วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ศักดิ์ศรีแห่งพิบรัก 'เยอร์แม็ง กูซัง' ตอนจบ

นักบุญเยอร์แม็ง  กูซัง
St. Germaine Cousin
ฉลองในวันที่ : 15 มิถุนายน
องค์อุปถัมภ์ ผู้ถูกทอดทิ้ง ผู้ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง การสู้ชีวิต , ผู้พิการ เยาวชนหญิงจากพื้นที่ชนบท ผู้ป่วย คนยากจน การสูญเสียผู้ปกครอง คนเลี้ยงแกะ , การเจ็บป่วย คนอาภัพเรื่องความสวยความงาม นักกายภาพบำบัด

อีกสิ่งหนึ่งที่ท่านปฏิบัติตลอดหลายปี ตั้งแต่รู้จักกับนางอาร์มองด์ก็คือการสวดภาวนาให้นาง แต่แทนที่นับวันผลคำภาวนาจะแสดงผลโดยเร็ววัน ตรงกันข้ามนับวันความเกียจชังในใจของนางอาร์มองด์ที่แสดงต่อท่านก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น แต่ท่านก็ไม่ได้โทษว่าพระเจ้าหรือเลิกสวดไปเสีย ตรงกันข้ามท่านกลับทวีคำภาวนาของท่านให้มากขึ้นไปอีก เพราะท่านตระหนักดีว่ายิ่งเพลิงแห่งโทสะของนางมีมากเพียงใด มันก็ยิ่งทำให้พระเจ้าทรงไม่พอพระทัยเช่นนั้น และก็ยิ่งบีบโอกาสไปสวรรค์ของนางให้แคบลงเรื่อยๆ “…โปรดช่วยลูกให้เป็นที่พอใจของคุณแม่…” คำภาวนาของท่าน

แม้ชีวิตในปัจจุบันของท่านจะยากเย็นแสนเข็ญอยู่แล้ว แต่ท่านก็ไม่วายมีจิตใจที่เมตตาสงสารบรรดาขอทานทั้งหลาย ช่างเป็นภาพที่ยากจะจินตนาการได้ว่าเด็กสาวผู้ยากไร้คนหนึ่ง มีขอทานแวะเวียนมาหาเกือบทุกวันเพื่อแสวงหาความเห็นใจ และยังคอยแบ่งอาหารอันคือขนมปังที่แทบจะไม่พอกินอยู่แล้ว ให้บรรดาผู้หิวโซนั้นอย่างไม่เคยหวงของ
แน่นอนเรื่องความเมตตาของท่าน เมื่อนางอาร์มองด์รู้เข้า ทุกครั้งนางก็จะบันดาลโทสะทุบตีท่านเป็นการใหญ่ ส่วนท่านก็จะร้องบอกตลอดว่าท่านไมได้แบ่งอาหารให้ขอทานทุกคนที่ผ่านมา และก็ยังคงปฏิบัติเช่นเดิม จนวันหนึ่งในหน้าหนาวอันหนาวเหน็บ ท่านก็เข้าไปเอาเศษอาหารเหลือๆในห้องครัวเพื่อนำไปให้ขอทาน ประจวบเหมาะกับนางอาร์มองด์ผ่านเข้ามาเห็นพอดี นางจึงปรี่เข้าไปจับท่านไว้ และเมื่อนางสอดสายตาเห็นว่าท่านเก็บบางสิ่งไว้ในผ้ากันเปื้อน

