วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

"นักบุญมิเกล เฟเดรส โกรเบโร" วีรบุรุษผู้มีปากกาเป็นอาวุธ


นักบุญมิเกล เฟเดรส โกรเบโร
St.Miguel Febres Cordero
ฉลองวันที่ : 9 กุมภาพันธ์


วันหนึ่งเด็กชายตัวน้อยวัย 5 ขวบกำลังมองดูบรรดากอกกุหลาบที่กำลังเบ่งบานแข่งกันในสวนของบ้านของเขา ทันใดเด็กน้อยก็พลันตะโกนขึ้นว่า ดูซิ สิ่งที่สวยงามคือผู้หญิงที่อยู่บนดอกกุหลาบ ทันใดนั้นญาติๆก็พากันมารุมล้อมเด็กน้อย และพากันมองตามที่เด็กน้อยบอก แต่พวกเขาพบแต่ความว่างเปล่าและอีกครั้งเด็กน้อยยังคงกล่าวว่า ดูเธอคนสวยซิ เธอมีชุดสีขาวและเสื้อคลุมสีฟ้าและเธอกำลังเรียกผม ฉัพพลันทันใดญาติๆก็ต่างพากันตกตะลึงเมื่อเด็กน้อยลุกขึ้นและเริ่มเดิน เหตุการณ์นี้คงไม่แปลกอะไรถ้าเด็กน้อยคนนี้ไม่ใช่ฟรานซิสโก เฟเดรส โกรเบโร(Francisco Febres-Cordero) ผู้ป่วยด้วยโรคเท้าปุกมาตั้งแต่วันแรดที่เขาถือกำเนิดมาในวันที่   7 พฤศจิกายน ค.ศ.1854 ในครอบครัวที่มีความเข้มแข็งทางการเมืองในเกวงกา ประเทศเอกวาดอร์


หลังจากการรักษาอัศจรรย์ของแม่พระต่อท่าน ในปีค.ศ.ท่านก็ได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนของคณะภารดาโรงเรียนคริสตังหรือที่เรารู้จักกันดีในนามคณะลาซาลที่พึ่งเข้ามาเปิดโรงเรียนในเกวงกา ที่นั่นในทุกๆเย็นขณะที่นักเรียนส่วนใหญ่กำลังจะเดินทางกลับบ้าน ท่านจะยังคงอยู่ในโรงเรียนเพื่อทบทวนบทเรียนในวันนี้และเช่นกันที่นั่นท่านได้เห็นแบบอย่างที่ดีของอาจารย์ที่ทำให้ท่านมีกระแสเรียกการเป็นภารดา แต่กระนั้นงานของพระย่อมมีศัตรูเสมอ ท่านก็เช่นกันท่านก็มีศัตรูสำคัญที่สุดของท่านที่ขัดขวางการเป็นภารดาของท่านและไม่ใช่ใครที่ไหนเลยคือครอบครัวของท่านเอง


เมื่อพวกเขาทราบถึงความต้องการของท่าน พวกเขาก็ย้ายท่านไปศึกษาที่อื่น แต่ไม่นานท่านก็ล้มป่วยและจำเป็นต้องกลับมาบ้านและในไม่นานหลังจากความอดทนของท่าน ที่สุดขณะที่ท่านอายุได้ 13 ปี ในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ.1868 มารดาของท่านก็อนุญาตให้ท่านก็ได้เข้าเป็นเณรในคณะลาซาลและได้รับชุดของคณะพร้อมชื่อใหม่ว่า ภารดามิเกลก่อนถูกย้ายไปยังเมืองกีโต



เมืองกีโตหรือชื่อทางการคือซานฟรันซิสโกเดกีโต เมืองหลวงของประเทศเอกวาดอร์ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มันตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศในแอ่งแม่น้ำกวายาบัมบาบนเนินเขาปีชินชา ภูเขาไฟที่ยังทรงพลังในเทือกเขาแอนดีสและด้วยความสูง 2,850 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล จึงทำให้มันเป็นเมืองที่สูงที่สุดเป็นอันดับสองในโลก ในโรงเรียนเอล เซโบลลาร์ (El Cebollar School) ในฐานะภารดาท่านเริ่มงานเป็นอาจารย์ที่นั่น ท่านมีพรสวรรค์ด้านการสอน และเป็นคนที่อ่อนโยน และทุ่มเทเวลาทั้งหมดเพื่อที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่น ทุกๆชั่วโมงเรียนท่านก็จะคอยสอนคำสอนและดูแลผู้เรียนภาษาที่ป่วยเพราะด้วยเหตุที่ว่าท่านพูดได้ถึง 5 ภาษาคือเยอรมัน, อังกฤษ, อิตาลี, ฝรั่งเศสและละติน



