วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

"อัลฟอนซา" ปลาคาร์ฟน้อยผู้ทรหดแห่งอินเดีย


นักบุญอัลฟอนซา แห่ง การปฏิสนธินิรมล
St. Alphonsa of the Immaculate Conception
องค์อุปถัมภ์ : ผู้เจ็บป่วย
วันฉลอง : 28 กรกฎาคม

‘อัลฟอนซา’ เป็นนามของหญิงชาวอินเดียคนแรก ที่ได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญในพระศาสนจักรคาทอลิก ท่านเกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.. 1910 ที่เมืองกุดามัลลูร์ ในรัฐเกราลา ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย ท่านเป็นลูกคนที่สี่ของยอแซฟ มุททาธุปาดาทู มัททาทูพาดาทู กับ มารีย์ พูธุคารี ครอบครัวคริสตัง จารีตท้องถิ่นเกราลาอย่าง ‘ซีโรมลาพา’ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ท่านเป็นคริสตังจารีตนี้คนแรก ที่ได้รับเกียรติยกขึ้นเป็นนักบุญได้เช่นกัน

มารดาของท่านคลอดท่านก่อนกำหนดในเดือนที่แปดของการตั้งครรภ์ท่านจากความตกใจกลัวอย่างสุดขีด โดยเรื่องมีอยู่ว่าวันหนึ่ง เนื่องด้วยอากาสที่แสนจะร้อนอบอ้าว นางพูธุคารีซึ่งตั้งท้องท่านได้แปดเดือนจึงออกมานอนที่ชานระเบียงบ้านเพื่อรับลมที่พัดมา แต่ขณะกำลังงีบหลับอยู่นั้นเอง พลันก็มีงูตัวหนึ่งเลื้อยมาจากไหนไม่รู้ แล้วเข้าไปรัดเอวนาง จนพอที่จะทำให้นางสะดุ้งตื่น ซึ่งเมื่อนางเห็นว่าสิ่งใดปลุกนาง สัญชาตญาณก็สั่งให้นางรีบขว้างงูนั้น แล้วเขวี้ยงไปให้ไกลตัวโดยพลัน แต่แม้นงูจะไม่หยุดอยู่แล้ว นางก็ยังคงอยู่สภาพช็อคสุดขีด จนทำให้ท่านคลอดก่อนกำหนดในที่สุด


กลับมาที่เหตุการณ์ของเราต่อ ภายหลังจากลืมตาดูโลกได้แปดวัน ในวันที่ 26 สิงหาคม ท่านก็ได้รับศีลล้างบาป ด้วยนามว่า ‘อันนา หรือ อันนากุตตี’ (อันนากุตตี แปลว่า อันนาน้อย) ณ วัดพระแม่มารีย์ กูดามาลูร์  แต่อนิจจาเพียงสามเดือนให้หลังจากที่ท่านเกิด มารดาของท่านก็ถึงแก่กรรมลงอย่างสงบ ดังนั้นชีวิตนับแต่วันนั้นมา ท่านจึงมีคุณตาคุณยายซึ่งอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านเอลุมพารัมบิลเป็นคนคอยเลี้ยงดูควบคู่ไปกับบิดาของท่าน และก็ผ่านคุณยายผู้เคร่งและรักการภาวนา ในวัย 5 ปี ท่านก็เริ่มเรียนรู้มันอย่างกระตือรือร้น และเริ่มสวดภาวนาร่วมกับครอบครัวในทุก ๆ เย็นที่ห้องพระ

เมื่ออายุได้ 7 ปี ท่านก็ได้รับศีลมหาสนิทครั้งแรกในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.. 1917 ซึ่งเมื่อเล่าย้อนถึงวันนั้นในอีกหลายปีต่อมากับเพื่อน ๆ ของท่าน ท่านก็เล่าว่า เธอรู้ไหมว่าทำไมฉันถึงความสุขเป็นพิเศษในวันนี้ ก็เพราะฉันได้มีพระเยซูเจ้าในหัวใจไงละ และแต่นั้นมา ท่านก็ไปมิสซาและรับศีลเป็นประจำทุกวัน


แม้จะไม่มีมารดาเช่นเด็กคนอื่น ๆ บุคคลสำคัญที่คอยปลูกฝังความเชื่อให้ท่านก็คือ คุณยายของท่าน หญิงชราทั้งปลูกฝังความจงรักภักดีต่อพระนางมารีย์ มารดาของชาวเราและบรรดานักบุญทั้งหลาย และยังคอยเล่าเรื่องราวของนักบุญต่าง ๆ ให้ท่านฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักบุญเทเรซาแห่งอาวีลาและนักบุญดอกไม้น้อย ๆ แห่งลิซิเออร์ (นักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซู) จนทำให้ท่านมีความปรารถนาที่จะเป็นนักบุญมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะวันหนึ่งที่ได้พบท่านดอกไม้น้อย ๆ ได้ปรากฏมาหาท่านที่สวน และได้บอกท่านถึงความยิ่งใหญ่ของชีวิตการเป็นนักบวช ทั้งขอให้ท่านได้ดำเนินชีวิตเช่นนี้ นอกนั้นแล้วผ่านทางบิดา ท่านก็เรียนรู้วิธีพลีกรรมชดเชยบาป (คือ การคุกเข่าสวดบนก้อนกวดอีกด้วย 

ส่วนการศึกษาในโรงเรียน ในปีเดียวกันที่ท่านรับศีลมหาสนิทครั้งแรก ท่านก็ได้เริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนประถมอาร์พุคคาระ โธนนันคูซี  ณ ที่นั่นท่านได้เพื่อนสนิทที่สุดเป็นชาวฮินดูชื่อ ลักษมี ซึ่งได้เล่าในยามชราว่า แม่จำอันนากุตติได้เสมอ แม่ไม่มีทางลืมเธอได้หรอก ทั้งสองชอบไปเล่นด้วยกัน และมักไปมาหาสู่กันมิได้ขาด ดังนั้นเธอจึงได้เป็นหนึ่งในประจักษ์พยานชีวิตอันน่าอัศจรรย์ของท่าน ที่แม้เธอจะเป็นคนฮินดู เธอก็ยอมรับ หนึ่งคำพยานเหล่านั้นก็คือเรื่องราวการอภัยของท่านกับเด็กชายเกเรที่แกล้งท่าน มันเป็นเพราะนิสัยให้อภัยของอันนากุตตีนี้เองที่ทำให้เธอเป็นนักบุญ ไม่ใช่อย่างอื่นที่ทำ เธอเปี่ยมไปด้วยการให้อภัย เธอกล่าวสรุปเรื่อง


