์ถึงรหัสธรรมแห่งพระตรีเอกภาพ
ด้วยพรหมจารีแท้ยิ่งได้ถวายตนฉกเช่นปังแห่งการสรรเสริญพระสิริสามพระบุคคล
หลังจากนั้นในเย็นวันพุธที่
4 ธันวาคม ท่านก็ได้ออกมาพักผ่อนเป็นเวลาสามวัน
“ดิฉันจะเตรียมตัวให้พร้อมในวันที่ดีที่สุดของการหมั้นหมายด้วยการพักผ่อนสามวัน
โอ้ เธอเห็นไหม ว่าตอนนี้ดิฉันคิดว่าดิฉันไม่มีความหมายใดอีต่อไปในแผ่นดินแล้ว
โปรดสวดให้คาร์แมลน้อยของเธอมากๆเพื่อให้เธอส่งมอบทุกสิ่งอย่าง
และมีความชื่นชมยินดีต่อหัวใจแห่งกระแสเรียกของเธอ ดิฉันจะมอบถวายพระองค์ในวันอาทิตย์ด้วยบางสิ่งของความดี
เพราะดิฉันรักพระคริสตเจ้าของดิฉันมากๆ”
และเมื่อวันนั้นมาถึง
เช่นมารดาทั่วไป มารดาของท่านก็ได้จัดหาช่างทำผมมาให้ท่าน
ซึ่งเมื่อช่างถามถึงทรงท่านก็ตอบง่ายๆว่า “ง่ายและทนที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เลยค่ะ” ดังนั้นเขาจึงจัดให้และเพียงไม่นานทรงผมก็เสร็จลงเขาจึงยื่นกระจักมาให้ท่านพร้อมถามว่า
“มาดมัวแซลล์ คุณพอใจไหมครับ” ท่านก็ตอบพร้อมดันกระจกออกไปว่า “มันต้องดีแน่ๆค่ะ ขอบคุณมากเลยนะคะ”
เหตุการณ์นี้สร้างความประหลาดใจแก่เขาจนเขาเอ่ยขณะกลับกับลูกมือว่าเขาไม่เคยพบผู้หญิงแบบท่านมาก่อนและรู้สึกสะเทือนใจมากๆ
นอกจากนั้นเมื่อท่านพบเพื่อนชายที่กำลังจะเข้าพิธีวิวาห์ในอีกสองเดือน
ท่านก็พูดกับเขาว่า “นายมีคงมีความสุขละซิ แต่เรามีมากกว่านายอีกนะ”
ท่านได้รับชุดคณะเป็นนวกะอย่างสง่าในชุดสีขาวที่งดงาม
และนามใหม่ว่า “ซิสเตอร์เอลิซาเบธ แห่ง พระตรีเอกภาพ” หลังจากนั้นท่านก็ได้ปฏิญาณตนในวันสมโภชพระคริสตเจ้าสำแดงองค์ที่ 11 มกราคม
ค.ศ.1903
อันนับเป็นอีกวันของความสุขสำหรับท่าน “ดิฉันได้มีวันที่สวยงามมากๆ” , “เป็นเช้าวันสมโภชพระคริสตเจ้าสำแดงองค์ที่สวยที่สุดในชีวิตของดิฉัน…ในวันนี้ดิฉันจะได้ทำตามความปรารถนาของดิฉันและดิฉันจะกลายเป็น
‘เจ้าสาวของพระคริสตเจ้า’ ในที่สุด.. ” เป็นดั่งความฝันที่กลายเป็นจริง
“ในความลับลึกลงข้าฝังร่าง
ในทรงสร้าง ข้าอยู่และดับไป
รักพระองค์คือชีวาข้านี้ไซร้
ให้ข้าได้ดิ่งสู่สันติองค์เอย”
บางตอนจากบทเพลงระหว่างพิธี
หลังจากนั้นท่านจึงได้รับผ้าคลุมศีรษะในวันที่
21 มกราคม ปีเดียวกัน
ซึ่งนับอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาวดีฌง
ที่ผู้คนมากมายต่างหลั่งไหลไปที่วัดของอารามคาร์แมลในเช้าวันพุธทั้งๆที่เป็นวันทำงาน
ไม่ใช่เพื่อฉลองนักบุญอักแนส แต่เพื่อร่วมพิธธีรับผ้าคลุมศีรษะของท่าน
ภายหลังจากมีพิธีปฏิญาณตนเป็นการภายในแล้ว ซึ่งในวันนั้นมีทั้งครอบครัว
