วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

"คุณแม่อิวพาเซีย" ตู้ศีลเคลื่อนที่




นักบุญอิวพาเซีย แห่งพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า
St.Euphrasia of the Sacred Heart of Jesus
ฉลองในวันที่ 29 สิงหาคม

นายเชรพูคาราน อันโตนี กับ นางคูทเจตี เอลูวาทิทกาล ป็นสองสามีภรรยาเจ้าของที่ดินผู้ร่ำรวย ที่ปลูกบ้านอยู่ที่หมู่บ้านคาทโทร (Kattoor) ใกล้เมืองทริสซู(Thrissur) รัฐเกรละ ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย เด็กหญิงโรl เอลูวาทิทกาล(Rose Eluvathingal) เป็นบุตรคนแรกของครอบครัวนั้น ท่านเกิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ.1877 และได้รับศีลล้างบาปตามนามนักบุญโรซาในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ.1877  ณ วัดพระมานดาแห่งคาร์เมล (the Mother of Carmel Church) ใน เอดาทูรูตี(Edathuruthy)

มารดาของท่านเป็นคนเคร่งศาสนา ดังนั้นเธอจึงคอยสอนไห้ท่านภาวนาและร่วมมิสซา นอกจากนั้นมารดาของท่านยังคอยเล่าเรื่องราวต่างๆโดยเฉพาะเรื่องของนักบุญโรซา แห่ง ลิมา ศาสนานามของท่าน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเติบโตขึ้นมาด้วยความปรารถนาที่จะรับทุกข์ทรมานเพื่อพระเยซูคริสต์เจ้าและจะรักษาพรหมจารีไว้ และจะทำทั้งหมดนี้ในที่เงียบสงบ ซ่อนเร้น ในช่วงระหว่างปีที่ท่านโตขึ้นท่านก็เริ่มตีตัวออกห่างจากทางโลกและเริ่มสนใจเรื่องวิญญาณ และที่อายุประมาณ 9 ปีแม่พระได้ทรงประจักษ์มาหาท่าน ซึ่งมันทำให้หลังจากนั้นท่านมุ่งมั่นที่จะไม่แต่งงานตลอดชีวิตให้พระเจ้าโดยการถวายตัวทั้งครบแด่พระองค์


 ที่วัยแรกรุ่น ท่านก็มีความต้องการที่จะเข้าคณะภคินีแห่งพระมานดาแห่งคาร์เมล (the Sisters of the Mother of Carmel) คณะพื้นเมืองแรกของสตรีที่ดำเนินชีวิตภายใต้กฎของคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้าชั้น 3 โดยคณะนี้ก่อตั้งโดยบุญราศีคูริอาคอส เอลีอาส ชาวารา กับ คุณพ่อเลโอโพลด์ เบคคาร์(Leopold Beccar)  แต่ฝั่งบิดาของท่านก็อยากให้ท่านเข้าพิธีวิวาห์กับชายหนุ่มที่ร่ำรวย ดังนั้นเขาจึงคัดค้าน

หลังจากนั้นตลอดสองปีต่อมาในการภาวนา พลีกรรม อดอาหาร จนถึงขั้นล้มป่วย แต่แทนที่ท่านจะจากไปน้องสาวของท่านกลับจากอย่างกะทันหันไปแทน ด้วยเหตุการณ์นี้ทำให้ดวงใจบิดาท่านเปลี่ยนไป เขาโทษตัวเองที่ไม่ยอมให้ท่านทำที่หวัง ดังนั้นเขาจึงอนุญาตให้ท่านเข้าอารามและเป็นคนพาท่านซึ่งขณะนั้นมีอายุ 10 ปีไปส่งยังอารามแม่ของคณะภคินีแห่งพระมารดาแห่งคาร์เมลในคูนามมาวู(Koonammavu) ในวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ.1888


Photobucket | blessed euphras
และถึงแม้ท่านจะมีความปรารถนาต่อชีวิตทางศาสนา แต่กระนั้นท่านก็ต้องประสพปัญหาด้านสุขภาพที่ต่างพากันโจมตีท่าน จนทำให้ต่อมาบรรดาภคินีทั้งหลายมีมติจะส่งท่านกลับบ้าน แต่ผ่านการประจักษ์มาของครอบครัวศักดิ์สิทธิ์แก่ท่าน ท่านก็ได้รับการรักษาอย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้ในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ.1897 ท่านก็ได้ไล่ตามเสียงเรียกของพระเจ้ามาอีกขั้นด้วยการเป็นโปสตุลันต์และได้รับผ้าคลุมศรีษะ  พร้อมศาสนานามใหม่ว่า อิวพราเซีย แห่งพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า