ท่านเรียนที่นั่นอยู่สามปี ในปี ค.. 1918 นางอันนัมมา มูริคคาน คุณป้าผู้เจ้าระเบียบที่รักและเอ็นดูท่าน ก็มารับท่านไปเรียนต่อในโรงเรียนที่หมู่บ้านมุททุชิรา ทำให้นับแต่เวลานั้นมา ท่านจึงได้รับการเลี้ยงดูให้เป็นแม่ศรีเรือนที่เพียบพร้อมด้วยความรักจากนางอันนัมมาผู้เสมือนหนึ่งเป็นมารดาอีกคนของท่าน อันนากุตติรักคุณป้าของเธอมาก ลักษมีเล่า ดังเองอนาคตของท่านจึงถูกวางไว้ให้ออกเย้าออกเรือนไปกับชายที่เหมาะสมในเวลาที่สมควร ซึ่งขัดกับความปรารถนาของท่านเสียจริง เธอไม่ชอบการแต่งงาน เธอไม่ชอบแม้กระทั่งการได้ยินเรื่องแต่งงาน แต่คุณป้าของเธอก็พยายามจะทำมันให้ได้ เธอสงวนหัวใจของเธอไว้ให้กับพระเจ้าของเธออยู่ภายใน เธอมีชีวิตอยู่เพื่อพระองค์

ในวัยสาวสะพรั่ง ท่านก็ตัดสินใจบอกกับทุกคนว่าท่านปรารถนาจะเป็นนักบวช ดังที่ท่านดอกไม้น้อย ๆ ได้เคยบอกไว้ แต่คุณป้าและญาติคนอื่น ๆ ของท่านก็ต่างพากันคัดค้านแผนของท่าน พวกเขาต้องการให้ท่านได้แต่งงานกับชายหนุ่มคนหนึ่งที่เพียบพร้อมด้วยรูปและทรัพย์  แต่หัวเด็ดตีนขาดอย่างไรท่านก็ยอม ท่านพยายามอ้อนวอนคุณลุงว่าไม่อยากแต่งงาน แต่ก็ไม่อาจเปลี่ยนความคิดของคุณป้าได้ แน่นอนว่าเรื่องนี้ยังความทุกข์ใจให้ท่านเป็นอันมาก เธอร้องไห้เยอะมาก กุนจามา ชาวาลา เพื่อนสนิทอีกคนของท่านเล่าถึงช่วงเวลานั้น


แต่กระนั้นด้วยความรักต่อพระสวามีเจ้าเยซู ท่านจึงได้วางแผนเผาเท้าของท่านเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการแต่งงานในครั้งนี้โดยการเผาเท้าของท่านในหลุมเผาถ่าน โดยเท่าเล่าในภายหลังว่า  การแต่งงานของดิฉันถูกตระเตรียมไว้ตั้งแต่ดิฉันอายุได้สิบสามปี ดิฉันจะหลีกเลี่ยงจากมันได้อย่างไร ดิฉันสวดภาวนาตลอดทั้งคืน แล้วดิฉันก็คิดขึ้นได้ว่าหากร่างกายของฉันเกิดมีความพิการเล็กน้อยก็จะไม่ใครต้องการดิฉัน” แต่ในความพยายามครั้งนั้น ขณะท่านกำลังเอาเท้าลนไฟอยู่เพื่อให้เกิดแผลเพียงเล็กน้อย ท่านก็เกิดลื่นตกลงไปในหลุมถ่าน ทำให้เท้าทั้งสองของท่านถูกไฟครอกจนเป็นแผลใหญ่ ที่กว่าจะรักษาให้หายขาดได้ก็ต้องกินเวลาถึงหนึ่งปี

ความเด็ดเดี่ยวครั้งนี้ของท่านไม่ไร้เปล่า เพราะมันเป็นผลให้คุณป้าของท่านอนุญาตให้ท่านเข้าอารามคณะฟรานซิสกัน กลาริส คณะภคินีพื้นเมืองของเกราลาได้ อันนับเป็นการเสียสละครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเธอ จนเธอไม่อาจจะหักห้ามใจได้ และได้ตรอมใจตายในเวลาต่อมาด้วยความเสียใจ แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น ขอย้อนกลับมาหลังจากท่านได้รับอนุญาตเช่นนี้แล้ว ด้วยความช่วยเหลือของคุณพ่อยากอบ มูริคเคน ในการติดต่ออาราม ในวันที่ 24 พฤษภาคม ค..1927 ด้วยวัย 17 ปี ท่านจึงได้เข้านวกะสถานของคณะที่เมืองภาระนันกานัม สังฆมณฑลปาลาย หลังจากนั้นในวันที่ 2 สิงหาคม ปีถัดมาท่านจึงได้รับผ้าคลุมศีรษะ และกลายโปสตุลันต์ของคณะด้วยชื่อใหม่ว่า ‘ภคินีอันฟอนซาแห่งการปฏิสนธินิรมล’ ภายหลังจากวันฉลองนักบุญอัลฟอนโซ


ท่านเข้าพิธีรับชุดของคณะในวันที่ 19 พฤษภาคม ค..1930 ต่อหน้าพระสังฆราชยากอบ คาลาเชร์รี  แห่ง สังฆมนฑลชานกานาเชร์รี และในวันเดียวกันนั้นเอง ท่านก็ได้กล่าวว่า ฉันสมัครเข้าอารามเพื่อเป็นนักบุญ และมีชีวิตผ่านอุปสรรคนานา ฉันจะมีชีวิตไปเพื่ออะไรละ ถ้าไม่ใช่เพื่อการเป็นนักบุญ แต่ยังจะได้ทำอะไรมาก ท่านก็ล้มป่วยลงด้วยปัญหาเรื่องเลือด ท่านจึงจำต้องเข้ารับการผ่าตัดที่เมืองเอร์นากุลัม กระทั่งหายดี ท่านจึงถูกส่งไปทำงานเป็นครูชั่วคราวที่โรงเรียนนักบุญเปาโล แอล พี วาคักคัด เป็นเวลาปีหนึ่งคือระหว่างปี ค..1932 – ..1933 ขนาบไปกับการเรียนต่อที่โรงเรียนนักบุญเทเรซา ชานกานาเชร์รี