ไม่ทันถามอะไร นางก็คิดเองเออเองว่าเป็นก้อนขนมปัง นางจึงยิ่งบรรดาโทสะหนักขึ้นไปอีก คราวนี้นางรีบคว้าไม้และลากท่านไปยังลานกลางหมู่บ้าน เพื่อหมายจะประจารให้ชาวบ้านเห็นว่า แท้จริงแล้วเด็กสาวที่พวกเขานับถือเป็นเพียงนังขี้ขโมย และอยากทำให้ท่านอับอายจนไม่มีหน้าจะอยู่ต่อไปได้ นางไล่ตีท่านจนมาถึงลานกลางหมู่บ้านพิบรัก นางก็เงื้อมไม้เรียวขึ้นเหนือศีรษะของท่าน พร้อมประกาศก้าวให้ท่านเปิดผ้ากั้นเปื้อนที่ท่านกำไว้ให้ทุกคนได้ดู ท่านที่ตัวสั่นเทาด้วยความกลัว จึงเปิดผ้ากันเปื้อนที่กำออก และทันทีสายตานับสิบก็ได้เป็นพยานถึงหมู่มวลดอกไม้มากมาย ที่ไม่ใครเคยเห็นในแถบนี้ ล่วงหล่นลงมายังพื้นแทนที่จะเป็นขนมปังดั่งคำครหา
ทำให้แต่นั้นชาวพิบรักก็ยิ่งเห็นใจต่อชะตาชีวิตของท่าน และชื่นชมท่านมากยิ่งขึ้น และมากกว่านั้นเพียงไม่นานพระเป็นเจ้าก็ทรงแสดงอีกครั้งว่า พระองค์ทรงพอพระทัยคนเลี้ยงแห่งพิบรักผู้นี้ กล่าวคือในตอนกลางคืนเริ่มมีผู้คนมากมายเห็นแสงสว่างออกมาจากโรงงานที่ท่านพัก หรือไม่ก็ได้ยินเสียงเพลงที่ไพเราะของทูตสวรรค์ดังออกมา ทำให้ คนใจศรัทธา ซึ่งเคยเป็นคำเย้ยหยันท่าน แปรเปลี่ยนมานามอันละบือเลื่องของท่านในที่สุด

ส่วนนายโลรังต์เองผู้เคยนิ่งเงียบมานานเกือบยี่สิบปี (จนนึกว่าตายไปแล้ว) ก็ตัดสินใจลุกขึ้นมาจากความเงียบ เพื่อทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัวที่ดีสักที เขาได้เข้ามาขอให้ท่านอภัยให้สำหรับการละเลยของเขา และถามท่านว่าท่านอยากจะย้ายกลับไปอยู่ในบ้าน ไปอยู่กันครอบครัวไหม แต่ในข้อหลังท่านก็ปฏิเสธเพราะท่านพอใจกับสภาพชีวิตแบบนี้แล้ว และตามจริงแล้วท่านได้เพิ่มความเข้มงวดให้กับชีวิตของท่านมากขึ้น ก็เพื่อวอนขอพระพรจากพระเจ้า ในความทุกข์ยากและความสันโดษ ท่านค้นพบพระคริสตเจ้า ไฉนเล่าที่ท่านจะละจากพระองค์ไป เพียงเพื่อตอบสนองต่อความสบายฝ่ายกายที่ไม่เป็นนิรันดร์
ดั่งที่กล่าวไปแล้วว่าท่านเพียรสวดให้นางอาร์มองด์อย่างสุดกำลัง และบัดนี้นางอาร์มองก็เริ่มมีท่าทีที่ดีขึ้นต่อท่านบ้าง แต่ก็ยังไม่ถึงกับกลับใจ ส่วนเวลาของท่านเองก็ใกล้จะหมดลงเรื่อยๆ กระทั้งถึงค่ำคืนหนึ่งในฤดูใบไม้ผลิ ค..1601 ท่ามกลางความสงัดแห่งชนบท บนเตียงฟางที่คุ้นเคย พระเจ้าผู้ทรงเป็นความยินดีของคนเลี้ยงแกะน้อยแห่งพิบรักก็ทรงรับเอาดวงวิญญาณอันสุกใสของท่าน ขึ้นไปรับบำเหน็จในสวรรค์ด้วยวัย 22 ปี

