บุญราศีมรณสักขีคาร์เมไลท์
แห่ง กัวดาลาฆาดา
Beatas
Mártires Carmelitas de Guadalajara
ฉลองในวันที่ : 24 กรกฎาคม
นิทานชีวิตแห่งการเป็นพยานคาร์เมไลท์เริ่มหน้าแรกอีกครั้งด้วยการลืมตาดูโลกของเด็กสาวคนหนึ่งในวันที่
30 ธันวาคม ค.ศ.1877 ที่ ตาราโซนา เมืองซาราโกซา ประเทศสเปน เด็กสาวผู้เป็นลูกคนที่สิบเอ็ด ซึ่งพ่อแม่นายคาบิโอป
และ นางโรซา ได้ตั้งนามเธอว่า “ฆาโกบา
มารติเนส การ์เซีย” (Jacoba
Martínez García)
ฆาโกบา
เรียนรู้ที่จะภาวนาก่อนที่จะเดินและพูดได้
เธอมีความฉลาดรอบรู้เรื่องศาสนาที่เกินวัยของเธอเองมาก หลังจากเกิดได้ประมาณสองปี
ฆาโกบาก็ได้รับศีลกำลัง ด้วยวัยเพียง 2 ขวบ ในวันที่ 1 สิงหาคม
ค.ศ.1879 เธอมีวัยเด็กและวัยรุ่นเช่นเด็กสาวทั่วไปร่าเริง เป็นมิตร รักวันหยุด
มารดาของเธอมักถามฆาโกบาเสมอว่าอยากเป็นชีลับแบบพี่เซเวเรียนา พี่สาวของเธอไหม
และทุกครั้ง ฆาโกบา ก็จะตอบว่ามันไม่ใช่วิถีทางของเธอ
จนกระทั้งวันปฏิญาณตนของพี่เซเวเรียนา
ในอารามคาร์แมลที่กัวดาลาฆาดา
ฆาโกบาที่ร่วมในงานครั้งนั้นก็รู้สึกประทับใจในสิ่งที่เห็นและเริ่มถามพระเจ้าเรื่องกระแสเรียกของเธอ
ที่สุดหลังจากแน่ใจแล้วเธอก็ได้ขอมารดาและพี่ชายเข้าอารามคาร์แมล
และกลายมาเป็นนวกะในอารามเดียวกับพี่สาวในปี ค.ศ.1898 หลังจากนั้นนับจากปีนั้นมา ฆาโกบา มารติเนส
การ์เซีย ก็กลายมาเป็น “ซิสเตอร์มารีอา ปีลาร์ แห่ง นักบุญฟรานซิส
บอร์เจีย”
ชีวิตในอารามเป็นไปอย่างราบรื่น
ฆาโกบา ไม่ซิ ซิสเตอร์มารีอา ปีลาร์ มั่นใจในกระแสเรียกของเธอ
เธอปรารถนาจะอุทิศตนทั้งครบเพื่อพระเจ้าและพี่น้องซิสเตอร์ทั้งหลาย
เธอทำงานเย็บปักถักร้อยในอารามด้วยความชำนาญ เธอเลียนแบบนักบุญยอแซฟในด้านความอ่อนน้อมถ่อมตน
เชื่อฟัง การทำงานเธอ และ เลียนแบบการอุทิศตนเช่นนักบุญเทเรซาแห่งอาวิลลา เธอคอยช่วยเหลืองานต่างๆของพี่น้องซิสเตอร์ด้วยกันในทุกสิ่งที่เป็นประโยชน์ไม่ว่าจะสามารถทำได้ดีหรือไม่ค่อยดีก็ตาม
ด้วยคติของนักบุญเปาโลที่ว่า “ถ้าเข้าไม่ได้ทำงาน
เขาจะไม่ได้กิน”
ในการให้การพิจารเป็นบุญราศีซิสเตอร์ท่านก็ได้ยืนยันถึงเรื่องถึงความเชื่อฟังของซิสเตอร์มารีอา
ปีลาร์ ว่าเชื่อฟังมากๆ
นอกจากนั้นซิสเตอร์มารีอา
ปิลาร์ ยังรักความสันโดษ เธอชอบภาวนาอยู่ในห้องนอนเงียบๆ
การอุทิศตนหลักของเธอคือการอุทิศตนแด่ศีลมหาสนิท
เธอถวายการกระทำทุกๆอย่างแก่ศีลมหาสนิทเสมอ
