วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

จากราชินีสู่ชีลับ "คินกา"


นักบุญคินกา
St. Kinga of Poland
ฉลองในวันที่ : 24 กรกฎาคม
องค์อุปถัมภ์ : ประเทศโปแลนด์ , ประเทศลิทัวเนีย , คนงานเหมืองเกลือ

          ระฆังย่ำตีสนั่นแคว้น        เหตุใด พี่เอย
                                                      แว่วแวะมาแต่ไกล                   ฉะนี้
                                                      ประกาศเหตุรึใดไหน                ดีไป่ ร้ายไป่
                                                      ช่างเสนาะชวนฟังหยิ้ง              แน่หยิ้งเป็นไหน
เอสเตอร์กอม ฮังการี 5 มีนาคม ค..1234 กษัตริย์เบลา ที่ 4 แห่ง ฮังการี  กับ พระราชมเหสีของพระองค์พระนางมารีอา ลาสคารินา พร้อมเหล่าพสกนิกรก็ได้ต้อนรับพระธิดาองค์ใหม่ ซึ่งได้รับศีลล้างบาด้วยพระนามว่า คินกา และถ้าเราลองไล่ดูพระญาติของเจ้าหญิงองค์น้อยแล้ว พวกเราก็จะพบว่าพระธิดาองค์นี้มีฐานะเป็นหลานสาวของนักบุญเอลิซาเบธ แห่ง ฮังการี ผู้ศักดิ์สิทธิ์ เหลนของนักบุญเจดวิกา แห่ง ซิเลเซีย และพี่สาวของนักบุญมาร์กาเร็ต แห่ง ฮังการี กับ บุญราศีโยลันดา แห่ง โปแลนด์

ในฐานะเจ้าหญิงองค์น้อย ท่านถูกเลี้ยงดูและปลูกฝังความเชื่อในราชสำนักของพระราชบิดาโดยมิได้ขาดตกบกพร่องแต่ประการใด จนล่วงเมื่อมีชันษาได้ 5 ปี ท่านจึงได้เข้าพิธีหมั้นแบบคลุมถุงชนกับโบเลนสลาว สตีดลีวี  วัย 13 ปี ดยุกแห่งคราคูฟและซานโดเมียร์ซ  เพื่อสร้างสัมพันธไมตรี ฟื้นฟูและนำพาฮังการีให้ผ่านพ้นไปวิกฤตในฐานะ มารดาของจิตวิญญาณ จึงเป็นเหตุที่ท่านจึงจำต้องได้รับการดูแลจากพระนางกรีมิสลาวา แห่ง ลุกค์ พระราชมารดาของโบเลนสลาว ซึ่งได้นำตัวท่านไปยังราชสำนักซานโดเมียร์ซ ในประเทศโปแลนด์ ด้วยเหตุพระนางทรงดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหญิงแห่งโปแลนด์



เจ้าหญิงน้อยกับแผ่นดินใหม่ ช่างเต็มไปด้วยความยากลำบาก ทั้งต้องหลบหนีจากภัยสงครามของกลุ่มตาตาโรฟ (Tatarów) ในปี ค..1241 และผู้คนที่แตกต่าง แต่พอผ่านความลำบากต่างๆไปแล้ว ก็นับเ็นโชคนักที่ชีวิตในราชสำนักของท่านนั้น รายล้อมไปด้วยบุคคลสำคัญทางศาสนาหลายคน ที่ล่วนแต่มีผลต่อการศึกษาของท่าน นอกจากนั้นท่านยังได้พบจิตตารมณ์แห่งฟรานซิส การปฏิบัติต่อผู้ยากไร้ ชีวประวัติของนักบุญคลาราและนักบุญฟรานซิสแห่งอัสซีซี ซึ่งล้วนแต่สร้างความประทับใจให้ตราตรึงอยู่ในวิญญาณของท่านมิเสื่อมสลาย จนท่านตัดสินใจยึดเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต โดเริ่มจากการทำงานกับผู้อื่นด้วยใจมิโน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่ง และก็เป็นในราชสำนักนี้เอง ที่ท่านได้ศึกษาภาษาละติน พื้นฐานศาสนาคริสต์ ประวัติศาสตร์ของต้นตระกูลทั้งของท่านและพระราชสวามี

ท่านได้รับการอบรมและขัดเกลาจนเมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว งานพระราชพิธีสมรสของท่านจึงถูกจัดขึ้นในปี ค..1246 เมื่อท่านมีชันษาได้ราว 13 ปี  แต่ถึงกระนั้นท่านก็ปฏิญาณที่จะถือพรหมจรรย์ เช่นเดียวกันกับบุญราศีซาโลเมียร์แห่งคราคูฟ พระเชษฐภคินีของพระราชสวามีของท่าน ที่ท่านคุ้นเคยและเป็นคู่หูกันมาตั้งแต่เล็กๆ ตั้งแต่นั้นมา



