บุญราศี คาร์ล
แห่ง ออสเตรีย
Bl. Charles
of Austria
ฉลองในวันที่
: 21 ตุลาคม
อนาคตกษัตริย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่
17
สิงหาคม ค.ศ.
1887 ท่ามกลางการขอบพระคุณพระเจ้า
ณ ปราสาทเพอร์เซ็นบูร์ก ประเทศออสเตรีย พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสองค์โตใน
อาร์ชดยุกอ๊อตโต้ ฟรานซ์แห่งออสเตรีย และ เจ้าหญิงมาเรีย โจเซฟ่าแห่งแซ็กโซนี ทรงมีพระนามเดิมว่า “คาร์ล ฟรานซ์ โจเซฟ ลุดวิก ฮิวเบิร์ต
จอร์ช มาเรีย” ท่านยังถูกทำนายจากภคินีที่มีรอยแผลศักดิ์ว่าท่านจะต้องทนทุกข์ทรมานอันยิ่งใหญ่และท่านจะถูกโจมตี
ในช่วงทรงพระเยาว์
ท่านดำรงตนด้วยความเรียบง่ายและส่งเสริมสุขภาพ ท่านได้รับการศึกษาจากทั้งพระอาจารย์สอนพิเศษและจากโรงเรียนประถมที่ช็อทเท็นกีมนาชูม
กรุงเวียนนา ท่านรักการสอนคำสอน และการปฏิบัติตาม
จึงไม่แปลกที่ท่านจะเป็นรู้จักในความใจดีและความเห็นอกเห็นใจต่อเด็กๆ
ในงานท่านพยายามจะเพิ่มเงินให้คนยากจนและนอกจากนั้นท่านยังชอบมอบของขวัญแด่คนรอบข้างอีกด้วย
การเล่นเป็นทหารมากคือสิ่งที่ท่านโปรดมาก
แต่ความสุขที่ยิ่งใหญ่จริงๆของท่านคือการได้รับพระทานอนุญาตให้เป็นเด็กช่วยมิสซาที่พระแท่น
พระอาจารย์สอนพิเศษจำได้อย่างแม่นยำว่าตั้งแต่ทรงพระเยาว์ท่านก็อุทิศตัวเป็นพิเศษต่อศีลมหาสนิทและพระหฤทัยของพระเยซูเจ้ามาตลอด
ท่านมิเคยตัดสินใจอะไรลงไปโดยที่มิได้สวดภาวนา
ต่อมาเมื่อเจริญวัยได้
16 ชันษาท่านก็ได้เจริญรอยตามพระราชบิดาด้วยการเป็นทหาร
และทรงได้ยศร้อยตรีในกองทัพของอาณาจักรออสเตรีย
ที่นี่ท่านเป็นที่รู้จักดีว่าทรงเป็นคนหนุ่มที่มีปัญญาฉลาดหลักแหลมและมีน้ำใจ
จนเป็นแรงบัลดาลใจให้พระสหายในกองทัพของท่าน ท่านมีคำขวัญประจำตัวที่ว่า “ฉันมุ่งมั่นเสมอในทุกสิ่งที่จะให้เข้าใจอย่างชัดเจนและติดตามน้ำพระทัยของพระเจ้าและในทางที่ครบครันที่สุด”
ความคิดเรื่องการอภิเษกสมรสของท่านเกิดขึ้นในปี
ค.ศ.1911 และสตรีที่ท่านคิดก็คือเจ้าหญิงซีตาแห่งบูร์บอง-ปาร์มา พระสหายในวัยเยาว์ของท่าน พระนางเป็นสาวที่จัดได้ว่าสวย
มีชีวิตชีวาและศรัทธา หัวใจของท่านมีไว้ให้แต่พระนางเท่านั้น
แต่จะทำยังไงละเมื่อท่านรู้สึกอายในเรื่องแบบนี้ ท่านจึงทรงหันหน้าไปหาพระอัยยิกาหรือยายซึ่งทรงเป็นพระมาตุจฉาหรือป้าของเจ้าหญิงซีตาด้วย อาร์คดัชเชสมาเรีย
เทเรซา พระนางก็เลยจัดให้มีการล่าสัตว์ขึ้นในคฤหาสน์ของพระนาง
เพื่อให้ท่านและซีตาได้เปิดใจคุยกัน
หลังจากนั้นท่านและซีตาก็ได้ใช้เวลาร่วมกันที่สักการสถานพระนางมารีย์แห่งมาเรียเซลล์
ที่นั่นท่านได้แนะนำซีตาต่อหน้าศีลมหาสนิทที่ท่านรัก
ที่นี่เช่นกันท่านก็ได้หมั้นกับซีตาภายใต้การอารักษ์ของแม่พระ
พระราชพิธีเสกสมรสระหว่างท่านและซีตาถูกจัดขึ้นในวันที่
21 ตุลาคม ค.ศ.1911 “ตอนนี้ เราต้องช่วยกันและกันให้ได้รับสวรรค์แล้วนะ” ท่านตรัสกับเจ้าสาวของท่านก่อนเริ่มงาน