แม่พระก็คืออีกคนที่ขาดไม่ได้ท่านเคยกล่าวว่า “ลูกประสงค์ทุกสิ่งของพระเยซูเจ้าผ่านแม่พระ”
และเมื่อวิหกทมิฬแห่งสงครามกลางเมืองเม็กซิโกผงาดขึ้น ซิสเตอร์มารีอา ปิลาร์
ก็ได้สารภาพกับซิสเตอร์ท่านหนึ่งในวันหนึ่งซึ่งเหมือนเป็นการทำนายว่า “คุณแม่ค่ะ
ลูกได้ถวายตัวลูกเองเป็นยัญบูชาเพื่อความเชื่อของคุณแม่และตลอดทั้งอารามค่ะ”
หลังจากนั้นอีกสามสิบสองปีถัดมาหลังจากฆาโกบา
เกิด เด็กหญิงมาเกียนา วาลเตียรรา โตรเดซิลลา(Marciana Valtierra Tordesilla) ก็เกิดมาในครอบครัวของนายมานูเอล ดิมาส กับ
นางโลเรนซา เมื่อวันที่ 6
มีนาคม ค.ศ.1905 ที่ เกตาเฟ เมืองมาดริด ประเทศสเปน
เธอเป็นลูกคนสุดท้องจากสิบคนของครอบครัว มาเกียนาเป็นเด็กสาวที่เปราะบางและอ่อนแอ มารดาของเธอไม่สามารถให้นมเธอได้
ดังนั้นเธอจึงถูกพาไปโรงพยาบาล
ตั้งแต่ยังไม่สามารถพูดได้ดี
หนูน้อยมาเกียนาก็มีความสุขที่จะไปวัดและรู้สึกว่าจำเป็นต้องช่วยเหลือผู้ยากไร้
ยามใดก็ตามที่เธอเห็นผู้ยากไร้เธอก็จะรีบวิ่งไปหาคุณแม่พลางพูดว่า “แม่ๆ ให้คนอื่น ให้มากๆ” ด้วยวัยสามปีมาเกียนา
ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนพระวิสุทธิ์วงศ์ และได้รับศีลกำลังเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ.1910 ขณะอายุได้ 5
ปี
แต่แล้วมารดาของท่านก็เสียชีวิตลง
มันทำให้เธอทุกข์เป็นระยะเวลานาน ในจดหมายที่เธอเขียนถึงพี่มาร์เซลินา
ขณะเธออายุได้ 12 ปี ระบุว่า
“ดิฉันคิดถึงคุณแม่มากๆ ดิฉันคิดถึงเธอ! แต่แม่พระได้มาแทนที่ท่าน
ตั้งแต่ดิฉันได้ทูลขอต่อพระนางและดิฉันได้ยึดพระนางเป็นคุณแม่” นอกจากนั้นในพิธีถวายประเทศสเปนต่อพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าโดยกษัตริย์อัลฟอนโซ
ที่ 13 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม
ค.ศ.1919 สาวน้อยวัยสิบสี่อย่างมาเกียนาก็ได้ร่วมพิธีในครั้งนั้นด้วย
มาเกียนาเป็นคนรักความสงบมากๆ
เธอหนีตัวออกจากเรื่องทางโลก ความสนุกสนาน เธอไม่เคยบ่นยามดูแลบิดาที่ป่วยกับสองคุณป้าที่คนหนึ่งปันอัมพาต
อ่อนน้อมถ่อมตน เธอยังเป็นครูคำสอนของเด็กๆในคณะธิดาแม่พระ ช่วยคนยากจนในฐานะสมาชิกคณะวิยเซนต์
เดอ ปอล และยังเป็นผู้ช่วยที่ดีของคุณพ่อฆวน วีเซนเต ในการขยายนิตยสารลา โอบรา
มาซิมา ซึ่งนำเธอไปสัมผัสกับกระแสเรียกของพระองค์ แต่ก็ต้องใช้เวลานานกว่าจะแน่นอนเพราะอารามคาร์แมลที่เอล
แซร์โร เด โลส อันเกเลส ของคุณแม่มาราวิลลาสมีสถานที่จำกัด และยังไม่แน่นอนนัก
