วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

"มาริโอและอิสิโดโร" มรณสักขีแห่งพม่า


บุญราศีมาริโอ เวรการา และ บุญราศีอิสิโดโร งึย โก ลัต
Bl. Mario Vergara and Isidoro Ngei Ko Lat

สาละวินเจ้าไหลริน มานานกาล          เป็นพยานแห่งศรัทธาอันคงมั่น
สองกายาได้พักในธารนั้น                 สุดจะกลั้นน้ำตาความตรึงใจ

คุณพ่อมาริโอ เวรการา เป็นชาวอิตาลีโดยกำเนิด ที่เกิดเมื่อวันที่  18 พฤศจิกายน  ค.. 1910 ในฐานะบุตรคนสุดท้องจากเก้าคนของครอบครัวและได้รับศีลล้างบาปในอีกสองวันถัดมา ใน ฟรัตตามาจูเร  จังหวัดเนเปิลส์ ในแคว้นกัมปาเนีย ประเทศอิตาลี หลังจากนั้นในวัย 11 ปี คุณพ่อก็ได้เข้าสามเณรราลัยของอาเวร์ซา และเมื่ออายุได้ 17 ปี คุณพ่อก็ได้เข้าสามเณรราลัยโปซิลลิโปของคณะเยซูอิต ที่ทำให้คุณพ่อสัมผัสได้ถึงกระแสเรียกการเป็นธรรมทูต และในระหว่างที่เรียนอยู่นั้นเอง ในประเทศพม่าทารกเพศชายก็ได้ถือกำเนิดขึ้นอาฮ์เตต ตาวโปน รัฐกะเหรี่ยง ในปี ค..1918 ด้วยนาม งึย โก ลัต  

กลับมาที่อิตาลี หลังจากนั้นในปี ค..1929 คุณพ่อก็ได้เข้าบ้านเณรของมอนซา ของคณะปีเม  แต่ก็อยู่ได้ปีเดียวท่านก็ต้องกลับไปโปซิลลิโป จากสุขภาพ หลังจากกลับมาคุณพ่อก็กลายเป็นหัวหน้าธรรมทูตในหมู่นักเรียนเทววิทยาด้วยกัน ก่อนจะได้รับศีลโกนจากพระสังฆราชแห่งอาเวร์ซาในปี ค..1932


เพียงหนึ่งปีในเดือนสิงหาคม ปีต่อมา ท่านก็ได้เข้าเป็นเณรในคณะปีเม ที่ ซันติลลาริโอ  เมืองเจนัว และได้รับคำแนะนำจากคุณพ่อเอมิลโล มิลานิ อดีตธรรมทูตในประเทศจีน  กระทั้งได้รับศีลบรรพชาโดยพระสังฆราชบุญราศีอัลเฟร์โด อีเดฟอนโซ ชูสเตอร์ ในวันที่ 26 สิงหาคม ค..1934 ที่วัดของเบร์นาเรกโจ บัดนั้นเองพันธกิจของเขาเริ่มขึ้น เพราะ หลังจากบวชได้ไม่ถึงเดือน ในปลายเดือนกันยายนปีนั้นคุณพ่อก็ถูกส่งไปเป็นธรรมทูตที่ดินแดนเอเชียแห่งหนึ่งนาม พม่า

ณ ย่างก้าวแรกบนดินแดนแห่งใหม่คุณพ่อก็ได้รับการต้อนรับจากพระสังฆราชซากราดา และเริ่มชีวิตธรรมทูตอย่างเต็มตัวที่เมืองตองอู ในทันทีท่านเริ่มร่วมงานธรรมทูตอย่างแข็งขัน ควบคู่ไปกับการเรียนภาษาและประเพณีของชนชาติกระเหรี่ยงเพื่อใช้ในการประกาศพระวรสารแห่งข่าวดีแก่พี่น้องในดินแดนแห่งนี้


หนึ่งปีจากนั้น ท่านก็ได้รับมอบหมายให้ไปที่อำเภอชีตาเชาะ ที่มีอยู่ 29 หมู่บ้าน ซึ่งเมื่อได้รับหมอบหมายงานมาแล้วท่านก็เร่งรีบทำงานด้วยความขยันขันแข็ง ท่านทั้งสองคำสอน ทำมิสซา ริเริ่มการอบรมมากมาย รวมไปถึงได้เปิดสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าชาวพม่าที่มีอยู่ที่บ้านนั้น 82 คน แม้กระทั้งรักษาคนเจ็บไข้ได้ป่วย ทำให้ท่านจึงกลายเป็นที่รักและเคารพจากชาวบ้าน ไม่มีอะไรจะหยุดท่านมิให้ทำงานได้แม้กระทั้งสภาพอาการที่เลวร้ายหรือไข้มาลาเลียก็ตาม