ท่านสวยเฉียบด้วยแก้มสีชมพูระเรื่อ ชายชราอดีตนักเรียนคนหนึ่งเล่า บางเวลาพวกเราขอให้เธอร้องเพลงให้ฟัง ชายชราอีกคนเป็นพยาน ตายังจำเพลงหนึ่งได้นะ ท่านบอกว่าเพลงนี้คุณแม่ของท่าน (น่าจะคือคุณป้า เพราะท่านมักเรียกคุณป้าว่าคุณแม่เป็นคนสอนท่าน ขณะท่านร้องดวงตาของท่านจะปริ่มน้ำตา โปรดเสด็จมาเถิด องค์พระเยซูเจ้า พระผู้ไถ่ที่รักยิ่งของลูก เสด็จเถิด เสด็จเถิด โปรดเสด็จมาในสวนแห่งดวงใจของลูก โปรดประทับในตัวลูก และหลั่งเปลวไฟแห่งรักของพระองค์ โปรดครองราชย์ในตัวของลูก และสำแดงแสงสว่างแห่งสวรรค์ไปชั่วกาลนาน อดีตนักเรียนคนเดียวกับที่ชมท่านว่าสวยเล่า ท่านตีผมเบา ๆ และอธิบายว่าทำไมท่านถึงต้องลงโทษ เหตุการณ์นี้แหละที่ช่วยตาโตมาอย่างว่านอนสอนง่ายตลอดเวลา ชายชราคนที่สองเล่าเกี่ยวกับเรื่องที่เขาแอบโดดเรียนมาเล่นน้ำแล้วถูกท่านจับได้


ท่านได้เข้าเป็นนวกะที่เมืองชานกานาเชร์รี ในวันที่ 12  สิงหาคม ค..1935 แต่หลังจากนั้นอีกหนึ่งสัปดาห์อาการเลือดคลั่งในจมูกและตาของท่านก็ทวีความรุนแรงมากขึ้น ผนวกกับแผลที่เป็นหนองที่ต้นขาของท่าน ก็ส่งผลทำให้ท่านต้องนอนอยู่บนเตียงตลอด คุณอธิการิณีจึงคิดว่าจะส่งตัวท่านกลับภาระนันกานัม แต่หลังจากที่พระสังฆราชได้มาและพูดคุยกับท่านแล้ว พระคุณเจ้าก็ลงความเห็นว่าจะให้ท่านอยู่ที่นี่ต่อไป

ในฐานะนวกะท่านเขียนข้อตั้งใจของท่านในบันทึกส่วนตัวว่า ดิฉันไม่ปรารถนาจะทำหรือพูดตามความชอบของดิฉัน ทุกคราที่ดิฉันทำผิด ดิฉันจะทำพลีกรรม … ดิฉันรารถนาจะเอาใจใส่ทุกคน ดิฉันจะพูดแต่คำพูดดีๆกับคนอื่นเท่านั้น ดิฉันปรารถนาจะบังคับตาของดิฉันจากความรุนแรง ดิฉันจะทูลขออภัยต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าทุกครั้งเมื่อดิฉันปราชัย และจะชดเชยมันผ่านการทำพลีกรรม ไม่ว่าความทุกข์ของดิฉันจะเป็นเช่นไร ดิฉันจะไม่ขอบ่นและถ้ายามใดดิฉันได้รับความอับอาย ดิฉันจะมองหาที่ลี้ภัยในดวงพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า


ท่านนอนซมอยู่เป็นเตียงได้นานหลายเดือน คุณพ่อหลุยส์ แห่งคณะคาร์เมไลท์แห่งพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล ซึ่งเป็นจิตตาธิการของบรรดานวกะก็แนะให้บรรดานวกะร่วมกันทำนพวารต่อคุณพ่อคูริอาคอส เอลีอาส ชาวารา ผู้ก่อตั้งคณะของคุณพ่อ (ภายหลังได้เป็นบุญราศีพร้อมท่าน และในปี ค.. 2015 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสก็สถาปนาคุณพ่อเป็นนักบุญ) และในวันสุดท้ายของการทำนพวารนั้นเอง คุณพ่อชาวาราก็ประจักษ์มาหาท่าน คุณพ่อได้อวยพรและสัมผัสตัวท่าน พร้อมบอกกับท่านว่า ลูกจะหายจากโรคนี้ และลูกจะไม่ได้รับผลใดๆจากมันอีก แต่ลูกก็จะต้องแบกรับความทุกข์ยากอื่น ๆ แทน ทันใดนั้นเอง ท่านก็ได้รับการรักษาให้หายขาดอย่างน่าอัศจรรย์ 

ดังนั้นท่านจึงได้กลับเข้ามารับการฝึกหัดเป็นนักบสชต่อ กระทั่งได้ปฏิญาณตนในวันที่ 12 สิงหาคม ค.. 1936 และได้กลับมายังอารามที่เมืองภาระนันกานัมอีกครั้ง แต่ทันทีคำถามมากมายก็ถูกสาดเทมาที่ท่าน ทั้งเรื่องท่านป่วยเป็นวัณโรคหรือเปล่า แล้วท่านหายขาดเพราะใครกัน เพราะในหกเดือนนั้นมีการทำนพวารทั้งต่อนักบุญเทเรซาน้อย และต่อคุณพ่อคูริอาคอส เอลีอาส ชาวารา ดังนั้นเพื่อความกระจ่างในเรื่องเหล่านี้ จึงมีการสอบสวนขึ้น จนท่านต้องยอมเผยถึงเรื่องนิมิตของคุณพ่อชาวารา ทำให้ข้อกังขาทุกอย่างเป็นที่กระจ่างในที่สุด 


