นักบุญอาโกสตินา
เปียตรานตอนิ
Saint
Agostina Petrantoni
ฉลองในวันที่ : 12 พฤศจิกายน
ท่ามกลางหุบเขาสูงใหญ่สลับไปมาของแคว้นลาซีโอ บนเนินซาบีนาเป็นที่ตั้งอันโดดเด่นของกลุ่มหมู่บ้านหลังคาสีส้มที่เรียงตัวกันไปตามความสูง
หมู่บ้านเล็กๆที่เป็นที่เก็บรักษาพระธาตุของนักบุญอูลเปีย คานดิเดีย (Ulpia Candidia) มรณสักขีองค์อุปถัมภ์ของหมู่บ้านแห่งนี้
หมู่บ้านโปซซากลีอา(Pozzaglia)
ตอนใต้ของจังหวังริเอติ ที่นี่ย้อนไปเมื่อ 149 ปีที่แล้ว ในวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ.1864
ที่ความสูง 800 เมตรโดยประมาณ ฟรานเชสโก เปียตรานตอนิ (Francesco Pietrantoni) กับ กาตารีนา โกสตันตินิ (Caterina Costantini)
คู่เกษตรกรสองสามีภรรยาก็ได้ต้อนรับสมิกใหม่คนที่สองจากสิบเอ็ดของครอบครัว “ลิเวีย”
คือชื่อเล่นของสมาชิกใหม่ในครอบครัวจากชื่อเต็มๆคือ “โอลิเวีย เปียตรานตอนิ” แม้จะเป็นครอบครัวเกษตรกรทีมีพื้นที่ทำกินเช่าเล็กๆแต่ก็แสนจะเปี่ยมไปด้วยศรัทธาและความขยันเสมอ
ท่านได้รับศีลกำลังตอนอายุได้
4 ปี และ
ได้รับศีลมหาสนิทครั้งแรกในปี ค.ศ.1876
ตั้งแต่วัยเยาว์ท่านได้เรียนรู้หลายๆสิ่งจากมารดาทั้งด้านความเอื้ออาทร ท่าทาง การละเล่นแทบไม่ต้องหวังสำหรับท่านเพราะวันๆหนึ่งท่านก็หมดไปกลับการทำงานทุ่งและกับสัตว์ทั้งหลาย
แม้แต่โรงเรียนก็เข้าเรียนแค่บางครั้งบางคราว
แต่ท่านก็สามารถเก็บเกี่ยวไปความรู้ไปจนได้รับสมญานามจากเพื่อนร่วมชั้นว่า “ครู”
และเมื่อท่านอายุได้
7 ปี ท่านก็ไปทำงานขนหินขนทรายเพื่อสร้างถนนจากโอร์วินิโอไปโรมพร้อมเด็กคนอื่นด้วยค่าจ้าวันละห้าสิบเซ็นต์
ที่อายุ 12 ปี ท่านก็ได้ร่วมกลับกลุ่มสาวคนงานตามฤดูกาล
ที่กำลังจะไปติโวลี เพื่อเก็บเกี่ยวผลมะกอกในช่วงฤดูหนาว ท่านรับผิดชอบด้านศีลธรรมและศาสนาแก่สหายของท่าน
ท่านสนับสนุนพวกเขาในการทำงานที่ยากลำบากที่ต้องห่างไกลครอบครัว
ด้วยความภาคภูมิและกล้าหาญท่านลุกขึ้นในฐานะ “ ตัวหลัก”
ความอ่อนโยนของท่านเป็นที่สัมผัสได้ไปทั้งเพื่อนและเด็กเลี้ยงแกะของหมู่บ้าน
“เมื่อเธอมาบนเขาเพื่อเอาน้ำนมจากแกะของเธอ
พวกเราจะรู้ศึกสับสนแปลกๆ … ริมฝีปากของพวกเราใช้ในการออกเสียง ซึ่งไม่เห็นจะยากลำบากทั้งคำและประโยคกำกวมทั้งหลาย
แต่ในที่ที่มีลิเวียอยู่เรากลับไม่สามารถจะหาคำมาได้ในทันที เธอทำให้เรารู้สึกตกอยู่ในความกลัวของเธอและความเคารพบางอย่างที่เราไม่สามารถจะอธิบายได้เลย” คือคำพูดง่ายๆของคนเลี้ยงแกะที่รู้จักท่าน
