วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

"แมเรียน โคป" ธรรมทูตดินแดนอะโรฮา


นักบุญแมเรียน โคป
St. Marianne Cope
ฉลองในวันที่ : 23 มกราคม
องค์อุปถัมภ์ : คนโรคเรื้อน , คนจรจัด , ผู้ป่วยเอสไปวี , รัฐฮาวาย

นามรับศีลล้างบาปท่านคือ มารีอา อันนา บาร์บารา คูบ (เปลี่ยนเป็น โคบ ทีหลัง)  ท่านเกิดเมื่อวันที่ 23 มกราคม ค..1838 แกรนด์ดัชชีเฮสเซิน ทางภาคตะวันตกของประเทศเยอรมันในปัจจุบัน เป็นบุตรหัวปลีจากสิบคนของนายพีเตอร์ คูบ ชาวนา กับ นางบาร์บารา วิทเซนบาเกอร์ หลังจากนั้นอีกหนึ่งปี ครอบครัวของท่านก็หอบสัมภาระและลูกๆไปตั้งรกรากอยู่ที่ยูทิกา เขตวัดนักบุญยอแซฟ รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา



ท่านเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนจนกระทั้งถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 บิดาท่านก็ล่มป่วยลง ทำให้ท่านในฐานะลูกคนโตจึงต้องออกมาทำงานในโรงงาน เพื่อช่วยหารายได้มาจุนเจือครอบครัว กระทั้งปี ค..1862 เมื่อบิดาท่านเสียชีวิตลงและน้องๆก็พอที่จะช่วยจุนเจือครอบครัวได้แล้ว ท่านก็ได้ไปตามกระแสเรียกของท่านที่มีมาแต่ครั้งเยาว์วัย ท่านได้สมัครเข้าเป็นนวกะฟรานซิสกันขั้นสาม ใน ซีราคิวซ์   รัฐนิวยอร์ก ในปลายฤดูร้อน ปีเดียวกันด้วยอายุขนาดนั้น 24 ปี หลังจากนั้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน ก็ได้รับชุดคณะและได้เข้าพิธีปฏิญาณตนในอีกหนึ่งปีถัดมาด้วยนามใหม่ ซิสเตอร์แมเรียน

หลังจากนั้นท่านก็ไปประจำสอนอยู่ที่โรงเรียนที่พึ่งจัดตั้งขึ้นสำหรับชาวเยอรมันที่อพยพมาในภูมิภาค และอีกหลายโรงเรียนในนิวยอร์ก หลังจากนั้นในปี ค..1860 ท่านก็ได้เป็นคณะกรรมการดูแลคณะของท่าน และได้ร่วมตั้งโรงพยาบาลเซนต์เอลิซาเบท (..1866) ที่ยูทิกา และ โรงพยาบาลเซนต์โจเซฟ (..1869) ที่ซีราคิวซ์   ซึ่งเป็นโรงพยาบาลคาทอลิกสองแห่งแรกในตอนกลางของรัฐนิวยอร์ก โรงพยาบาลที่อ้าแขนรับทุกคน ไม่ว่าชาติไหน ภาษาไหน ผิวสีอะไร



ในปี ค..1870 ท่านก็ได้ย้ายไปประจำในโรงพยาบาลเซนต์โยเซฟ ที่ซีราคิวซ์ ในฐานะผู้จัดการของโรงพยาบาลเป็นระยะเวลาหกปี ซึ่งท่านกล่าวเสมอว่ามันคือเรื่องท้าทายของท่าน แต่มันก็เคยเกินความสามารถท่าน ท่านเป็นผู้นำในการดูแลสุขภาพ ผู้มีพลังจากพระเจ้า  ถัดมาเมื่อมีการย้ายวิทยาลัยแพทย์เจนีวาแห่งโฮบาร์ตวิทยาลัยย้ายเป็นวิทยาลัยแพทย์ที่มหาวิทยาลัยซีราคิวซ์ ในปี ค..1871 ตามสัญญาของท่านที่จะรับนักศึกษาของวิทยาลัยมาฝึกงานในโรงพยาบาล เพื่อส่งเสริมการศึกษาของพวกเขา แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ป่วย (และด้วยผลจากที่ท่านได้ทำงานเคียงข้างกับแพทย์จากวิทยาลัยที่ก้าวหน้าที่สุด ท่านจึงซึมซับเรื่อระบบของโรงพยาบาล การพยาบาลและเภสัชกรรม)