คืนเดียวกันพระสงฆ์องค์หนึ่งซึ่งกำลังเดินทางจากกัสกอญไปยังเมืองตูลูส ซึ่งได้เดินทางมาถึงพิบรักในเวลาดึกสงัด เวลานั้นมืดเสียจนพระสงฆ์องค์นั้นไม่อาจจะเดินต่อไปได้ จู่ๆคุณพ่อก็ได้แลเห็นแสงสว่างสว่างขึ้นบนท้องฟ้า ขับไล่ความมืดรอบตัวคุณพ่อไปสิ้น และบัดดลคุณพ่อก็ได้เห็นขบวนของบรรดาพรหมจารี ซึ่งสุกใสจากสวรรค์ ลอยเลื่อนลงมายังหมู่บ้าน ขณะคุณพ่อยืนมองอย่างงงงัน เวลาเดียวกันกับที่คุณพ่อเห็น นักบวชสองคนที่เดินทางมาจากอีกทิศหนึ่งของหมู่บ้าน และได้หยุดพักที่ซากปราสาทเก่าของพิบรักเพราะมองไม่เห็นทางเช่นกัน ก็ได้แลเช่นเดียวกัน
มรณกรรมของเยอร์แม็ง
รุ่งเช้าวันต่อมา นายโลรังต์ก็รู้สึกประหลาดใจ เมื่อถึงเวลาที่ท่านจะต้อนแกะออกไปตามที่เคยปฏิบัติ ไฉนยังคงมีเสียงแกะร้องอยู่ แถมเสียงร้องก็ดูแปลกๆ ดังนั้นด้วยความกระวนกระวายใจเขาจึงรีบไปยังโรงนาที่ท่านพัก เขาพยายามตะโกนเรียกท่านเสียงดังๆ แต่ก็ไม่มีเสียงใครตอบกลับมา เขาก็ยิ่งเป็นกังวลหนักขึ้นไปอีก เขาจึงรีบเดินเข้าไปในโรงนา และก็พบกับภาพร่างของท่านในมือมีสายประคำของท่าน ใบหน้าสุกใสเหมือนทูตสวรรค์นอนนิ่งอยู่บนกองฟาง เขาจึงได้รู้ว่าบัดนี้บุตรสาวของเขาได้จากไปอย่างไม่มีวันกลับมาอีกแล้ว

เวลาเดียวกันในหมู่บ้านพระสงฆ์ผู้เดินทางผ่านมาเมื่อคืนและสองนักบวช ก็รีบนำตรงเข้าไปยังหมู่บ้านเพื่อบอกเล่าถึงสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า ภาพนิมิตพรหมจารีถูกยกขึ้นสวรรค์ ทั้งสามเล่าเป็นเสียงเดียวว่าภายหลังจากเห็นขบวนพรหมจารีแล้ว พรหมจารีนางหนึ่งก็ถูกยกขึ้นมาและได้รับการสวมมงกุฎ หลังจากนั้นเธอจึงลอยขึ้นไปพร้อมบรรดาทูตสวรรค์จำนวนมากมาย ซึ่งสุกใสเสียยิ่งกว่าแสงแห่งดารา
พวกเขาได้เห็นภาพนิมิตพรหมจารีย์ถูกยกขึ้นสู่สวรรค์
ณ จุดนี้ชาวบ้านหลายคนก็ยังไม่นึกอะไรว่านิมิตนี้เกี่ยวอะไรกับหมู่บ้าน แต่เมื่อทั้งสามอธิบายลักษณะหน้าตาของพรหมจารีนางนั้นให้ชาวบ้านฟัง ทุกคนก็ลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกัน ว่านั่นคือ คนเลี้ยงแกะผู้ศักดิ์สิทธิ์ และรู้ทันทีว่าบัดนี้ท่านได้จากกพวกเขาไปแล้ว ดังนั้นทุกคนที่ได้ยินเรื่องสุดอัศจรรย์นี้ จึงรีบวิ่งตรงไปยังฟาร์มตระกูลกูซัง และก็ได้พบกับร่างไร้วิญญาณของท่าน นอนสงบด้วยใบหน้าที่ปราศจากความกลัวใดๆ

