นักบุญริกการ์โด
ปัมปูริ
St. Riccardo Pampuri
ฉลองในวันที่ : 1 พฤษภาคม
องค์อุปถัมภ์ : ตริโวลซิโอ
ท่านเป็นลูกคนที่สุดท้องจากสิบเอ็ดคนของครอบครัวนายอินโนเซนโซกับนางอันเจลา
ปัมปูริ โดยชื่อที่บิดามารดาตั้งให้ท่านครั้งแรกในวันรับศีลล้างบาปคือ “เอรมีนิโอ ฟิลิปโป ปัมปูริ” ท่านเกิดเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ.1897 ณ หมู่บ้านตริโวลซิโอ เมืองปาวีอา แคว้นลอมบาร์ดี
ประเทศอิตาลี ท่านสูญเสียมารดาตั้งแต่อายุได้เพียง
3 ขวบจากวัณโรค
พร้อมทั้งปัญหาเศรษฐกิจท่านจึงถูกส่งไปอยู่กับพี่สาวมารดาของท่านที่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านโตรริโนใกล้ๆหมู่บ้านตริโวลซิโอ
ต่อมาใน ปี ค.ศ.1907 บิดาท่านก็ประสพอุบัติเหตุทางรถยนต์จนเสียชีวิตที่มิลาน อันเป็นเวลาขณะที่ท่านมีวัยได้ราว
10 ปีและกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนที่หมู่บ้านใกล้ๆกัน
หลังจากนั้นท่านก็เดินทางเข้ามิลานเพื่อรับการศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
แต่เนื่องจากท่านไม่ถูกกับสภาพแวดล้อมของมิลานนัก ลุงของท่านจึงตัดสินใจย้ายท่านกลับมาปาวีอา
เพื่อเข้าโรงเรียนมัธยมอูโก
โฟสโกโล อันโดเด่นด้านสาขาวิทยาศาสตร์
“โตขึ้นผมอยากเป็นคุณหมอ ผมต้องการช่วยคนขัดสน เป็นประโยชน์ให้แก่ทุกคนที่ไม่มีแรงจะก้าวเดินต่อไป” หลังจากจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาจากวิทยาลัยของคณะออกัสติเนี่ยน
ท่านก็เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยปาวีอา ในคณะแพทยศาสตร์ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1915 พร้อมร่วมกลุ่มกิจการคาทอลิก , กลุ่มวินเซนต์
เดอ ปอล และฟรานซิสกันชั้นสาม
แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่
1ประทุขึ้น ในปี ค.ศ.1917 ท่านก็ต้องพักการเรียนเพราะถูกเรียนตัวมารับราชการทหาร
หลังจากนั้นท่านจึงไปประจำการอยู่ที่กาโปเรตโต (Caporetto) ในโรงพยาบาลภาคสนาม และเมื่ออิตาลีต้องถอยทัพเพื่อป้องกันการถูกตีวงล้อม
มันจึงบังเกิดความสับสนอลหม่าน แต่ท่ามกลางความสับสนท่านกลับรวบรวมอุปกรณ์แพทย์ที่จำเป็นต่อผู้ป่วยให้มากที่สุด
ย้ายคนป่วยขึ้นเกวียนเทียมวัว เป็นเวลากว่า 24
ชั่วโมงกว่าท่านจะตามไปสมทบกับเพื่อนทหารของเขา ที่ไม่คิดว่าท่านคงไม่รอดแล้วแน่
วีรกรรมครั้งนี้ของท่านทำให้ท่านได้รับเหรียญรางวัล
แต่หลังจากนั้นท่านก็ล้มป่วยลงด้วยโรคเยื่อหุ้มปอดอักเสบที่ไม่เคยหายขาด