ที่ภาระนันกานัมท่านได้รับหน้าที่ให้เป็นครูในโรงเรียนมัธยมสตรี ระหว่างนั้นแม้จะไม่มีโรคร้ายที่เคยเกือบฆ่าชีวิตท่านไปมารุมเร้า แต่ก็มีอาการป่วยออด ๆ แอด ๆ รุมเร้าท่านตลอด ดังที่ท่านได้รับแจ้งแล้วในนิมิตร แต่ทุกวันท่านก็ไม่เคยแสดงให้ใครเห็นเลยว่าท่านกำลังเผชิญกับอาการป่วย ในยามกลางวันท่านดำเนินชีวิตเช่นบรรดาซิสเตอร์คนอื่น ๆ ที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่ในเวลากลางคืนที่ไม่มีใครเห็น ท่านก็ทนทรมานกับอาการป่วยจนหลายครั้งถึงขั้นนอนไม่หลับอยู่บ่อย ๆ รับทรมานด้วยความรักและความชื่นชมยินดีต่อมัน นี่แหละคือทุกสิ่งที่ดิฉันต้องการบนโลกใบนี้ ท่านเขียนในจดหมายฉบับหนึ่ง

ท่านระลึกเสมอว่าทุกคนที่ทำให้เธอทุกข์ใจและความทุกข์ยากต่างล้วนเป็น เครื่องมือพิเศษของพระเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงประทานมาเพื่อทำให้ท่านศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นท่านจึงเพียรทนน้อมรับมันเสมอ ครั้งหนึ่งพระสังฆราชได้มาเยี่ยมและถามท่านว่า เธอทำอะไรระหว่างคืน ทันทีท่านก็ตอบท่านกำลังอยู่ในห้วงแห่ง รัก อยู่  หรืออีกคราวเมื่อมีภคินีรูปหนึ่งถามท่านในทำนองเดียวกัน ท่านก็ได้ตอบเธอไปว่า“ดิฉันกำลังทวีกิจการแห่งรักต่อดวงพระหฤทัยค่ะ และที่สุดวันหนึ่งท่านก็รับการรักษาให้หายจากอาการป่วยออด ๆ แอด ๆ นี้อย่างน่าอัศจรรย์ ท่านจึงได้กลับมามีชีวิตปกติสุขเช่นซิสเตอร์คนอื่นๆ  


แม้จะหายจาโรคแล้ว การทดลองและความยากลำบากมากมาย ๆ ก็ถาโถมเข้ามาท่านโดยตลอด แต่ทุกครั้งท่านก็สามารถที่จะเอาชนะมันและก้าวผ่านมันไปได้เสมอ ด้วยเคล็ดลับง่าย ๆ คือ การรักพระและเพื่อนพี่น้อง ท่านมีชีวิตอยู่เพื่อผู้อื่น และส่งผ่านความงดงามของพระเจ้าที่ท่านได้ประสบภายในวิญญาณ ไปยังผู้คนรอบตัวท่านด้วยรอยยิ้มที่โอบอ้อมอารี ซึ่งสะท้อนชัดถึงวิญญาณอันสุกใส จากการชิดสนิทกับพระเป็นเจ้าของท่าน

มารีย์  เชชี แม่ครัวประจำอารามที่สนิทกับท่านเล่าว่า ครั้งหนึ่งท่านไปได้ผลโทงเทงฝรั่งสองผลมาจากครูที่โรงเรียน ท่านจึงเรียกให้เธอไปพบและขอให้เธอนำผลโทงเทงฝรั่งที่ท่านได้มาไปทำชัทนีย์หรือแกงข้นอินเดียมาให้ท่านรับประทาน พร้อมบอกว่าท่านไม่ชอบชัทนีย์ผลตะลิงปลิง ฝั่งมารีย์เมื่อรู้ความต้องการของท่านแล้วก็รับเอาผลโทงเทงมา แล้วเอาไปย่าง แต่ด้วยภาระงานมากมาย เธอจึงลืมไปว่าย่างผลโทงเทงไว้ ซึ่งกว่าจะรู้ตัวอีกทีผลโทงเทงนั้นก็ไหม้เสียแล้ว แต่ด้วยรับคำมาแล้ว เธอจึงใช้ผลตะลิงปลิงซึ่งมีรสเปรี้ยวเหมือนกันมาทำแทน (เหตุการณ์นี้เกิดหลังท่านล้มป่วยหนัก)


ฉันเสียใจมากที่ฉันสะเพร่าได้ถึงเพียงนี้ แต่เธอก็ไม่ได้ดุฉัน ตรงกันข้าม เธอกลับให้รางวัลฉัน เธอไม่ต้องการให้คนอื่นต้องยุ่งยาก นี่แหละคือเหตุผลว่าทำไมเธอถึงได้เป็นนักบุญ ฉันรู้ดีว่าสักวันหนึ่งเธอจะต้องได้เป็นนักบุญ เมื่อฉันกลับไปบ้านของฉัน ฉันจะบอกกับเด็กๆว่าพวกเรามีนักบุญที่ภาระนันกานัม เธอเป็นคนอดทน ใจกว้าง มีความสุข และสวยมากจริง ๆ มารีในวัยชรากล่าวสรุปเรื่องของเธอ ในระหว่างการให้สัมภาษณ์ในภาพยนต์ชีวประวัตินักบุญอัลฟอนซา

แต่ไม่ทันจะหายขาดได้นานเท่าใดในวันที่ 14 มิถุนายน ค..1939 ท่านก็ล้มป่วยลงอีกครั้ง คราวนี้ท่านมีไข้ขึ้นสูง จนไม่อาจทำอะไรได้ ซึ่งภายหลังเมื่อแพทย์ได้ทำการตรวจดูก็สรุปว่าท่านป่วยเป็นโรคปอดบวม ดังนั้นท่านจึงต้องละจากงานทุกอย่างในอาราม และได้รับคำสั่งจากคุณแม่อธิการให้พักรักษาตัวอยู่ที่ห้องของท่านแทน


