วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

"ปีแอร์ เลอ ฟาแวร์" สงฆ์องค์แรกของเยซูอิต


นักบุญปีแอร์ เลอ ฟาแวร์
St. Pierre Favre
ฉลองในวันที่ : 8 สิงหาคม

ปีแอร์ ผู้ศักดิ์ลืมตาดูโลกครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 เมษายน ค..1506 ที่หมู่บ้านวิลลาเร็ต ในดินแดนที่เป็นของตระกูลซาวอย ซึ่งปัจจุบันคือแซ็งต์ ฌอง เดอ ซิซต์ จังหวัดโอต-ซาวัว แคว้นโรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส ในครอบครัวของชาวนา ดังนั้นตั้งแต่วัยเยาว์ท่านจึงมีหน้าที่เลี้ยงแกะในทุ่งหญ้าอันเขียวชอุ่มของเทือกเขาแอลป์ในทุกๆวันเช่นเด็กบ้านไร่ทั่วไป แต่ความทรงจำของท่านนั้นช่างถือว่าเป็นเลิศนัก ท่านสามารถจดจำบทเทศน์ของคุณพ่อในตอนเช้า แล้วนำมาเล่าได้คำต่อคำเลยทีเดียวในระหว่างสอนคำสอนในช่วงบ่าย



การศึกษา ท่านได้ไปอยู่ในความดูแลของคุณพ่อที่ตูนซ์ หลังจากนั้นก็ที่โรงเรียนที่หมู่บ้านใกล้เคียงชื่อ ลา โอช ซูร์ โฟ-อง ก่อนในปี ค..1525 ท่านจะเดินทางเข้ากรุงปารีสเพื่อศึกษาต่อที่วิทยาลัยแซงต์ บาร์เบ โรเรียนที่เก่าแก่ที่สุดในมหาวิทยาลัยปารีสและได้พักห้องเดียวกับนักบุญฟรานซิส เซเวียร์   ทำให้ท่านและเขากลายมาเป็นเพื่อนสนิทกันที่กอดคอกันเข้ารับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตในวันเดียวกัน เมื่อปี ค..1530

นอกจากนั้นที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ท่านยังได้พบนักบุญอิกญาซิโอ แห่ง โลโยลา ที่มาศึกษาอยู่และพักห้องเดียวกันกลับท่าน ท่านจะมีหน้าที่สอนเรื่องปรัชญาของอริสโตเติลให้เขา ส่วนเขาก็จะสอนท่านในเรื่องจิต ซึ่งนำไปสู่สายสัมพันธ์ในฐานะเพื่อน ก่อนในฤดูใบไม้ร่วง ค..1533 ท่านจะเดินทางกลับบ้านเพื่อสะสางเรื่องต่างๆ ก่อนจะกลับมาในต้นปี ค..1534 และได้เข้ารับการฝึกปฏิบัติจิตภายใต้คำแนะนำของนักบุญอิกญาซิโอเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือน



ซึ่งปีนั้นมีอากาศที่หนาวมากจนถึงขนาดที่น้ำในแม่น้ำแซนน์แข็งจนเอาเกวียนไปวิ่งได้เลยทีเดียว แต่แทนที่ท่านจะจัดการระบบทำความร้อนในบ้านที่ไปพักในชนบทนักบุญยากอบ ท่านกลับทำตรงข้ามท่านสวมแค่ชุดธรรมดาและนอนหลับบนไม้ฟืนที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงเตาผิงเสีย ไม่พอท่านยังเริ่มอดอาหารเป็นระยะเวลาถึงหกวันด้วยกันอย่างไม่เกรงกลัวอะไรเลย กระทั้งนักบุญอิกญาซิโอแวะมาเยี่ยมและทราบเรื่องก็ขอให้ท่านหยุดการฝึกที่เกินขอบเขตของท่านนี้เสียและขอให้จุดไฟในเตาผิงและกลับมารับประทานอาหารเช่นเดิม

และที่สุดท่านก็ได้สัมผัสได้ถึงกระแสเรียกการเป็นสงฆ์ผู้รับใช้พระเจ้า ซึ่งช่วยปลดท่านออกจากโซ่แห่งความสงสัยต่ออนาคตที่บีบรัดท่านมาตลอดลง การเป็นอิสระในครั้งนี้ทำให้ดวงใจที่เคยทุกข์ระทมของท่านสัมผัสได้ถึงสันติสุขและความสว่างอย่างที่ท่านไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน ท่านได้รับศีลอนุกรมในวันที่ 30 พฤษภาคม ค..1534 และได้ถวายมิสซาแรกในวันฉลองนักบุญมารี มักดาเลน ที่ 22 กรกฎาคม ปีเดียวกันนั้นเอง



หลังจากนั้นในวันสมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ ที่ 15 สิงหาคม ค..1534 ณ วัดเล็กที่สร้างถวายแด่แม่พระ บนเนินมงต์มาทร์ เมื่อแผ่นศีลถูกชูขึ้นจากแผ่นรองศีลต่อหน้าทุกคนบรรดาสมาชิกของคณะใหม่จำนวนหกคนก่อนรับศีล ทุกคนได้ถวายคำปฏิญาณตนและรับศีลมหาสนิทจากมือของท่านผู้เป็นพระสงฆ์องค์เดียวในจนครบแล้ว ท่านผู้ทำมิสซาจึงได้ถวายคำปฏิญาณตนเป็นคนสุดท้ายและรับศีลมหาสนิท แม้ในขณะนั้นทุกคนจะไม่มีความคิดเรื่องคณะใหม่เลยซักนิด แต่อิฐแรกของคณะเยซูอิตก็ถูกวางลงแล้วอย่างแข็งแกร่ง

ถัดจากนั้นท่านและสหายก็ตามไปสมทบกับนักบุญอิกญาซิโอที่เวนิสในวันที่ 15 พฤศจิกายน ..1536 และมาถึงในเดือนมกราคมในปีถัดมา ที่นั่นพวกท่านได้ล้มเลิกความตั้งใจที่จะไปประกาศข่าวดีที่แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์และตัดสินใจจัดตั้งเป็นคณะธรรมทูต คณะแห่งพระเยซูเจ้าหรือเยซูอิต ก่อนจะเดินทางเข้ากรุงโรมเพื่อมอบตัวเองไว้กับพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 3



