บุญราศีเพา
โยเซฟ นาร์ดินี
Blessed Paul
Josef Nardini
ฉลองในวันที่ : 27 มกราคม
มาร์กาเรตา
ลิคเท็นแบรแกร (Margareta
Lichtenberger)
ต้องหอบหิ้วบุตรชายคนเดียวของเธอไปมา หนูน้อยผู้ไม่เคยทราบว่าบิดาเขาชื่ออะไร
คงรู้แต่ว่าเขาเป็นวิศวกรทหารออสเตรีย
เธอตกงานมาสองปีแล้ว จนที่สุดด้วยความจำเป็นเธอจึงตัดสินใจเอาบุตรชายของเธอไปไว้กับคุณป้าฝั่งบิดาของเธอ
คุณป้ามารีอา บาร์บารา ลิคเท็นแบรแกร (Maria Barbara Lichtenberger) ที่สมรสกับอันตน นาร์ดินี ชาวอิตาลี ทั้งสองรักหนูน้อยเมื่อบุตรแท้ๆในไส้เลยทีเดียวละ
หนูน้อยเพา
เกิดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ.1821 ที่แกรแมรไซม์(Germersheim) รัฐไรน์ลันด์-พฟัลซ์ ราชอาณาจักรบาวาเรียหรือปัจจุบันคือประเทศเยอรมัน
ท่านเป็นนักเรียนที่ขยันและมีเกรดเฉลี่ยดีมากๆ
ดังนั้นแทนทีจบประถมแล้วท่านจะได้เรียนทำรองเท้า ท่านจึงได้ไปเรียนภาษาลาติน ในปี
ค.ศ.1834 ก่อนท่านจะย้ายไปศึกษาในโรงเรียนมัธยมที่ ชไปเออร์ ในปี ค.ศ.1838
และเมื่อจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา
ท่านก็เริ่มสัมผัสได้ถึงกระแสเรียกการเป็นสงฆ์ผู้แทนของพระคริสตเจ้า
ดังนั้นหลังจากจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา ท่านก็ได้เข้าสามเณรราลัยที่ชไปเออร์
และได้ศึกษาด้านปรัชญาอยู่ที่นั่นเป็นระยะเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ.1841-ค.ศ.1843 ก่อนถูกส่งไปมหาวิทยาลัยลุดวิก แมกซิมิเลียน ในมิวนิก ในภาควิชาเทวศาสตร์ และจบด้วยปริญญาเอกในวันที่
25 กรกฎาคม ค.ศ.1846 ด้วยคะแนนเกียรตินิยม
แม้จะถูกอาจารย์สนับสนุนให้ประจำอยู่ที่วิทยาลัย
แต่ท่านก็ไม่เอา เพราะความฝันอันสูงสุดของท่านคือการเป็นพระสงฆ์ประจำเขตวัด
โดยก้าวอย่างแรกสู่ความฝันของท่านคือการเข้าพิธีบวชขั้นต้น ในวันที่ 5 มิถุนายน
ค.ศ.1846 ก่อนในวันถัดมาท่านจะได้รับศีลบวชเป็นรองสังฆานุกร หลังจากนั้นท่านก็กลับไปชไปเยอร์พร้อมปริญญาเอกที่พึ่งได้มาเมื่อวันจบและได้รับศีลบวชเป็นสังฆานุกรในวันที่
11 สิงหาคม จนที่สุดแล้วความฝันท่านก็เป็นจริง ณ
อาสนวิหารแห่งชไปเยอร์ ผ่านการหมอบราบหน้าพระสังฆราช
ท่านก็ได้รับศีลอนุกรมเป็งสงฆ์ผู้แทนพระคริสตเจ้าสงฆ์นิรันดร์
หน้าที่ของท่านหลังรับศีลอนุกรมคือการเป็นจิตตาภิบาลที่แฟรงเคนไทล(Frankenthal) แล้วจึงไปเป็นผู้บริหารวัดที่เขตวัดในเทรเบอร์
ก่อนไปเป็นเจ้ากระทรวงของโรงเรียนประจำของสังฆมณฑลในชไปเออร์
หลังจากนั้นท่านก็ได้ไปประจำไปทำงานอภิบาลในฐานะพ่อเจ้าวัดที่เขตวัดของพรีมาซีนซ์(Pirmasens) ที่ยากจนและขัดสนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1851 เป็นต้นมา
ตลอดเวลาแม้ไม่ได้พบมารดามานาน