จากนั้นในวันที่ 10 มกราคม ค.ศ.1898 ท่านก็ได้เข้าเป็นนวกะ พร้อมกับได้รับการฝึกคุณธรรมของความนบนอบ ความเมตตาจิต ความสละ และเติบโตขึ้นมาในความศักดิ์โดยผ่านความช่วยเหลือของพระนางพรหมจารีมารีย์ ช่วงเวลาเดียวกันนั้นท่านก็ต้องถูกรังควานจากการเจ็บป่วย  การทดลอง แต่สุดท้ายหลังการทดลองจบลงท่านก็ได้รับความปิติยินดีในวิญญาณเป็นล้มพ้นเป็นเครื่องตอบแทน พี่น้องที่รักจงอย่ากลัวที่จะถูกทดลอง เพราะสิ่งตอบแทนที่ได้จากการทดลองนั้นแสนยิ่งใหญ่มันคือความปิติทางวิญญาณที่หากหาได้ในทางโลกไม่

วันที่ 24 พฤษาคม ค.ศ.1900 อารามเซนต์แมรี่ ก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในสถานที่ปัจจุบันคือสังฆมณฑลทริชูร์(Trichur) วันเดียวกันที่อารามแม่ก็มีพิธีปฏิญาณตนตลอดชีวิต หนึ่งในเจ้าสาวในวันนั้นคือท่านซึ่งเต็มไปด้วยความสุขที่ไม่อาจสรรหาคำใดๆมาบรรยายได้เลย



หลังจากจบพิธีปฏิญาณตนแล้ว ท่านก็ได้รับหน้าที่ให้เป็นผู้ช่วยของนวกะจารย์  และกลายมาเป็นนวกะจารย์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1904 – ค.ศ.1903 และถึงแม้ว่าสุขภาพของท่านจะอ่อนแอเพียงใด ท่านก็ได้แสดงออกถึงคุณธรรมความนบนอบ ความยากจน การใช่โทษบาป ความเชื่อฟังและการปล่อยไปให้เป็นไปตามน้ำพระทัยของพระเจ้า ให้เป็นที่ประจักษ์แก่เหล่านวกะที่ท่านสอน

แม้ว่าท่านจะอย่างอยู่เงียบๆ มีชีวิตที่ซ่อนเร้น ท่านก็ได้รับเลือกให้ไปเป็นคุณแม่อธิการของอารามเซนต์แมรี่ ที โอลลูร์ (Ollur) และเนื่องจากความอ่อนน้อมถ่อมตนอันลึกซึ่งของท่าน ท่านพบว่ามันยากที่จะยอมรับหน้าที่ใหม่นี้ได้ แต่หลังจากที่ท่านนำรูปปั้นพระหฤทัยมาตั้งไว้ที่ใจกลางอาราม ท่านก็ได้ถวายหน้าที่คุณแม่อธิการแด่พระหฤทัยอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระองค์ ท่านอยู่ในตำแหน่งนั้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1913 ค.ศ.1916 และอยู่ที่นั้นต่อไปอีก 48 ปี


การภาวนาคือลมหายใจของท่านในทุกๆที่ที่ท่านอยู่ ทำให้คนในท้องถิ่นต่างเรียกท่านว่า คุณแม่ภาวนา (Praying Mother) ส่วนภคินีในอารามจะเรียกท่านว่า ตู้ศีลเคลื่อนที่ (the mobile tabernacle) นอกจากนั้นท่านยังมีพระพรของคำแนะนำทางจิตวิญญาณ พระสังฆราชยอห์น เมนาเชรรี (Bishop John Menacherry) จึงสั่งให้ท่านเผยเกี่ยวกับชีวิตทางจิตวิญญาณของท่านแก่เขา ซึ่งเขาก็จดมันไว้ทุกตัวอักษรที่ท่านบอก

สถานที่ที่ท่านชอบไปใช่ส่วนใหญ่ของวันคือวัดประจำอาราม เพื่อเฝ้าศีลและเช่นกันท่านยังหล่อเลี่ยงความรัก ความภักดีต่อแม่พระ ด้วยเหตุผลนี้ท่านจึงกลายเป็นอัครสาวกโดยธรรมชาติของศีลมหาสนิทและสายประคำ นอกจากนั้นท่านยังทุ่มเทให้กับความรัก ท่านได้รับการปลอบประโลมจากองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ถูกตรึงกางเขน และความแข็งแรงของท่านก็มาจากพระเยซูเจ้า คู่หมั้นของท่านในพิธีแต่งงานแห่งจิตวิญญาณ  ท่านเป็นคนอ่นน้อมถ่อมตนที่จะยอมรับความทุกข์ ความเข้าใจผิด