ท่านยังคงใช้เวลาอยู่ที่นั่นอีกหลายเดือนในการเทศน์และการสอน กระทั้งสมเด็จพระสันตะปาปาทรงส่งท่านไปยังปาร์มาและปีอาเซนซา ท่านก็ได้ไปและได้เป็นผู้นำในการฟื้นฟูความเลื่อมใสของคริสตชน ในฐานะของอัครสาวกของเยอรมัน ท่านถูกเรียกกลับโรมในปี ค..1540 ก่อนจะถูกส่งไปประเทศเยอรมันเพื่อเป็นตัวแทนพระศาสนจักรในสภานิติบัญญัติแห่งโวรมซ์ และหลังจากนั้นท่านก็ได้ร่วมสภานิติบัญญัติแห่งเรเจนซ์บรูก อันมีจุดประสงค์เพื่อความความสามัคคีในศาสนาในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปี ค..1541

ซึ่งการมาครั้งนี้ทำให้ท่านถึงต้องตกใจกลับสภาพความสงบจากการเคลื่อนไหวของโปรเตสแตนต์ที่ค่อยๆขยับไปทั่วประเทศเยอรมันกับความเสื่อมโทรมของฐานานุกรมคาทอลิกหรือพูดง่ายๆตำแหน่งสมณศักดิ์นั่นเอง ดังนั่นท่านจึงตัดสินใจที่จะแก้ปัญหานี้แต่ไม่ใช่ที่โปรเตสแตนต์ แต่อยู่ที่คาทอลิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสงฆ์  ดังนั้นสิบเดือนที่สเปเยอร์ ที่เรเจนซ์บรูกและที่ไมนซ์ ท่านจึงปฏิบัติตนด้วยความอ่อนโยนต่อทุกคนที่ท่านพบ



ชื่อเสียงของท่านเป็นที่ขจรไกลไม่ใช่ด้วยบทเทศน์ที่จับใจ แต่เป็นคำแนะนำทางวิญญาณ ท่านมีอิทธิพลต่อทั้งเจ้าชาย มุขนายกและพระสงฆ์ที่ได้พบท่าน นอกจากนั้นท่านยังไปๆมาในยุโรปด้วยการเดินเท้า เพื่อชี้แนะพระสังฆราช พระสงฆ์ ขุนนางและคนทั่วไปเหมือนกันกลับการฝึกปฏิบัติจิตที่นำไปสู่การฟื้นฟูจิตใจ

แม้จะเป็นเยซูอิตคนเดียวในที่นี่ ท่านก็ไม่เคยรู้สึกโดดเดี่ยว เพราะท่านเดินไปบนสะพานแห่งเวลาและนิรันดร์ ซึ่งมีพลเมืองคือบรรดานักบุญและทูตสวรรค์ทั้งหลายเดินไปด้วยกัน ทุกวันท่านจะสวดต่อนักบุญประจำวัน บรรดานักบุญทั้งหลายและอัครเทวดา ซึ่งท่านมักขอให้พวกเขาคอยช่วยเหลือท่านเสมอทั้งในการทำตนท่านให้ศักดิ์สิทธิ์และการแพร่ธรรมของคณะ และทุกครั้งที่ท่านจะเข้าเมืองไหนท่านก็มักสวดขอนักบุญที่เกี่ยวข้องกับที่นั่น และทุกครั้งท่านจะสามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดีแม้จะเป็นพื้นที่อริก็ตามท่านก็มั่นใจได้ หรือไม่บางครั้งถ้าท่านจะชี้นำคนท่านก็จะสวดขออารักขเทวดาของพวกเขาเสมอ



หลังจากนั้นท่านก็เดินทางไปสเปนตามคำสั่งของนักบุญอิกญาซิโอ ก่อนจะกลับไปเยอรมันเป็นครั้งที่สองตามคำสั่งของสมเด็จพระสันตะปาปา เป็นระยะเวลาอีกเก้าเดือนที่ท่านใช้เวลาที่สเปเยอร์ ที่ไมนซ์และที่โคโลญในการปฏิรูปซึ่งเป็นงานที่จัดได้ว่าหินสุดๆและท้าทายมาก แต่กระนั้นท่านก็สามารถหว่านเมล็ดพันธ์แห่งกระแสเรียกเยซูอิตลงบนแผ่นดินนี้ได้ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนักบุญปีเตอร์ คานิซิอุส  เยซูอิตชาวดัทต์คนแรก นอกจากนั้นท่านยังได้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งกระแสเรียกในคนหนุ่มที่เลอเฟนในปี ค..1543 ก่อนเดินทางกลับโคโลญ  และใช้เวลาระหว่างปี ค..1544 และ ค..1546 ดำเนินงานของท่านในโปรตุเกตและสเปน ซึ่งในโปตุเกตท่านก็ได้เป็นสื่อวางรากฐานคณะเยซูอิตในประเทศนั้น ส่วนที่สเปน ท่านก็เป็นนักเทศน์ที่ร้อนรน ท่านจึงถูกเชิญให้ไปเทศน์ในเมืองหลักๆของสเปน ซึ่งทุกที่ท่านก็ได้กระตุ้นความร้อนรนของคริสตชนและกระแสเรียกการนักบวช ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือนักบุญฟรานซิส บอร์เจีย

ถัดจากนั้นในปี ค..1546 สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 3 ก็ได้ทรงแต่งตั้งให้ท่านไปเป็นผู้เชี่ยวชาญ(Peritus) ตัวแทนของสันตะสำนักในสภาแห่งเตรนต์  ในวัยสี่ปีท่านจึงได้ออกเดินทางด้วยเท้าเช่นเดิมเพื่อเข้าร่วมสภา แต่ก็มาได้เพียงกรุงโรมท่านก็มีสภาพอ่อนแอจากพิษไข้ จนที่สุดแล้วในอ้อมแขนของนักบุญอิกญาซิโอเพื่อนรักในวันที่ 2 สิงหาคม ค..1546  ด้วยอายุรวม 40 ปี