กระทั้งต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้น ในวันที่ 10 มิถุนายน ค..1940 เมื่ออิตาลีประกาศสงครามกับอังกฤษอันคือชาติที่พม่าเป็นอาณานิคม ทำให้พระสงฆ์ชาวอิตาลีถูกสั่งให้หยุดดำเนินงาน ก่อนในวันที่ 21 ธันวาคม ค..1941 บรรดามิชชันารีทั้งหลายรวมถึงท่านจะถูกจับไปเป็นเชลยอยู่ที่ค่ายที่อินเดีย ท่านถูกคุมขังอยู่ที่นั่นราวสามปีจนปลายปี ค..1944 ท่านจึงได้รับการปล่อยตัว และพร้อมที่จะกลับไปดำเนินพันธกิจต่อ แม้สุขภาพจะไม่ค่อยดีนักจากสภาพการกินอยู่และการผ่าตัดไตไปข้างหนึ่ง


งานชิ้นต่อไปของคุณพ่อก็คือการไปทำงานที่ทางชายแดนตะวันออกของสังฆมณฑลตองอูตามคำสั่งของพระสังฆราชแห่งตองอู ที่ตำบลชาดาว ตั้งแต่ปี ค..1947 เป็นต้นมา ที่นั่นเช่นกัน ท่านก็ได้สอนคำสอนและเปิดสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าเฉกเช่นที่เคยทำที่ชีตาเชาะ ซึ่งมันก็ได้ผลที่ดีเยี่ยม


ขอเล่าย้อนกลับไปถึงเด็กชายงึย ภายหลังจากเกิดมาได้ไม่นาน บิดามารดาคือ โบ สันต์ตินต์และมุกะสี ที่เป็นชาวบ้านธรรมดาๆ ก็ได้พาเขาไปรับศีลล้างบาปกับคุณพ่อดอมินิก เปดร๊อตตี ในวันที่ 7 กันยายนปีเดียวกันด้วยชื่อ ‘อิสิโดโร’ หลังจากนั้นมาชีวิตของเด็กชายงงึยก็คงไม่ต่างอะไรจากเด็กชาวพม่าทั่วไปที่นับถือศาสนคริสต์คนอื่นๆ เพียงแต่เมื่อโตขึ้นมาหน่อยและมีน้องชาย บิดามารดาของเขาก็มาจากไป เขาและน้องชายที่กลายเป็นเด็กกำพร้าจึงได้ไปอยู่กับคุณลุงและคุณป้าแทน ซึ่งภายใต้การดูแลนี้เขาก็มีโอกาสได้เข้าเรียนในโรงประถมประจำหมู่บ้าน และได้พบกระแสเรียกในชีวิต

กระแสเรียกนั้นก็คือการอุทิศตนรับใช้พระเจ้า ดังนั้นเอง เด็กชายงึยจึงได้เข้าบ้านเณรเล็กนักบุญเทเรซา เมืองตองอู ซึ่งในฐานะนักเรียน เขาก็เป็นเด็กศรัทธาและขยันเรียน เขาสามารถเรียนทั้งภาษาละตินและภาษาอังกฤษได้อย่างเป็นอย่างดี  แต่ก็น่าเนศร้า เพราะเรียนได้เพียงหกปี ก็พอดีกับสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มขึ้น และด้วยโรคหอบหือเรื้อรัง เขาจึงจำต้องกลับไปยังหมู่บ้าน


เมื่อกลับมาที่บ้าน เขาได้ตั้งโรงเรียนสอนเด็กๆในหมู่บ้านขึ้นฟรีๆ โดยสอนเป็นภาษาอังกฤษ เวลาเดียวกันเขาก็ไม่ได้ละเลยงานสอนคำสอน กล่าวคือเขาได้สอดแทรกคำสอนต่างๆผ่านไปทางบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ นอกนี้เข้ายังสัตย์ซื่อในกระแสเรียก เขาจึงครองตนเป็นโสด จนเมื่อได้พบกับคุณพ่อมารีโอซึ่งกำลังวางแผนจะไปแพร่ธรรมทางตะวันออกของเมืองลอยแก้ว  ในปี ค..1948 ที่เหล่ยโขท  เขาก็ตัดสินใจรับคำเสนอของคุณพ่อ ในการร่วมเดินทางไปเป็นครูคำสอนกับคุณพ่ออย่างร้อนรน