อัศจรรย์แห่งก้อนเกลือ - ตามตำนานกล่าวไว้ว่าก่อนที่ท่านจะเข้าพิธี พระราชบิดาท่านได้ตรัสถามว่าท่านปรารถนาสิ่งใดเป็นสินสอดทองหมั้นเพิ่มไหม ฝั่งท่านจึงตอบในทันทีว่าเกลือฮังกาเรียนสำหรับประชาชนโปแลนด์ ดังนั้นพระราชบิดาท่านจึงพระราชทานเหมืองเกลือร่ำรวยที่ทรานซิลเวเนียกับที่มาร์มาร์โรสซ์ให้ ซึ่งเมื่อได้กรรมสิทธิ์ ณ เหมืองนั้นแล้ว ท่านก็ได้โยนแหวนหมั้นของท่านลงไปในอุโมงค์ขุดหินเกลือ ก่อนที่จะพาคนงานเหมือนเกลือที่ชำนาญตามเสด็จไปด้วย จนเมื่อมาถึงยังโปแลนด์และเสร็จพิธีต่างๆนานาแล้ว ท่านจึงได้เดินทางไปยังวีลิซกา(Wieliczka) พร้อมชี้จุดที่จะขุดเกลือขึ้นมา และเมื่อคนงานที่เริ่มขุด พวกเขาก็พบกับหินก้อนหนึ่ง ท่านจึงมีรับสั่งให้ยกขึ้นมา และก็ต้องพบว่ามันคือก้อนเกลือบริสุทธิ์ ที่ด้านในมีแหวนหมั้นของท่านอยู่เป็นอัศจรรย์ ฝั่งท่านเมื่อเห็นดังนั้นแล้ว ก็ได้โมทนาขอบพระคุณพระองค์ สำหรับเกลือ และนับจากนั้นมาก็มีการทำเกลือกันในโปแลนด์ตราบจนปัจจุบัน และด้วยเหตุฉะนี้เช่นกัน ท่านจึงกลายมาเป็นองค์อุปถัมภ์ของคนงานเหมืองเกลือ

หลังจากเข้าพระราชพิธีเสกสมรสแล้ว ท่านก็เลือกการเป็นมารดาผู้เป็นพรหมจรรย์ของประเทศ ท่านเริ่มจากให้สนับสนุนทางการเงินของรัฐ  โดยท่านได้มอบเงินสินสอดให้พระสวามีของท่าน เพื่อใช้ปกป้องประเทศจากการบุกของพวกตาตาโรฟและฟื้นฟูประเทศจากความเสียหายแห่งสงคราม แล้วยังมอบให้วัด อารามและสถานพังพิง จากนั้นท่านช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างราชวงศ์ที่บ่อนทำลายรากฐานของโปแลนด์ พร้อมยังช่วปกป้องหญิงหม้าย คนยากจนและเด็กกำพร้าโดยใช้กฏหมายในชั้นศาล นอกจากนั้นแล้ว ในทางอ้อมๆท่านยังได้มีส่วนร่วมในการดำเนินเรื่องสถาปนาพระสังฆราชสตานิสลาอุส (bishop Stanislaus) มรณสักขี เป็นนักบุญ และมากไปกว่านั้นท่านยังคอยสนับสนุนวัฒนธรรมของโปแลนด์ ทั้งกวีศิลป์ คีตศิลป์และวรรณศิลป์  โดยเฉพาะภาษาโปแลนด์ให้ดำรงต่อไป


ส่วนงานด้านพระศาสนา ท่านและพระราชสวามีได้นำคณะฟรานซิสกันและคณะกลาริสมาสู่โปแลนด์ โดท่านมอบได้มอบทรัพย์สินสำหรับคณะทั้งสอง พร้อมวางรากฐานของอารามและวัด และใน ปี ..1271  ท่านก็ได้พาพระราชสวามีท่านไปปฏิญาณรักษาพรหมจรรย์ อันเป็นเหตุที่ท่านไม่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเลยกระทั้งสิ้นสวรรคต