เพื่อนและผู้คนจำนวนมากที่เคยชมการแสดงของท่าน ที่พวกเขายังคงตราตรึงถึง
การแสดงเปียโนของ “กาเทสน้อย”
ในฐานะเจ้าสาวพระคริสต์
ความตระหนักรู้และประสบการณ์เรื่องพระตรีเอกภาพผู้ทรงดำรงอยู่ในท่านนับวันก็ยิ่งเติบโต
และอาศัยการสนทนากับพระคริสตเจ้าในศีลศักดิ์สิทธิ์และในพระคัมภีร์
ชีวิตฝ่ายจิตของท่านก็ยิ่งล้ำลึกขึ้นไปเรื่อยๆ ท่านตักตวงอาหารบำรุงชีวิตจิตจากคำสอนของนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ของคณะ
นักบุญเทเรซาแห่งอาวิลลา นักบุญยอห์น แห่ง ไม้กางเขน
และจากนักบุญร่วมสมัยกับท่านเอง นักบุญเทเรซา แห่ง ลิซีเออร์
แต่เหนือสิ่งอื่นใดบิดาฝ่ายจิตของท่านนั้นมีเพียงคนเดียวคือ “นักบุญเปาโล อัครสาวก”
ซึ่งผ่านนักบุญเปาโล
ท่านได้ค้นพบการเรียนรู้ถึงสองสิ่งคือการสะท้อนประสบการณ์ของท่านต่อความรักของพระเจ้าและช่วยให้ท่านสามารถตีความประสบการณ์เหล่านี้ได้
ไม่เพียงเท่านั้นนักบุญเปาโลยังได้เผยแสดงถึง “ความรักอันล้นหลาม”ของพระคริสตเจ้า “ผู้ทรงรักข้าพเจ้าและทรงมอบพระองค์เพื่อข้าพเจ้า” (กาลาเทีย
2:20) ต่อท่านอีกด้วย
ขอย้อนกลับไปในวัยเยาว์
ท่านได้ค้นพบกำลังที่จะเอาชนะอารมณ์ร้อนของท่านผ่านทางพระวรกายและพระโลหิตของพระเยซุคริสตเจ้าในศีลมหาสนิทครั้งแรก
และในอารามท่านค้นพบคำอธิบายถึงเหตุการณ์นี้ผ่านจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโคโลสี 2:20 ที่เขียนว่า “พระคริสตเจ้าโปรดให้ทุกสิ่งมีสันติ ด้วยพระโลหิตที่ทรงหลั่งบนไม้กางเขนของพระองค์”
ท่านเขียนว่า “การทำสันติในสวรรค์น้อยๆของดิฉัน
ก็เพื่อว่ามันอาจจะเป็นสถานที่พักผ่อนอย่างแท้จริงขอองพระตรีเอกภาพ”
นี้นับเป็นประสบการณ์หนึ่งที่ท่านค้นพบคำอธิบายผ่านจดหมายของนักบุญเปาโล
ในทำนองเดียวกัน
อีกครั้งที่ท่านค้นพบคำยืนยันของนักบุญเปาโลถึงประสบการณ์ของท่านถึงเรื่องที่ว่าผ่านพระคริสตเจ้า
“เราสามารถเข้าเฝ้าพระบิดา” (เทียบเอเฟซัส
2:18) เช่นนั้นท่านจึงเขียนเรื่องนี้ในบทกวีที่ท่านประพันธ์ขึ้นในวันพระคริสตสมภพ
ปี ค.ศ.1901 ว่า
“ทรงมาเผยข้อเชื่อน่าฉงน
มอบชาวชนความลับพระบิดา
นำสิริสู่สิริโรจนา
จนใจกลางตรีเอกานุภาพ”
ท่านได้รับการเผยแสดงจากพระเจ้าว่า
พระคริสตเจ้าทรงเป็นเสด็จมาเพื่อเผยแสดงถึงความรักของพระบิดาต่อพวกเราทั้งหลาย พร้อมทั้งนำเราไปส่วนร่วมในชีวิตศักดิ์สิทธิ์แห่งความรักของพระตรีเอกภาพ
ท้ายสุดผ่านจดหมายนักบุญเปาโล
ท่านได้ค้นพบทางมากมายสู่ศักดิ์ศรีอันยิ่งใหญ่ของกระแสเรียกการเป็นคริสตชนที่มีส่วนในชีวิตตรีเอกภาพผ่านการสนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้า