ที่พูดไว้หลังจากท่านได้จากไปแล้ว
เมื่อเจริญวัยขึ้นอีกท่านก็เป็นสาวงามผู้สวดสายประคำ
ร่วมมิสซา ผู้มอบช่อไม้แด่แม่พระในวัดของรีโฟลตา
ผู้จบเพียงระดับชั้นประถมด้วยคะแนนที่ดีเลิศ มีหนุ่มๆในหมู่บ้านมากมายต่างหมายตาท่าน
มารดาท่านวาดฝันถึงภาพท่านเข้าพิธีวิวาห์
แต่สิ่งที่ท่านคิดคือการได้สมรสกับเจ้าบ่าวคนเดียวของท่านพระเยซูเจ้า
แม้ครอบครัวและหมู่บ้านจะพยายามเกลี้ยกล่อมท่านว่าท่านจะหลุดจากการทำงานหนัก
แต่ท่านตอบว่า “ฉันปรารถนาเลือกคณะที่มีการทำงานหนักทั้งกลางวันและกลางคืนค่ะ”
ครั้งแรกท่านพยายามเดินทางไปโรมพร้อมกับภารดา
มัตเตโอ คุณลุงของท่าน แต่ท่านก็ถูกปฏิเสธที่จะรับท่านเข้าคณะ แต่อีกไม่กี่เดือนต่อมาคุณแม่อธิการคณะเมตตาธรรมแห่งนักบุญชานอังติต ตูเร ผ่านความช่วยเหลือท่านก็สามารถเข้าคณะได้โดยไม่ต้องจ่ายสินสอด
โดยได้แจ้งว่าเธอกำลังรอท่านอยู่ที่บ้านศูนย์กลางของคณะ
ท่านจึงได้อำลาบ้านเกิดท่าน หลังจากจูบลาบิดามารดาและรับพรจากลุงโดเมนิโก
ท่านจึงเดินทางมากรุงโรม
ในวัย 22 ปี ท่านก็มาถึงวิอา ซานตา มารีอา กรุงโรมในวันที่
23 มีนาคม ค.ศ.1886 และเข้าเป็นโปสตุลันต์ไม่กี่เดือน และนวกะ ในครานั้นซิสเตอร์ที่เป็นรองนวกจารย์ได้เคยกล่าวไว้เหมือนดังการทำนายถึงอนาคตของท่านเอาไว้ว่า
“พวกเธอสี่สิบคนเหมือนมรณสักขีแห่งซาบาสเต(martyrs of Sebaste เป็นกลุ่มทหารที่ยอมรับว่าเป็นคริสตชนจำนวนสี่สิบคน
จนถูกสั่งจับไปแช่แข็งในบ่อน้ำใกล้ซาบาสเต ในประเทศตุรกี
ซึ่งทั้งหมดล้วนแข็งตายและถูกนำร่างไปเผาก่อนนำเถ้าถ่านไปโปรยลงแม่น้ำ) บางทีอาจไม่มีใครเลยในพวกเธอที่จะออกจากจำนวนนี้ บางทีบางคนในพวกเธออาจต้องการเลียนแบบพวกท่านในการเป็นมรณสักขีซะมั้ง” ก่อนได้รับชุดคณะพร้อมนามใหม่ว่า “ซิสเตอร์อาโกสตินา”
และถูกส่งไปประจำที่โรงพยาบาลซานโต สปิริโต ที่มีบรรยากาศเป็นปฏิปักษ์กับศาสนา คุณพ่อกาปูชินที่มาประจำถูกขับออก
ไม้กางเขนและสัญลักษณ์ทางศาสนาถูกห้าม บรรดาซิสเตอร์ที่ทำงานก็เกือบถูกให้ออกแต่เพราะกลัวจะเป็นเยี่ยงอย่างของที่อื่นๆ
ครั้งแรกท่านถูกส่งไปที่แผนกผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยวัณโรคตามลำดับ
บ่อยครั้งท่านก็ต้องทนต่อความยากลำบากต่างๆในโรงพยาบาลทั้งการดูหมิ่น คำหยาบคาย