ท่านดำรงตำแหน่งพระราชินีแห่งโปแลนด์สนองงานพระราชสวามี จนถึงในปี ค..1279 พระราชสวามีท่านจึงสวรรรคต ฝั่งท่านจึงได้สละทรัพย์สมบัติต่างๆ แล้วออกจากคราคูฟมุงตรงสู่สตาเรม ซังซู (Starym Sączu) พร้อมตั้งอารามกลาริสขึ้น ณ ที่นั่น และเข้าประทับอยู่ในอารามนั้น  ตั้งแต่ปี ค..1280 เป็นต้นมา ซึ่งระหว่างนี้เอง ท่านได้ริเริ่มให้มีการแปลเพลงสดุดีของดาวิดเป็นภาษาโปแลนด์ พร้อมแนะให้ซิสเตอร์ที่เป็นนักขับใช้เพลงภาษาโปแลนด์ ท่านประทับอยู่ที่นั่นได้แปดปีในท้ายปี ค..1288 เมื่อพวกตาตาโรฟยกทัพมาอีกครั้ง ท่านและซิสเตอร์ในอารามก็ต้องลี้ภัย กระทั้งฤดูหนาวปีถัดมา ท่านและซิสเตอร์ในอารามจึงได้ย้ายกลับมา


และหลังจากนั้นอีกหนึ่งปีท่านก็ได้เข้าเป็นนวกะในคณะกลาริส นับตั้งแต่วันที่ 24 เมษายนเรื่อยมา กระทั้งได้เข้าพิธีปฏิญาณตนในวันที่ 21 กันยายน ค..1291 แต่อนิจจายินดีได้ไม่เท่าไร ไม่นานท่านก็เริ่มป่วย จนต้องล้มหมอนนอนเสื่อนานถึง 10 เดือน แต่กระนั้นท่านก็ยังคงดำรงอยู่ในสันติ มีมิสซาคอยเติมพลังให้ในทุกๆวัน และเมื่อแข็งแรงพอลุกไหว ท่านก็จะลุกขึ้นมาเย็บเสื้อสำหรับผู้ยากไร้ คนป่วยและเด็กกำพร้า จนที่สุดแล้วราชินีผู้อ่อนน้อม ผู้เจริญชีวิตจิตภาวนาอย่างที่รัก ไม่เคยถือฐานันดร ก็ได้สิ้นใจอย่างสงบด้วยพระชนม์พรรษา 68 ปี ในวันที่ 24 เมษายน ค..1292

ร่างของราชินีถูกฝังไว้ที่ห้องใต้ดินของอารามอย่างเรียบง่าย และเมื่ออัศจรรย์บังเกิดที่หลุมฝังพระศพของท่าน ก็จึงได้มีการขุดนำเอาพระธาตุของท่านมาบรรจุไว้ในที่บรรจุพระธาตุ การดำเนินเรื่องขอแต่งตั้งท่านเป็นบุญราศีนั้นใช้เวลายาวนานนับสี่ร้อยปี แต่ที่สุดแล้วสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 8 ก็ทรงลงพระนามอนุมัติให้คารวียะคินกาขึ้นเป็นบุญราศี ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน ค..1690 ถัดจากนั้นอีกราวสองร้อยปี ในรัชสมัยของสันตะบิดาผู้ใจดี สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ก็ทรงได้บันทึกนามท่านไว้ในสารบบนักบุญ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค..1999 เป็นต้นมา


 “จงอยู่อย่างสันติกับทุกคน(โรม 12:17) ในฐานะราชินีท่านได้นำสิ่งต่างๆสู่โปแลนด์เพื่อประชาชนของท่าน ไม่ว่าเหมืองเกลือ หรือเงินทุนในการบูรณะประเทศ โดยที่ประชาชนมิต้องร้องขอ ท่านไม่ละทิ้งพวกเขาตลอดหน้าที่ของท่าน ท่านยังสร้างสันติภายในครอบครัวเพื่อประชาชน ท่านปฏิบัติสิ่งเหล่านี้เพื่อให้เกิดแต่ความร่มเย็นแก่ประชาชน เช่นกันเราก็ต้องสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและกัน โดยมุ่งหวังประโยชน์ส่วนรวมตามหน้าที่ของเราแต่ละคน แม้มันจะดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ด้วยวิถีทางเล็กๆนี้แหละที่จะพาให้ประเทศชาติร่มเย็น โลกมีสันติ และท้ายสุดในวันที่ต้องไปพบพระตุลาการของพวกเรา พวกเรากอดจะคอกันเข้าสวรรค์ไปด้วยความสุข


ข้าแต่ท่านนักบุญคินกา ช่วยวิงวอนเทอญ
 ข้อมูลอ้างอิง

'เบร์นาร์โด ฟรานซิสโก' ให้ชีวิตนี้เป็นสะพานนำรักพระองค์ไป ตอนจบ

บุญราศีเบร์นาร์โด ฟรานซิสโก เด โอโยส เด เซญา Bl. Bernardo Francisco de Hoyos de Seña วันฉลอง: 29 พฤษจิกายน ผู้ใหญ่ในคณะคนแรก ๆ ที่ท่านแสวงหา...