“การสรรเสริญแห่งพระสิริรุ่งโรจน์” หรือ “Laudem Gloriae” คือ กระแสเรียกส่วนตัวที่ท่านค้นพบจากจดหมายถึงชาวเอเฟซัส
คือการดำรงอยู่เพื่อสรรเสริญพระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดา
เช่นเดียวกันกับพระเยซูเจ้าพระองค์เองก็ได้ทรงสรรเสริญพระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดาเจ้าอย่างชัดเจน
ท่านกล่าวว่า
“ความฝันของดิฉันคือการเป็นการสรรเสริญแห่งพระสิริรุ่งโรจน์
มันอยู่ในจดหมายนักบุญเปาโลที่ดิฉันอ่าน
และพระสวามีเจ้าของดิฉันเผยแสดงให้ดิฉันเข้าใจว่านี้คือกระแสเรียกจากการถูกเนรเทศที่กำลังรอคอยจะไปขับบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ไปนิรันดรในอาณาจักรนักบุญของดิฉัน
แต่จำเป็นยิ่งที่ต้องใช้ความภักดีอย่างสูง
เพื่อที่จะเป็นการสรรเสริญแห่งพระสิริรุ่งโรจน์
มันจะต้องตายจากทุกสิ่งอันมิใช่พระองค์
เพื่อที่จะไม่สั่นสะเทือนภายใต้การสัมผัสของพระองค์”
จากจดหมายถึงเพื่อนคนหนึ่งของท่าน ในสิ้นเดือนธันวาคม ค.ศ.1905
กระแสเรียกนี้ยังไม่เพียงแต่การเป็นการสรรเสริญเท่านั้น
แต่ยังรวมถึงการน้อมรับความทุกข์ทรมานในการไถ่กู้ร่วม
กับพระคริสตเจ้า
ดั่งคำของนักบุญเปาโลที่ว่า “ความทรมานของพระคริสตเจ้ายังขาดสิ่งใด
ข้าพเจ้าก็เสริมให้สมบูรณ์ด้วยการทรมานในกายข้าพเจ้าเพื่อพระกายของพระองค์คือพระศาสนจักร”(โคโลสี 1:24)
ท่านตระหนักว่ามนุษย์ทุกคนล้วนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูเจ้า เพื่อเลียนแบบพระองค์ แม้ในขณะทรงรับทรมาน
และเพื่อมีส่วนร่วมในความรักสัมพันธ์ที่เกิดจาดพระเยซูเจ้าทรงมีส่วนกับพระบิดาและพระจิตเจ้า
ท่านอธิบายถึงแผนการอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าในครั้งในหนึ่งในการรำพึงว่า
พระเจ้าทรงก้มลงมาเหนือวิญญาณนี้ด้วยความรัก
ธิดาบุญธรรมของพระองค์
ผู้เป็นเหมือนฉายาลักษณ์ของพระบุตร คนแรกที่บังเกิดขึ้นในหมู่สรรพชีวิตทั้งหลาย
ทรงรู้จักเธอดีว่าเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ตั้งไว้
ได้เรียก ผู้ชอบธรรม
และหัวใจบิดาของพระองค์ตื่นเต้นขณะทรงคิดถึงความสำเร็จบริบูรณ์
ราชกิจของพระองค์ นี้คือการเชิดชูเธอ
โดยการนำเธอเข้าไปสู่พระอาณาจักรของพระองค์
ที่นั่นมีบทเพลงสำหรับทุกเพศทุกวัยไม่รู้จักจบที่สรรเสริญพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์
ทุกกิจการอันดีเลิศนี้คือราชกิจของพระเจ้าแห่งความรัก
พระเจ้าทรงสร้างเราขึ้นมาเพื่อนำเราไปสู่การสนทนากับพระองค์เอง