ร่างของท่านถูกฝังที่วัดแม่พระแห่งหนทางศูนย์กลางของคณะเยซูอิตในสมัยนั้น ก่อนถูกย้ายมาในวัดพระเยซูเจ้าเมื่อวัดสร้างเสร็จ เรื่องราวของท่านถูกบันทึกและได้รับการบันทึกในสารบบบุญราศีในวันที่  5 กันยายน ค..1872 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุส ที่ 9 และในวันที่ 17 ธันวาคม ค..2013 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสก็ทรงสถาปนาท่านเป็นนักบุญเป็นกรณีพิเศษคือไม่ต้องมีอัศจรรย์ประกอบและไม่ต้องมีพิธีสถาปนา

คนที่วางใจในพระเจ้าย่อมได้รับพระพร (เยเรมีย์ 17:7) เป็นจริงดังนั้นตามที่กล่าวไว้ คิดดูหากเป็นเราถ้าต้องไปทำงานในสถานที่ที่แบบที่ท่านไปทำ เราคงมิสามารถทำได้แน่ จะให้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความเชื่อลงบนผืนดินที่เกือบจะแห้งแล้งจะบ้าหรือ แต่ผ่านความวางใจท่านสามารถทำได้โดยเริ่มจากตัวท่านเองด้วยการวางใจในพระ ท่านก็สามารถฟื้นดินที่เกือบจะแห้งแล้งให้กลับมาอุดมสมบูรณ์เช่นเดิม เพื่อเตรียมหว่านเมล็ดพันธ์แห่งกระแสเรียกลงไป ซึ่งนับเป็นพระหรรษทานของพระเจ้าที่ต้นไม้เหล่าได้เติบโตออกผลมากมาย ซึ่งนับเป็นอัศจรรย์นักที่คนๆเดียวจะสามารถฟื้นฟูความร้อนรนของคริสตชนที่สมัยนั้นหย่อนยานให้กลับมาได้ เช่นกันการวางใจคือกุญแจดอกสำคัญในกิจการทุกการที่เราทำ เพราะผ่านความวางใจในพระเมตตาของพระเจ้าแล้ว ชีวิตของเราในทุกๆวินาทีก็จะเอ่อล้นไปด้วยพระหรษษทานมากมาย ลองวางงานของเราในมือพระดูซิ แล้วเราจะพบกลับผลที่เกิดคาดเดา


นักบุญปีแอร์ เลอ ฟาแวร์ ช่วยวิงวอนเทอญ


ข้อมูลอ้างอิง
Pope Report
หนังสืออิกญาซิโอ แห่งโลโยลาผู้สถาปนาคณะแห่งพระเยซูเจ้า เสาเข็มของเยซูอิต หน้า 87-89

http://www.sjweb.info/documents/cis/pdfenglish/200510910en.pdf

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

"เพา โยเซฟ" บิดาของผู้ยากไร้


บุญราศีเพา โยเซฟ นาร์ดินี
Blessed Paul Josef Nardini
ฉลองในวันที่ : 27 มกราคม

มาร์กาเรตา ลิคเท็นแบรแกร (Margareta Lichtenberger) ต้องหอบหิ้วบุตรชายคนเดียวของเธอไปมา หนูน้อยผู้ไม่เคยทราบว่าบิดาเขาชื่ออะไร คงรู้แต่ว่าเขาเป็นวิศวกรทหารออสเตรีย เธอตกงานมาสองปีแล้ว จนที่สุดด้วยความจำเป็นเธอจึงตัดสินใจเอาบุตรชายของเธอไปไว้กับคุณป้าฝั่งบิดาของเธอ คุณป้ามารีอา บาร์บารา  ลิคเท็นแบรแกร (Maria Barbara Lichtenberger) ที่สมรสกับอันตน นาร์ดินี  ชาวอิตาลี ทั้งสองรักหนูน้อยเมื่อบุตรแท้ๆในไส้เลยทีเดียวละ



หนูน้อยเพา เกิดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค..1821 ที่แกรแมรไซม์(Germersheim) รัฐไรน์ลันด์-พฟัลซ์ ราชอาณาจักรบาวาเรียหรือปัจจุบันคือประเทศเยอรมัน ท่านเป็นนักเรียนที่ขยันและมีเกรดเฉลี่ยดีมากๆ ดังนั้นแทนทีจบประถมแล้วท่านจะได้เรียนทำรองเท้า ท่านจึงได้ไปเรียนภาษาลาติน ในปี ค..1834  ก่อนท่านจะย้ายไปศึกษาในโรงเรียนมัธยมที่ ชไปเออร์ ในปี ค..1838

และเมื่อจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา ท่านก็เริ่มสัมผัสได้ถึงกระแสเรียกการเป็นสงฆ์ผู้แทนของพระคริสตเจ้า ดังนั้นหลังจากจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา ท่านก็ได้เข้าสามเณรราลัยที่ชไปเออร์ และได้ศึกษาด้านปรัชญาอยู่ที่นั่นเป็นระยะเวลาตั้งแต่ปี ค..1841-..1843 ก่อนถูกส่งไปมหาวิทยาลัยลุดวิก แมกซิมิเลียน ในมิวนิก ในภาควิชาเทวศาสตร์ และจบด้วยปริญญาเอกในวันที่ 25 กรกฎาคม ค..1846  ด้วยคะแนนเกียรตินิยม



แม้จะถูกอาจารย์สนับสนุนให้ประจำอยู่ที่วิทยาลัย แต่ท่านก็ไม่เอา เพราะความฝันอันสูงสุดของท่านคือการเป็นพระสงฆ์ประจำเขตวัด โดยก้าวอย่างแรกสู่ความฝันของท่านคือการเข้าพิธีบวชขั้นต้น ในวันที่ 5 มิถุนายน ค..1846  ก่อนในวันถัดมาท่านจะได้รับศีลบวชเป็นรองสังฆานุกร หลังจากนั้นท่านก็กลับไปชไปเยอร์พร้อมปริญญาเอกที่พึ่งได้มาเมื่อวันจบและได้รับศีลบวชเป็นสังฆานุกรในวันที่ 11 สิงหาคม จนที่สุดแล้วความฝันท่านก็เป็นจริง ณ อาสนวิหารแห่งชไปเยอร์ ผ่านการหมอบราบหน้าพระสังฆราช ท่านก็ได้รับศีลอนุกรมเป็งสงฆ์ผู้แทนพระคริสตเจ้าสงฆ์นิรันดร์

