นักบุญ ฌอง
ชาร์ลส์ กอร์เน
St. Jean-Charles
Cornay
ฉลองในวันที่ : 24 พฤศจิกายน
“ผมจะต้องไปตังเกี๋ยเช่นเดียวกัน
ผมจะต้องเป็นมรณสักขีเช่นเดียวกัน” คือคำพูดกับตัวเองของเด็กชายวัย 9 นามเทโอฟาน ท่ามกลางฝูงแพะของเขาในเนินเขาเบล
แลร์ หลังจากได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งที่ครอบครัวได้ซื้อมา
ที่เป็นหนังสือที่พิมพ์หลายต่อหลายครั้ง หนังสือชีวประวัติของ “ข้ารับใช้พระเจ้าฌอง ชาร์ลส์ กอร์เน”
ผู้ที่ได้จุดประกายกระแสเรียกแก่ผู้ในอนาคตถัดมาจะได้รับการขานนามว่า
นักบุญเทโอฟาน เวนารด์
เรื่องราวที่จุดประกายแสงไฟแห่งกระแสเรียกของเด็กหนุ่มเทโอฟาน
เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1809 ที่ ลูดัง จังหวัดเวียน ประเทศฝรั่งเศส
ในครอบครัวคาทอลิกใจศรัทธาของฌอง บัพติส กอร์เน กับ ฟร็องซัว มายูด ที่ลูกสาวด้วยกันแล้วสองคนคือเอลิซาเบธ
โอลิมป์ เมื่อเด็กชายตัวน้อยๆได้กำเนิดขึ้นก่อนจะได้รับศีลล้างบาปในวันที่ 3 มีนาคม ปีเดียวกันที่วัดแซงต์ ปีแอร์ ดู มาร์ชี ของ ลูดัง โดยมีคุณลุงอองรี
มายูด กับ คุณป้าเทแรส กอร์เน
เป็นพ่อแม่ทูนหัวให้
หลังจากนั้นน้องชายยูจีนและหลุยส์ก็คลานตามท่านออกมา
เมื่อเจริญวัยถึงวัยเรียนท่านก็ได้เข้าเรียนในโรงเรียนแซงต์ หลุยส์ ที่ โซมูร์
หลังจากนั้นท่านก็เข้าบ้านเณรเล็กของคณะเยซูอิต ของมงมอริลยง ก่อนต่อด้วยบ้านเณรใหญ่ของสังฆมณฑลปัวติเย่ร์ส
ท่านเป็นเช่นนักเรียนธรรมดาๆ ที่อ่อนน้อมถ่อมตนและมีนิสัยอ่อนโยน
ท่านได้รับศีลโกนในวันที่
1 มิถุนายน ค.ศ.1828 และศีลน้อยในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ.1829 ในวัดของบ้านเณรใหญ่ ก่อนจะได้รับศีลบวชเป็นรองสังฆานุกรในวันที่
6 มิถุนายน ค.ศ.1830 ณ อาสนวิหารนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโลกของปัวติเย่ร์ส และเมื่อเรียนเทวศาสตร์จบ ท่านก็ได้หันเหชีวิตไปเข้าบ้านเณรของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารัสแทน
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ปีเดียวกันนั้นเอง
การต่อสู้ครั้งเริ่มขึ้น
เนื่องจากกระแสเรียกแห่งธรรมทูตของท่าน
ท่านก็ต้องพบกับการต่อต้านและความเข้าใจผิดจากทั้งฝ่ายบิดาและมารดา
เหตุว่าสมัยก่อนธรรมทูตเมื่ออกจากบ้านแล้วจะไม่มีวันได้กลับบ้านอีกเลย
ซึ่งแน่นอนท่านเลือกที่จะสัตย์ซื่อต่อน้ำพระทัยของพระเจ้าจนที่สุดท่านก็สามารถชนะใจบิดามารดาได้
ท่านกล่าวกับมารดาของท่านว่า “เพียงแค่ให้ลูกได้ไปปารีส
ลูกก็จะมีเวลาถึงสามปีในการทบทวนกระแสเรียกของลูก และวิธีเตรียมตัวทั้งหลายก็เพื่อว่าถ้ามันคือของแท้นะครับ”