และเช่นกันที่นั่นท่านค้นพบว่าที่โรงเรียนยังไม่มีคู่มือและตำราที่เหมาะสมต่อการเรียน ดังนั้นด้วยเหตุนี้ท่านจึงตัดสินใจเขียนมันขึ้นมาด้วยตัวเอง ซึ่งท่านจะดัดแปลงมาจากหนังสือประเทศต่างๆแล้วนำมาเขียนในสไตล์การเรียนการสอนของท่านเอง ซึ่งต่อมางานเขียนของท่านก็กลายมาเป็นแบบแผนของทุกโรงเรียนในเอกวาดอร์และนอกจากนั้นจากการงานเขียนของท่านทำให้ท่านได้เป็นสมาชิกในวิทยาลัยแห่งชาติแห่งประเทศเอกวาดอร์และสเปน(the National Academies of Ecuador and Spain.)และกลายเป็นแบบข้อความมาตรฐาน แต่กระนั้นท่านก็ก็ยังคงให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกและไม่ละเลยการสอนคำสอนแก่เด็กๆในชั้นของท่านและคอยเตรียมตัวให้พวกเขาพร้อมกับการรับศีลมหาสนิทครั้งแรกของพวกเขา ซึ่งท่านทำหน้าที่เตรียมตัวให้พวกเขานี้จนกระทั้งปีค.ศ.1907ที่ท่านเดินทางไปยุโรป แน่นอนพวกเขาต่างมีความทรงจำดีๆกลับท่านเพราะพวกเขาต่างยกย่องท่านในความเรียบง่าย ความตรงไปตรงมา ความห่วงใยที่ท่านมอบแด่พวกเขาและความศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อพระหฤทัยและแม่พระ



ในปีค.ศ.1904 ประเทศฝรั่งเศสผลจากกฎหมายที่เป็นปรปักษ์กับคริสตชน กิจกรรมทางศาสนาต่างๆของคณะลาซาลถูกห้าม ด้วยเหตุนี้เองทางคณะจึงย้ายออกจากประเทศแม่ของพวกเขาฝรั่งเศส ซึ่งก็มีหลายคนที่เลือกประเทศสเปนและลาตินอเมริกา และด้วยความจำเป็นท่านจึงถูกส่งไปยังยุโรปในปีค.ศ.1907เพื่อมีส่วนร่วมในการประพันธ์หนังสือสำหรับการศึกษาเป็นภาษาสเปนอย่างเร่งด่วนเพื่อที่จะนำมาใช้กับบรรดาภารดาของคณะที่ถูกขับออกมาจากประเทศฝรั่งเศส ที่นั่นไม่กี่เดือนจากปารีสท่านก็ย้ายไปอยู่บ้านของคณะในเลมเบซ์ค เลซ ฮาล(Lembecq-lez-Hal) ประเทศเบลเยี่ยม




แต่เนื่องด้วยสุขภาพที่บอบบางของท่านและภูมิอากาศที่หนาวเย็นที่แตกต่างกับบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน ทำให้สุดท้ายท่านก็ล้มป่วยลง ดังนั้นในปีค.ศ.1909 ท่านจึงถูกย้ายไปอยู่ในศูนย์ลาซานนานาชาติหรือลาซานอินเทอแนชเชินเนิลเซนเตอร์ในพีรเมีย เด มาร์ (Premiá de Mar) ในเมืองชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของคาบสมุทรไอบีเรียนาม บาร์เซโลนา แคว้นคาเทโลเนีย ประเทศสเปน และยังคงทำหน้าที่อบรมเยาวชน ซึ่งทุกคนต่างชื่นชมในความเรียบง่ายของท่านที่มีไม่น้อยไปกว่าความรักอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า


แต่แล้วในกรกฎาคมปีเดียวกันก็เกิดการปฏิวัติที่พีรเมีย เด มาร์ ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์ สัปดาห์วิปโยค เกหตการณ์ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นจนทำให้บรรดาสงฆ์ต้องลี้ภัยออกจากพีรเมีย เด มาร์ ไปปบาเซโลนา และอาศัยซ่อนตัวอยู่และฝึกอบรมในท่าเรือและโรงเรียนเอ็นเอสในโบนาโนวา(Bonanova) ฝั่งท่านนั้นทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลวัดในพีรเมียและดูแลเรื่องค่าใช่จ่ายการลี้ภัยของบรรดาเยาวชนข้ามอ่าวไปเพื่อความปลอดภัยของพวกเขา