ท่านก็ไม่เคยลืมพระคุณของเธอเลย และเมื่อท่านได้ย้ายมาที่นี่
ท่านก็ได้รับมารดามาอยู่ด้วยในบ้านพักและที่นี้เช่นกันท่านได้แสดงให้เห็นถึงแบบฉบับสงฆ์ที่ดี
อาทิความกระตือรือร้นในการละทิ้งตัวเองและการแพร่ธรรมซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการประกาศข่าวดีและสร้างภาพชุมชนคริสตังในพื้นที่ของคริสต์เตียน
ด้วยผลที่มีประสิทธิภาพในฐานะพระสงฆ์ บวกกับบทเทศน์
ทักษะการสอนคำสอนและความรักต่อศีลมหาสนิทของท่าน ทำให้ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพนับหน้าถือตาและนำไปสู่ชื่อ
“บิดาของผู้ยากไร้” ในชุมชน
กระนั้นท่านก็มีความกังวลต่อสภาพของเยาวชนและผู้สูงอายุในพื้นที่ที่ถูกบังคับให้อาศัยอยู่
ท่านเห็นบรรดาคริสตังเป็นชนกลุ่มน้อยๆที่ถูกกดขี่ในพื้นที่ด้วยการทำงานหนัก เยาชนหลายคนต้องไปเป็นขอทานอยู่ตามถนนหนทาง
ดังนั้นท่านจึงมีความคิดที่จะตั้งคณะสตรีที่จะช่วยอภิบาลงานนี้
แต่ทางสภาเมืองที่ทั้งหมดล้วนเป็นคริสต์เตียนกับต่อต้านอย่างรุนแรงต่อการตั้งอารามในเมืองนี้
แต่อย่างไรก็ตามท่านก็ลุกขึ้นมาอย่างไม่เกรงกลัวแม้มันจะเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตท่านก็ตาม
ดังนั้นในปี ค.ศ.1853 ท่านจึงได้เชิญซิสเตอร์จาคณะภคินีแห่งพระผู้ไถ่กู้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง(Sisters of the Most Holy Redeemer) จากประเทศฝรั่งเศส
มาช่วยดูแลและให้การศึกษาแก่บรรดาเยาวชนผู้ยากไร้ในพื้นที่ และขอให้ดูแลผู้ป่วยที่ทุกข์ยากโดยมิคำนึงถึงเชื้อชาติและศาสนา
และเพียงไม่นานหลังจากซิสเตอร์สามคนมาถึง
พันธกิจแรกของพวกเธอและท่านก็เริ่มขึ้นด้วยการระบาดของโรคไข้รากสาดใหญ่ในเมือง
พวกท่านก็ได้ช่วยพยาบาลพวกเขาทั้งกลางวันและกลางคืนในบ้านหลังเล็กๆที่ท่านเช่าไว้ และด้วยเหตตุนี้หนึ่งในซิสเตอร์คนหนึ่งก็ติดโรค
หลังจากนั้นอีกสองปีถัดมา
งานของพวกท่านก็เป็นที่ชัดเจนว่ามีมากขึ้นและดูเหมือนว่าบรรดาซิสเตอร์จะถูกเรียกตัวกลับ
นอกจากนั้นทางฝั่งรัฐบาลยังออกกฎหมายห้ามสมาชิกคณะทางศาสนานอกประเทศเยอรมัน ดังนั้นท่านจึงเริ่มแสวงหาคำตอบจากพระเจ้าว่าท่าควรจะทำอย่างไรต่อไปและองค์พระเจ้าก็ทรงตอบรับคำภาวนาของท่าน
ใช่แล้วคณะท้องถิ่นไงละ พวกเขาจะสานงานต่อ
ดังนั้นหลังจากมีการเรียนหนึ่งในบรรดาซิสเตอร์ของคณะกลับ
เมื่อโรคไข้รากสาดใหญ่กลับมาอีกครั้ง
ท่านก็ได้นำสตรีผู้สมัครใจสำหรับคณะใหม่เข้าอารามของเขตวัดสองคน คือ บาบาร่า ชว้าร์ซ กับ ยูเลียน มิเคด สมาชิกฟรานซิสกันขั้นสาม ซึ่งท่านก็เป็นสมาชิก
เข้ารับการฝึกอบรมและถวายตัวในวันที่ 2 มีนาคม
ค.ศ.1855 ด้วยนามใหม่ว่า “ซิสเตอร์อกาธา
กับ ซิสเตอร์อลอยเซีย” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของคณะใหม่ที่ตั้งขึ้นเพื่อดูแลคนยากจรน
