วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

"ปีแอร์ เลอ ฟาแวร์" สงฆ์องค์แรกของเยซูอิต


นักบุญปีแอร์ เลอ ฟาแวร์
St. Pierre Favre
ฉลองในวันที่ : 8 สิงหาคม

ปีแอร์ ผู้ศักดิ์ลืมตาดูโลกครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 เมษายน ค..1506 ที่หมู่บ้านวิลลาเร็ต ในดินแดนที่เป็นของตระกูลซาวอย ซึ่งปัจจุบันคือแซ็งต์ ฌอง เดอ ซิซต์ จังหวัดโอต-ซาวัว แคว้นโรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส ในครอบครัวของชาวนา ดังนั้นตั้งแต่วัยเยาว์ท่านจึงมีหน้าที่เลี้ยงแกะในทุ่งหญ้าอันเขียวชอุ่มของเทือกเขาแอลป์ในทุกๆวันเช่นเด็กบ้านไร่ทั่วไป แต่ความทรงจำของท่านนั้นช่างถือว่าเป็นเลิศนัก ท่านสามารถจดจำบทเทศน์ของคุณพ่อในตอนเช้า แล้วนำมาเล่าได้คำต่อคำเลยทีเดียวในระหว่างสอนคำสอนในช่วงบ่าย



การศึกษา ท่านได้ไปอยู่ในความดูแลของคุณพ่อที่ตูนซ์ หลังจากนั้นก็ที่โรงเรียนที่หมู่บ้านใกล้เคียงชื่อ ลา โอช ซูร์ โฟ-อง ก่อนในปี ค..1525 ท่านจะเดินทางเข้ากรุงปารีสเพื่อศึกษาต่อที่วิทยาลัยแซงต์ บาร์เบ โรเรียนที่เก่าแก่ที่สุดในมหาวิทยาลัยปารีสและได้พักห้องเดียวกับนักบุญฟรานซิส เซเวียร์   ทำให้ท่านและเขากลายมาเป็นเพื่อนสนิทกันที่กอดคอกันเข้ารับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตในวันเดียวกัน เมื่อปี ค..1530

นอกจากนั้นที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ท่านยังได้พบนักบุญอิกญาซิโอ แห่ง โลโยลา ที่มาศึกษาอยู่และพักห้องเดียวกันกลับท่าน ท่านจะมีหน้าที่สอนเรื่องปรัชญาของอริสโตเติลให้เขา ส่วนเขาก็จะสอนท่านในเรื่องจิต ซึ่งนำไปสู่สายสัมพันธ์ในฐานะเพื่อน ก่อนในฤดูใบไม้ร่วง ค..1533 ท่านจะเดินทางกลับบ้านเพื่อสะสางเรื่องต่างๆ ก่อนจะกลับมาในต้นปี ค..1534 และได้เข้ารับการฝึกปฏิบัติจิตภายใต้คำแนะนำของนักบุญอิกญาซิโอเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือน



ซึ่งปีนั้นมีอากาศที่หนาวมากจนถึงขนาดที่น้ำในแม่น้ำแซนน์แข็งจนเอาเกวียนไปวิ่งได้เลยทีเดียว แต่แทนที่ท่านจะจัดการระบบทำความร้อนในบ้านที่ไปพักในชนบทนักบุญยากอบ ท่านกลับทำตรงข้ามท่านสวมแค่ชุดธรรมดาและนอนหลับบนไม้ฟืนที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงเตาผิงเสีย ไม่พอท่านยังเริ่มอดอาหารเป็นระยะเวลาถึงหกวันด้วยกันอย่างไม่เกรงกลัวอะไรเลย กระทั้งนักบุญอิกญาซิโอแวะมาเยี่ยมและทราบเรื่องก็ขอให้ท่านหยุดการฝึกที่เกินขอบเขตของท่านนี้เสียและขอให้จุดไฟในเตาผิงและกลับมารับประทานอาหารเช่นเดิม