ข่าวการจากไปของท่านถูกส่งต่อจากปากต่อปาก จนรู้กันที่หมู่บ้านส่งผลให้เพียงไม่นานฟาร์มตระกูลกูซังก็รายล้อมไปด้วยชาวบ้าน ที่ต่างมาแสดงความอาลัยต่อการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของท่าน เพื่อนๆของท่านและเด็กๆต่างช่วยกันจัดหาดอกคาร์เนชั่นป่าและต้นข้าว มาทำเป็นมงกุฎไปสวมที่ศีรษะของท่าน ส่วนนางอาร์มองด์ที่เคยเป็นปริปักษ์กับท่าน ก็ได้กลับใจตามคำภาวนาของท่าน นางจัดให้ท่านสวมชุดสวยๆแบบที่ท่านไม่เคยสวมเลยตลอดชีวิต และเอาเทียนมาใส่มือของท่านไว้
ภายหลังพิธีปลงศพ ร่างของท่านจึงถูกนำไปฝังไว้ที่ในวัดนักบุญมารีย์ มักดาเลน สถานที่เดียวที่ท่านรู้สึกว่าคือ บ้านของท่าน และค่อยๆถูกลืมไปจากความทรงจำของชาวพิบรักตามความเป็นจริงแห่งโลก กระทั้งในปี ค..1644 หรือสี่สิบห้าปีภายหลังมรณกรรมของท่าน ก็ประจวบกับหญิงชราคนหนึ่งในหมู่บ้านท่านสิ้นใจพอดี และตามพินัยกรรมนางก็ขอให้ฝังร่างของนางไว้ข้างธรรมาสน์ในวัด

ดังนั้นคนงานสองคนจึงถูกตามตัวมาเพื่องัดพื้นวัดและเตรียมหลุมให้พร้อม และขณะทั้งสองกำลังใช้พลั่วตักหินตักดินออกนั่นเอง ทั้งสองก็พบร่างเด็กสาวคนหนึ่งนอนสงบอยู่ในระดับเกือบๆกับพื้นวัด และโดยไม่ตั้งใจพลั่วของเขาพวกเขาก็ไปโดนเอาจมูกของเธอเข้าพอดี ซึ่งแทนที่จะไม่มีอะไร ก็พลันก็ปรากฏเลือดไหลออกมาจากแผล ทั้งสองที่เห็นดังนั้นจึงรีบวิ่งไปยังหมู่บ้านเหมือนคนเสียสติ และพากันเล่าเรื่องการค้นพบของพวกเขาอย่างตะกุกตะกัก ก่อนจะนำชาวบ้านที่อยากรู้อยากเห็นจำนวนหนึ่งมาพร้อมกันที่วัด หนึ่งในนั้นมีชายชราสองคนที่เคยรู้จักท่าน จึงทำให้ได้ข้อยืนยันว่าร่างที่พบนี้คือร่างของเยอร์แม็ง กูซัง คนเลี้ยงแกะแห่งพิบรักผู้ศักดิ์สิทธิ์ เพราะมีลักษณะแขนที่ลีบ และแผลที่คอ
การรักษามาดามเดอ บูเรอการ์ด
คุณพ่อเจ้าวัดจึงตัดสินใจย้ายร่างที่ไม่เน่าสลายของท่านขึ้นมา และบรรจุไว้ในโลงแก้วตั้งไว้ให้สัตบุรุษได้ชม แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วยการกระทำนี้ หนึ่งในนั้นก็คือภรรยาของนายฟร็องซัวส์ เดอ บูเรอการ์ด เศรษฐีอยู่ละแวกวัด วันหนึ่งเธอถึงกับมาบ่นกับคุณพ่อเจ้าวัดว่าให้ย้ายร่างท่านไปเก็บไว้ที่ห้องสักการภัณฑ์เสีย และในคืนเดียวกันเอง ทั้งเธอและลูกน้อยก็มีอันล้มป่วยลง โดยเธอได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งที่ไม่สามารรักษา และมีแผลที่เต้านม