หน้าที่ของท่านหลังรับศีลอนุกรมคือการเป็นจิตตาภิบาลที่แฟรงเคนไทล(Frankenthal) แล้วจึงไปเป็นผู้บริหารวัดที่เขตวัดในเทรเบอร์ ก่อนไปเป็นเจ้ากระทรวงของโรงเรียนประจำของสังฆมณฑลในชไปเออร์ หลังจากนั้นท่านก็ได้ไปประจำไปทำงานอภิบาลในฐานะพ่อเจ้าวัดที่เขตวัดของพรีมาซีนซ์(Pirmasens) ที่ยากจนและขัดสนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ..1851 เป็นต้นมา



ตลอดเวลาแม้ไม่ได้พบมารดามานาน ท่านก็ไม่เคยลืมพระคุณของเธอเลย และเมื่อท่านได้ย้ายมาที่นี่ ท่านก็ได้รับมารดามาอยู่ด้วยในบ้านพักและที่นี้เช่นกันท่านได้แสดงให้เห็นถึงแบบฉบับสงฆ์ที่ดี อาทิความกระตือรือร้นในการละทิ้งตัวเองและการแพร่ธรรมซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการประกาศข่าวดีและสร้างภาพชุมชนคริสตังในพื้นที่ของคริสต์เตียน ด้วยผลที่มีประสิทธิภาพในฐานะพระสงฆ์ บวกกับบทเทศน์ ทักษะการสอนคำสอนและความรักต่อศีลมหาสนิทของท่าน ทำให้ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพนับหน้าถือตาและนำไปสู่ชื่อ บิดาของผู้ยากไร้ในชุมชน

กระนั้นท่านก็มีความกังวลต่อสภาพของเยาวชนและผู้สูงอายุในพื้นที่ที่ถูกบังคับให้อาศัยอยู่ ท่านเห็นบรรดาคริสตังเป็นชนกลุ่มน้อยๆที่ถูกกดขี่ในพื้นที่ด้วยการทำงานหนัก เยาชนหลายคนต้องไปเป็นขอทานอยู่ตามถนนหนทาง ดังนั้นท่านจึงมีความคิดที่จะตั้งคณะสตรีที่จะช่วยอภิบาลงานนี้ แต่ทางสภาเมืองที่ทั้งหมดล้วนเป็นคริสต์เตียนกับต่อต้านอย่างรุนแรงต่อการตั้งอารามในเมืองนี้ แต่อย่างไรก็ตามท่านก็ลุกขึ้นมาอย่างไม่เกรงกลัวแม้มันจะเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตท่านก็ตาม



ดังนั้นในปี ค..1853 ท่านจึงได้เชิญซิสเตอร์จาคณะภคินีแห่งพระผู้ไถ่กู้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง(Sisters of the Most Holy Redeemer) จากประเทศฝรั่งเศส มาช่วยดูแลและให้การศึกษาแก่บรรดาเยาวชนผู้ยากไร้ในพื้นที่ และขอให้ดูแลผู้ป่วยที่ทุกข์ยากโดยมิคำนึงถึงเชื้อชาติและศาสนา และเพียงไม่นานหลังจากซิสเตอร์สามคนมาถึง พันธกิจแรกของพวกเธอและท่านก็เริ่มขึ้นด้วยการระบาดของโรคไข้รากสาดใหญ่ในเมือง พวกท่านก็ได้ช่วยพยาบาลพวกเขาทั้งกลางวันและกลางคืนในบ้านหลังเล็กๆที่ท่านเช่าไว้ และด้วยเหตตุนี้หนึ่งในซิสเตอร์คนหนึ่งก็ติดโรค

หลังจากนั้นอีกสองปีถัดมา งานของพวกท่านก็เป็นที่ชัดเจนว่ามีมากขึ้นและดูเหมือนว่าบรรดาซิสเตอร์จะถูกเรียกตัวกลับ นอกจากนั้นทางฝั่งรัฐบาลยังออกกฎหมายห้ามสมาชิกคณะทางศาสนานอกประเทศเยอรมัน ดังนั้นท่านจึงเริ่มแสวงหาคำตอบจากพระเจ้าว่าท่าควรจะทำอย่างไรต่อไปและองค์พระเจ้าก็ทรงตอบรับคำภาวนาของท่าน ใช่แล้วคณะท้องถิ่นไงละ พวกเขาจะสานงานต่อ



ดังนั้นหลังจากมีการเรียนหนึ่งในบรรดาซิสเตอร์ของคณะกลับ เมื่อโรคไข้รากสาดใหญ่กลับมาอีกครั้ง ท่านก็ได้นำสตรีผู้สมัครใจสำหรับคณะใหม่เข้าอารามของเขตวัดสองคน คือ บาบาร่า ชว้าร์ซ กับ ยูเลียน มิเคด  สมาชิกฟรานซิสกันขั้นสาม ซึ่งท่านก็เป็นสมาชิก เข้ารับการฝึกอบรมและถวายตัวในวันที่ 2 มีนาคม ค..1855 ด้วยนามใหม่ว่า ซิสเตอร์อกาธา กับ ซิสเตอร์อลอยเซีย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของคณะใหม่ที่ตั้งขึ้นเพื่อดูแลคนยากจรน มอบการศึกษาภายใต้กฎของคณะฟรานซิสกันขั้นสามนาม คณะฟรานซิสกันผู้ยากไร้แห่งพรีมาซีนซ์  ซึ่งายหลังเปลี่ยนมาเป็น คณะภคินีฟรานซิสกันผู้ยากไร้แห่งพระวิสุทธิวงส์ จุดนี้เองที่ซิสเตอร์จากฝรั่งเศสได้กลับไป



ก้าวอย่างแรกของคณะใหม่มิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย บทความในหนังสือพิมพ์ของรัฐต่างประโคมข่าวโจมตีท่านอย่างรุนแรงำหรับการก่อตั้งคณะนี้ พระสังฆราชยังคงมิได้อนุมัติคณะท่าน อย่างไรก็ตามท่านก็ยังคงดำเนินงานต่อ ท่านใช้เวลาส่วนตัวในการดูแลและก่อร่างสร้างคณะ อีกเรื่องอาหารและที่พักของคณะ แม้จะต้องอดข้าวเย็นก็ตาม ท่านก็ทำเพื่อให้มีรายได้ในการทำสิ่งนั้น เพราะท่านมั่นใจว่าจะมีคนมาเข้าคณะท่านอีกมากมาย