ท่านเป็นผู้สนับสนุนด้านสุขอนามัยอย่างเข้มงวด อาทิ การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธีก่อนไปปรนนิบัติผู้ป่วย บ่อยครั้งท่านก็ถูกวิพากษ์วิจารจากการรักษาผู้ป่วย จรจัด เช่นผู้ป่วยจากโรคพิษสุราเรื้อรัง โรคที่ทำให้แพทย์ในสมัยนั้นถึงกลับต้องขมวดคิ้วที่จะรับเข้ารักษาในโรงพยาบาล มันจึงเป็นเรื่องแปลก  ประการฉะนี้ท่านจึงเป็นที่รู้จักและที่รักจากคนในภาคกลางของรัฐนิวยอร์กสำหรับความเมตตา สติปัญญาและการลงพื้นที่ของท่าน

ดิฉันหิวกระหายการทำงานและดิฉันปรารถนาจะเป็นหนึ่งในคนที่ถูกเลือกด้วยหมดดวงใจของดิฉัน ผู้มีสิทธิ์จะได้สละตัวเองเพื่อความรอดของวิญญาณชาวเกาะผู้น่าสงสาร …….. ดิฉันมิกลัวโรคใดๆ เพราะฉะนั้นมันจะเป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่ของดิฉันแม้แต่ปรนนิบัติคนโรคเรื้อนที่ถูกทอดทิ้ง ..1883 ท่านตอบรับจดหมายจากพระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย หมู่เกาะแซนด์วิชหรือฮาวายที่เขียนมาร้องขอให้ส่งสมาชิกคณะไปเปิดโรงเรียนและโรงพยาบาลซึ่งมากกว่า 50 คณะปฏิเสธ ยกเว้นท่าน  จดหมายนี้สัมผัสหัวใจท่านว่ามันคือเรื่องจำเป็นและเร่งด่วน ท่านมิกลัวโรคเรื้อน ด้วยการอุทิศตนต่อนักบุญฟรานซิส แห่ง อัสซีซี ผู้รับใช้ผู้ป่วยที่ยากไร้และด้วยความห่วงใยคนโรคเรื้อน ท่านตระหนักได้ว่าฮาวายคือน้ำพระทัยของพระเจ้า



ดังนั้นท่านซิสเตอร์อีกหกคนจึงลงเรือมุ่งสู่พันธกิจใหม่ที่ฮาวาย ระฆังอาสนวิหารแม่พระแห่งสันติภาพดังขึ้น เรียกให้ฝูงชนมาที่ท่าเรือ เมื่อพวกท่านมาถึงท่าเรือโฮโนลูลูในวันที่ 8 พฤศจิกายน ค..1883 ด้วยเรือเอสเอส มารีโปซา หลังจากนั้นท่านก็นำสมาชิกไปบริหารโรงพยาบาลกากาอาโก สาขาของโรงพยาบาลโอวาฮูอันเป็นสถานที่รับผู้ป่วยโรคเรื้อนจากทั่วทั้งเกาะ ถัดจากนั้นตามคำร้องขอจากทางรัฐบาลท่านก็ได้ก่อตั้งโรงพยาบาลมาลูลานิ โรงพยาบาลทั่วไปแห่งแรกบนเกาะเมาอิ ในปี ค..1884 แต่แล้วเรื่องวุ่นวายก็เกิดขึ้นเมื่อทางรัฐบาลได้ละเมิดกฎแต่งตั้งผู้ดูแลระบบของคนโรคเรื้อนโรงพยาบาลกากาอาโก ท่านจึงต้องกลับไปที่นั่นและยืนคำขาดกับรัฐบาลว่าจะถอดถอนผู้ดูแลคนนั้นออกหรือให้ซิสเตอร์ทั้งหมดกับซีราคิวซ์ การยื่นคำขาดนี้ทำให้ท่านต้องแบกรับค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลอันแออัดอย่างเต็มที่ ท่านคาดว่าคงจะได้กลับซีราคิวซ์ แต่ผิดคาดเมื่อทางรัฐบาลและพระศาสนจักรประกาศว่าการเป็นผู้นำของท่านสำคัญต่อความสำเร็จของพันธกิจ