ยิ่งเวลาผ่านไปเท่าไร อาการของทั้งสองก็ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ซ้ำมีแต่ทรุดลงเรื่อยๆ จนสุดปัญญา นายฟร็องซัวส์ จึงหันไปหาท่านซึ่งชาวบ้านต่างเคารพยกว่าเป็นนักบุญ เพื่อขออภัยสำหรับการล่วงเกินของพวกเขา และขอให้ท่านช่วยเสนอวิงวอนพระเจ้าให้รักษาทั้งภรรยาและลูกน้อยของเขาให้หายจากโรคร้ายนี้ โดยเขาได้ทำนพวารต่อท่านและขณะจัดนพวาร ท่านก็ประจักษ์มาหาเธอที่กำลังจวนเจียนจะสิ้นใจเต็มที โดยท่านได้ใช้มือของท่านแตะลงไปที่บริเวณที่เธอรู้สึกปวด และรุ่งเช้าของวันถัดมา ทั้งเธอและลูกน้อยก็ถูกพบว่าได้รับการรักษาให้หายขาดจากโรคร้ายอย่างถาวร
ร่างของเยอร์แม็ง กูซังในปัจจุบัน
ด้วยความขอบคุณสองสามีภรรยาจึงได้จัดสร้างโลงแก้วทำจากตะกั่วที่เหมาะสมกับท่าน เพื่อเก็บร่างของท่านไว้ในวัดสืบไป หลังจากนั้นมาความศรัทธาต่อท่านก็ค่อยๆเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ แม้จะไม่มีการรับรองใดๆจากพระศาสนจักรก็ตาม จนล่วงมาเกือบ 200 ปีแห่งมรณกรรม เมื่อเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสซึ่งรัฐบาลชุดใหม่ตั้งตนเป็นปฏิปักษ์กับพระศาสนจักร ในปี ค..1793 ทหารของรัฐสามนายก็บุกเข้ามาที่วัดในหมู่บ้านพิบรัก แล้วทำการขนร่างของท่านไปโยนใส่หลุมที่เตรียมไว้ ก่อนโรยทับด้วยปูนขาวเพื่อเร่งให้ร่างอัศจรรย์ของท่านเน่าสลายไปโดยเร็วขึ้น

เวลาต่อมาทหารทั้งสามนายที่กระทำอุกอาจต่อร่างของท่าน ก็มีอันล้มป่วยลงด้วยอาการผิดปกติต่างๆ หนึ่งในคนหนึ่งมีอาการผิดปกติที่คอ จนไม่สามารถหันหน้ามาข้างหน้าได้ แต่รายที่หนักสุดเห็นจะเป็นทหารที่อายุน้อยที่สุดในกลุ่ม เพราะป่วยเป็นโรคประหลาดจนแทบจะเดินโดยไม่มีไม้ค้ำไม่ได้ แล้วจึงสิ้นใจไปในเวลาไม่นาน ส่วนทหารสองคนที่เหลือภายหลังได้กลับใจ และไม่นานทั้งสองก็ได้รับการรักษาอาศัยคำเสนอวิงวอนของท่านต่อพระเป็นเจ้า
แม้ร่างของท่านจะถูกฝังไป และมีแตกความวุ่นวายปั่นป่วน ความเคารพต่อท่านของชาวบ้านก็มิได้จางหายไปไหน ทุกคนต่างรอคอยกระทั้งเวลาแห่งความสับสนจบลง ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันขุดร่างของท่านขึ้นมา ผลปรากฏว่าร่างของท่านถูกปูนขาวทำลายไปบ้าง แต่โดยรวมแล้วก็ยังสมบูรณ์อยู่ ชาวบ้านจึงได้นำร่างของท่านบรรจุในโลงแก้วและตั้งไว้ในวัดดังเดิม

องค์พระผู้เป็นเจ้ามิเคยหยุดที่จะเชิดชูข้ารับใช้ผู้ต่ำต้อยของพระองค์ ในปี ค..1850 กระบวนการดำเนินเรื่องแต่งตั้งท่านเป็นบุญราศีและนักบุญถูกนำมาปัดฝุ่นอีกครั้ง โดยคราวนี้ได้มีการแนบอัศจรรย์ไปมากกว่า 400 อัศจรรย์ซึ่งมีทุกรูปแบบไม่ว่าจะการรักษาคนตาบอด , คนพิการแต่กำเนิด คนพิการภายหลัง ,คนป่วยหรือการทวีอาหารก็มี(เหตุการณ์เกิดขึ้นที่อารามคณะภคินีศรีชุมพาบาลที่บูร์ชในปี ค..1845) และจดหมายร้องขอให้สันตะสำนักแต่งตั้งท่านเป็นบุญราศีจากทั้งพระอัครสังฆราชและพระสังฆราชในฝรั่งเศสถึงสามสิบฉบับ 
พิธีสถาปนาเยอร์แม็ง กูซังเป็นนักบุญ
สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่ 9 เองก็ทรงประทับใจถึงเรื่องราวของท่าน แต่เนื่องจากเหตุการณ์บ้านเมืองก็ทำให้พระองค์ต้องชะลอการบันทึกนามท่านเป็นบุญราศีไป แต่กระนั้นพระองค์ก็ทรงได้บันทึกนามท่านในสารบบบุญราศีในวันที่ พฤษภาคม ค..1854  และที่สุดในวันที่ 29 มิถุนายน ค..1867 พระสันตะปาปาองค์เดียวกันก็ทรงสถาปนาท่านเป็นนักบุญ จึงทำให้บัดนี้เด็กหญิงที่ไม่มีใครต้องการ ก็ได้กลายเป็น ศักดิ์ศรีแห่งพิบรัก’ 