และที่สุดแล้วเวลาที่รอคอยก็มาถึงเมื่อพระสังฆราชทรงทำให้คณะของท่านได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากพระศาสนจักร ในวันที่ 10 มีนาคม ค..1857 ท่านยังคงทำงานตรากตรำมาเรื่อยกระทั้งในฤดูหนาวของเดือนมกราคม ค..1862 หลังจากไปโปรดศีลเจิมคนไข้แก่ลูกวัดในคืนที่หนาวจัดอย่างไม่เกรงกลัวต่ออากาศ ท่านก็ล้มป่วยลงด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่และถึงแก่มรณกรรมอย่างสงบในวันที่ 27 มกราคม ค..1862 ด้วยอายุรวม 40 ปี



ท่านจากไปพร้อมกับคณะที่ก้าวหน้าด้วยจำนวนสมาชิกมากกว่าสองร้อยคนในสามสิบห้าที่  แม้ทุกคนจะอาลัยแต่ทุกคนรู้ดีว่าท่านคือนักบุญ เรื่องราวของท่านถูกเสนอและได้รับกานอนุมัติรับรองอัศจรรย์จากสันตะสำนักในรัชสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปากิตติคุณเบเนดิกต์ ที่ 16 อันนำไปสู่การแต่งตั้งท่านขึ้นเป็นบุญราศีในวันที่ 22 ตุลาคม ค..2006 อย่างเป็นทางการในอาสนวิหาสเปเยอร์ ประเทศเยอรมัน

ผู้ที่พระเจ้าจะทรงบันดาลความชอบธรรมนั้น ไม่ใช่ผู้ที่ได้ยินได้ฟังธรรมบัญญัติเท่านั้น แต่เป็นผู้ที่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติด้วย (โรม 2:13)  และพระธรรมบัญญัติของพระเจ้าคือจงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง บุญเพาแสดงออกถึงเรื่องนี้ ท่านได้ฟังพระวาจาเช่นทุกคนที่เป็นคริสตชน หลังจากนั้นท่านจึงนำมันไปปฏิบัติให้งอกเงยจนเกิดผลด้วยการตั้งคณะเพื่อดูแลผู้ยากไร้ ดูเถิดว่าแม้นจะต้องพบคำครหาต่างๆ ในการตั้งคณะ แต่ที่สุดเวลาก็เผยความจริง พระเจ้าทรงมอบความชอบธรรมแก่ท่านที่จะดำเนินงานนี้ เช่นเดียวกันความชอบธรรมของพระเจ้าจะสถิตอยู่กับผู้ที่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของพระองค์เสมอมิได้ขาดกระทั้งวันสิ้นพิภพ 


ข้าแต่ท่านบุญราศีเพา โยเซฟ นาร์ดินี  ช่วยวิงวอนเทอญ


ข้อมูลอ้างอิง

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ทางกางเขนของ "ราฟา"


นักบุญราฟา
St.Rafqa
ฉลองในวันที่ : 23 มีนาคม

หมู่บ้านฮิมรายา ประเทศเลบานอน วันสมโภชนักบุญเปโตรและเปาโล อัครสาวก ที่  29 มิถุนายน ค..1832  ครอบครัวนายโมราด เอล ราเยส กับนางราฟคา เจมาเยล ธิดาตัวน้อยได้ถือกำเนิดขึ้น พร้อมกับได้รับศีลล้างบาปในวันที่ 7 กรกฎาคม ด้วยนาม บูโทร์สซีช อันมีความหมายหากอ่านด้วยภาษาอาหรับว่า ธิดาแห่งเปโตร



ตั้งแต่ครั้งเยาว์วัยบิดามารดาก็คอยพร่ำสอนให้ท่านรักพระเจ้าและสวดภาวนาทุกๆวัน แต่ไม่นานความสุขก็พลันจบลงเมื่อมารดาท่านมาด่วนจากท่านไป ในขณะที่ท่านมีอายุได้เพียงแค่ 7 ปี มันเป็นความเศร้าที่ยิ่งใหญ่สำหรับท่านนัก หลังจากนั้นท่านก็เติบโตขึ้นมาโดยขาดมารดา กระทั้งอายุได้ 11 ปี บิดาท่านก็ประสพปัญหาด้านการเงินอย่างหนัก เขาจึงส่งท่านไปทำงานเป็นคนใช้ที่ดามัสกัสเป็นระยะเวลาถึงสี่ปี ในบ้านของอาซซาอาด อัล บาดาวี ชาวเลบานอน ที่นั่นท่านเติบโตมาเป็นสาวที่จัดได้ว่าสวย น่าพึงพอใจ มีอารมณ์ขัน เกลี้ยงเกลา อ่อนโยนกับวาจาที่ดูสงบ

ท่านกลับมาบ้านและพบว่าบิดาท่านได้สมรสใหม่แล้ว และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นของปัญหาเมื่อแม่เลี้ยงต้องการให้ท่านสมรสกับพี่ชายของเธอ ส่วนคุณป้าฝ่ายมารดาของท่านก็ต้องการให้ท่านสมรสกับบุตรชายของเจ้าหล่อนเช่นเดียวกัน ในฝั่งท่านนั้นท่านมิมีความปรารถนาจะสมรสกับมนุษย์คนใดเลย ท่านค้นพบปัญหาการวิวาทนี้ ในวันหนึ่งหลังจากกลับจากตักน้ำที่น้ำพุ ท่านก็ได้ยินพวกเขาเถียงกันอย่างยกใหญ่ ท่านจึงทูลขอให้พระเจ้าทรงโปรดแก้ปัญหานี้ที