หลังจากนั้นท่านก็มีพระราชโอรส 5 พระองค์
และพระราชธิดา 3 พระองค์ รวมทั้งสิ้น 8 พระองค์ ดังนี้ ออโต , อาเดลเลด ,
โรเบิร์ต , เฟลิกซ์ , คาร์ล ลุดวิก , รูดอล์ฟ , ชาร์ลอต และ เอลิซาเบธ ที่ต่างก็เจริญพระพันษามาในความเรียบง่ายและความเชื่อของท่านและเจ้าหญิงซีตา
เหตุการณ์ยังคงสงบไปเรื่อยๆกระทั้งในวันที่
28 มิถุนายน ค.ศ.1914 อาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ พระราชปิตุลาก็เสด็จสวรรคตจากการลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเยโว
บอสเนีย จนเป็นชนวนเหตุแห่งสงครามโลกครั้งที่
1 โดยในครานั้นท่านได้นำทัพไปทางใต้และทางตะวันออก
โดยใช้ความเชื่อเป็นแบบแผนการต่อสู้ ในอิตาลีท่านมีกระแสรับสั่งให้ทหารทั้งหลายให้หลีกเลี่ยงการนองเลือดถ้าไม่จำเป็นจริงๆ
“เพื่อให้แน่ใจได้ว่าคนที่บาดเจ็บจะได้รับการรักษาเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้และกองทัพต้องเตรียมการเสมอเท่าที่จะทำได้เช่นกัน
… ฉันขอสั่งห้ามจับเชลย … ฉันขอสั่งอย่าเด็ดขาดว่าห้ามขโมย ปล้นสดมภ์ และการสังหารอย่างป่าเถือน”
แต่ในขณะที่สงครามกำลังคุกกรุน
ท่านก็เรียกตัวกลับไปออสเตรียเพื่อดูใจสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1
ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระเชษฐาของอาร์ชดยุกคาร์ล ลุดวิก พระอัยกาของท่าน
ที่ใกล้จะเสด็จสวรรคตเต็มที ที่นั่นท่านได้ร่วมกับซีตาในการสวดรอบเตียงพระองค์เป็นครั้งสุดท้าย
เหตุฉะนี้ชีวิตท่านจึงต้องพลิกผันไปตั้งแต่ในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ.1916
ท่านก็ได้เข้าพิธีบรมราชาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งจักรวรรดิออสเตรีย
ซึ่งความจริงจะต้อง อาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ ที่ถูกลอบปลงพระชนม์ไป
“รับใช้ประชาชนอย่างศักดิ์สิทธิ์” คือ สิ่งที่ท่านตระหนักได้ว่าคือหน้าที่ของท่าน
แต่ท่านก็มีความกังวลในเรื่องการติดตามกระแสเรียกของคริสตชนสู่ความศักดิ์สิทธิ์ แต่ที่เบื้องหน้าพระแท่นอันงดงามของวัดน้อยกษัตริย์แมทธิอัส
โครวินุส ใน บูดาเปสต์
ท่านก็ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าทรงงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อยเพื่อสันติภาพและความยุติธรรมในราชอาณาจักรของท่าน
“ทำทุกวิถีทางเพื่อขับไล่ความน่ากลัวและการเสียสละของสงครามและชนะกลับมาเพื่อประชาชนที่พลัดพรากจากพระพรแห่งสันติภาพของฉันในเวลาที่สั้นที่สุด”
ท่านขีดเส้นใต้วลีนี้เองในคำปฏิญาณครั้งแรกของท่าน เป็นการย้ำว่านี้แหละคือพันธกิจในฐานะขัตติยะ
สันติภาพ คือ
ความมุ่งมั่นของท่าน
ท่านสนับสนุนความคิดเรื่องสันติภาพของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 15 ที่มีว่า สันติภาพโดยไม่ต้องมีผู้ชนะ แต่ก็เหมือนพูดให้หมู่ก้อนหินฟัง