หลังจากสองปีแห่งความสำเร็จ การต่อสู้ พระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวายก็ได้ทรงพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์คาปิโอลานิสำหรับความเมตตาต่อผู้ทุกข์ทรมานของท่าน ก้าวต่อไปของท่านต่อชาวฮาวายคือในเดือนพฤศจิกายน ค..1885 ท่านก็ได้เปิดบ้านคาปิโอลานิ ในพื้นที่ของโรงพยาบาล เพื่อดูแลเด็กสาวของผู้ป่วย  เพราะไม่มีใครนอกจากบรรดาซิสเตอร์ที่ดูแลคนใกล้ตัวผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด



ท่านมีโอกาศได้พบกับนักบุญดาเมียน แห่ง โมโลไก ครั้งแรกในเดือนมกราคม ค..1884 เมื่อเขามาร่วมพิธีเสกวัดน้อยที่โรงพยาบาล ที่ โออาฮู กระทั้งใน ค..1886 เมื่อคุณพ่อติดโรคเรื้อน ท่านก็เป็นคนเดียวที่อ้าแขนรับท่านเข้ามาพักรักษาตัว หลังจากทราบว่าอาการป่วยของคุณพ่อทำให้ไม่มีใครกล้ามาเยี่ยมคุณพ่อจากทั้งทางรัฐบาลและผู้ใหญ่ทางศาสนาในโฮโนลูลู ท่านได้จัดเตรียมทุกอย่างให้พร้อมและทำให้แน่ใจว่าคุณพ่อจะได้รับการรักษาที่ดีตลอดระยะเวลาสั้นๆของการพักรักษาตัว

การดูแลของท่านทำให้การเนรเทศผู้ป่วยโรคเรื้อนไปที่เกาะโมโลไกเริ่มซาลง เป็นระยะเวลาหลายปีที่ผู้ป่วยใหม่มิได้ถูกเนรเทศไป แต่แล้วในปี ค..1887 เมื่อรัฐบาลใหม่สั่งปิดโรงพยาบาลสำหรับพวกเขาในโออาฮู เพื่อหันกลับมาใช้นโยบายเนรเทศแบบเดิม คำถามก็ผุดขึ้นมา แล้วใครจะดูแลพวกเขากันละ?  มันจึงเป็นอีกครั้งหนึ่งท่านก็ถูกขอให้ไปเปิดบ้านสำหรับเด็กหญิงและหญิงสาวที่คาบสมุทรคาลาวปาปา เกาะโมโลไก



พวกเราจะมีความสุขที่ยอมรับการทำงานค่ะ ……” คำตอบรับของท่าน ดังนั้นพฤศจิกายน ค..1888 ท่านจึงเดินทางไปยังคาเลาปาปาพร้อมซิสเตอร์สองคนคือซิสเตอร์เลโอโปลดินา เบิร์นส์ กับ ซิสเตอร์วินเซนเทีย แม็คคอรมิก และได้อยู่ดูแลคุณพ่อดาเมียนที่ป่วยอยู่ ปลอบประโลมเขาว่าไม่ต้องห่วงอะไรบ้านเด็กชายที่การาวาว เพราะท่านจะเป็นคนดูแลเอง กระทั้งถึงวันที่คุณพ่อจากไป