ที่สุดท่านก็ตัดสินใจจะอุทิศชีวิตของท่านต่อพระสวามีเจ้าองค์เดียวพระคริสตเจ้าด้วยการเป็นซิสเตอร์อันเป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่ของท่าน ท่านทูลขอให้ความปรารถนาของท่านสำเร็จลงต่อพระเจ้าและเดินทางไปยังอารามพระมารดาแห่งอิสรภาพในบิคฟายา ของคณะมาเรียเมตเตส (ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า ธิดาพระมารดาผู้ปฏิสนธินิรมล)
เมื่อฉันเข้าไปในวัด ฉันรู้สึกเปี่ยมล้นไปด้วยความสุขอันยิ่งใหญ่ ได้รับความบรรเทาใจที่ภายในและขณะมองภาพของแม่พระ ฉันรู้สึกราวกับว่ามีเสียงมาจากภาพและ….บอกกับฉันว่า ลูกจะเป็นซิสเตอร์
คุณแม่อธิการอนุญาตให้ท่านเข้าอารามได้เลย โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ท่านสมัครเข้าอารามและปฏิเสธที่จะกลับบ้านไพร้อมกับบิดาและแม่เลี้ยงเมื่อพวกเขามากีดกันท่านจากการเป็นซิสเตอร์

ท่านเริ่มชีวิตในอารามในฐานะนวกะในวันฉลองนักบุญมาอ๊องที่ 9 กุมภาพันธ์ ค..1855 ในอารามที่กาซีร์ ด้วยนาม อนิซซา” (อักแนส) ถัดจากนั้นท่านจึงถูกส่งไปแดร์ เอล แกมาร์ ในปี ค.. 1860  เพื่อช่วยสอนคำสอนในพันธกิจของคณะเยซูอิต ที่นั่นท่านได้แลเห็นการนองเลือดที่เกิดขึ้นในเลบานอนขณะนั้น และได้ทำสิ่งที่เสี่ยงที่สุดครั้งหนึ่งด้วยการช่วยเด็กชายคนหนึ่งไว้ใต้เสื้อคลุม ซึ้งช่วยให้เขาพ้นจากความตายมาได้อย่างฉิวเฉียด


ก่อนกลับมาและได้รับเสื้อคณะในวันสมโภชนักบุญยอแซฟที่ 19 มีนาคม ค..1861 แลปฏิญาณตนชั่วคราวในวันเดียวกันในอีกปีต่อมา ก่อนถูกส่งไปประจำในห้องครัวที่สามเณราลัยกาซีร์ ของคณะเยซูอิต ท่านใช้เวลาว่างในช่วงนั้นในการศึกษา ฝึกเขียนอักษรอาหลับ เรียนคณิตศาสตร์และช่วยเหลือบรรดาเด็กหญิงทั้งหลาย 

จากนั้นในปี ค.. 1863 ท่านก็ถูกส่งตัวไปสอนที่โรงเรียนของคณะในบีโบล์ส หนึ่งปีหลังจากนั้นท่านย้ายไปประจำที่หมู่บ้านมาอาด เพื่อสร้างโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงด้วยความช่วยเหลือของนายอ็องตูน อิซซา  เป็นระยะเวลาราว 7 ปี



หลังจากนั้นในปี ค..1871 คณะของท่านก็ได้รวมกับคณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าและพระแม่มารีย์ ดังนั้นซิสเตอร์ในคณะจึงมีทางเลือกสองอันคือเข้าคณะใหม่หรืออย่างใดก็ได้ ท่านรู้สึกสับสน ท่านจึงทูลต่อพระเจ้าเพื่อขอความสว่าง ท่านได้เข้าไปในวัดนักบุญจอร์จเพื่อการนี้ และพระเจ้าก็ได้ทรงตรัสกับท่านว่า ลูกจะยังคงเป็นซิสเตอร์  และในคืนวันเดียวกันนั้นเองท่านก็ฝันเห็นชายสามคน คนหนึ่งมีเคราสีขาว อีกคนหนึ่งแต่งตัวคล้ายทหารและอีกคนเป็นชายชรา มาหาท่านชายผู้หนึ่งกล่าวกับท่านว่า จงไปเป็นซิสเตอร์ในคณะบาลาดิตา หลังจากนั้นท่านก็ตื่นขึ้นด้วยดวงใจที่เออล้นไปด้วยความสุข ท่านรับไปหาอ็องตูนเพื่อเล่าความฝันให้ฟังและทราบว่าทั้งผู้ที่กล่าวกับท่านนั้นคือนักบุญอันตน อธิการ ส่วนอีกสองคนคือนักบุญจอร์จและนักบุญซีมอน สตีลิเตส

ดังนั้นด้วยการสนับสนุนด้านการเงินจากนายอ็องตูน ท่านจึงออกเดินทางไปยังอารามนักบุญซีมอนในอัล คาร์น ของคณะบาลาดิตา คณะนักพรตของเลบานอนและได้เข้าเป็นนวกะด้วยวัย 39 ปี ในวันที่ 12 กรกฎาคม ค..1871 ก่อนเข้าพิธีปฏิญาณตนตลอดชีพด้วยนาม ซิสเตอร์ราฟคา



ท่านเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างของเพื่อนซิสเตอร์ทั้งหลายในอาราม ท่านยึดมันตามกฎของคณะ ชีวิตของท่านเต็มไปด้วยการเสียสละและความเข้มงวดเสมอมา กระทั้งในวันอาทิตย์แรกของเดือนตุลาคม ค..1885 ท่านก็ไม่ได้ตามบรรดาซิสเตอร์ไปเดินรอบๆอาราม แต่ตัดสินใจที่จะสวดสายประคำเนื่องจากเป็นวันแรกของเดือนสายประคำ ดังนั้นบรรดาซิสเตอร์จึงบอกท่านก่อนออกไปทุกๆคนว่า สวดให้ฉันด้วยนะ ซิสเตอร์ หลังจากนั้นท่านจึงได้เข้าไปสวดภาวนาในวัดและได้สวดขอให้ตัวท่านได้สัมผัสกับพระมหาทรมานของพระองค์ เหตุไฉนกันพระองค์จึงทรงออกห่างลูกและทิ้งลูกเล่า พระองค์มิเคยเสด็จไปเยี่ยมลูกกับอาการเจ็บป่วยเลย ลูกมิควรที่จะได้รับมันดอกหรือ

และภายในคืนนั้นพระเยซูเจ้าก็ทรงรับคำทูลขอท่าน ความเจ็บปวดพลันเกิดที่ศีรษะของท่านในยามราตรีของคืนหลังวันนั้น ก่อนที่มันจะค่อยๆไล่มาที่ตาทั้งสองของท่าน เมื่อคุณแม่อธิการทราบเรื่องของท่าน คุณแม่ก็จึงนำตัวท่านไปรักษา เป็นระยะเวลาเกือบสองปีที่ท่านต้องทนทุกข์ทรมานที่ดวงตา ไม่ว่าจะแพทย์คนไหนในท้องถิ่นก็ไม่สามารถทำสิ่งใดได้เลย กระนั้นท่านยังคงยิ้มไปพร้อมวลีที่ว่า ในความสนิทกับพระมหาทรมานของพระองค์ พระเยซูเจ้า