แต่ท่ามกลางก้อนหินนั้นในเวียนนามีเพียงท่านคนเดียวที่เห็นด้วย ท่ามกลางหมู่รัฐบุรุษยุโรป
พระราชกรณียกิจแรกของท่านคือการติดต่อเจรจาสันติภาพกับประเทศฝรั่งเศสอย่างลับๆ
และนอกจากนั้นท่านยังส่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของพระองค์ เคานท์อ๊อตโตการ์
เซอร์นิน ไปเจรจาเพื่อเจริญความสัมพันธไมตรีกับประเทศเยอรมนี แต่เนื่องข่าวเรื่องการเจรจาลับรั่วไหล
ทำให้การเจรจาล้มไปไม่เป็นท่า ยังทำให้ชื่อเสียงของท่านเสียหายไปเลย
ด้านการทหาร
ท่านห้ามทหารดวลกัน ห้ามเฆี่ยนตีและมัดมือ ท่านชิงชังและสั่งห้ามการใช้ก๊าซมัสตาร์ดกับศัตรู
ท่านยังรับสั่งให้ทหาร เชลยและผู้บาดเจ็บต้องได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรมและนอกจากนั้นท่านยังริเริ่มโครงการหนังสือดีเพื่อทหารอีกด้วย
ด้านกิจเมตตา
ท่านได้มีกระแสรับสั่งให้เปิดโรงทานเพื่อคนยากไร้
ไม่พอท่านยังนำม้าและรถของพระราชวังไปใช้ในการแจกจ่ายถ่านแก่ชาวเวียนนาอีกด้วย ท่านมิได้ไปต่อสู้กับชาติอื่นแต่การต่อสู้ของท่านคือการต่อสู้กับการเรียกดอกเบี้ยอย่างขูดเลือดขูดเนื้อ
การทุจริต
ซึ่งท่านมิเคยทำเช่นนั้นเลยตรงข้ามท่านกลับสละพระราชทรัพย์ส่วนตัวเพื่อแจกจ่ายมากกว่ารายรับของท่านเสียอีก
บางทีเรายังกล่าวได้อีกว่าท่านเป็นผู้นำระดับโลกคนแรกๆที่ริเริ่มกระทรวงประชาสงเคราะห์
ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดการเรื่องสวัสดิการของเยาวชน ผู้พิการจากสงคราม แม่หม้าย
เด็กกำพร้า การประกันสังคม การคุ้มครองสิทธิแรงงาน จัดหางาน บรรเทาการว่างงาน
การคุ้มครองผู้อพยพและการเคหะ ท่านร่วมในความอดยากเช่นเดียวกับประชาชนของท่าน
ท่านรับสั่งให้พระราชวังสังเกตการปันส่วนอาหารและส่วนเล็กๆ
ผลของสงครามโลกครั้งที่
1
คือฝ่ายพันธมิตรซึ่งได้แก่จักรวรรดิอังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี
และสหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะ ทำให้จักรวรรดิออสเตรียค่อยๆล่มสลายไปทีละนิด
ทีละนิด บรรดาแคว้นน้อยใหญ่ๆค่อยแยกไป
ที่สุดรัฐบาลของออสเตรียและฮังการีขับท่านออกจากราชสมบัติพร้อมเนรเทศท่านไป
โดยที่ท่านมิได้สละราชสมบัติเพราะท่านเชื่อว่านี้คือน้ำพระทัยของพระเจ้าและแน่นอนท่านจะไม่ทรยศต่อพระเจ้า
ต่อประชาชนของท่าน และต่อราชวงค์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ.1918
ในครั้งแรกท่านและครอบครัวได้ปพำนักอยู่ที่พระราชวังล่าสัตว์ที่เอกคาร์ทโช
แต่เนื่องจากรัฐบาลสังคมนิยมใหม่เล็งเห็นว่าท่านยังมิได้ประกาศสละราชสมบัติจึงยังคงเป็นภัยคุกคามต่อรัฐาบาลอยู่
ดังนั้นในวันที่ 3 เมษายน ค.ศ.1919 ผ่านกฎหมายฮับส์บูร์ก พวกเขาจึงเนรเทศท่านและครอบครัวไปที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
พร้อมยื่นคำขาดว่าถ้าอยากกลับมาต้องกลับมาในฐานะประชาชนคนหนึ่งภายใต้กฎหมาย ไม่งั้นก็อย่าหวังจะได้กลับมา
ซึ่งรวมทั้งราชนิกูลคนอื่นด้วย