อุปสรรคอีกแต่ท่านก็จะยังคงดำเนินงานภายใต้ความเงียบ คุณหมอที่เคยทำงานร่วมกับท่านกล่าวว่า
“อ่อนหวานเสมอ และพร้อมที่จะทำหน้าที่ไม่เพียงแต่หน้าที่ของเธอเอง
แต่ยังมากขึ้นและด้วยความเต็มใจมากๆ ยังรวดเร็ว เจียมตัว เฮฮา”
หลังจากนั้นท่านก็ติดโรคจนล้อมหมอนนอนเสื่อในปี
ค.ศ.1889 จนซิสเตอร์ผู้ช่วยท่านอุทานว่า “ถ้าซิสเตอร์อาโกสตินาได้รับการรักษา
เราจะส่งเธอไปหอผู้ป่วยวัณโรคเลย” เป็นเช่นนั้นท่านก็ได้รับการรักษาอย่างอัศจรรย์จนเป็นที่ประหลาดใจแก่แพทย์ทั้งหลาย
ท่านเขียนในจดหมายถึงบิดามารดาว่าดังนี้ “คุณพ่อคุณแม่ที่รัก ไม่กี่เดือนที่ผ่านมาลูกป่วยหนัก
ลูกคงต้องตายและต้องพลัดพรากจากความรักและความนุ่มนวลของคุณพ่อคุณแม่เป็นแน่เลยค่ะ
ในความเจ็บปวดคุณพ่อคุณแม่จะเป็นวันนี้ถ้ามันเกิดขึ้น
แต่ไม่ค่ะ
ลูกไม่ต้องการความเศร้าโศกของคุณพ่อคุณแม่และพร้อมกันนั้นลูกขอให้สรรเสริญพระเจ้าเถอะค่ะ
เพราะ ตอนนี้ ด้วยพระหรรษทานพิเศษของแม่พระ ลูกไม่เพียงได้รับการรักษาให้หายเท่านั้น
แต่ลูกยังได้สุขภาพที่ดีเยอะกว่าแต่ก่อนอีกค่ะ”
หลังจากนั้นท่านก็กลับมาทำงานตามปกติไปจัดหมอน
พูดดีๆกับคนไข้ร้ายที่สุดที่เตียงก่อนออกเวร
แม้บางครั้งผู้ป่วยบางคนจะปาอาหารลงพื้นหรือใส่ท่านเพราะไม่ความสุข ท่านก็ไม่โกธรพวกเขา
ไม่ปฏิบัติต่อพวกเขาด้วยความรุนแรง มีครั้งหนึ่งผู้ป่วยคว้ามีดขึ้นมาจะแทงท่าน
แต่ก็สงบไป เหตุการณ์นี้สร้างความหวาดกลัวให้บรรดาซิสเตอร์ในความปลอดภัยของท่าน
ท่านกล่าวว่า “พวกเรามีการสัมผัสมากๆ แต่พระเจ้าก็ทรงปกป้องพวกเรา
และดังนั้นพวกเราจะต้องไม่ละเลยหน้าที่ของเราในกิจเมตตาเพียงเพื่อหลีกหนีจากอันตราย
แม้หากมันต้องเสียบางสิ่งของเราในชีวิต ….. เราสามารถคาดหวังทุกสิ่งว่าพระเยซูเจ้าจะทรงได้รับการปฏิบัติเช่นนี้นะ”
ในเวลาใดเวลาหนึ่งท่านจะหลบตัวไปอยู่ในตู้เสื้อผ้าพร้อมกับภาพของแม่พระ
เหมือนที่เคยทำที่วัดของรีโฟลตา
ท่านได้ถวายผู้ป่วยทุกคนที่ท่านดูแลไว้ใต้อารักขาของพระนาง พร้อมถวายตัวเพื่อการกลับใจของจูเซปเป
โรมาเนลลี ผู้เป็นผู้ป่วยที่ร้ายที่สุดในโรงพยาบาล
ทั้งหยาบคายและอวดดีโดยเฉพาะต่อท่าน แต่ท่านกระนั้นท่านก็ยิ่งดูแลเขา
ยามมารดาผู้ตาบอดของเขามาเยี่ยม ท่านก็จะจัดการตอบรับเธอเป็นอย่างดีไปทุกครั้ง
ต่อมาด้วยความหยาบคายของเขา
เขาก็ถูกไล่ออกจากโรงพยาบาล ด้วยความโกธรหรืออย่างใด เขาจึงเขียนจดหมายถึงท่านว่า “ซิสเตอร์อาโกสตินา
