วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

มารดาและครูที่รักยิ่งของชาวอินเดียนแดง "ลอรา มอนโตยา"



บุญราศีลอรา มอนโตยา ยูเปกุย
Bl. Laura Montoya Upegui
ฉลองในวันที่ : 21 ตุลาคม

ถ้าข้อมูลข่าวไม่ผิดพลาด อีกไม่นานมานี้เองในราวๆวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ.2013 พระศาสนาจักรของพวกเรากำลังจะต้อนรับนักบุญองค์ใหม่จำนวน 815 องค์ ทุกคนคงสงสัยละซิว่ามันมากขนาดนั้นเลยหรอ ขอตอบว่าใช่ครับโดยในครั้งนี้จะมีการสถาปนานักบุญหลักกลุ่มใหญ่คือกลุ่มบุญราศีมรณสักขีแห่งโอตรานโต้ 813 องค์ และภคินีอีก 2 องค์คือ บุญราศีภคินีลูปิต้าและบุญราศีภคินีลอรา มอนโตยา ยูเปกุย ซึ่งถ้าหากเรื่องนี้เป็นจริงดังที่ว่า ความยินดีจะมาสู่ชาวโคลัมเบียเพราะภคินีลอรา มอนโตยา จะเป็นชาวโคลัมเบียคนแรกที่ได้เป็นนักบุญ และหากอยากรู้ว่าภคินีลอราเป็นใครเราคงต้องย้อนไปในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ.1874 ในครอบครัวของยวง เด ลา ครูซ มอนโตยา(Juan de la Crux Montoya) กับโดโลเรส ยูเปกุย(Dolores Upegui) ที่อาศัยอยู่ในเจริโค(Jericó) จังหวัดอันเตียวเกีย ประเทศโคลอมเบีย ทารกเพศหญิงตัวน้อยก็ได้ลืมตาดูโลกเป็นครั้งแรกในฐานะบุตรคนที่สองจากสามคนในครอบครัวและได้รับศีลล้างบาปและได้นามว่า มาเรีย ลอรา แห่ง พระเยซูเจ้า”(María Laura de Jesús) ในวันนั้นเอง


ไม่นานหลังจากท่านอายุได้ประมาณ 2 ปีบิดาของท่านก็ถูกสังหารในระหว่างการปกป้องประเทศของเขา ดังนั้นครอบครัวของท่านจึงถูกไว้ให้อยู่ในความยากจนหลังจากที่ผลิตผลทั้งหมดของพวกท่านถูกริบไปสิ้น ในช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากและการสูญเสียนี้เอง มารดาของท่านได้มอบตัวอย่างที่ล่ำค่าของการให้อภัยและความแข็งแกร่งที่สร้างความประทับใจแก่บุตรสาวลอราน้อยๆของเธอทั้งในความทรงจำและภายในดวงใจน้อยๆนั้นตลอดเวลา หลังจากการจากไปไม่มีวันกลับของบิดาท่าน ท่านก็ถูกส่งไปอยู่กับยายของท่าน ที่นั้นลอราน้อยๆรู้สึกทรมานจากความเข้าใจที่ผิดพลาดและการขาดความรักและความรู้สึกทอดทิ้งให้เป็น เด็กกำพร้า

อย่างไรก็ตามลอราน้อยๆก็น้อมรับมันไว้ด้วยความรัก ความเสียสละและความอ้างว้างที่ท่านมีประสบการณ์และการแสวงหาที่หลบภัยในพระเจ้า ในขณะที่ท่านเติบโตขึ้น ท่านก็ได้รับการค้ำจุนไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการรำพึงในพระคัมภีร์และการรับศีลมหาสนิทที่ประทานความเข้มแข็งแด่ท่าน เมื่อท่านมีอายุได้ประมาณ 16 ปี มารดาของท่านก็ตัดสินใจว่าท่านควรหางานทำเพื่อช่วยปัญหาในด้านการเงินของครอบครัว ซึ่งมารดาของท่านก็บอกท่านสมัครเป็นครู แม้ว่าท่านจะไร้การศึกษาด้านวิชาการและวัฒนธรรมหรือเรียกง่ายๆว่า ไม่รู้อะไรเลย ด้วยเหตุมาจากที่ท่านเติบโตมาโดยไม่ได้รับการศึกษาในโรงเรียน ดังนั้นท่านจึงขอเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนฝึกหัดครูในเมเดลลิน(Medellin) เพื่อที่จะได้รับการอบรมเรื่องวิชาชีพครูในระดับประถมศึกษา ที่นั่นท่านเป็นที่ยอมรับและในหมู่เพื่อนๆนักศึกษาด้วยกัน ท่านก็มีคะแนนที่สูงกว่าพวกเขา