แต่ด้วยใจที่ร้องเรียกหาพระที่สุดเธอจึงตัดสินใจลาครอบครัว
และเข้าพิธีปฏิญาณตนในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1929 สองวันก่อนวันฉลองแม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล ที่อารามคาร์แมลนักบุญยอแซฟที่กัวดาลาฆาดา
พร้อมนามใหม่ตามนามแม่พระห่งนิกรสวรรค์องค์อุปถัมภ์ของสังฆมณเธอว่าว่า “ซิสเตอร์มารีอา อันเกเลส แห่ง นักบุญยอแซฟ”
และได้รับชุดคณะในวันที่
19 มกราคม ค.ศ.1930 ปฏิญาณตนครั้งแรกในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ.1931 และปฏิญาณตนตลอดชีพในวันเดือนเดียวกัน ในปี ค.ศ.1934 ซิสเตอร์มารีอา อันเกเลส ตั้งแต่ครั้งเป็นนวกะ
ก็โดดเด่นในด้านความดีมากมาย เธอทำกิจเมตตาโดยมิคำนึงถึงตัวเอง
เธอรักการเป็นทุกข์ถึงบาปและการเสียสละ ด้วยการเชื่อฟังและปฏิบัติกิจเมตตากับซิสเตอร์ในอาราม
ทุกสิ่งที่เธอทำล้วนทำด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน กระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจ
นอกจากนั้นเธอยังทำทุกสิ่งทำเพื่อความรอดของวิญญาณทั้งหลาย
วันหนึ่งในช่วงหย่อนใจเธอได้กล่าวว่า “พระพรใดจะเท่า ถ้าเราได้หลั่งเลือดของเราเพื่อพระคริสต์เจ้า
แต่ดิฉันไม่สมควรได้รับพระหรรษทานนี้”
“เอวเซเบีย การ์เซีย อี การ์เซีย” คือสาวน้อยคนที่สองจากแปดคนของนายฆวน และ
นางเอวลาเลีย ทั้งสองอาศัยอยู่ที่โมชาเลส เมืองกัวดาลาฆาดา ประเทศสเปน สถานที่อันเป็นที่กำเนิดของเธอในวันที่ 5 มีนาคม
ค.ศ.1909 ในครอบครัวที่อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมของความเชื่อ มีการภาวนาพร้อมกันทุกวัน
พร้อมมารดาที่คอยสอนลูกๆทุกวัน ครอบครอบที่สอนให้ทุกคนมีส่วนร่วมกับวัดทุกคน
ประการฉะนี้จึงไม่แปลกอะไรเลยที่บ้านหลังนี้จะเป็นแหล่งเพาะเชื่อของกระแสเรียกของเอวซาเบีย
ด้วยวัย 7 ปี เอวซาบียได้รับศีลกำลังในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ.1916 ที่ ซีเกวนซา และศีลมหาสนิทในวันที่ 7 มิถุนายน ปีถัดมา ก่อนในปี ค.ศ.1918 หนูน้อยจะได้เข้าฝึกหัดในโรงเรียนของคณะอูสุริน ใน ซีเกวนซา ที่นั่นเธอได้รับการศึกษาที่ดี
แม้ว่าจะซุกซนและขี้เล่นก็ตาม ด้วยอายุราวๆ 12 ปี
เธอก็ตัดสินใจสมัครใจถือปฏิญาณรักษาความบริสุทธิ์และเป็นผู้รับใช้ของแม่พระ
มันเป็นที่ประจักษ์แก่ครูและเพื่อนๆของเธอที่ยังคงตราตรึงในหัวใจของพวกเขาดีในเรืองของความสุข