และเช่นกันในสงครามที่ท่านสัมผัสได้ถึงกระแสเรียก มากเสียจนท่านไม่มีใจมุ่งรักษา
หลังจากหนึ่งปีในสงคราม
แม้ยังไม่ถูกปลดประจำการท่านก็ดำเนินการศึกษาต่อ กระทั้งปี ค.ศ.1920 ท่านจึงถูกปลดประจำการด้วยยศร้อยโท
หลังจากนั้นอีกหนึ่งปีในวันที่ 6 กรกฎาคม ท่านจึงจบการศึกษาด้วยคะแนนเกียรตินิยม
ในวันงานเลี้ยงจบการศึกษา ท่านได้กล่าวว่า “ผมกลับบ้านด้วยความคิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องอนาคตของผม
ผมจะอุทิศชีวิตของผมเพื่อคนอื่น ผมจะสละตัวผมเองเพื่อช่วยชีวิตคนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
และเวลานี้ผมต้องการจะเปิดใช้สิทธิ์ทางการแพทย์ในพันธกิจของกิจเมตตา”
สามปีจากนั้นท่านก็ได้ทดลองงานอยู่กับคุณลุงที่เห็นหมอ
และเป็นระยะเวลาสั้นๆที่ท่านได้เป็นผู้ช่วยชั่วคราวในภาคปฏิบัติของนักศึกษาแพทย์ที่เวรนาเต
ใน ค.ศ.1922
ท่านก็ผ่านการฝึกงานด้วนคะแนนเกียรตินิยมที่สถาบันสูติศาสตร์และนรีเวชศาสตร์
หลังจากนั้นในปี
ค.ศ.1923 ท่านจึงได้จดทะเบียนเป็นอายุรแพทย์และศัลยแพทย์ที่มหาวิทยาลัยปาวีอา
ก่อนถูกส่งมาประจำอยู่ที่โมริมอนโด มิลาน ในปีเดียวกัน ชุมชนฟาร์มใกล้ๆบ้านเก่าท่าน
ที่นั่นท่านเป็นที่รักของทุกคน บางครั้งท่านรักษาแล้วไม่เก็บเงิน นอกจากนี้ท่านยังนำยาและเงินที่จำเป็นไปมอบแด่ผู้ขาดแคลนเพื่อมิให้พวกเขาอดอยาก
ท่านเห็นอกเห็นใจผู้ยากไร้และผู้เจ็บป่วยทุกคน และแม้จะยุ่งกับการไปเยี่ยมผู้ป่วยมาทั้งวัน
ท่านก็ไม่ลืมที่จะภาวนาที่ท่านรัก สวดสายประคำ ร่วมมิสซาและมอบวิญญาณผู้ป่วยไว้กับพระเจ้า
เมื่อ ค.ศ.1924
แพทย์ทุกคนต้องยอมรับสหภาพฟาสซิสต์แห่งชาติของแพทย์ ท่านรู้ในทันทีว่าระบบฟาสซิสต์เป็นระบบที่กดขี่ข่มเหง จึงส่งจดหมายลาออก นอกจากนั้นท่ายังช่วยงานคุณพ่อเจ้าวัดด้วยการช่วยตั้งวงดนตรี
กลุ่มกิจการคาทอลิดสำหรับเยาวชนซึ่งท่านดำรงตำแหน่งเป็นประธานคนแรก
ภายใต้การอุปถัมภ์ของนักบุญพระสันตะปาปาปิอุสที่ 10 และยังเป็นเลขานุการของธรรมทูตเขตวัดที่มีหน้าที่ช่วยเหลือสังคม ท่านจัดการเข้าเงียบเป็นประจำสำหรับกลุ่มเยาวชน
คนงานในฟาร์มและแรงงานในท้องถิ่น ที่วิลลา เดล ซาโกร กัวเร (Villa del Sacro Cuore) ของคุณพ่อคณะเยซูอิต ด้วยเงินส่วนตัวของท่านเอง
ซึ่งบางครั้งท่านก็เชิญเพื่อนๆมาร่วมด้วย
แม้จะต้องขัดแย้งกับคุณลุง
แต่ในที่สุดในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ.1927 เริ่มชีวิตนวกะที่เบรชชา และเข้าพิธีปฏิญาณตนในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1928 พร้อมนามใหม่ว่า “ภารดาริกการ์โด” หลังจากการฝึก ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ดูแลคลินิกทันตกรรมของโรงพยบาลของคณะที่เบรชชา