15 เมษายน ค..1889  เพียงสองอาทิตย์หลังจากการจากไปของนักบุญดาเมียน คณะกรรมการสุขภาพของโฮโนลูลู ก็ได้มีมติให้ท่านสานต่องานของคุณพ่อดาเมียนที่บ้านเด็กชายอย่างเป็นทางการ เรื่องแรกที่ท่านเริ่มดำเนินการก็คือการจัดสร้างบ้านใหม่จากการสนับสนุนของนักธุรกิจพื้นเมืองนามเฮนรี เพอร์รีน บอร์ดวิน  เมื่อเสร็จแล้วท่านก็ได้เชิญคณะพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้าและพระแม่มารีย์มาดูแลเด็กๆต่อและส่วนท่านพร้อมผู้ช่วยก็ถอนตัวไปดูแลบ้านสังฆราชสำหรับสตรีและเด็กหญิงที่เป็นโรคเรื้อน เมื่อพวกเขามาถึงในปี ค..1895



นอกจากการพยาบาลแล้ว ท่านก็ยังสนับสนุนด้านการศึกษาในโรงพยาบาล ความสามัคคี เย็บปักถักร้อย ทิวทัศน์ ท่านเชิญคุณพ่อจากวัดนักบุญฟรานซิสในคาลาวปาปามาให้ความรู้ด้านศาสนาแก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาล ท่านให้อิสระแก่ทุกคน  ท่านสอนบรรดาซิสเตอร์ของท่านถึงหน้าที่ว่า ทำให้ชีวิตเป็นที่พอใจและสบายเท่าที่ทำได้สำหรับบรรดาเพื่อนมนุษย์ของเราผู้ที่พระเจ้าได้ทรงเลือกสรรให้ทรมานด้วยโรคร้ายนี้…..”  ท่านถึงแก่มรณกรรมอย่างสงบในวันที่ 9 สิงหาคม ค..1918 ด้วยอายุ 80 ปี  โดยมิได้ติดโรคเรื้อนเลย ร่างของท่านถูกฝังอยู่ที่สนามบ้านสังฆราช



หลัจากนั้นเรื่องราวคุณธรรมความเมตตา ความอ่อนโยน ก้ท่านก็ได้รับการดำเนินการไปสู่สันตะสำนัก ที่สุดแล้วหลังจากการความยินดีผ่านพ้นมาเมื่อพระคาร์ดินัลโยเซฟ รัทซิงเกอร์ ชาวเยอรมันได้ทรงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ท่านก็ได้รับการประกาศให้เป็นบุญราศีองค์แรกในรัชสมัยของพระองค์ ในวันที่ 14 พฤษภาคม ค..2005 และถัดจากนั้นอีกเพียงเจ็ดปีพระองค์ก็ได้ทรงบันทึกนามท่านพร้อมบุญราศีอีก 6 องค์เป็นนักบุญ เมื่อวันที่  21 ตุลาคม ค..2012 ที่ผ่านมานี้เอง

เขาเอื้อเฟื้อเเจกจ่าย เขาให้เเก่คนยากจน ความชอบธรรมของเขาดำรงอยู่ตลอดนิรันดร ( 2 โครินธ์ 9:9 ) ชีวิตท่านดำรงอยู่ในกิจเมตตากับทั้งคนจรจัดในนิวยอร์กที่ป่วยด้วยโรคพิษสุรา คนโรคเรื้อนในฮาวาย ที่ท่านปลอบประโลมพวกเขาเสมอ นำพาวิญญาณพวกเขา ไม่ใช่แค่นั้นท่านยังสอนให้บรรดาซิสเตอร์รู้จักที่ปฏิบัติเช่นเดียวกัน จึงไม่แปลกที่ท่านไม่ติดโรคเรื้อนจากพวกเขา แม้ว่าท่านจะทำงานใกล้ชิดพวกเขาก็ตาม



ข้าแต่ท่านนักบุญแมเรียน โคบ ช่วยวิงวอนเทอญ


ข้อมูลอ้างอิง

'เบร์นาร์โด ฟรานซิสโก' ให้ชีวิตนี้เป็นสะพานนำรักพระองค์ไป ตอนจบ

บุญราศีเบร์นาร์โด ฟรานซิสโก เด โอโยส เด เซญา Bl. Bernardo Francisco de Hoyos de Seña วันฉลอง: 29 พฤษจิกายน [ย้อนกลับไปอ่าน  “‘เบร์นาร์โด ฟรา...