งานเมตตาธรรมและความเชื่อ
ต่อมาเอวซาเบียก็ได้อ่านหนังสือบันทึกวิญญาณของนักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซู
และได้ฟังบทเทศน์ใน เนื่องในวโรกาสครบรอบสามศตวรรษการแต่งตั้งนักบุญเทเรซาเป็นนักบุญในปี
ค.ศ.1922
เธอก็เริ่มเห็นกระแสเรียกที่แน่นอนของเธอ ใช่ เธอจะเป็นคาร์เมไลท์
แต่มันก็นานพอสมควรกว่าเธอจะตัดสินใจติดตามกระแสเรียกนี้ “ดิฉันเป็นคาร์เมไลท์
เป็นนักบุญเทเรซาและนักบุญเทเรซิตา(นักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซู) ในอารามคาร์แมลนักบุญยอแซฟ กัวดาลาฆาดา” เธอกล่าว
ลุงดอน
โฟลเรนติโน(มรณสักขี ค.ศ.1936)ของเธอซึ่งเป็นพระสงฆ์เก็ห็นดีด้วยกับเธอ
แต่กระนั้นก็ต้องติดตรงที่ว่าบิดามารดายังไม่อนุญาตเพราะเหตุว่าเธอยังเล็กเกินไปและปรารถนาให้เธอดูแลน้อง
มันจึงต้องใช้เวลานานมาก
กว่าลุงโฟลเรนติโนจะกล่อมบิดามารดาของหลานอย่างเธอมันก็ใช้เวลานานพอสมควร
ที่สุดแล้วสาวน้อยสิบหกนามเอวซาเบียก็ได้เข้าอารามคาร์แมลกัวดาลาฆาดา ในวันที่ 2 พฤษภาคม
ค.ศ.1925
พร้อมได้รับนามใหม่ตามนักบุญที่เธอรักว่า “ซิสเตอร์เทเรซาแห่งพระกุมารเยซูและนักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขน”
“ลูกจะร่ำร้องบทเพลงแห่งพระเมตตาของพระเจ้า
ด้วยความแน่วแน่ของลูก พระเจ้าของลูก ทรงทราบดีว่า
1.ด้วยสิ้นสุดรักที่มิมีความปรารถนาอื่นใดมากกว่าการได้ถูกเผาผลาญท่ามกลางเปลวไฟแห่งความรักของพระองค์
2.เพื่อพิสูจน์ความรักนี้ เพื่อไปทำงานเป็นทูตสวรรค์แห่งเมตตาธรรมในอารามของลูก
ลูกวางใจในพระหรรษทาน พระเยซูเจ้าของลูก” เธอเขียนลงในบันทึกสั้นๆที่มีหัวข้อว่า
“จุดมุ่งหมาย” ที่เธอหยิบมาและอ่านในระหว่างการลี้ภัย
และเช่นเดียวกันกับนักบุญเทเรซาที่เธอรัก ณ เบื้องหน้าตู้ศีล เธอได้ภาวนาของเป็นยัญบูชาเพื่อพระสงฆ์
ขณะที่สงครามปะทุ
ใช้แล้วตอนนิ้วิหกทมิฬ
ผงาดขึ้นมาที่กัวดาลาฆาดาแล้ว หลังจากมีการสภาวะสงครามกลางเมืองสเปน เกิดขึ้นในเมือง เมืองตกอยู่ในความตึงเครียด ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลาเดียวกันกับเวลาอาหารเที่ยงของอารามคาร์แมลในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ.1936 พอดี
ดังนั้นซิสเตอร์ทุกคนจึงต้องอพยพลงไปอยู่ในห้องใต้ดินชั่วคราวเพื่อความปลอดภัยจากการโจมตีและใช้เวลาตลอดทั้งบ่ายวิงวอนขอพระเมตตาแด่ทุกคน
ที่สุดคุณแม่อธิการเล็งเห็นว่าคงไม่ปลอดภัย คุณแม่จึงสั่งให้ซิสเตอร์ทุกคน