“ผมภาวนาเพื่อว่าความภาคภูมิใจและความเห็นแก่ตัวจะมิหยุดผมจากการได้เห็นพระเยซูเจ้าในผู้ป่วยของผม” ท่านกล่าว
ในหน้าที่ใหม่ท่านบริการพวกเขาอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยอย่างเต็มใจ
แม้ส่วนมากพวกเขาจะเป็นคนยากไร้หรือแรงงานก็ตาม แต่แล้วในปี ค.ศ.1929
ระบบทางเดินหายใจของท่านก็ยิ่งแย่ลงจากทั้งอาการป่วยเดิมและวัณโรค ส่งให้ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ.1930 อาการของท่านก็ยิงแย่ลงจนต้องพักงานในคลินิกไว้ ดังนั้นในวันที่ 27 เมษายน จึงมีการลงมติย้ายท่านไปบ้านคณะที่มิลาน ท่านพำนักอยู่ที่นั่นกระทั้งเช้าวันที่
1 พฤษภาคม
พร้อมกางเขนในมือท่านก็ได้ลาโลกนี้ไปอย่างสงบในวัย 32 ปี “ฉันดีใจที่จะได้ออกไป ความคิดเรื่องสวรรค์ตราตรึงดวงใจของฉันและฉันเตรียมตัวเองให้พร้อมเป็นผู้ชายคนหนึ่งที่กำลังจะเข้าพิธีวิวาห์”
หลังจากนั้นความศักดิ์ของท่านก็แพร่ไปทั่วยุโรป
หรรษทานมากมายเกิดผ่านคำเสนอวิงวอนของท่าน ผ่านการอนุมัติอัศจรรย์
สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ก็ได้ทรงบันทึกนามท่านไว้ในสารบบุญราศีในวันที่
4 ตุลาคม ค.ศ.1981 และถัดจากนั้นอีกแปดปีจากอัศจรรย์ที่สเปน กับการรักษาตาของเด็กชายมานูเอล
ท่านก็ถูกสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2
ยกท่านขึ้นไว้ท่ามกลางนักบุญทั้งหลาย เคียงคู่นักบุญยอห์น แห่ง พระเจ้า ในวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย
ค.ศ.1989 ปัจจุบันร่างของท่านอันไม่เน่าเปื่อยถูกรักษาไว้ในโรงแก้ว
ของวัดตริโวลซิโอ บ้านเกิดท่าน
“แม้ว่าข้าพเจ้าเป็นอิสระ
ข้าพเจ้าก็ยอมเป็นทาสรับใช้ทุกคน เพื่อเอาชนะใจผู้อื่นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้” (1 โครินธ์ 9:19) ชีวิตอันศักดิ์ของท่าน
คือ การให้บริการ ทำให้เราเข้าใจพระวาจาบทนี้มากขึ้น
การเป็นอิสระเปรียบได้กับการที่ท่านมีอิสระในการทำงานเหมือนเรา ส่วนการเป็นทาสเปรียบได้กับการบริการพี่น้องของท่าน
ทำไมท่านถึงบริการเพื่อนมนุษย์ด้วยใจละ คำตอบง่ายๆคือท่านเห็นพระเยซูเจ้าในตัวของทุกๆคน
ไม่ว่าเขาจะจนจะดำจะรวยจะขาวก็ตาม ประการฉะนี้เองที่ทำให้ท่านอบอวลไปด้วยกลิ่นของความศักดิ์
เช่นกันมันไม่ยากหรอกที่เราจะเป็นนักบุญ ขอเพียงแค่เราชนะใจตัวเองให้ได้ก็พอ ใจที่ทระนง
“ข้าแต่ท่านนักบุญริกการ์โด ปัมปูริ ช่วยวิงวอนเทอญ”
ข้อมูลอ้างอิง