ที่สุดจึงมีการตัดสินใจส่งท่านไปเบรุตเพื่อรับการรักษา และผ่านวัดนักบุญยอห์น มาร์คัส ในบีโบลส์ สหายเก่าท่านได้รู้ว่ามีแพทย์ชาวอเมริกันในพื้นที่ ดังนั้นพวกเขาจึงพาท่านไปหาเขาและเมื่อทำการตรวจ เขาจึงสั่งให้ท่านต้องผ่าตัดตาขวาในทันที ในการเข้ารับการผ่าตัดครั้งนั้นท่านปฏิเสธการใช้ยาสลบ แต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อหมอนำมีดไปผ่าตัดที่ดวงตาขวาของท่าน เป็นมัน ตาขวาของท่านโผล่และหลุดตกลงมาที่พื้นห้อง แต่กระนั้นท่านก็หาบ่นไม่ ท่านเพียงแต่กล่าวว่า เพื่อพระมหาทรมานของพระคริสตเจ้า ขอพระเจ้าโปรดทรงอวยพระพรมือของคุณและขอให้พระองค์ทรงตอบแทนคุณกลับด้วยนะค่ะ พร้อมยิ้ม

และหลังจากนั้นดวงตาข้างซ้ายของท่านก็ค่อยๆจมลงไปในเบ้าและทำให้ตาบอดในที่สุด จากนั้นท่านก็มีอาการตกเลือดที่บริเวณเบ้าตาทั้งสองประมาณอาทิตย์ 2-3 ครั้งเสมอ นอกจากนี้ท่านยังต้องทนกลับอาการเลือดไหลบ่อยที่บริเวณศีรษะ คิ้ว จมูก ราวกับว่าพวกมันกำลังถูกแทงด้วยเข็มร้อนสีแดง พยานผู้เห็นเหตุการณ์กล่าว อย่างไรความเจ็บปวดก็ไม่ได้พรากท่านจากชีวิตคณะ ท่านยังคงปั่นขนสัตว์ ฝ้าย ถักถุงเท้าให้บรรดาซิสเตอร์ทั้งหลาย ร่วมร้องเพลงทำวัตรด้วยความถ่อมตนเสมอ



เนื่องจากอารามนักบุญซีมอนในฤดูหนามมีอากาศที่หนาวเย็นมาก ดังนั้นท่านจึงได้รับอนุญาตที่จะย้ายไปพักในชายฝั่งของเลบานอนที่มีอากาศที่อบอุ่นกว่าเยอะในฐานะของแขกของคณะภคีนีเมตตาธรรม แต่ท่านมิสามารถที่จะปฏิบัติตามกฎของที่นั่นได้ ท่านจึงขอให้ส่งท่านไปที่อารามนักบุญเอลีอุส ที่ เอล ราสซ์  ของคณะท่านเอง

ที่สุดในปี ค..1897 ท่านก็ได้อนุญาตให้ย้ายไปอยู่ในอารามนักบุญยอแซฟ อัล ดาฮร์ ใน จราบาตา พร้อมซิสเตอร์อีกหกคน นำโดยซิสเตอร์อุร์สุลา อย่างถาวร ในอารามใหม่เอี่ยมของคณะ ถัดจากนั้นเพียงสามปีท่านก็สูญเสียการมองเห็นไปตลอดและกลายเป็นอัมพาต ต้องนอนตะแคงขวาตลอดเวลา เดินเหินไปไหนมาไหนไม่ได้อีกตลอดไป ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งเจ็บปวด ซ้ำร้ายไม่พอท่านยังมีอาการบาดเจ็บที่ไหล่ซ้าย สำหรับบาดแผลที่ไหล่ของพระเยซูเจ้า ท่านกล่าว ยิ่งกว่านั้นกระดูกสันหลังของท่านปูดออกมาจนเห็นเป็นเด่นชัด  ร่างกายท่านเบา ราวกับเป็นเพียงแค่หนังหุ้มกระดูกเท่านั้น แต่มือทั้งสองของท่านก็ยังใช้ถักถุงเท้าเพื่อคนอื่นต่อไป พร้อมใบหน้าที่ยิ้มแย้มที่สะท้อนความสงบและความอ่อนโยน คู่การโมทนาขอบพระคุณสำหรับพระหรรษทานของพระเจ้าที่โปรดให้ท่านได้มีส่วนร่วมในพระมหาทรมานของพระองค์ จากการตรวจของแพทย์ได้ชี้ชัดให้เห็นว่าท่านป่วยด้วยโรควัณโรคกระดูกและข้อ



บันทึกความทรงจำของบรรดาซิสเตอร์ที่เคยอยู่ร่วมท่านในอารามแห่งนี้อีกเรื่อง คือเรื่องที่เกิดขึ้นในวันสมโภชพระคริสต์วรกายครั้งหนึ่ง ท่านปรารถนาที่จะร่วมพิธีพร้อมกับพี่น้องในอาราม แต่แน่นอนความเจ็บป่วยนั้นเหนี่ยวรั้งให้ท่านมิได้ดังใจปรารถนา ท่านทำได้แต่เพียงรอให้คุณพ่อมาส่งศีลให้เมื่อเขามาเยี่ยม แต่ไม่ใช่ในครั้งนี้ ทันทีที่เสียงของบรรดาซิสเตอร์ทั้งหลายดังขึ้น ท่านก็วอนขอพระเจ้าให้โปรดทรงช่วยท่านให้ได้ไปรับศีลด้วย ฉับพลันท่านก็สามารถลงจากเตียงมาได้ แม้ร่างกายส่วนใหญ่ของท่านยังคงเป็นอัมพาตอยู่ จากนั้นท่านก็ค่อยลากตัวเองไปยังวัดอย่างช้าๆท่ามกลางความเจ็บปวดสุดจะบรรยาย แต่ที่สุดท่านก็ได้รับศีลตามความปรารถนา ยังความประหลาดใจมาแก่ซิสเตอร์ทุกคนนักต่อภาพที่เห็น แต่ไม่นานท่านก็กลับมาเป็นอัมพาตเช่นเดิม