ท่านอยู่ที่บ้านเณรของคณะเพียงช่วงเวลาสั้นๆ
จากสภาพความไม่ปลอดภัยจากการกบฏในเดือนกรกฎาคม(คือการลุกฮือของประชาชนฝรั่งเศสในระหว่างวันที่
26-29 กรกฎาคม ค.ศ.1830)
ท่านบันทึกเหตุการณ์ในตอนนั้นลงในสมุดบันทึกของท่านว่า “เมื่อวานบ้านเณรของพวกเราถูกบุกเข้ามาและเจ็ดหรือแปดโปสเตอร์ถูกติดไว้
ประกาศว่า ‘ความตายแด่เยซูอิตของถนนดือบัก’ และมีกริชประหนึ่งลายเซ็นไว้”
ท่านได้รับศีลบวชเป็นสังฆานุกรอย่างสง่าในปี
ค.ศ.1831 ก่อนจะถูกส่งลงเรือไปเป็นธรรมทูตที่เสฉวน ประเทศจีน
อย่างเร่งรีบเพื่อจำเป็นต้องไปแทนธรรมทูตคนอื่น ในจดหมายถึงบิดามารดาท่านลงวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ.1831 ได้เขียนไว้ดั่งเป็นการทำนายว่า “ลูกรักคุณพ่อคุณแม่และลูกจะต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่แล้วอาจจะเป็นตลอดไปเลยก็ได้
ลูกได้รับการแจ้งเตือนในวันจันทร์เพื่อให้พร้อมที่จะออกเดินทางและมันเป็นวันที่ 21 นี้ครับ และเราจะต้องไปถึงบอกโดวส์ในวันที่ 25 ครับ”
แต่จริงๆท่านออกจากปารีสในวันที่
22 สิงหาคม ปีเดียวกัน ก่อนจะได้ลงเรือในวันที่ 17 กันยายน ท่านใช้เวลาเดินทางอยู่ที่หกเดือนท่านจึงมาถึงมาเก๊า และตังเกี๋ย
ตามลำดับ ในท่ามกลางการเบียดเบียนคริสตชนของ ค.ศ.1831 แต่เนื่องจากคนนำทางที่ถูกส่งมารับท่านรับท่านไปตามแม่น้ำแยงซีเกียงเพื่อเข้าเข้าไปยังเสฉวน กลับมาไม่ถึง
ทำให้ท่านจึงต้องติดอยู่ที่ตังเกี๋ยต่อไป
ที่นั่นสามปีถัดมาท่านก็ได้รับศีลอนุกรมอย่างลับๆโดยพระคุณเจ้าโยเซฟ
มารี เป-ลาจี อาวาร์ด คณะมิสซังแห่งกรุงปารีส
พระสังฆราชประจำสังฆมณฑลตังเกี๋ยตะวันตก หัวหน้างานธรรมทูต ที่ กรุงฮานอย เมื่อวันที่
26 เมษายน ค.ศ.1834
ต่อมาในเดือนมกราคม
ปี ค.ศ.1836
ท่านก็จำต้องเลือกระหว่างอยู่ที่ตังเกี๋ยต่อไป หรือ กลับไปที่มาเก๊า
แต่ท่านก็เลือกที่จะอยู่ท่ามกลางชาวอันนัมผู้น่ารักต่อไป
อย่างไรท่านก็ไม่เคยลืมจุดหมายในประเทศจีน แม้พันธกิจท่ามกลางชาวอันนัมหรือเวียดนามจะหนักหนาแค่ไหนโดยเฉพาการเบียดเบียนคริสตชน
ท่านเขียนเล่าถึงความยากลำบากต่อเพื่อนร่วมชั้นที่ปัวติเย่ร์สว่าดังนี้ “สามเดือนที่ผ่านมาพวกเราต้องตกอยู่ในสถานการณ์ความรุนแรงมากขึ้นมาก … คริสตชนถูกบังคับให้ละทิ้งความเชื่อ
พวกเราต้องการพระสงฆ์พื้นเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเรา” แต่ท่านก็ยังคงสงบและมีความสุข
นอกจากปัญหาการแพร่ธรรมแล้วท่านยังพบปัญหาด้านสุขภาพจากสภาพอากาศที่แตกต่าง
“ทุกวันดวงตาของลูกมันปฏิเสธที่จะรับใช้พวกเขา
ลูกกังวลค่อนข้างมากว่าจะต้องตาบอดถาวรภายในสองหรือสามปี พระกรุณาของพระเจ้าได้เผยแสดงแก่ลูกที่ตังเกี๋ย