เด็ก ๆ ชอบมาขอคำภาวนาจากเธอ ระหว่างพักรักษาตัว เด็ก ๆ ในโรงเรียนก็มักพากันแวะมาหาท่านเสมอ เป็นพิเศษในช่วงสอบเพื่อขอให้ท่านช่วยสวดให้พวกเขาสอบผ่าน ซึ่งท่านก็ต้อนรับพวกเขาด้วยยินดีอยู่เสมอ และบางครั้งก็ลงไปเล่นกับพวกเขาอีกด้วยอัลฟอนซาชอบเด็กตัวเล็ก ๆ เธอซื่อมาก ๆ เธอรักเด็กและชอบเล่นกับพวกเขา มารี เชชีเล่า

กุนเย็ตตัน เล่าถึงเรื่องราวสมัยเด็กระหว่างท่านกับเขาว่า ในปี ค..1938 ขณะพ่อกำลังเรียนอยู่ชั้น ป.4 ที่โรงเรียนภาระนันกานัม ในเวลาช่วงพัก พวกพ่อก็จะพากันไปเก็บชมพู่และผลหม่อนจากสวนของอาราม วันหนึ่งขณะพวกพ่อทั้งสามไปที่นั่น พ่อก็พบพวกซิสเตอร์กลาริสนั่งเย็บเครื่องแบบสีน้ำตาลกาแฟอยู่ คุณแม่อธิการจึงสั่งห้ามพวกพ่อขว้างก้อนหิน เขย่าและปีนต้นไม้ แต่ให้เก็บไปเฉพาะผลที่ล่วงลงมาเท่านั้น พวกพ่อจึงเชื่อฟังคำสั่งนี้ในวันต่อๆไป วันต่อมาพวกพ่อก็กลับไปที่นั่นอีกครั้ง คราวนี้พ่อไม่เห็นซิสเตอร์ในชุดน้ำตาลสักคน พ่อเห็นแต่ซิสเตอร์ในชุดขาวเพียงคนเดียว ซิสเตอร์ที่กำลังป่วยจะได้ใส่ชุดสีขาว แต่ท่านก็ได้มองมาที่พวกพ่อ พวกพ่อจึงเห็นเป็นโอกาสเหมาะ ที่จะพยายามเด็ดชมพู่สักสองผล แต่ยังไงก็ไม่รู้คุณแม่ก็มาพบมัน ท่านจึงจับพวกพ่อได้คาหนังคาเขาและได้ดุพวกพ่อ ฝั่งซิสเตอร์ชุดขาวจึงกวักมือเรียกพวกพ่อ พวกพ่อจึงเข้าไปหาท่าน


หลังจากนั้นท่านหรือซิสเตอร์ในชุดขาว ก็หยิบผลชมพู่ให้พวกเขา พร้อมบอกว่าจะให้เมื่อพวกเขาสวดบทภาวนาสั้น ๆ ให้ท่านฟัง แต่ก็ไม่มีใครสวดให้ท่านฟังได้ไม่ใช่เพราะไม่รู้ แต่เพราะไม่ทราบว่าบทภาวนาพวกนี่เรียกกันว่า อีแจ็คคิวเลชั่น ดังนั้นท่านจึงเริ่มสอนพวกเขาให้สวดว่า ข้าแต่พระมารดาของลูก ที่มั่นของลูกและ ข้าแต่พระเยซูเจ้าของลูก ลูกรักพระองค์  นอกนี้ท่านสอนให้ท่านสวดอีกว่า ข้าแต่พระกุมารเยซูผู้สั่นเทาด้วยความหนาวเหน็บอยู่ในรางหญ้า ลูกขอมอบจูบแด่พระองค์ ซึ่งเขาไม่เคยได้ยินมาก่อน ยิ่งพวกพ่อท่องมากเท่าไร พวกพ่อก็จะได้ชมพู่และของมากเท่านั้น ท่านต้องการให้พวกพ่อจดจำนวนมันทุกครั้ง และขอให้ถวายมันเพื่อการประกาศพระวรสารที่วิสาคะปาตานัม ซึ่งพ่อก็เขียนและมอบมันให้ท่าน แต่พ่อทำไปก็เพราะชมพู่

สามสี่วันต่อมาพวกพ่อถึงรู้ว่าซิสเตอร์ชุดขาวก็คือซิสเตอร์อัลฟอนซา ที่กำลังป่วยและใกล้สิ้นใจเต็มที พวกพ่อแวะไปเยี่ยมท่านทุกวันเพื่อรับชมพู่ และท่านก็แนะนำให้พวกพ่อให้ตั้งใจเรียน หาเวลาไปเฝ้าศีล เมตตาคนยากไร้ และให้เงินค่าขนมของพวกพ่อกับพวกเขา ท่านอยากให้เอาจริงเอาจังกับการเรียนและไปเป็นธรรมทูต จากพวกเราทั้งสี่ สามคนกลายเป็นพระสงฆ์ กุนเย็ตตันสรุปเรื่องราวของเขา


การป่วยของท่านนั้น แม้จะเป็นเรื่องจริงแค่ไหน แต่เพราะภายนอกท่านดูเหมือนคนไม่ได้ป่วยเป็นอะไร ดังนั้นซิสเตอร์หลายคนจึงคิดว่าท่านไมได้ป่วยเป็นอะไรทั้งสิ้น แต่ที่ดูเหมือนป่วยก็เพราะแกล้งเพื่อจะได้ไม่ต้องทำงาน ดังนั้นจากแค่คำนินทาเล็ก ๆ จึงค่อย ๆ กลายมาเป็นการปฏิบัติต่อไม่ดีต่อท่าน แต่ทุกครั้งท่านก็ไม่เคยถือโทษโกธรอันใด เช่นคราวหนึ่งซิสเตอร์คนหนึ่งได้เข้ามาด่าทอท่านต่าง ๆ นานา ท่านก็ไม่ได้โต้ตอบอะไร และในเวลาต่อมาเมื่อซิสเตอร์คนนี้ป่วย ท่านก็เข้าไปดูแลพยาบาล ไม่พอเมื่อเธอหายป่วยแล้ว ท่านก็เข้าไปทำความสะอาดห้องพักของเธอ และซักรีดเครื่องแบบของเธอให้อีกด้วย