พระเจ้าผู้ทรงเป็นองค์ความรักด้วยตัวเอง
21
พฤศจิกายน ค.ศ.1904
ตรงกับวันฉลองแม่พระถวายตนในพระวิหาร
ท่านก็ได้ประพันธ์บทภาวนาต่อพระตรีเอกภาพที่มีชื่อเสียงมากที่สุดขึ้น อันประหนึ่งเป็นการถวายตนต่อองค์ความรัก
ซึ่งแสดงออกอย่างชัดเจนความปรารถนาของท่านที่จะร่วมเป็นหนึ่งกับพระคริสตเจ้า
ตามรอยพระองค์
เพื่อเป็นที่พอพระทัยของพระบิดาเจ้าและเข้าสู่ความรักอันเป็นพลวัตและไร้ขีดจำกัดของพระตรีเอกภาพอย่างสุดซึ้ง
และสรุปในตอนท้ายบทภาวนาด้วยยอมจำนนตัวของท่านเองต่อพระตรีเอกภาพว่า “ขอโปรดฝังพระองค์เองลงในตัวลูก
เพื่อจะลูกจะได้ฝังตัวเองไว้ในพระองค์
ไปจนกว่าลูกจะจากโลกนี้ไปสู่การเพ่งพิศความยิ่งใหญ่อันล้ำลึกไม่มีขอบเขตในแสงสว่างของพระองค์เทอญ”
หลังจากนั้นในวันที่
8 มีนาคม ปีถัดมาถึง 22 เมษายน ปีนั้น ท่านก็เริ่มอาการแรกของโรคแอดิสัน
และยิ่งทรุดหนักขึ้นในช่วงต้นปี ค.ศ.1906 “นักบุญยอแซฟเป็นองค์อุปถัมภ์การสิ้นใจในศีลในพร
ท่านจะมาพาดิฉันไปหาพระบิดาค่ะ”
ท่านกล่าวในเวลาหย่อนใจในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1906 แต่ก็ไม่มีใครเชื่อท่านในเวลานั้น ตรงข้ามทุกคนกับยิ้มอย่างมีความหวังให้กับท่าน
อาการท่านหนักลงเรื่อยจนป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร
ซึ่งทำให้ท่านต้องทรมานจากอาการอ่อนเพลีย และอาการไม่สามารถย่อยอาหารได้
ท่านต้องทนปวดท้องอย่างรุนแรงและอาการกระหาย
ท่านเขียนว่าท่ารู้สึกเหมือนมีแมลงตัวเล็กๆกำลังกัดกินอวัยวะภายในของท่านและบอกว่าสิ่งแรกๆที่ท่านจะทำในสวรรค์คือการดื่มน้ำ
แต่จะทรมานอย่างไรท่านก็ยังคงอดทน อาจหาญ และเปี่ยมไปด้วยความสุข
ขณะเดียวกันก็เจริญชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระคริสตเจ้าเสมอ
ท่านเล็งเห็นว่าความทุกข์ยากของท่านเป็นหนทางอันสอดคล้องกับพระเยซูเจ้า
เป็นเช่นหนทางของการร่วมเป็นหนึ่งเดียวในความทุกข์ทรมานเพื่อการไถ่กู้ของเจ้าบ่าวของท่านเพื่อความดีของพระศาสนจักร
ท่านจึงมองเห็นมันเป็นดั่งของขวัญ
ท่านอธิบายกับมารดาผ่านจดหมายที่ถูกเขียนขึ้นจากเตียงว่า
“ข้าพเจ้ายินดี นักบุญเปาโลกล่าว ที่ได้รับความทุกข์ทรมานในเนื้อหนังเพื่อเสริมสิ่งที่ขาดหายไปจากความทรมานของพระเยซูคริสตเจ้าเพื่อประโยชน์ของพระกายของพระศาสนจักรของพระองค์
โอ้ วิธีที่ดวงใจของคุณแม่ควรจะโลดเต้นสำหรับความสุขของพระเจ้าในยามคิดถึงการที่พระจอมฟ้าทรงถ่อมพระอง์ลงมาเลือกสรรธิดาน้อยของคุณแม่
ผลิตผลจากครรภ์ของคุณแม่เอง ให้ได้มีส่วนร่วมในพันธกิจการไถ่กู้อันยิ่งใหญ่