ด้วยกฎหมายนี้เองที่ทำให้ระบบขุนนางของออสเตรียมาถึงจุดจบลง
และเนื่องจากองค์สันตะบิดรทรงกลัวการระบาดของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปกลาง
พระองค์จึงประสงค์ให้ท่านคืนสู่บัลลังก์แห่งฮังการี แต่ท้ายที่สุดท่านก็ถูกหักหลัง
และด้วยท่านไม่อยากเป็นชนวนของสงครามกลางเมืองท่านจึงยอมแพ้ หลังจากนั้นท่านและซีตาที่กำลังทรงพระครรภ์อ่อนๆก็ทรงถูกกักตัวอยู่ที่อารามคณะเบเนดิกติน
ที่ ติฮานี ประเทศฮังการี ก่อนในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ.1921 ท่านและครอบครัวจะถูกส่งไปลงเรือเพื่อไปยังแดนเนรเทศใหม่นาม
“มาเดรา”
มาเดรา
เป็นเกาะในอาณาเขตของประเทศโปรตุเกส
ที่ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวในมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งง่ายต่อการอารักขา เพื่อกันการกลับมาอีกอำนาจของกษัตริย์
ท่านมาถึงที่ในวันที่ 19
พฤศจิกายน ค.ศ.1921 ก่อนที่พระราชโอรถพระราชธิดาจะถูกส่งมาถึงในวันที่
2 กุมภาพันธ์
ค.ศ.1922 โดยครั้งแรกท่านพักที่ฟุงชาล ที่ วีลลา
วิตโตเรีย ถัดจากโรงแรงสีแดงชื่อดัง ก่อนย้ายไปที่คินตา ดู มอนเท พวกท่านอาศัยอยู่อย่างยากจนพอสมควร
หลังจากเสด็จไปซื้อของเล่นให้กับอาร์ชดยุกคาร์ล
ลุดวิก พระโอรสในวันที่อากาศเย็นจัดในเมืองฟุงชาล
ท่านก็ล้มป่วยลงด้วยโรคหลอดพระวาโยหรือหลอดลมอักเสบ
ซึ่งพัฒนาเป็นโรคปอดบวมอย่างรวดเร็ว “ฉันจะต้องรับทรมานเช่นนี้เพื่อให้ประชาชนของฉันสามารถรวมกันได้อีกครั้ง”
ท่านต้องทกทุกข์ทรมานอยู่หลายวันแต่ในทุกๆวันท่านก็ไม่เคยบ่น เพื่อจุดหมายประชาชนของท่านได้อยู่อย่างมีความสุข
จนถึงเช้าวันที่
1
เมษายน ค.ศ.1922
ภายในอ้อมแขนของพระชายาที่รักท่านได้รับศีลเจิมคนไข้ ท่านพยายามจะถือไม้กางเขน ไม่นานในเวลาเที่ยงท่านพยายามจะจูบไม้กางเขนพร้อมกระซิบว่า
“พระประสงค์อันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์สำเร็จแล้ว พระเยซูเจ้า
พระเยซูเจ้า โปรดเสด็จมาเถิด ใช่แล้ว ใช่แล้ว พระเยซูเจ้าของลูก
พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จแล้ว” และด้วยชื่อสุดท้าย “พระเยซูเจ้าข้า” ท่านก็ได้คืนวิญญาณไปสู่พระเจ้าอย่างสงบ
ท่ามกลางความเศร้าสลดโดยเฉพาะกับซีตาที่ได้ยินคำพูดสุดท้ายกับพระนางว่า “ฉันรักเธอมากๆเลยนะ”
ขณะนั้นท่านได้ให้อภัยทุกคนที่เคยคิดไม่ดีกลับท่านก่อนจากไปในพระชนมายุรวม 34 พรรษา ระยะครองราชย์รวม 6 ปี
“จักรพรรดิคาร์ลทรงเป็นบุคคลที่มีคุณค่าคนเดียวที่สำแดงออกมาจากสงครามในฐานะของผู้นำ
ซ้ำพระองค์ยังทรงเป็นนักบุญและไม่มีใครเคยฟังพระองค์
พระองค์ปรารถนาสันติภาพอย่างซื่อๆ จึงทรงถูกดูหมิ่นจากทั่วโลก มันเป็นโอกาสอันแสนวิเศษที่หายไป”
อานาตอล ฟร็องส์ นักเขียนนวนิยาย กวี
และนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญชาวฝรั่งเศส ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี ค.ศ.