และที่สุดท่านก็ได้สัมผัสได้ถึงกระแสเรียกการเป็นสงฆ์ผู้รับใช้พระเจ้า ซึ่งช่วยปลดท่านออกจากโซ่แห่งความสงสัยต่ออนาคตที่บีบรัดท่านมาตลอดลง การเป็นอิสระในครั้งนี้ทำให้ดวงใจที่เคยทุกข์ระทมของท่านสัมผัสได้ถึงสันติสุขและความสว่างอย่างที่ท่านไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน ท่านได้รับศีลอนุกรมในวันที่ 30 พฤษภาคม ค..1534 และได้ถวายมิสซาแรกในวันฉลองนักบุญมารี มักดาเลน ที่ 22 กรกฎาคม ปีเดียวกันนั้นเอง



หลังจากนั้นในวันสมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ ที่ 15 สิงหาคม ค..1534 ณ วัดเล็กที่สร้างถวายแด่แม่พระ บนเนินมงต์มาทร์ เมื่อแผ่นศีลถูกชูขึ้นจากแผ่นรองศีลต่อหน้าทุกคนบรรดาสมาชิกของคณะใหม่จำนวนหกคนก่อนรับศีล ทุกคนได้ถวายคำปฏิญาณตนและรับศีลมหาสนิทจากมือของท่านผู้เป็นพระสงฆ์องค์เดียวในจนครบแล้ว ท่านผู้ทำมิสซาจึงได้ถวายคำปฏิญาณตนเป็นคนสุดท้ายและรับศีลมหาสนิท แม้ในขณะนั้นทุกคนจะไม่มีความคิดเรื่องคณะใหม่เลยซักนิด แต่อิฐแรกของคณะเยซูอิตก็ถูกวางลงแล้วอย่างแข็งแกร่ง

ถัดจากนั้นท่านและสหายก็ตามไปสมทบกับนักบุญอิกญาซิโอที่เวนิสในวันที่ 15 พฤศจิกายน ..1536 และมาถึงในเดือนมกราคมในปีถัดมา ที่นั่นพวกท่านได้ล้มเลิกความตั้งใจที่จะไปประกาศข่าวดีที่แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์และตัดสินใจจัดตั้งเป็นคณะธรรมทูต คณะแห่งพระเยซูเจ้าหรือเยซูอิต ก่อนจะเดินทางเข้ากรุงโรมเพื่อมอบตัวเองไว้กับพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 3



ท่านยังคงใช้เวลาอยู่ที่นั่นอีกหลายเดือนในการเทศน์และการสอน กระทั้งสมเด็จพระสันตะปาปาทรงส่งท่านไปยังปาร์มาและปีอาเซนซา ท่านก็ได้ไปและได้เป็นผู้นำในการฟื้นฟูความเลื่อมใสของคริสตชน ในฐานะของอัครสาวกของเยอรมัน ท่านถูกเรียกกลับโรมในปี ค..1540 ก่อนจะถูกส่งไปประเทศเยอรมันเพื่อเป็นตัวแทนพระศาสนจักรในสภานิติบัญญัติแห่งโวรมซ์ และหลังจากนั้นท่านก็ได้ร่วมสภานิติบัญญัติแห่งเรเจนซ์บรูก อันมีจุดประสงค์เพื่อความความสามัคคีในศาสนาในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปี ค..1541

ซึ่งการมาครั้งนี้ทำให้ท่านถึงต้องตกใจกลับสภาพความสงบจากการเคลื่อนไหวของโปรเตสแตนต์ที่ค่อยๆขยับไปทั่วประเทศเยอรมันกับความเสื่อมโทรมของฐานานุกรมคาทอลิกหรือพูดง่ายๆตำแหน่งสมณศักดิ์นั่นเอง ดังนั่นท่านจึงตัดสินใจที่จะแก้ปัญหานี้แต่ไม่ใช่ที่โปรเตสแตนต์ แต่อยู่ที่คาทอลิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสงฆ์  ดังนั้นสิบเดือนที่สเปเยอร์ ที่เรเจนซ์บรูกและที่ไมนซ์ ท่านจึงปฏิบัติตนด้วยความอ่อนโยนต่อทุกคนที่ท่านพบ