และการที่พระองค์ทรงรับทรมานในตัวเธอของพระองค์ จะว่าอย่างว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของพระมหาทรมานของพระองค์ก็ว่าได้
เจ้าสาวอยู่ในเจ้าบ่าว และพระองค์ก็ได้ลูก พระองค์ปรารถนาให้ลูกมีสภาพมนุษย์อย่างอื่นเพื่อให้พระองค์จะสามารถบรรเทาความทรมานเพื่อพระสิริของพระบิดาของพระองค์
เพื่อช่วยเหลือความต้องการของพระศาสนจักรของพระองค์
ซึ่งด้วยความคิดเป็นผลดีอย่างมากมายต่อลูก”
นักบุญเทเรซา
แห่ง ลีซีเออร์ ผู้มีชีวิตร่วมสมัยกับท่านสัญญาว่าจะทำความดีจากในสวรรค์
เช่นเดียวกันมีคนถามท่านว่าท่านจะทำเช่นนั้นไหม และคำตอบของท่านคือไม่
แต่ตรงข้ามท่านจะพุ่งไป “เช่นจรวด”
ลึกลงไป ลงไปในก้นบึ่งของพระตรีเอกภาพ
แต่ท่านไม่รู้เลยว่าท่านนี้จะได้ฝึกพันธกิจของพระศาสนจักรจากในสวรรค์
จากเตียงผู้ป่วยท่านเขียนจดหมายถึงเพื่อนคาร์แมลว่า “ดิฉันคิดว่าในสวรรค์พันธกิจของดิฉันก็คือการดึงบรรดาวิญญาณทั้งหลายผ่านการช่วยพวกเขาให้ออกจากตัวเองในการยึดพระเจ้าผ่านความเรียบง่ายที่เต็มเปี่ยมและความรักในทุกอิริยาบถ
และให้พวกเขาได้อยู่ในความเงียบภายในอันจะช่วยให้พระเจ้าทรงตรัสด้วยพระองค์เองต่อพวกเขาและเปลี่ยนพวกเขาเป็นตัวพระองค์เอง”
“ดิฉันกำลังจะไปสู่องค์ความสว่าง ความรัก และชีวิต” ท่านกล่าวลีอันมีชื่อเสียงของท่านและเป็นวลีสุดท้าย
ก่อนท่านจะพุ่งพยานวิญญาณของท่านไปสู่ก้นบึ่งของพระตรีเอกภาพอย่างสงบในเวลาเช้าของวันที่
9 พฤศจิกายน ค.ศ.1906 ด้วยอายุรวม 26 ปีจากโรคแอดดิสัน หลังจากนั้นอีก 78 ปีมรณกรรมของท่าน
ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ.1984 สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ก็ทรงบันทึกนามท่านในสารบบบุญราศี
ในโอวาทพิธีสถาปนา
สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงได้ยกท่านเป็น
“ผู้นำชีวิตซ่อนอยู่กับพระคริสตเจ้าในพระเจ้า”(โคโลสี 3:3) และ
“พยานอันสุกไสวต่อความสุขของการหยั่งรากและตั้งมั่นอยู่บนความเชื่อ”(เอเฟซัส 3:7) ในเวลานี้เรากล่าวได้เลยว่าท่านเป็นพยานถึงผลจากการสำแดงพระองค์ของพระเจ้าภายในวิญญาณของมนุษย์
ท่านได้ป่าวประกาศแก่พวกเราด้วยวาจาของนักบุญเปาโลถึงศักดิ์ศรีอันยิ่งใหญ่ของกระแสเรียกคริสตชน
อันคือ การเจริญรอยตามพระคริสตเจ้า ไปจนถึงการถูกตรึงกางเขน การกลับคืนพระชนม์ชีพ
และการถวายตัวต่อศีลมหาสนิท รวมทั้งการกลายเป็น “วัดฝ่ายจิต” ให้ทุกคนได้สรรเสริญพระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดาเจ้า