เปลี่ยนไปใส่ชุดฆราวาสและอพยพออกจากอารามเสีย
หลังจากนั้นพระสงฆ์คุณพ่อดอน
เอวโลกิโอ กาสกาเฆโร จิตตาธิการก็ได้เดินทางมาประกอบพิธีมิสซาในชุดฆราวาส
ก่อนที่ผู้ดูแลอารามจะเดินมาและแจ้งให้ว่า “เตรียมพร้อมเลยค่ะ
ในไม่ช้าพวกเขาจะมาถึงพร้อมคบไฟในมือเพื่อเผาอารามค่ะ”
มันจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการออกจากอารามเป็นกลุ่มๆในชุดฆราวาสและผ่านคืนวันที่
23 และ 24
ในห้องใต้ดินโรงแรม
ราตรีผ่านไปด้วยการตื่นเฝ้าภาวนาด้วยความกลัว
ที่สุดในวันที่ 24 มีการเล็งเห็นว่าการอยู่รวมตัวกันมากๆเช่นนี้
เป็นจุดเด่นเกินไป ซิสเตอร์เทเรซา จึงสมัครใจย้ายไปหลบภัยที่อื่น พร้อมกับซิสเตอร์มารีอา
อันเกลา และ ซิสเตอร์มารีอา ปีลาร์ ในช่วงบ่ายของวันนั้นเอง
“ดู นังพวกแม่สิ ยิงมันเลย!” เสียงตะโกนของอาสามสมัครสาวของกองกำลังผู้นิยมระบอบสาธารณรัฐ ดังขึ้นในบ่ายวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ.1936 ท่ามกลางการฉลองชัยของพวกเขาสำหรับการยึดเมืองกัวดาฆาดาได้
มันทำให้กลุ่มของบรรดาซิสเตอร์ที่ถูกกล่าวนั้นต้องวิ่งหนี
อนิจจาสุดท้ายพวกเธอก็จนมุม ปัง ปัง ปัง เสียงปืนดังติดต่อกัน พร้อมๆกับร่างของทูตสวรรค์น้อยๆล้มลงไป
จากกระสุนที่ทะลุผ่านหัวใจ ซิสเตอร์มารีอา
อันเกเลส แห่ง นักบุญยอแซฟ จากไปแล้ว โดยที่ข้างๆมีซิสเตอร์มารีอา ปีลาร์ แห่ง
นักบุญฟรานซิส บอร์เจีย นอนจมกองเลือดด้วยความทรมาน พลางร้องว่า “ขอพระคริสต์ราชา ทรงพระเจริญเทอญ” มันทำให้พวกมันกลับหวนมายิงซ้ำอีกรอบ
ก่อนอาสาสมัครคนหนึ่งจะเอามีดขึ้นมาและแทงท้องซิสเตอร์ผู้ยังมีชีวิตอยู่อย่างโหดเหี้ยมเพื่อแก้แค้น
เสียงกรีดร้องดังทั่ว
ดึงดูดไทยมุงมากมายมาที่นั่น พร้อมกับการห้ามปรามของทหารที่มาเห็นเหตุการณ์
หลังจากจับกุมผู้กระทำแล้ว
พวกเขาก็ได้ช่วยกันหามร่างของซิสเตอร์ผู้เคราะห์ร้ายไปในร้านขายยาที่ใกล้ๆนั้นเพื่อรักษา
แต่หลังการตรวจจากแพทย์ก็ต้องพบว่าบาดแผลมีอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงลงมติจะย้ายท่านไปรักษาต่อในโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน
แต่อนิจจารถที่พวกเขาขอความช่วยเหลือ
เมื่อเห็นว่าเป็นแม่ชีที่บาดเจ็บเขาก็ไม่ยอมช่วยและไม่พอยังตะโกนเย้ยหยัน
ก่อนจากไปอย่างไม่ไยดี เคราะห์ยังดีเมื่อขอความช่วยเหลือจากรถคนที่สอง
ก็ได้รับคำตอบว่าได้ ประการฉะนี้ร่างชุ่มเลือดของซิสเตอร์มารีอา ปีลาร์