กลับมาที่ปัจจุบัน เหตุการณ์ต่างๆยังคงสงบเฉกที่มันเป็นมาเรื่อยๆ กระทั้งในปี ค..1948 เมื่ออังกฤษคืนเอกราชให้กลับพม่า บริเวณสถานที่ที่คุณพ่ออยู่ก็กลับครุกรุ่นขึ้นมา ความขัดแย้งด้านความเชื่อ การปกครอง การกดขี่คริสตชนก็เริ่มขึ้นเช่นกัน กองกำลังกบฏกระเหรี่ยงที่ต้องการล้มรัฐบาล มีการกดขี่ประชาชน ทำให้ที่สุดในวันที่ 24 พฤษภาคม ค..1950 พร้อมด้วยครูอิสิโดโร งึย โก ลัต   ครูคำสอนชาวพม่าของคุณพ่อจึงเดินทางไปตำบลชาดอว์ เพื่อเรียกร้องขอความยุติธรรมสำหรับชาวบ้าน แต่อนิจจาพวกมันหาฟังไม่ กับป้ายสีทั้งสองว่าสายลับของทางราชการ และจับขัง  

จนเช้าวันถัดมาซึ่งตรงกับวันที่ 25 พฤษภาคม กองกำลังกบฏก็ได้ยิงทั้งสองด้วยไรเฟิล จนทำให้ทั้งสองจบชีวิตลง และเมื่อแน่ใจว่าทั้งสองร่างแน่นิ่งไปแล้ว กองกำลังก็ได้จับร่างไร้วิญญาณใส่กระสอบแยกกัน ก่อนโยนลงไปในสายน้ำสาละวิน ขณะนั้นคุณพ่อมาริโอ เวรการา มีอายุได้ 40 ปี ส่วนครูอิสิโดโร งึย โก ลัต มีอายุได้ 30 ปี หลังจากนั้นไม่กี่วัน ก็มีคนดักปลาพบกระสอบใส่ร่างของทั้งสอง แต่เมื่อพบว่าเป็นร่างทั้งสองก็ได้ทิ้งกลับแม่น้ำไป



แม้ปัจจุบันร่างกายของท่านทั้งสองจะยังหาไม่พบ แต่พระศาสนจักรพม่าก็ไม่เคยลืมวีรกรรมของทั้งสอง หลังจากมรณกรรมไปเป็นเวลา 58 ปี ก็ได้มีการเสนอขอแต่งตั้งทั้งสองเป็นบุญราศีและล่าสุดในวันที่ 9 ธันวาคม ค..2013 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ก็ได้ทรงลงพระนางอนุมัติให้บันทึกนามทั้งสองลงในสารบบุญราศีมรณสักขี ส่งให้คุณครูงึยกลายเป็นชาวพม่าคนแรกที่ได้เป็นบุญราศีตอนนี้คงต้องรอวันจัดงานต่อไป

ความดีคือสิ่งที่ไม่ตาย แม้ตัวตายแต่สิ่งที่คงเหลือไว้คือความดี คือ คำพูดที่หลายๆคนเคยได้ยิน เช่นกัน ท่านทั้งสองแม้ว่าตอนนี้จะยังไม่พบร่างของพวกท่านก็ ไม่ได้แปลว่าวีรกรรมของพวกท่านจะต้องจมหายไปตามกระแสธารแห่งเวลาไม่ ตรงข้ามมันกลับถูกจดจำอยู่มิได้หายไปไหน แสงสว่างของท่านต้องส่องแสงต่อหน้ามนุษย์ (มัทธิว 5:16) แสงสว่างนั้นคือความดีไม่ใช่ร่างกาย ดังนั้นวิธีปฏิบัติตามชีวิตของพวกท่านก็คือการเป็นพยายยืนยันให้คนได้รู้จักพระเจ้า ผ่านความดี



ข้าแต่ท่านบุญราศีมาริโอ เวรการา และ บุญราศีอิสิโดโร เอ็นจึย โก ลัต ช่วยวิงวอนเทอญ


ข้อมูลอ้างอิง
Pope Report

'เบร์นาร์โด ฟรานซิสโก' ให้ชีวิตนี้เป็นสะพานนำรักพระองค์ไป ตอนจบ

บุญราศีเบร์นาร์โด ฟรานซิสโก เด โอโยส เด เซญา Bl. Bernardo Francisco de Hoyos de Seña วันฉลอง: 29 พฤษจิกายน ผู้ใหญ่ในคณะคนแรก ๆ ที่ท่านแสวงหา...