ไม่นานหลังเหตุการณ์สงบลงทุกอย่างจึงกลับมาเป็นปกติ พระเจ้าก็ได้ทรงเรียกผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระองค์แล้ว เพราะต่อมาในช่วงปลายเดือนมกราคม ค.ศ.1910 ท่านก็เริ่มล้มป่วยลงด้วยโรคปอดบวมซึ่งมันทำให้ร่างกายของท่านอ่อนแอลงและหลังจาก 3 วันของความทุกข์ทรมานท่านก็ได้คืนวิญญาณของท่านแด่พระเจ้าซึ่งวันนั้นตรงกับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1910 ขณะอายุ 55 ปี หลังจากข่าวการจากไปของท่านแพร่ไปทั่วพร้อมกับความตื่นเต้นและน้ำตา ฝั่งเอกวาดอร์ก็ประกาศไว้ทุกข์แห่งชาติแด่ท่าน อีกทั้งบรรดาพี่น้องคณะ ศิษย์เก่าและคู่แข่งของท่านก็ต่างชื่นชมคุณธรรมท่าน ร่างของท่านถูกฝังไว้ ณ พีรเมีย เด มาร์  ประเทศสเปนก่อนในช่วงการปฏิวัติสเปนจะมีการค้นย้ายร่างของท่านไปฝังไว้ ณ กีโต ประเทศเอกวาดอร์ซึ่งในตอนนั้นปรากฏว่าร่างของท่านไม่เน่าเปื่อยและที่นั่นหลุมศพของท่านก็กลายเป็นที่แสวงบุญ จนกระทั้งอัศจรรย์ผ่านการร้องขอท่านในการรักษาภคินีเคลเมนทินา ฟรอเรส โครเดโร(Sor Clementina Flores Cordero)สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่6 ก็ได้ประกอบพิธีสถาปนาท่านเป็นบุญราศีพร้อมบุญราศีภารดาชาวเบลเยี่ยม ในวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ.1977


และในที่สุดความเปรมปรีย์ก็มาสู่นประเทศในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ที่นามตามเส้นสูงสูตรในภาษาสเปนว่า เอกวาดอร์อีกครั้ง เมื่อเรื่องราวอันน่าอัศจรรย์ของนางสาว เบอาตรีซ โกเมซ เด นูเนซ(Señora Beatriz Gómez de Núñez) ที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ด้วยการเสนอคำวิงวอนผ่านท่าน เธอได้รับการรักษาอย่างน่าอัศจรรย์  ดังนั้นเรื่องราวอัศจรรย์ครั้งนี้จึงถูกส่งไปยังโรมเพื่อพิจารณาการเป็นนักบุญของท่าน ซึ่งหลังจากการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน สุดท้ายสมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ก็ทรงอนุมัติการสถาปนาท่านเป็นนักบุญและทรงประกอบพิธีสถาปนาท่านเป็นนักบุญ ในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ.1984 ณ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ กรุงวาติกัน


มีครั้งหนึ่งพี่น้องในคณะของท่านได้ชมท่านว่ากิจการของท่านช่างมหัศจรรย์และถามท่านว่าจะทำกิจกรรมอะไรเพื่อคณะของเรา ซึ่งท่านก็ตอบไปว่า คนอื่นๆจะทำได้ดีกว่าฉัน และจำคำแนะนำขององค์พระเยซูเจ้าที่ว่า เช่นเดียวกัน เมื่อพวกท่านทำสิ่งสารพัดที่เราบัญชาไว้กับท่านแล้ว ก็จงพูดด้วยว่า 'เราเป็นบ่าวที่ไม่ได้มีบุญคุณต่อนาย เราเพียงแต่ทำตามหน้าที่ ที่ควรจะทำเท่านั้น(ลูกา 17:10)” ("Otros lo harán mejor que yo", y recuerda aquel consejo de Jesucristo: "Cuando hayáis hecho lo que se os ha encomendado, decid: siervos inútiles somos. Solamente hicimos lo que teníamos el deber de hacer" (Luc. 17,10).)

คุณพ่อมิเกลเป็นแบบอย่างที่ดีของอาจารย์ที่มีความกระตือรือร้นในการสอน ถึงขนาดที่คุณพ่อได้ดิบได้ดีแล้วคุณพ่อก็ยังคงเห็นการสอนในห้องของท่านคือสิ่งแรกสุด คุณพ่อเลือกที่จะใส่ใจนักเรียนมากกว่าสิ่งล้ำค่าทั้งหลาย เมื่อคุณพ่อพบว่าไม่มีตำราที่เหมาะสมแก่นักเรียนคุณพ่อก็กล้าที่จะแปลและเขียนมันเพื่อนักเรียนของท่านจะได้มีแบบเรียน ซึ่งต่อมามันกลายเป็นแบบแผนการเรียนของเอกวาดอร์จนทำให้หลังจากการสิ้นใจของท่านรัฐบาลเอกวาดอร์ก็ยกให้ท่านเป็นวีรบุรุษของชาติ ไม่ใช่ในด้านสงครามแต่เป็นด้านศาสนาและความสำเร็จของท่าน ท่านเป็นวีรบุรุษที่ไม่ถือดาบฟาดฟันศัตรู แต่กลับกันท่านกลับถือปากกาที่จะคอยเขียนเพื่อสันติภาพ ท่านใช้ปากกาเป็นอาวุธในการต่อสู่การมารซาตานความโง่ทั้งหลาย

ข้าแต่ท่านนักบุญมิเกล เฟเดรส โกรเบโร ครูผู้แสนดีและนักเขียนที่ยอดเยี่ยม ช่วยวิงวอนเทอญ

ข้อมูลอ้างอิง

คือปัสกาของ 'การ์โลส มานูเอล' ตอนจบ

บุญราศีการ์โลส มานูเอล เซซิลิโอ โรดริเกซ ซันติอาโก Bl. Carlos Manuel Cecilio Rodríguez Santiago วันฉลอง: 13 กรกฎาคม และ 4 พฤษภาคม (ในปวยร์โต...