จึงถูกนำไปยังคลินิกของกาชาดที่พลาซา เมรลาสคา(Merlasca) และเมื่อมาถึงกลุ่มต่อต้านคาทอลิก
ก็พากันไม่ยอมให้พาร่างของซิสเตอร์เข้ารักษา แต่เดชะบุญที่มีคำสั่งให้ทหารปลาบพวกนั้นและอนุมัติให้ซิสเตอร์มารีอา
ปีลาร์ รับการรักษาได้
ที่นั่นซิสเตอร์มารีอา
ปีลาร์ อยู่ในความดูแลของทันตแพทย์นามคุณหมอมารีอา การ์ราซโซ
ที่คอยบรรเทาความเจ็บปวดของบาดแผลและคอยพูดให้กำลังใจเสมอ
แต่กระนั้นมันก็ไม่ช่วยอะไรได้มาก
ดังนั้นพวกเขาจึงจัดการโอนซิสเตอร์ผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาลที่ดำเนินการโดยซิสเตอร์คณะธิดาเมตตาธรรม
เพื่อห้ามเลือด แต่สุดท้าย ณ โรงพยาบาลวันเดียวกันเวลาบ่ายๆ
หลังจากตลอดระยะเวลาในโรงพยาบาลพึมพำว่า “พระบิดาเจ้าข้าโปรดอภัยพวกเขาเทอญ….” และ “ขอพระคริสต์ราชา ทรงพระเจริญเทอญ” ท่านก็กล่าวอย่างชัดเจนว่า “พระเจ้าขอลูก พระเจ้าของลูก โปรดทรงอภัยให้พวกเขาด้วยเพราะพวกเขาไม่รู้ถึงสิ่งที่เขาทำ” ซิสเตอร์มารีอา
ปีลาร์ก็ได้คืนชีวิตสู่พระเจ้าตามซิสเตอร์มารีอา อันเกเลส ไป
ซึ่งในระหว่างความสับสนวุ่นวายนั้นเองซิสเตอร์เทเรซาแห่งพระกุมารเยซูและนักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขน
ก็สามารถหลบหนีไปได้ทันในขณะที่เพื่อนๆร่วมอารามทั้งสองของเธอนอนจมกองเลือด
เพราะความกลัว เธอวิ่งไปยังประตูอีกโรงแรมหนึ่งที่ตั้งไม่ห่างจากโรงแรมพาเลทโฮเทล
เพื่อขอความช่วยเหลือ แต่ไม่เลย เธอถูกกันจากชายหน้าประตูโรงแรม
ดังนั้นเธอจึงเดินทางกลับมาถนนสายเดิม สายที่พี่น้องคาร์แมลสองคนของเธอถูกฆ่าไปเมื่อไม่นาน
โดยไร้ความหวังความเมตตาจากพวกเขา
ซิสเตอร์เทเรซาเดินอย่างงงันเป็นเวลานาน
โดยที่ไม่สังเกตเลยว่า ขณะนี้มีชายเดินเข้ามาใกล้เธอ และพูดกับเธอว่า “สบายใจได้ ไม่มีใครทำอะไรเธอหรอก ….. มากับฉันแล้วเธอจะปลอดภัย” ยังไมทันได้ตอบเธอก็ถูกพวกเขาลากไป
ในขณะที่เธอเพียงร้องเบาๆว่า “พระเยซูเจ้า
พระเยซูเจ้า” ละเล็กละน้อยพวกเขาค่อยๆพาท่านข้ามสะพาน
เพื่อไปยังชานเมือง ขณะนั้นเองที่เธอเริ่มตะหนักได้ว่าพวกเขาปรารถนาขมขืนเธอแน่ๆ
ถึงได้พาเธอออกมาที่สุสานประจำเมืองเช่นนี้
เมื่อมาถึงสุสานพวกเขาซึ่งก็คือพวกอาสาสมัครต่อต้านคาทอลิก
ก็ได้บังคับให้เธอก้าวไปข้างหน้า และรบเร้าให้เธอหันมาเป็นพวกตนเสีย
แต่ผิดคาดเธอกลับตอบด้วยความหนักแน่นว่า “ขอพระคริสต์ราชา ทรงพระเจริญเทอญ! ขอพระคริสต์ราชา ทรงพระเจริญเทอญ!”