ต่อมาในปีค.ศ.1893 ท่านก็จบการศึกษาวิชาชีพครูและเริ่มทำงานเป็นครูในพื้นที่ต่างๆจังหวัดอันเตียวเกียทั้ง อามาลฟี(Amalfi) เฟรโดเนีย(Fredonia) ซานโต โดมินโก(Santo Domingo) และลา เซจา(La Ceja) ตามลำดับ ซึ่งในการสอยในแต่ละที่ท่านไม่ได้จำกัดตัวของท่านเพียงแค่ให้ความรู้แก่นักเรียนเพียงเรื่องวิชาการเท่านั้น แต่ท่านยังคอยพยามยามที่จะสอนนักเรียนในเรื่องราวของพระเยซูเจ้าและให้ความสำคัญแก่พวกเขาเหล่านั้น ในขณะเดียวกันท่านก็รู้สึกถึงกระแสเรียกทางศาสนา ภายในดวงใจของท่านนั้นตรึงตรองอยู่กับพระเจ้าเพียงอย่างเดียวและมีความใฝ่ฝันว่าในวันหนึ่งท่านจะได้ใช้ชีวิตอย่างสันโดษในฐานะภคินีคณะคาเมไลท์ และในเวลาเดียวกันท่านก็รู้สึกถึงความปรารถนาภายในที่ต้องการประกาศข่าวดีขององค์พระเยซูเจ้าไปสุดแผ่นดินแก่ผู้ที่ยังไม่เคยประสพพบรู้จักองค์พระเยซูเจ้า ซึ่งท่านก็พร้อมเสมอที่จะละทิ้งความฝันการเป็นภคินีคาเมไลท์ของท่านไปหากการแพร่ธรรมนี้เป็นพระประสงค์ขององค์พระเจ้า


มีครั้งหนึ่งในระหว่างการเป็นครูของท่าน ท่านวาดหวังอย่างแน่วแน่ในที่จะช่วยเหลือชาวอินเดียนแดงในทวีปอเมริกาใต้และอยากที่จะแทรกตัวของท่านไปในวัฒนธรรมของพวกเขา ที่จะ กลายเป็นอินเดียนแดงกับอินเดียนแดงที่จะชนะพวกเขาทั้งหลายเพื่อองค์พระคริสตเจ้า”( "become an Indian with the Indians to win them all for Christ") ท่านตระหนักถึงศักดิ์ศรีของพวกเขาว่าพวกเขาเป็นคนในยุคที่พวกเขาได้รับการยอมรับในฐานะ สัตว์ป่า ท่านอยากจะทำลายกำแพงของการเหยียดสีผิวและอยากที่จะเสียสละตนเองในการที่จะนำพวกเขาเข้ามาในความรักความรักขององค์พระคริสต์และการสอน



เนื่องด้วยประสบการณ์การสอนของท่าน เลโอนอร เอชาวารเรีย(Leonor Echavarría) ญาติของท่านจึงชักชวนท่านไปทำงานในวิทยาลัยที่เปิดใหม่ในเมเดลลิน แต่สุดท้ายแล้วในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ.1914 ท่านและสตรีอีกสี่คนก็พากันตัดสินใจจากเมเดลลินไปเพื่อเดินทางไปยังหมู่บ้านชาวอินเดียนแดงในดาเบยบา(Dabeiba) ซึ่งคณะใหม่นี้ก็ได้รับความช่วยเหลือจากพระสังฆราชแห่งซานตา เฟ เด อันเตียวเกีย (Bishop of Santa Fe de Antioquia)และคณะใหม่นี้ก็เป็นที่รู้จักกันในนาม คณะธรรมทูตแห่งพระนางมารีย์ผู้นิรมลและนักบุญแคทเทอรีนแห่งซีเอนา”( Missionaries of Mary Immaculate and St Catherine of Siena) ที่มีลักษณะของครอบครัวคือ ฝูงแพะที่ออกบวช”( religious goats) ที่กำลังมุ่งหน้าออกไปยังถิ่นทุรกันดารเพื่อให้เหล่าพวกป่าเถื่อนทั้งหลายมีชีวิตอยู่ในคำสั่งสอนขององค์พระเยซูเจ้า

อย่างไรก็ดีท่านยังให้ความสนใจเพียงเล็กน้อยต่อความเห็นของผู้คน ถึงแม้ว่าความคิดเห็นนั้นจะมาจากคณะของท่าน นอกจากนั้นท่านยังแต่งหนังสือที่มีชื่อว่าบุตรสาวทั้งหลาย”(daughters)และงานเขียนอื่นๆอาทิงานเขียนชีวประวัติของท่านมีชื่อว่าประวัติศาสตร์แห่งความเมตตาของพระเจ้าในจิตวิญญาณเพื่อช่วยให้ภคินีในคณะของท่านทั้งหลายมีความเข้าใจที่ดีขึ้นในกระแสเรียกของพวกเขาในการรับใช้พระเจ้าในหมู่ชนอินเดียนแดงและเพื่อพวกเขาจะมีชีวิตที่สมดุลระหว่างการแพร่ธรรมและการไตรตรองชีวิต(contemplative life) ท่านแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างของ การสั่งสอนของความรัก ซึ่งมันเป็นวิถีทางเดียวที่จะสามารถเข้าไปยังดวงใจและวัฒนธรรมของชาวอินเดียนแดง เพื่อนำพวกเขาทั้งหลายไปสู่องค์พระเยซูคริสต์เจ้า  นอกจากนั้นท่านยังมุ่งเน้นไปที่ความรักของพระเจ้าและพระตรีเอกภาพและความนบนอบเชื่อฟังต่อโบสถ์ที่ท่านรักอย่างสุดซึ้ง