อัศจรรย์การมองเห็นแม้นไม่มีดวงตา ครั้งหนึ่งเมื่อท่านกล่าวกับคุณแม่อุร์สุลาว่า ลูกปรารถนาที่จะมองเห็นอย่างน้อยซักหนึ่งชั่วโมงก็ดี เพื่อให้สามารถมองเห็นคุณแม่ค่ะ รอยยิ้มน้อยอันเปี่ยมสุขระบายขึ้นบนหน้าท่านพร้อมวลีอันเปี่ยมสุขว่า ดูซิ ลูกมองเห็นแล้ว ทันทีคุณแม่อุร์สุลายังไม่ปักใจเชื่อ กระทั้งลองให้ท่านทายของหลายๆอย่างที่เธอชี้หรือถาม ซึ่งท่านก็สามารถตอบได้หมดอย่างถูกต้อง หลังจากนั้นท่านก็ได้จ้องมองคุณแม่อุร์ซุลาและทิวทัศน์ของชนบทผ่านหน้าต่างในห้องเป็นระยะเวลาได้ราวชั่วโมง ท่านจึงตกอยู่ในสภาวะหลับสนิทราวสองชั่วโมงได้ มันทำให้คุณแม่อุร์ซุลาเป็นกังวลมาก เธอพยายามปลุกท่านหลายครั้ง กระทั้งท่านตื่นและเล่าว่าท่านได้ไปในสถานที่แห่งหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่มาก ตัวอาคารการตกแต่งที่สวยงามด้วยอ่างอาบน้ำที่เต็มไปด้วยน้ำและมีผู้คนมากมายเบียดเสียดไปที่มัน ท่านก็ได้ไปกับพวกเขา ถึงจุดนี้พลันก็เกิดความสงสัยในใจของคุณแม่อุร์สุลาเธอจึงถามว่าเหตุ”ฉนท่านถึงกลับมาละ ทำไมไม่เดินต่อไป คุณแม่เรียกลูก ลูกเลยมาไงละค่ะ ท่านตอบ



ความนบนอบของท่านนั้นท่านยึดมั่นตลอด แม้ท่านจะมีสภาพร่างกายที่ไม่เอื้ออำนวยนัก ท่านก็ไม่เคยทำสิ่งใดเลยโดยที่ไม่ได้รับคำอนุญาตจากคุณแม่อธิการ ดั่งเรื่องราวที่เล่าไปข้างต้น

ขณะที่ใกล้ถึงปลายทางแห่งไม้กางเขนขึ้น ท่านก็ได้ตัดสินใจบอกเล่าเรื่องราวของท่านแก่คุณแม่อธิการ คุณแม่อุร์ซุลา และที่สุดแล้วหลังจากเจ็ดปีแห่งความทุกข์ทรมานในวันที่  23 มีนาคม ค..1914 หลังจากรับศีลเจิมคนไข้ได้ราวสี่นาทีท่านก็ได้สิ้นใจอย่างสงบด้วยอายุราว 81 ปี ร่างของท่านถูกฝังในสุสานของอารามอย่างเรียบง่าย แต่กระนั้นตลอดระยะเวลาสามคืนก็พลันบังเกิดแสงอันสุกสกาวที่หลุมของท่านตลอดเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจนัก ลูกมิกลัวความตายที่ลูกรอคอยมานาน องค์พระเจ้าจะทรงให้ลูกมีชีวิตอยู่ด้วยความตายของลูกเอง ท่านกล่าวหลังรับศีลมหาสนิทสามวันก่อนที่ท่านจะจากไป



เรื่องราวของท่านได้รับการจดจำและถูกนำไปสู่การดำเนินเรื่องขอแต่งตั้งท่านเป็นบุญราศีและที่สุดในวันก่อนสมโภชพระจิตเจ้าที่ 16 พฤศจิกายน ค..1985 สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ก็ได้ทรงแต่งตั้งท่านเป็นบุญราศี ระหว่างนั้นพระองค์ยังทรงยกย่องท่านให้เป็นแบบอย่างของความรักต่อศีลมหาสนิทในปีปิติมหาการุณย์ ค..2000  ก่อนหลังจากนั้นเพียงหนึ่งปีพระองค์จึงทรงสถาปนาท่านขึ้นไว้ในทำเนียบนักบุญ เป็นนักบุญหญิงอีกคนจากเลบานอน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค..2001 



เรื่องราวชีวิตอันสง่าของท่านเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการน้อมรับน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้าด้วยใจยินดี ท่านไม่เคยบ่นแม้จะต้องนอนเป็นอัมพาต ตาบอด ถ้าเป็นคนหลายๆคนคงบ่นด่าว่าพระเจ้าว่าทำอย่างนี้ได้อย่างไร แต่ไม่ใช่ท่านกลับขอบพระคุณพระองค์ด้วยซ้ำ ตามพระวาจาที่ว่า “ ถ้าผู้ใดอยากตามเรา ก็จงเลิกคิดถึงตนเอง จงแบกไม้กางเขนของตนและติดตามเรา (มัทธิว 16:24) ดังนั้นวิธีการไปสวรรค์ในแบบนักบุญหลายต่อหลายท่านสรุปได้อีกข้อหนึ่งคือ การยอมรับน้ำพระทัยของพระด้วยใจยินดี ขอบคุณพระองค์สำหรับความทุกข์บนโลก ระลึกว่ามันดีกว่าการต้องไปติดอยู่ที่แดนไฟชำระเป็นวันเป็นเดือนหรือเป็นปี เพราะในนั้นช่างทรมานนักเกินจะหาคำใดๆในโลกมาอธิบายได้




ข้าแต่ท่านนักบุญราฟา ช่วยวิงวอนเทอญ


ข้อมูลอ้างอิง

'เบร์นาร์โด ฟรานซิสโก' ให้ชีวิตนี้เป็นสะพานนำรักพระองค์ไป ตอนจบ

บุญราศีเบร์นาร์โด ฟรานซิสโก เด โอโยส เด เซญา Bl. Bernardo Francisco de Hoyos de Seña วันฉลอง: 29 พฤษจิกายน [ย้อนกลับไปอ่าน  “‘เบร์นาร์โด ฟรา...