เมื่อรำพึงถึงสำนวนภาษาละตินที่ว่า ‘Memento Mori’ ที่ความหมายว่า จำไว้เถิดทุกคนต้องตาย เป็นความจริงที่ว่า ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วในวันหนึ่งมนุษย์ทุกคนล้วนต้องไปอยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้า เพื่อรับการพิพากษาตามผลของการกระทำของเราบนโลกใบนี้ ดังนั้นประกาศกอิสยาห์จึงได้ย้ำเตือนเราว่า จงแสวงหาองค์พระผู้เป็นเจ้าเมื่อพระองค์ทรงยอมให้เราพบ (อิสยาห์ 55:6)  เพราะการดำเนินชีวิตในโลกนี้ ซึ่งเราไม่รู้ว่าจะจบลงเมื่อไร คือเวลาที่พระเป็นเจ้า ทรงให้เป็นการพิสูจน์สำหรับเรา ว่าความเป็นนิรันดร์ในสวรรค์นั้นเหมาะสมกับเราหรือไม่
ดังนั้นในวันนี้ขอให้แบบฉบับอันงดงามที่ปรากฏชัดในชีวิตของท่านนักบุญเยอร์แม็ง เด็กหญิงเลี้ยงแกะธรรมดาๆ จากพิบลัก ซึ่งคือการเจริญชีวิตติดตามพระเยซูคริสตเจ้าในทุกๆ โอกาสของชีวิต โดยการพยายามค้นหาน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า ในทุกๆ ช่วงเวลาของชีวิต และพยายามปฏิบัติตามความสามารถของตน ดุจเดียวกับพระนางมารีย์ พระมารดาพระเจ้า ที่น้อมรับน้ำพระทัยของพระเจ้าเสมอในทุกเหตุการณ์ นับตั้งแต่พระวจนาตถ์ทรงรับเอากาย ได้หนุนนำให้เราไม่ยอมเสียเวลาที่มีค่าในชีวิต ในการติดตามพระเยซูคริสตเจ้า ไม่ว่าเราจะอยู่ในสภาพไหน เป็นเด็ก เป็นผู้ใหญ่ เป็นฆราวาส เป็นนักบวช หรือเป็นผู้ป่วย เพราะชีวิตในโลกนี้ของเราจะจบลงเมื่อไร ล้วนไม่มีใครรู้ ท้ายนี้ขอให้เราตระหนักว่าในวันนี้เด็กเลี้ยงแกะธรรมดาๆคนหนึ่ง มีสภาพชีวิตที่น่าอดสู และไม่ได้มีร่างกายที่เพียบพร้อม ยังสามารถเป็นนักบุญได้ เราท่านเองก็สามารถเป็นนักบุญได้ในสวรรค์เช่นกัน

"ข้าแต่ท่านนักบุญเยอร์แม็ง กูซัง ช่วยวิงวอนเทอญ"

ข้อมูลอ้างอิง
http://ville-pibrac.fr/index.php/ville/histoire-de-la-ville/item/4-sainte-germaine

'เบร์นาร์โด ฟรานซิสโก' ให้ชีวิตนี้เป็นสะพานนำรักพระองค์ไป ตอนจบ

บุญราศีเบร์นาร์โด ฟรานซิสโก เด โอโยส เด เซญา Bl. Bernardo Francisco de Hoyos de Seña วันฉลอง: 29 พฤษจิกายน [ย้อนกลับไปอ่าน  “‘เบร์นาร์โด ฟรา...