1921
“คาร์ลทรงเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่
เป็นเจ้าชายแห่งสันติภาพ ผู้อยากช่วยโลกจากปีแห่งสงคราม
เป็นรัฐบุรุษที่มีความคิดที่จะช่วยประชาชนของพระองค์จากปัญหาที่ซับซ้อนของจักรวรรดิของพระองค์
เป็นกษัตริย์ที่รักประชาชนของพระองค์ เป็นบุคคลผู้กล้าหาญ เป็นจิตวิญญาณผู้มีสกุลอันแตกต่าง
เป็นนักบุญจากสุสานที่มีพระพร ”
เฮอร์เบิร์ต วิเวียน นักเขียนชาวอังกฤษ
พระศพของท่านถูกฝังไว้ในที่วัดพระนางมารีย์แห่งมอนเท
กลายเป็นขัตติยะเพียงองค์เดียวของออสเตรียที่มิได้ถูกฝังที่ห้องใต้ดินฮับส์บูร์ก ในกรุงเวียนนา เช่นพระชายาและพระโอรส
หลังจากนั้นก็เริ่มมีการเปิดกระบวนการของท่าน กระทั้งเกิดอัศจรรย์ในบราซิลผ่านคำเสนอวิงวอนของคารวียะ
ในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.2004
สมเด็จพระสันตะปาปาก็ได้ทรงสถาปนาท่านขึ้นเป็นบุญราศีอย่าสง่า
อันเป็นมิสซาสถาปนาบุญราศีครั้งสุดท้ายในรัชสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล
ที่ 2 นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงเลือกให้วันอภิเษกสมรสของท่านเป็นวันฉลองของท่าน
“มือของเจ้าจับทำการงานอะไร
จงกระทำการนั้นด้วยเต็มกำลังของเจ้า
เพราะว่าในแดนคนตายที่เจ้าจะไปนั้นไม่มีการงานหรือแนวความคิด หรือความรู้
หรือสติปัญญา”(ปัญญาจารย์ 9:10) มือของท่านนั้นคือการรับใช้ประชาชนในฐานะกษัตริย์
ท่านก็ทำมันอย่างสุดความสามารถแม้ในขณะนั้นสงครามโลกครั้งที่ 1 กำลังครุกรุ่น
ท่านทำมันไปด้วยความเชื่อแม้หลายๆคนจะเมินเฉย ท่านตระหนักดีสิ่งท่านได้มาคือพระประสงค์ของพระเจ้า
ไม่ใช่ทำไปเพื่อเอาความชอบธรรมจากมนุษย์
แม้ในยามที่ต้องอยู่ในสภาพที่ป่วยหนักท่านก็ยังใช้พลังที่มีทั้งหมดในการเป็นดังยัญบูชาเพื่อประชาชนของท่านเอง
เช่นกันสิ่งที่ทุกคนทำอยู่นั่นล้วนไม่ได้มาจากความบังเอิญ
แต่มันคือน้ำพระทัยของพระเจ้าแม้งานที่ต่ำต้อยที่สุด
ดังนั้นขอให้เราสู้ต่อไปต่อกางเขนนี้ เพื่อผลสุดท้ายเราจะได้บอกพระเจ้าได้ว่า
ในโลกข้าพเจ้าได้ทำความสะอาดทางของพระองค์
ได้ทำงานให้พระองค์ในวิชาต่างๆร่วมกับพระองค์ แต่อย่างไรถ้าไม่ได้ทำด้วยความตั้งใจจริงสิ่งเหล่านั้นก็แทบไม่มีค่าอะไร
“ข้าแต่ท่านบุญราศีคาร์ล แห่ง ออสเตรีย
ช่วยวิงวอนเทอญ”
ข้อมูลอ้างอิง