เมื่อได้ยินดังนั้นพวกเขาก็รู้ทันทีว่ามิอาจเปลี่ยนใจเธอได้
ดังนั้นเขาจึงสั่งให้เธอวิ่งกางแขนเฉกเช่นเดียวกับบุญราศีมิเกล
โปรไปข้างหน้าและกู่ร้องว่าจะมีชีวิตอยู่พระคริสต์ราชา ปัง! ปัง! ปัง! เสียงปืนหลายนัดดังขึ้นไล่หลังเธอ
ที่ปลิดชีวิตของซิสเตอร์เทเรซาลง
ร่างไร้วิญญาณของซิสเตอร์ถูกฝังในหลุมฝังศพรวมกับเหยื่อรายอื่นจากสงคราม
จนกระทั้งปี ค.ศ.1941 ร่างของพวกเธอจึงถูกย้ายมาผังในที่สมควร
ก่อนจะมีการส่งเอกสารยื่นขอเสนอซิสเตอร์ทั้งสามเป็นบุญราศี สุดแล้วในวันที่ 29 พฤษภาคม
ค.ศ.1978 สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ก็ได้ทรงประกาศคาร์เมไลท์ทั้งสามไว้ในสารบบบุญราศีดังนี้
1.ซิสเตอร์มารีอา ปีลาร์ แห่ง
นักบุญฟรานซิส บอร์เจีย สิ้นอายุด้วยวัย
58 ปี
2.ซิสเตอร์มารีอา อันเกเลส แห่ง นักบุญยอแซฟ สิ้นอายุด้วยวัย 31 ปี
3.ซิสเตอร์เทเรซา แห่ง
พระกุมารเยซูแห่งนักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขน สิ้นอายุด้วยวัย 27 ปี
“ถ้าเราจะถูกนำไปสู่การเป็นมรณสักขี จงร้องเพลง
พระหฤทัย ทรงครองเรา!”
ซิสเตอร์มารีอา ปีลาร์ แห่ง นักบุญฟรานซิส
บอร์เจีย กล่าว
“ดิฉันจะตายจะตะโกนว่า พระคริสต์ราชาทรงพระเจริญเทอญ
มรณสักขีในสวรรค์จะรักโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพชฌฆาตของเขา ด้วยความสุขอันยิ่งใหญ่ที่มอบแด่พวกเขา”
ซิสเตอร์เทเรซา แห่ง
พระกุมารเยซูแห่งนักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขน กล่าวเสริม
“มรณสักขี ความสุขที่ยิ่งใหญ่ แต่ดิฉันไม่คู่ควรกับพระหรรษทานนี้
เธอจะต้องเอื้อมไปถึงสิ่งนั้นด้วยความภักดีในสิ่งเล็กๆ”
ซิสเตอร์มารีอา อันเกเลส แห่ง นักบุญยอแซฟ
กล่าวกับซิสเตอร์ข้างๆ
“ ใครอยากรับใช้เรา จงตามเรามาเถิด” (ยอห์น 12:26) พวกท่านทั้งสามก็เช่นกันดั่งพระวาจา
พวกท่านเลือกที่จะติดตามพระเยซูคริสต์เจ้ามากว่า ท่านจึงยอมได้แม้กระทั้งชีวิตเพื่อเป็นพยาน
พี่น้องที่รักการที่เราจะเป็นผู้รับใช้ของพระองค์และพยานชีวิตที่ดีนั้นเราต้องมีวิถีชีวิตตามพระวาจาของพระเจ้า
ด้วยวิธีการที่แสนง่าย คือ การรัก แบบที่นักบุญเปาโลเขียนไว้ว่า “ธรรมบัญญัติทั้งหมดสรุปได้เป็นข้อเดียวว่า
จงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง” (กาลาเทีย 5:14)
“ข้าแต่ท่านบุญราศีมรณสักขีคาร์เมไลท์ แห่ง
กัวดาลาฆาดา ช่วยวิงวอนเทอญ”
“ขอพระคริสต์ราชา ทรงพระเจริญเทอญ”
ข้อมูลอ้างอิง