ถึงแม้ว่าในระยะ 9 ปีสุดท้ายของชีวิตท่าน ท่านจะต้องรับทุกข์ทรมานจนต้องนั่งรถเข็น ท่านก็ยังคงทำงานแพร่ธรรมต่อไปด้วยทั้งวิธีการพูดหรือการเขียน ก่อนในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ.1949 ขณะที่ท่านอายุ 75 ปี ในเมเดลลิน พระบิดาเจ้าจึงได้มารับท่านไปในที่สุด คงทิ้งไว้แต่เพียงคุณงามความดีของท่านและคณะของท่านที่ยังคงทำงานแพร่ธรรมใน 19 ประเทศทั้งในทวีปอเมริกา แอฟริกาและยุโรป


และในที่สุดในวันอาทิตย์ที่สามเทศกาลมหาพรต ซึ่งตรงกับวันที่ 25 เมษายน ค.ศ.2004 ณ จัตุรัสเซนต์ปีเตอร์ คุณแม่ลอราก็ได้รับการประกาศให้เป็นบุญราศีพร้อมกับบุญราศีอีก 5 องค์ ในบทเทศน์ในพิธีมิสซาบุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ทรงดำรัสถึงคุณแม่ไว้ดังนี้ คุณแม่ลอรา มอนโตยา มองเห็นว่าชาวพื้นเมืองมากแค่ไหน ที่อาศัยอยู่ห่างไกลจากใจกลางเมือง โดยไม่รู้จักพระเจ้า เธอจึงตัดสินใจที่จะก่อตั้งคณะธรรมทูตแห่งพระนางมารีย์ผู้นิรมลและนักบุญแคทเทอรีนแห่งซีเอนา โดยมีจุดประสงค์การนำความสว่างจากเรื่องราวของพระเยซูคริสต์ไปยังพลเมืองในป่า”( Mother Laura Montoya , seeing how many indigenous persons far away from urban centres lived without knowing God, decided to found the Congregation of the Missionaries of Mary Immaculate and St Catherine of Siena , with the aim of bringing the light of the Gospel to the inhabitants of the forests)

แล้วทำไมเราต้องเรียกท่านว่ามารดาและครูผู้ยิ่งใหญ่ของชาวอินเดียแดง นั้นก็เพราะสิ่งที่ท่านแสดงออกมาไม่ว่าจะเป็นการปกป้องชาวอินเดียนแดงน้อยๆจากการเหยียดสีผิวดั่งมารดาที่คอยปกป้องลูกน้อยของตนจากสิ่งที่จะมาทำร้ายลูกไว้ด้วยอ้อมแขนอันอบอุ่นและเช่นเดียวกับมารดาที่คอยนำสิ่งดีๆมาให้ลูกๆได้รู้จักและคอยสอนพวกเขาด้วยความรักจากดวงใจให้รู้จักสิ่งนั้นทีละนิดๆ ไปอย่างช้าๆ ท่านก็เหมือนกันท่านนำพาสิ่งที่สุดในชีวิตคือองค์พระเยซูเจ้าของท่านมายังพวกเขาถึงแม้ว่าจะต้องบุกป่าฝ่าดงก็ตามและคอยสอนให้พวกเรารู้จักพระองค์ทีละเล็กละน้อยด้วยดวงใจที่เปี่ยมด้วยความรักอย่างมารดาที่มอบต่อลูก อย่างที่ครูมอบต่อศิษย์ของตน ดังนั้นจึงไม่แปลกอะไรเลยที่ชาวอินเดียนแดงจะเรียกท่านว่าเป็น มานดาคนที่สองของพวกเขา



ข้าแต่ท่านบุญราศีลอรา  มอนโตยา ยูเปกุย มารดาและครูที่รักยิ่งของชาวอินเดียนแดง ผู้ก่อตั้งคณะผู้แพร่ธรรมแห่งพระนางมารีย์ผู้นิรมลและนักบุญแคทเทอรีนแห่งซีเอนา  ช่วยวิงวิอนเทอญ




ข้อมูลอ้างอิง 

คือปัสกาของ 'การ์โลส มานูเอล' ตอนจบ

บุญราศีการ์โลส มานูเอล เซซิลิโอ โรดริเกซ ซันติอาโก Bl. Carlos Manuel Cecilio Rodríguez Santiago วันฉลอง: 13 กรกฎาคม และ 4 พฤษภาคม (ในปวยร์โต...