ชื่อเสียงของท่านเป็นที่ขจรไกลไม่ใช่ด้วยบทเทศน์ที่จับใจ แต่เป็นคำแนะนำทางวิญญาณ ท่านมีอิทธิพลต่อทั้งเจ้าชาย มุขนายกและพระสงฆ์ที่ได้พบท่าน นอกจากนั้นท่านยังไปๆมาในยุโรปด้วยการเดินเท้า เพื่อชี้แนะพระสังฆราช พระสงฆ์ ขุนนางและคนทั่วไปเหมือนกันกลับการฝึกปฏิบัติจิตที่นำไปสู่การฟื้นฟูจิตใจ

แม้จะเป็นเยซูอิตคนเดียวในที่นี่ ท่านก็ไม่เคยรู้สึกโดดเดี่ยว เพราะท่านเดินไปบนสะพานแห่งเวลาและนิรันดร์ ซึ่งมีพลเมืองคือบรรดานักบุญและทูตสวรรค์ทั้งหลายเดินไปด้วยกัน ทุกวันท่านจะสวดต่อนักบุญประจำวัน บรรดานักบุญทั้งหลายและอัครเทวดา ซึ่งท่านมักขอให้พวกเขาคอยช่วยเหลือท่านเสมอทั้งในการทำตนท่านให้ศักดิ์สิทธิ์และการแพร่ธรรมของคณะ และทุกครั้งที่ท่านจะเข้าเมืองไหนท่านก็มักสวดขอนักบุญที่เกี่ยวข้องกับที่นั่น และทุกครั้งท่านจะสามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดีแม้จะเป็นพื้นที่อริก็ตามท่านก็มั่นใจได้ หรือไม่บางครั้งถ้าท่านจะชี้นำคนท่านก็จะสวดขออารักขเทวดาของพวกเขาเสมอ



หลังจากนั้นท่านก็เดินทางไปสเปนตามคำสั่งของนักบุญอิกญาซิโอ ก่อนจะกลับไปเยอรมันเป็นครั้งที่สองตามคำสั่งของสมเด็จพระสันตะปาปา เป็นระยะเวลาอีกเก้าเดือนที่ท่านใช้เวลาที่สเปเยอร์ ที่ไมนซ์และที่โคโลญในการปฏิรูปซึ่งเป็นงานที่จัดได้ว่าหินสุดๆและท้าทายมาก แต่กระนั้นท่านก็สามารถหว่านเมล็ดพันธ์แห่งกระแสเรียกเยซูอิตลงบนแผ่นดินนี้ได้ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนักบุญปีเตอร์ คานิซิอุส  เยซูอิตชาวดัทต์คนแรก นอกจากนั้นท่านยังได้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งกระแสเรียกในคนหนุ่มที่เลอเฟนในปี ค..1543 ก่อนเดินทางกลับโคโลญ  และใช้เวลาระหว่างปี ค..1544 และ ค..1546 ดำเนินงานของท่านในโปรตุเกตและสเปน ซึ่งในโปตุเกตท่านก็ได้เป็นสื่อวางรากฐานคณะเยซูอิตในประเทศนั้น ส่วนที่สเปน ท่านก็เป็นนักเทศน์ที่ร้อนรน ท่านจึงถูกเชิญให้ไปเทศน์ในเมืองหลักๆของสเปน ซึ่งทุกที่ท่านก็ได้กระตุ้นความร้อนรนของคริสตชนและกระแสเรียกการนักบวช ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือนักบุญฟรานซิส บอร์เจีย