แกมีเวลาเดือนหนึ่งที่จะมีชีวิตอยู่” กับ “ฉันจะฆ่าแกด้วยมือของฉันเอง” และส่งไปหลายต่อหลายครั้ง
แต่ท่านก็หาได้กลัวไม่ตรงข้ามท่านกลับเตรียมตัวอย่างดีโดยมิได้หลบหนีหรือเปิดเผยให้ใครทราบ
กระทั้งเช้าวันที่
13 พฤศจิกายน ค.ศ.1894
ตามทางเดินที่ค่อนข้างมืดที่นำไปสู่ครัว
จูเซปเปพร้อมมีดในมือได้เข้าจู่โจมท่านโดยที่ท่านไม่ได้ตั้งตัวและเริ่มแทงท่านที่ไหล่
ที่แขนซ้ายและที่คอ ก่อนที่เขาจะจะแทงท่านเข้าที่หน้าอกจนท่านถึงแก่มรณกรรมอย่างสงบด้วยอายุรวม
30 ปี พร้อมคำพูดสุดท้ายที่ว่า “แม่พระ ช่วยลูกด้วย” ผลการชันสูตรพบว่าท่านถูกฆาตกรรมเฉกลูกแกะน้อยในแท่นบูชา
ข่าวการตายของท่านถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์
และในวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ.1894 เมื่อมีการเคลื่อนขบวนศพท่าน
ถนนทุกสายที่ขบวนผ่านก็แออัดไปด้วยผู้คนที่ต่างมาเคารพท่านเป็นครั้งสุดท้าย
บนโลงของท่านยังมีมงกุฎดอกไม้ของชาวยิวที่มอบแด่ซิสเตอร์ผู้ต่ำต้อยผู้นี้พร้อมคำจารจารึกว่า
“แด่มรณสักขีแห่งกิจเมตตา” 12 พฤศจิกายน ค.ศ.1972 และหลังจากมีอัศจรรย์มากมายผ่านคำเสนอวิงวอนของท่าน
สมเด็จพระสันตะปาปาปอล ที่ 6
ก็ได้ทรงบันทึกนามท่านลงในสารบบุญราศี ดั่งนักบุญอักแนส พรหมจารี หลังจากนั้นในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ.1999 ท่ามกลางนั่งร้านของมหาวิหารนักบุญเปโตรพร้อมบุญราศีสององค์
ท่านก็ได้รับการยกขึ้นไว้บนพระแท่นข้างๆนักบุญอักแนส โดยสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น
ปอล ที่ 2
“อย่าตอบแทนความชั่วด้วยความชั่ว
จงพยายามทำดีต่อทุกคน” (โรม 12:17) ท่ามกลางผู้ป่วยที่ค่อนข้างกระด้าง
ท่านก็ได้หาได้ปฏิบัติต่อเขาไม่ดีไม่ แม้จะถูกด่าหรือเขวี้ยงปาของต่างๆใส่ เป็นใครก็ต้องขึ้นหรือท้อแท้บ้างละ
แต่แทนที่ท่านจะต่อว่าพวกเขาหรือเมินเฉยพวกเขา
ตรงข้ามท่านกลับรักเขามากขึ้นและมากขึ้น จึงไม่แปลกอะไรที่หลังการจากไปของท่าน
จะมีอัศจรรย์มากมายผ่านคำเสนอวิงวอนของท่าน เหตุท่านได้ทำตามบทบัญญัติของพระองค์
คือ การรักทุกคนโดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ นี่แหละคือเหตุผลที่ท่านจึงได้อยู่ในสวรรค์
กับพระเยซูเจ้าคู่สมรสของท่านเอง การไปสวรรค์ต้องอาศัยสิ่งนี้แหละ “ความรัก”
“ข้าแต่ท่านนักบุญอาโกสตินา
เปียตรานตอนิ ช่วยวิงวอนเทอญ”
ข้อมูลอ้างอิง