อัลฟอนซาไม่เคยพลาดโอกาสที่จะได้รับใช้คนอื่นสืบเนื่องจากแต่ก่อนอารามของซิสเตอร์นั้นหาได้มีเครื่องใช้ไฟฟ้าเหมือนปัจจุบันไม่ ซ้ำร้ายอารามก็ไม่ได้มีเงินจะซื้อน้ำมันก๊าดได้มาก ทำให้อารามมีตะเกียงเพียงสองสามดวง ดังนั้นเองสิ่งเดียวที่จะให้ความสว่างแก่บรรดาซิสเตอร์ในตอนกลางคืนจึงมีเพียงเทียนเล่มเล็ก ๆ ฝั่งท่านที่เห็นเช่นนั้น จึงคอยเก็บเศษเทียนเล็ก ๆ และรวมไว้ จนได้มากพอท่านก็ให้คนเอาไปแจกให้กับซิสเตอร์คนอื่น ๆ ในอารามได้ใช้ นอกนั้นไม่เพียงแต่เพื่อนซิสเตอร์ที่ท่านแสวงหาโอกาสรับใช้ แม้แต่แม่บ้านของอารามท่านก็แสวงหาการรับใช้จากพวกเขา เช่นคราวหนึ่งท่านคิดว่ามารีคงจะเหงาเวลาต้องทำงานตอนกลางดึก ท่านจึงบอกว่าท่านจะไปอยู่เป็นเพื่อนเธอ ฝั่งมารีก็บอกว่าเธอไม่กลัวอยู่แล้ว แต่ท่านก็ยังคงยืนกรานที่จะมาเช่นเดิม ท่านบอกกับเธอว่าถ้าคืนไหนท่านเกิดนอนไม่หลับ ท่านจะมาอยู่เป็นเพื่อน  แม้ฉันจะเป็นเพียงคนใช้ เธอก็ไม่เคยแบ่งแยก เธอปฏิบัติต่อดิฉันเหมือนเธอปฏิบัติต่อซิสเตอร์คนอื่น ๆ” มารีเป็นพยาน


เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพราะขณะท่านป่วยนั้นเอง ในกลางดึกของวันที่
 18 ตุลาคม ค..1940 โจรก็ได้บุกเข้ามาในอาราม และได้เผชิญหน้ากับท่าน ด้วยความกลัวสุดขีด ท่านถึงกับเสียสติและเริ่มทำตัวเหมือนเด็กเล็ก ๆ ท่านไม่อาจจะจดจำอะไรได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวที่ผ่านมา หรือการอ่านหรือการเขียน ท่านหวาดกลัวทุกสิ่ง ไม่เว้นแม้แต่บิดาที่มาเยี่ยม ท่านก็ยังเห็นเป็นโจร แต่ท่ามกลางสภาพเหล่านี้ จิตใต้สำนึกของท่านก็ยังชิดสนิทกับพระเป็นเจ้า ท่านยังคงสวดภาวนาเพื่อผู้อื่นโดยตลอด อัลฟอนซาไม่บอกเลยว่าสวดอะไร แต่ในขณะที่เธออยู่ในสภาพคลุ้มคลั่งนั้นเธอก็มักสวดบทภาวนาสั้น ๆ นี่แหละจึงเป็นวิธีที่ฉันได้เรียนรู้บทอีแจ็คคิวเลชั่นถึงสองบท ข้าแต่พระเยซูของลูก โปรดพิทักษ์ลูกให้พ้นจากมลทินแห่งบาปทั้งหลาย และรักษาให้วิญญาณของลูกบริสุทธิ์อยู่เสมอ โปรดประดับวิญญาณของลูกด้วยชุดเจ้าสาวแห่งคุณธรรมสวรรค์ด้วยเทอญ , ข้าแต่สันตะมารีย์ มารดาของลูก โปรดให้ดวงใจของลูกเป็นสวนอันน่าภิรมย์ของพระบุตรของพระแม่ด้วยเทอญ มารี เชชีเล่า

หลังจากนั้นเพียงไม่นานหัวฝีที่ขาหนีบของท่านก็ลามใหญ่จนเป็นฝีขนาดใหญ่ สร้างความเจ็บปวดเหลือประมาณให้ท่านเป็นทวีคูณ ท่านเริ่มไม่สามารถอาหารใด ๆ ได้ และนับวันอาการของท่านก็มีแต่จะยิ่งแย่ลงเรื่อย ๆ จนถึงบรรดาซิสเตอร์ในอารามคิดว่าท่านคงใกล้จะสิ้นใจแล้ว ดังนั้นจึงมีการจัดให้ท่านรับศีลเสบียง แต่ท่านรู้ดีว่านี่ไม่ใช่วาระสุดท้าย ท่านได้ทำนายว่าท่านจะผ่านเวลานี้ไปได้ในวันฉลองนักบุญเทเรซา แห่ง พระกุมารเยซู และก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ กล่าวคือในวันที่ 30 กันยายนซึ่งเป็นวันครบรอบมรณกรรมของนักบุญเทเรซา ท่านก็หายจากอาการร้ายเหล่านี้ รวมถึงได้รับพระพรให้สามารถอ่านภาษาทมิฬได้เพิ่มเติม นอกเหนือจากการอ่านภาษามลายัม (ภาษาท้องถิ่นของรัฐเกราลา) ที่ท่านได้หลงลืมไป


คืนหนึ่งพระเยซูเจ้าได้ประจักษ์มาหาท่านในลักษณะแบกกางเขน ทันทีท่านจึงร้องขอให้พระองค์ส่งไม้กางนั้นมาให้ท่านแบกแทนพระองค์ แต่พระเยซูเจ้าตรัสว่าท่านไม่อาจจะแบกไม้กางเขนนี้ได้ พร้อมตรัสอีกว่าเราจะให้กางเขนตามกำลังของลูกเท่านั้น เพราะเรารักลูกมากเหลือเกิน แล้วพระองค์ก็อันตรธานหายไป ทิ้งให้ท่านเรียกหาพระองค์อย่างสุดเสียง เพราะท่านนั้นปรารถนาจะแบ่งเบาพระมหาทรมานของพระองค์จากบนไม้กางเขน  นี่แหละคือความลับของความทุกข์ทรมานของท่าน ท่านเคยกล่าวว่า“พระเยซูเจ้าทรงประทานพวกมัน (ความทุกข์ยาก) แก่ดิฉัน การที่ทรงมองกางเขน คือ การที่องค์พระเยซูเจ้าทรงแสดงความรักของพระองค์ พระองค์ทรงส่งไม้กางเขนมาให้เฉพาะบุคคลที่พระองค์ทรงรัก