ความชิดสนิทของท่านกับพระเยซูเจ้ามาจากฐานะของท่าน ที่จะให้ตัวของท่านเองแด่คนอื่น ท่านมอบความรักอันอ่อนโยนด้วยดวงใจที่บริสุทธิ์เยี่ยงมารดาแก่ทุกคนที่มาขอความช่วยเหลือ ท่านจะปลอบเขาด้วยข้อพระวรสารของพระเยซูเจ้าและวิงวอนเพื่อพวกเขา บางครั้งท่านก็ต้องรู้สึกทุกข์จาปัญหาของวัด ท่านทูลถวายการตัดกิเลส และการใช้โทษบาปของท่านสำหรับการกลับใจของคนนอกศาสนา และขอให้บรรดานวกะและเด็กๆ ร่วมกันภาวนาเพื่อพวกเขา

ท่านอธิษฐานอย่างร้อนรนต่อหน้าศีลมหาสนิทเพื่อพระสงฆ์และนักบวช และยังได้เสนอชีวิตของท่านเพื่อความรักของพระเจ้า ท่านปล่อยให้มันเป็นไปตามน้ำพระทัยของพระองค์และในที่สุดด้วยอาย 74 ปี ท่านก็ได้คืนชีวิตไปสู่อ้อมกอดของพระองค์ในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ.1952



หลังจากการจากไปของท่านแล้วหลายคนที่ท่านเคยช่วยเหลือเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ก็ต่างพากันมาวิงวอนที่หลุมศพของท่าน ในปี ค.ศ.1990 จึงมีการย้ายร่างของท่านไปไว้ในวัดของอาราม หลังจากเสนอเรื่องของท่านไปยังวาติกันในปี ค.ศ.2002 ก็ได้ประกาศให้ท่านเป็นข้ารับใช้พระเจ้า และคารวียะในวันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม ค.ศ.2006 และหลังจากอัศจรรย์การรักษาผ่านการเสนอวิงวอนของท่าน ในวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ.2006 ท่านก็ได้รับการสถาปนาเป็นบุญราศีองค์ที่ห้าของรัฐเกรละและองค์ที่หกของประเทศอินเดีย



นี่แหละเป็นบัญญัติของเรา คือให้ท่านทั้งหลายรักซึ่งกันและกัน เหมือนดังที่เราได้รักท่าน (ยอห์น 15:12) การที่เราจะเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์นั้น ไม่ใช้เพียงแค่เราศรัทธาอย่างเดียว แต่เราต้องเป็นเช่นตู้ศีลที่ใครทุกข์ใจแล้วมาหาเราก็จะพบสันตุสุขทางใจกลับไปเพราะเราจะมอบความรักให้เขาอย่างมิหวังสิ่งใดเช่นมารดมอบให้บุตร เช่นเดียวกันคุณแม่อิวพราเซียที่ต้อนรับทุกคนที่มาหาด้วยความรักเช่นมารดา คุณแม่เป็นดังตู้ศีลที่ยามเวลาเราทุกข์แล้วมาหาคุณแม่ คุณแม่ก็จะปลอบประโลมใจเราด้วยพระวาจาของพระเจ้า ด้วยความรักเช่นมารดาที่ไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทนเลย
นอกจากนั้นเราต้องเลียนแบบท่านที่การภาวนาคือลมหายใจ คุณแม่ภาวนาในทุกที่ที่คุณแม่อยู่ เราคริสตชนก็เช่นกันเพราะชีวิตคริสตชนก็คือการภาวนา หากปราศจากการภาวนาคริสตชนก็หาใช่คริสตชนไม่


ข้าแต่บุญราศีอิวพาเซีย แห่งพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า ช่วยวิงวอนเทอญ


ข้อมูลอ้างอิง

'เบร์นาร์โด ฟรานซิสโก' ให้ชีวิตนี้เป็นสะพานนำรักพระองค์ไป ตอนจบ

บุญราศีเบร์นาร์โด ฟรานซิสโก เด โอโยส เด เซญา Bl. Bernardo Francisco de Hoyos de Seña วันฉลอง: 29 พฤษจิกายน [ย้อนกลับไปอ่าน  “‘เบร์นาร์โด ฟรา...