มอบการศึกษาภายใต้กฎของคณะฟรานซิสกันขั้นสามนาม “คณะฟรานซิสกันผู้ยากไร้แห่งพรีมาซีนซ์” ซึ่งายหลังเปลี่ยนมาเป็น “คณะภคินีฟรานซิสกันผู้ยากไร้แห่งพระวิสุทธิวงส์” จุดนี้เองที่ซิสเตอร์จากฝรั่งเศสได้กลับไป
ก้าวอย่างแรกของคณะใหม่มิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย บทความในหนังสือพิมพ์ของรัฐต่างประโคมข่าวโจมตีท่านอย่างรุนแรงำหรับการก่อตั้งคณะนี้
พระสังฆราชยังคงมิได้อนุมัติคณะท่าน อย่างไรก็ตามท่านก็ยังคงดำเนินงานต่อ
ท่านใช้เวลาส่วนตัวในการดูแลและก่อร่างสร้างคณะ อีกเรื่องอาหารและที่พักของคณะ
แม้จะต้องอดข้าวเย็นก็ตาม ท่านก็ทำเพื่อให้มีรายได้ในการทำสิ่งนั้น เพราะท่านมั่นใจว่าจะมีคนมาเข้าคณะท่านอีกมากมาย
และที่สุดแล้วเวลาที่รอคอยก็มาถึงเมื่อพระสังฆราชทรงทำให้คณะของท่านได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากพระศาสนจักร
ในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ.1857 ท่านยังคงทำงานตรากตรำมาเรื่อยกระทั้งในฤดูหนาวของเดือนมกราคม
ค.ศ.1862 หลังจากไปโปรดศีลเจิมคนไข้แก่ลูกวัดในคืนที่หนาวจัดอย่างไม่เกรงกลัวต่ออากาศ
ท่านก็ล้มป่วยลงด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่และถึงแก่มรณกรรมอย่างสงบในวันที่ 27 มกราคม ค.ศ.1862 ด้วยอายุรวม 40
ปี
ท่านจากไปพร้อมกับคณะที่ก้าวหน้าด้วยจำนวนสมาชิกมากกว่าสองร้อยคนในสามสิบห้าที่
แม้ทุกคนจะอาลัยแต่ทุกคนรู้ดีว่าท่านคือนักบุญ
เรื่องราวของท่านถูกเสนอและได้รับกานอนุมัติรับรองอัศจรรย์จากสันตะสำนักในรัชสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปากิตติคุณเบเนดิกต์
ที่ 16 อันนำไปสู่การแต่งตั้งท่านขึ้นเป็นบุญราศีในวันที่
22 ตุลาคม ค.ศ.2006 อย่างเป็นทางการในอาสนวิหาสเปเยอร์ ประเทศเยอรมัน
“ผู้ที่พระเจ้าจะทรงบันดาลความชอบธรรมนั้น
ไม่ใช่ผู้ที่ได้ยินได้ฟังธรรมบัญญัติเท่านั้น
แต่เป็นผู้ที่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติด้วย” (โรม 2:13)
และพระธรรมบัญญัติของพระเจ้าคือจงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง
บุญเพาแสดงออกถึงเรื่องนี้ ท่านได้ฟังพระวาจาเช่นทุกคนที่เป็นคริสตชน
หลังจากนั้นท่านจึงนำมันไปปฏิบัติให้งอกเงยจนเกิดผลด้วยการตั้งคณะเพื่อดูแลผู้ยากไร้
ดูเถิดว่าแม้นจะต้องพบคำครหาต่างๆ ในการตั้งคณะ แต่ที่สุดเวลาก็เผยความจริง
พระเจ้าทรงมอบความชอบธรรมแก่ท่านที่จะดำเนินงานนี้
เช่นเดียวกันความชอบธรรมของพระเจ้าจะสถิตอยู่กับผู้ที่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของพระองค์เสมอมิได้ขาดกระทั้งวันสิ้นพิภพ
“ข้าแต่ท่านบุญราศีเพา โยเซฟ นาร์ดินี ช่วยวิงวอนเทอญ”
ข้อมูลอ้างอิง