ล่วงถึงเดือนกรกฎาคม ค.. 1945 ท่านก็เริ่มมีอาการปวดเกร็ง ซึ่งค่อยๆพัฒนามาเป็นอาการชักอยู่บ่อย ๆ โดยจากเริ่มอาเจียนครั้งละนานๆ ตัวเย็นแล้วจึงชัก ส่งผลให้ทุกครั้งหลังเกิดอาการเหล่านี้ ท่านจึงมีการอ่อนเพลียเป็นเวลานานถึงสามถึงเจ็ดชั่วโมง ผู้คนมักพบท่านในสภาพชุ่มโชกไปด้วยเหงื่อ และดูเหมือนคนที่กำลังต่อสู้อยู่กับความตาย ท่านต้องทนต่ออาการชักเช่นนี้ไปตลอดชีวิตที่เหลือของท่าน และก็ไม่ได้ลดละความเพียรที่จะรับทรมานเพื่อพระคริสตเจ้าลงสักนิด เพราะท่านทราบดีว่าท่านกำลังดำเนินไปตามความปรารถนาที่ท่านเขียนไว้ว่า “ความปรารถนาเดียวของดิฉัน คือ การรักพระเจ้าอย่างสุดกำลัง  


ล่วงถึงเดือนกรกฎาคม ค..1945 ท่านก็เริ่มมีอาการปวดเกร็ง ซึ่งค่อย ๆ พัฒนามาเป็นอาการชักอยู่บ่อย ๆ โดยจากเริ่มอาเจียนครั้งละนาน ๆ (มากสุดสี่สิบครั้งต่อวัน) ตัวเย็นแล้วจึงชัก ส่งผลให้ทุกครั้งหลังเกิดอาการเหล่านี้ ท่านจึงมีการอ่อนเพลียเป็นเวลานานถึงสามถึงเจ็ดชั่วโมง ผู้คนมักพบท่านในสภาพชุ่มโชกไปด้วยเหงื่อ และดูเหมือนคนที่กำลังต่อสู้อยู่กับความตาย ท่านต้องทนต่ออาการชักเช่นนี้ไปตลอดชีวิตที่เหลือของท่าน และก็ไม่ได้ลดละความเพียรที่จะรับทรมานเพื่อพระคริสตเจ้าลงสักนิด

นอกนี้แล้วเมื่อทราบว่าซิสเตอร์เทเรเซียและพระสังฆราชติดเชื้อมาลาเรีย ท่านก็ยกจิตใจของท่านขึ้นไปหาพระเจ้าเพื่อขอป่วยเป็นมาลาเรียแทนทั้งสอง  เพราะทั้งสองยังต้องทำงานเพื่อพระศาสนจักรอีกมากมาย และพระเป็นเจ้าทรงมิได้ปฏิเสธคำขอของเจ้าสาวคนนี้ เพราะไม่นานเมื่อทั้งสองหากขาดจากไข้มาลาเรีย ท่านก็ติดเชื้อมาลาเรียแทน


ดิฉันรู้สึกว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงลิขิตให้ดิฉันเป็นธัญบูชาแห่งความทุกข์ยากดิฉันคิดว่าวันที่ดิฉันไม่ได้รับความทรมานคือวันที่ไม่มีสำหรับดิฉัน ในปีสุดท้ายท่านมีอาการป่วยมากมายทั้งปัญญาที่กระเพาะ ที่ตับ การอาเจียน และการชัก ท่านยังมีความสุขและรอยยิ้มอยู่ตลอด ท่านขอให้คุณแม่อุสุร์ลาและคุณพ่อโรมูลัสให้ช่วยสวดภาวนาเพื่อการจากไปของท่าน เช่นเดียวกับว่าวที่โฉบเอาลูกเจี๊ยบไป องค์พระผู้เป็นเจ้าก็จะทรงฉวยลูกไปฉันนั้น ท่านเขียนถึงคุณแม่มหาธิการิณี ลงวันที่ 16 กรกฎาคม ค..1946 และที่สุดด้วยรอยยิ้มซื่อ ๆ เช่นปกติ ในเวลา 12.30 . ของวันที่ 28 กรกฎาคม ค..1946 ท่านก็ได้จบการเดินทางบนโลกใบนี้ของท่านอย่างสงบ ด้วยวัยเพียง 35 ปี ในห้องของท่านที่อารามเมืองภาระนันกานัม รายล้อมด้วยบรรดาพี่น้องร่วมอารามที่กว่าจะรู้ตัวอีกที ท่านก็จากไปแล้ว

ร่างของท่านถูกบรรจุในโลงอย่างเรียบง่ายและถูกฝังในวันรุ่งขึ้น กุนเย็ตตันเล่าว่า พ่อยืนอยู่ใกล้ ๆ และมองเห็นทุกสิ่ง ท่านดูสวยมากในโลง ท่านดูไม่เหมือนคนตายสักนิด เมื่อท่านยังมีชีวิต ใคร ๆ ก็ต่างบอกว่าท่านเป็นคนสวยมาก ๆ ท่านมีพระพรที่พิเศษจริง ๆ พวกเรามีภาพถ่ายของท่านขณะมีชีวิตอยู่สี่ถึงห้าใบ แต่ไม่รูปใดเลยที่จะสะท้อนความงามจริง ๆ ของท่านเลย มันมีเอกลักษณ์มาก ๆ ดังนั้นพ่อขอสรุปว่าความงามของท่านนั้นเป็นประจักษ์พยานถึงพระหรรรษทานพิเศษของพระเจ้าในตัวท่าน กล้องไม่อาจบันทึกความงดงามของพระเจ้าไว้ได้