ลูกจะต้องรับทรมานด้วยการสละจนกว่าลูกจะได้ปลดเปลื้องจากความชั่วร้ายของชีวิตนี้
เหตุว่าการคืนสู่บ้านเกิดของลูกจะเป็นยาสุดท้ายที่ลูกได้ร้องขอ” ท่านเขียนถึงบิดามารดา “เมื่อวานลูกพึ่งได้รับจดหมายของคุณพ่อคุณแม่ในปี
ค.ศ.1825 เพื่อตอบคำถามของคุณพ่อคุณแม่ หัวและดวงตาอันน่าสงสารของลูกทรมานมาก
ลูกต้องบังคับพวกมันในทุกๆวัน แต่ลูกจะต้องให้มันได้พักผ่อนอาจกดด้วยมือของลูกกับประคบด้วยน้ำที่ต้มแล้วครับ มันจึงทำให้ลูกอ่านหนังสือหรือพูดคุยนานๆไม่ค่อยได้
ดังนี้ลูกจึงมีชีวิตดั่งฤาษีและมีจิตที่ลึกซึ่งแทนธรรมทูตเลยทีเดียวครับ” ท่านเขียนที่ต้นปี ค.ศ.1827
เมื่อการเบียดเบียนคริสตชนในเวียดนามทวีความรุนแรงขึ้นท่านก็จำต้องซ่อนในแพ
“หลังผ่านไปได้ราวห้าเดือนที่ไม่มีอะไร
ผมก็อยู่ในบ้านหลังเก่าๆของผม ที่ผมต้องนั่งเงียบๆตลอดทั้งวันไม่สามารถจะทำอะไรได้เลยนอกจากมิสซาในตอนเช้าและนอนป่วยในตอนกลางคืน” ท่านกล่าว
แต่หลังจากนั้นไม่นานท่านก็ถูกหักหลังเมื่อหนึ่งในผู้ที่ถูกจับชื่อนายดุ๊กไปในหมู่บ้านใกล้ๆได้เปิดเผยรายชื่อคริสตชนสำคัญๆ
นอกจากนั้นเขายังได้แอบฝังปื้นไว้ใกล้ๆบ้านของท่านอีกด้วย ดังนั้นในคืนวันที่ 19-20
มิถุนายน ค.ศ.1837 ทหารหลายร้อยนายนำโดยภรรยาของดนายดุ๊กจึงกรีฑาไปล้อมหมู่บ้านเบ๊า โน
ที่ท่านซ่อนตัวอยู่ แต่ที่สุดในเวลาประมาณบ่ายสี่โมง ท่านก็ถูกบังคับให้ออกจากพุ่มไม้ที่ท่านหลบซ่อนและเดินไปยังทหารและถูกจับ
ท่านถูกจับใส่ขื่อคาและสอบปากคำ ก่อนจะถูกขังในกรงไม้ไผ่
เพื่อพาไปยังซอน ไต
และถูกล่ามโซ่ในห้องขังที่กว้างกว่าไอ้เจ้ากรงไม่ไผ่นั่นเยอะเลยทีเดียว
ที่นั่นท่านถูกสอบสวนอีกครั้งก่อนถูกผู้ว่าราชการส่งไปรายงานเรื่องของท่านไปยังเว้ เมืองหลวง
เพื่อรอรับรับการตัดสินจากพระจักรพรรดิ ซึ่งในระหว่างถูกคุมขังนั้นก็ได้มีคนมากมายแวะเวียนมาเยี่ยมท่านรวมถึงชาวจีนแมนดารินที่ต่างล้วนมาถามถึงที่มาของความเข้มแข็งของท่าน
เพราะแม้ในระหว่างพิจารณาคดีท่านจะถูกเฆี่ยนตีด้วยไม้หวาย ไม่พอท่านยังโโนเฆี่ยด้วยแส้ตะขอ (และเมื่อกลับมาที่คุกท่านก็ร้องเพลงเพลงซัลเว
เรจีนา หรือ วันทาพระราชินีสวรรค์เท่านั้น)
ท่านก็ยังปฏิเสธอย่างหนักแน่นที่จะเหยียบไม้กางเขนเพื่อประกาศละทิ้งความเชื่อ
หรือยอมรับข้อกล่าวหาว่าท่านปลุกปั่นประชาชน ซึ่งในระหว่างนั้นท่านก็ได้รับอนุญาตใหเขียนจดหมายได้อยู่
“..โปรดหยุดลงโทษดุ๊กผู้น่าสงสารเถิด
สำหรับผมน่ะผมยกโทษให้เขา” คือคำที่ท่านกล่าวเมื่อท่านทราบว่าจะมีการสอบปากคำนายดุ๊กอีกครั้ง
แต่อย่างไรในวันที่ 20
กันยายน ค.ศ.1837 พระราชสารจากพระจักรพรรดิมินฮ์ มาง ก็ประกาศโทษท่านว่า