ท่านยังเตือนเราว่าพระตรีเอกภาพนั้นคือ
“บ้านของเรา”
พระองค์ทรงสร้างเราเพื่อให้เราเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้า
เจริญชีวิตในฐานะบุตรและธิดาบุญธรรมของพระองค์ และอาศัยอยู่ในความรักของพระองค์
ซึ่งยังเหลือเฟือ แม้นในครั้งต่อๆไป ต่อไปนี้จะเป็นคำพูดจากจดหมายของท่านในโอกาสต่างๆ
“ดิฉันจะให้ความลับของดิฉันแก่คุณ คือ
จงคิดถึงพระเจ้าผู้ทรงดำรงในคุณ พระผู้ทรงเป็นวัดของคุณ นักบุญเปาโลกล่าวถึงทางนี้
และเราก็สามารถเชื่อมันได้”
จดหมายถึงเพื่อน
“ขอให้เรามีชีวิตอยู่กับพระเจ้าเช่นเดียวกับเพื่อน
ขอให้เราทำความเชื่อให้มีชีวิตเพื่อคงอยู่ในการสนทนากับพระองค์ผ่านทุกๆสิ่ง
นั่นแหละคือวิธีของบรรดานักบุญ เราพกสวรรค์ของเราอยู่ภายในเราเอง
พระเจ้าทรงมอบพระองค์เองแด่เราในความเชื่อและความล้ำลึก”
“มันดูเหมือนว่าดิฉันได้พบสวรรค์บนโลกใบนี้แล้ว
ตั้งแต่ที่สวรรค์คือพระเจ้าและพระเจ้าก็ทรงสถิตในวิญญาณของดิฉัน
วันที่ดิฉันเข้าใจมัน ทุกอย่างก็กลายเป็นชัดแจ้งแก่ดิฉัน
ดิฉันต้องการบอกความลับนี้ให้คนที่ดิฉันรักเพื่อพวกเขาเอง ผ่านทุกสิ่ง
ขอยึดมั่นแต่พระองค์”
“พระเจ้าทรงรักเธอในวันนี้
ดั่งพระองค์ทรงรักเธอเมื่อวาน
และก็จะรักเธอในวันพรุ่งนี้ต่อไป”
“ความทรมานของพระคริสตเจ้ายังขาดสิ่งใด
ข้าพเจ้าก็เสริมให้สมบูรณ์ด้วยการทรมานในกายข้าพเจ้าเพื่อพระกายของพระองค์คือพระศาสนจักร”(โคโลสี 1:24) ดั่งคำอธิบายชีวิตสั้นๆของท่าน ชีวิตท่านคือการเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า
ผ่านการติดตามพระคริสตเจ้าไม่ว่ายามไหน เลียนแบบพระองค์ที่จะแบกกางเขนด้วยรอยยิ้ม
และเรียนรู้ที่จะสนิทกับพระองค์ยิ่งขึ้นผ่านกางเขน
เพื่อเติมเต็มสิ่งที่ขาดไปจากความทรมานของพระองค์คือผู้ร่วมเดินทาง
ท่านแสดงให้เราเห็นถึงทางการดำเนินชีวิตแบบเพื่อนตายกับพระองค์ ขณะที่นักบุญเทเรซาน้อยแสดงให้เราเห็นถึงการดำเนินชีวิตแบบเด็กน้อย
ซึ่งมีความสัมพันธ์ในจุดเดียวกันคือการสนิทเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้า
ในทุกๆเวลาของชีวิต
การเลียนแบบชีวิตของบุญราศีเอลิซาเบธคือการเรียนรู้ที่จะดำเนินชีวิตเฉพาะพักตร์ของพระเจ้า
ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์
และเปลี่ยนเราเองให้กลายเป็นพระวิหารศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ ขอให้เราพุ่งทะยานไปหาพระเจ้าเช่นท่านเถิด
“ข้าแต่ท่านบุญราศีเอลิซาเบธ แห่ง พระตรีเอกภาพ
ช่วยวิงวอนเทอญ”
โอกาสฉลอง 500 ปี ชาตกาลนักบุญเทเรซาแห่งอาวิลลา
ข้อมูลอ้างอิง