ถัดจากนั้นในปี ค..1546 สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 3 ก็ได้ทรงแต่งตั้งให้ท่านไปเป็นผู้เชี่ยวชาญ(Peritus) ตัวแทนของสันตะสำนักในสภาแห่งเตรนต์  ในวัยสี่ปีท่านจึงได้ออกเดินทางด้วยเท้าเช่นเดิมเพื่อเข้าร่วมสภา แต่ก็มาได้เพียงกรุงโรมท่านก็มีสภาพอ่อนแอจากพิษไข้ จนที่สุดแล้วในอ้อมแขนของนักบุญอิกญาซิโอเพื่อนรักในวันที่ 2 สิงหาคม ค..1546  ด้วยอายุรวม 40 ปี



ร่างของท่านถูกฝังที่วัดแม่พระแห่งหนทางศูนย์กลางของคณะเยซูอิตในสมัยนั้น ก่อนถูกย้ายมาในวัดพระเยซูเจ้าเมื่อวัดสร้างเสร็จ เรื่องราวของท่านถูกบันทึกและได้รับการบันทึกในสารบบบุญราศีในวันที่  5 กันยายน ค..1872 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุส ที่ 9 และในวันที่ 17 ธันวาคม ค..2013 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสก็ทรงสถาปนาท่านเป็นนักบุญเป็นกรณีพิเศษคือไม่ต้องมีอัศจรรย์ประกอบและไม่ต้องมีพิธีสถาปนา

คนที่วางใจในพระเจ้าย่อมได้รับพระพร (เยเรมีย์ 17:7) เป็นจริงดังนั้นตามที่กล่าวไว้ คิดดูหากเป็นเราถ้าต้องไปทำงานในสถานที่ที่แบบที่ท่านไปทำ เราคงมิสามารถทำได้แน่ จะให้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความเชื่อลงบนผืนดินที่เกือบจะแห้งแล้งจะบ้าหรือ แต่ผ่านความวางใจท่านสามารถทำได้โดยเริ่มจากตัวท่านเองด้วยการวางใจในพระ ท่านก็สามารถฟื้นดินที่เกือบจะแห้งแล้งให้กลับมาอุดมสมบูรณ์เช่นเดิม เพื่อเตรียมหว่านเมล็ดพันธ์แห่งกระแสเรียกลงไป ซึ่งนับเป็นพระหรรษทานของพระเจ้าที่ต้นไม้เหล่าได้เติบโตออกผลมากมาย ซึ่งนับเป็นอัศจรรย์นักที่คนๆเดียวจะสามารถฟื้นฟูความร้อนรนของคริสตชนที่สมัยนั้นหย่อนยานให้กลับมาได้ เช่นกันการวางใจคือกุญแจดอกสำคัญในกิจการทุกการที่เราทำ เพราะผ่านความวางใจในพระเมตตาของพระเจ้าแล้ว ชีวิตของเราในทุกๆวินาทีก็จะเอ่อล้นไปด้วยพระหรษษทานมากมาย ลองวางงานของเราในมือพระดูซิ แล้วเราจะพบกลับผลที่เกิดคาดเดา


นักบุญปีแอร์ เลอ ฟาแวร์ ช่วยวิงวอนเทอญ


ข้อมูลอ้างอิง
Pope Report
หนังสืออิกญาซิโอ แห่งโลโยลาผู้สถาปนาคณะแห่งพระเยซูเจ้า เสาเข็มของเยซูอิต หน้า 87-89

http://www.sjweb.info/documents/cis/pdfenglish/200510910en.pdf

'เบร์นาร์โด ฟรานซิสโก' ให้ชีวิตนี้เป็นสะพานนำรักพระองค์ไป ตอนจบ

บุญราศีเบร์นาร์โด ฟรานซิสโก เด โอโยส เด เซญา Bl. Bernardo Francisco de Hoyos de Seña วันฉลอง: 29 พฤษจิกายน [ย้อนกลับไปอ่าน  “‘เบร์นาร์โด ฟรา...