“เป็นเจ้าลัทธิเท็จเทียมและผู้นำในการปลุกปั่นประชาชน” มีโทษคือถูกหั่นเป็นชิ้นๆ ท่านจึงถูกนำไปที่ลานไม่ไกลจากป้อมเมืองซอน ไต
ระหว่างเดินตรงสู่มงกุฎแห่งมรสักขีท่านมิได้หวาดเกรงอะไรตรงข้ามท่านยังคงสวดภาวนาและร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า
ร่างท่านถูกตรึงไว้ให้แน่นก่อนที่จะถูกหั่นเป็นชิ้นๆโดยแปลกที่วันนั้นเพชฌฆาตได้ลงมือที่ศีรษะของท่านก่อนไล่ไปตามส่วนต่างๆ
ครั้งนั้นพวกเพชฌฆาตยังได้นำตับของท่านไปรับประทานเพราะเชื่อว่าพวกเขาจะกล้าหาญเหมือนท่านหากทำเช่นนั้น
“พระเจ้าทรงสัตย์ซื่อนัก
พระองค์ทรงคาดหวังจากพวกเราเพียงความวางใจในพระสัญญาของพระองค์” ท่านกล่าว
ศีรษะของท่านถูกเสียบประจานอยู่สามวันจึงถูกเอาโยนลงแม่น้ำไป “คุณพ่อคุณแม่ที่รักครับ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ได้รับจดหมายฉบับนี้แล้ว โปรดอย่าได้เสียใจต่อการจากไของลูกเลย
ผ่านความยินยอมให้ลูกได้เดินทาง คุณพ่อคุณแม่ก็ได้ทำการเสียสละอันยิ่งใหญ่แล้วครับ”
เมื่อเรื่องราวของข้ารับใช้พระเจ้าผู้จากไปด้วยวัยเพียง
28 ปี ก็เป็นที่โด่งดังไปทั่วประเทศฝรั่งเศส
หนังสือประวัติของท่านถูกตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง หลังจากนั้นในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ.1899 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอ ที่ 13 ชื่อท่านก็ได้รับการบันทึกไว้ในสารบบบุญราศี และที่สุดท่านก็ได้ถุกยกขึ้นเป็นนักบุญพร้อมมรณสักขีแห่งเวียดนามในวันที่
19 มิถุนายน ค.ศ.1988 โดยสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น
ปอล ที่ 2 พร้อมเด็กชายในวันนั้น นักบุญเทโอฟาน
“จงมีความประพฤติดีงามในหมู่คนต่างศาสนา
แม้เขาจะใส่ร้ายท่านว่าประพฤติชั่วร้าย
เขาจะต้องยอมรับว่ากิจการที่ท่านทำนั้นเป็นกิจการดี
และจะสรรเสริญพระเจ้าในวันที่พระองค์เสด็จมา” (1 เปโตร 2:12) ชีวิตของธรรมทูตผู้นี้เป็นแบบอย่างของทุกคนในการดำเนินชีวิตธรรมทูต
ดูซิ แม้ท่านจะถูกใส่ร้ายว่างานที่ทำคือการไม่ดีแต่ท่านก็ไม่ได้โกธรเคืองอะไรเขา ตรงข้ามท่านได้แสดงความเมตตาต่อเขาด้วยความรัก
แม้ท่านจะเป็นชาวยุโรปแต่ท่านก็มิได้รังเกียจชาวอันนัมทั้งหลาย
ท่านทำดีต่อพวกเขาทุกๆคน เช่นกันบางครั้งเราอาจต้องถูกเข้าใจผิดบ้าง
แต่อย่าได้สนหากไม่เป็นความจริง
ตรงข้ามเราเราต้องรักพวกเขามากๆเพราะเวลาจะเป็นเครื่องยืนยันเอง
“ข้าแต่ท่านนักบุญ ฌอง ชาร์ลส์ กอร์เน
ช่วยวิงวอนเทอญ”
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.tinmung.net/CACTHANH/118ThanhTDVN/_TieuSu/Tan_GioanCharlesCornay.htm