ด้วยความเชื่อมั่นสุดหัวใจพ่อ พ่อขอยืนยันว่าพวกเรากำลังได้ร่วมในพิธีปลงศพของนักบุญ เมื่อใดก็ตามที่โลกตระหนึกได้ถึงคุณค่าแท้จริงของเธอ ผู้คนมามายเป็นประวัติการณ์จากทั่วอินเดียจะพากันมารวมตัวกัน ณ ที่แห่งนี้  พ่อมั่นใจเท่ากับมนุษย์คนหนึ่งจะสามารถตัดสินใจได้ ว่าภคินีน้อยผู้นี้มิได้ศักดิ์สิทธิ์น้อยไปกว่าดอกไม้น้อยๆแห่งลิซิเออร์เลย ภาระนันกานัมอันเป็นฝังร่างไร้วิญญาณของเธอจะกลายเป็นสักการสถาน ซึ่งหากแม้นเป็นน้ำพระทัยของพระเจ้าแล้ว สถานที่แห่งนี้ก็จะกลายเป็นลิซเออร์ของอินเดีย บทเทศน์ของคุณพ่อโรมารุส คุณพ่อวิญญาณของท่าน ในพิธีปลงศพของท่าน

หลายปีต่อมาภายหลังจากการจากไปของท่าน เสียงดำรัสหนึ่งก็ตรัสขึ้นในพิธีมิสซาโดยบุรุษผู้หนึ่งว่า ท่านได้เข้ามายังความรักต่อความทุกข์ทรมาน เพราะท่านรักความทรมานของพระคริสตเจ้า ท่านได้เรียนรู้ความรักต่อไม้กางเขนผ่านความรักต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ถูกตรึงกางเขน เสียงนี้ไม่ใช่เสียงของใครที่ไหน แต่คือพระสุรเสียงของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ที่ตรัสเทศน์ในโอกาสสถาปนาซิสเตอร์อันฟอนซาแห่งการปฏิสนธินิรมลและคุณพ่อคูริอาคอส เอลีอาส ชาวาราขึ้นเป็นบุญราศี ในวันเสาร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.. 1986  ณ ปรำพิธีชั่วคราว สนามกีฬานาฮรู เมืองก็อตตายัม ประเทศอินเดีย ภายหลังจากเหตุการณ์อัศจรรย์ผ่านคำเสนอวิงวอนของท่านได้รับการพิสูจน์


และที่สุดในวันที่ 12 ตุลาคม ค.. 2008 ซิสเตอร์ธรรมดา ๆ คนหนึ่งไร้ยศถาบรรดาศักดิ์ ก็ได้เป็นศักดิ์ศรีแก่ประเทศอินเดีย เมื่อดำรัสแต่งตั้งนักบุญของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 จบลงภายหลังการทูลขอการแต่งตั้งบุญราศีอัลฟอนซาขึ้นเป็นนักบุญ  พร้อมกันนั้น พระองค์ได้ตรัสเทศน์ถึงท่านว่า ภคินีอัลฟอนซาเป็นสตรีที่ยอดเยี่ยมมาก ท่านมั่นใจว่าการรับทรมานทั้งทางกายและทางใจจะเป็นหนทางนำเราไปสวรรค์ ท่านเชื่อว่าสิ่งนี้ (ความทุกข์ทั้งกายและใจคือชุดวิวาห์ที่พระบิดาเจ้าทรงประทานให้ เพื่อเป็นค่าตอบแทนสำหรับคำเชิญเข้างานมงคลสมรส ท่านได้มอบชีวิตของตนให้เป็นของพระคริสตเจ้า และตอนนี้ ท่านได้ร่วมสุขในงานเลี้ยงด้วยเนื้อวัวอ้วนพีและเหล้าองุ่นในอาณาจักรสวรรค์แล้ว

ซึ่งหากเรามองดี ๆ จากมุมมองของผู้แปลแล้วชีวิตของท่านก็เหมือนปลาคาร์ฟในความเชื่อสืบทอดมาแต่โบราณในประเทศจีนที่ว่า ที่ ณ ต้นน้ำของแม่น้ำฮวงโห จะเป็นช่วงที่กระแสน้ำมีความเชี่ยวกรากเป็นอย่างยิ่ง ปลาทุกตัวที่ว่ายทวนน้ำขึ้นไป จะถูกกระแสน้ำพัดตกลงมาตายหมดทุกตัว จะมีก็แต่เพียงปลาคาร์ฟเท่านั้น ที่สามารถว่ายทวนน้ำตกขึ้นไปได้ ปลาคาร์ฟที่ว่ายทวนขึ้นกระแสน้ำขึ้นไปถึงประตูมังกร จะกลายร่างเป็นมังกร และบินไปสู่สรวงสวรรค์ เปรียบกับท่านที่ต้องฟันฝ่าอุปสรรค์มากมายในชีวิตของท่านไม่จะเรื่องต่างมากมาย แต่สุดท้ายท่านก็มาถึงฝั่งฝันและได้รับผลตอบแทนอันยิ่งใหญ่จากพระสวามีเจ้าของท่าน คือชีวิตนิรันดร์กาล


พระเยซูเจ้าทรงเป็นคู่ชีวิตคนเดียวของฉัน และไม่มีใครอื่นอีก 
ท่านบอกกับพี่สาวของท่าน เมื่อท่านอายุได้ 12 ปี




นักบุญอันฟอนซาแห่งการปฏิสนธินิรมล ช่วยวิงวอนเทอญ



ข้อมูล/อ้างอิง
http://www.vatican.va/news_services/liturgy/saints/2008/ns_lit_doc_20081012_alfonsa_en.html

'เบร์นาร์โด ฟรานซิสโก' ให้ชีวิตนี้เป็นสะพานนำรักพระองค์ไป ตอนจบ

บุญราศีเบร์นาร์โด ฟรานซิสโก เด โอโยส เด เซญา Bl. Bernardo Francisco de Hoyos de Seña วันฉลอง: 29 พฤษจิกายน [ย้อนกลับไปอ่าน  “‘เบร์นาร์โด ฟรา...