นักบุญยูเซปเป
โมสกาติ
St.Giuseppe Moscati
ฉลองในวันที่ : 16 พฤษจิกายน
คุณหมอยูเซปเป ตามสูจิบัตรแล้วเกิดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ.1880 ที่เมืองเบเนเวนโต จังหวัดเบเนเวนโต แคว้นกัมปาเนีย ประเทศอิตาลี บิดาคือ นายฟรานเชสโก โมสกาติ
ผู้พิพากษาประจำเมือง มารดาคือนางโรซา เด ลูกา มาร์ควิสแห่งโรเซโต ท่านได้รับศีลล้างบาปหกวันหลังจากที่ท่านเกิดซึ่งตรงกับวันฉลองนักบุญอิกญาซิโอ
แห่ง โลโยลา ที่บ้านโดยคุณพ่ออิโนเชนโซ มาโย
ครอบครัวของท่านพำนักอยู่ที่เบเนเวโตอยู่สี่ปี
ในปี ค.ศ.1881 เมื่อบิดาท่านได้เลื่อนเป็นที่ปรึกษาศาลอุทธรณ์ ครอบครัวของท่านจึงย้ายไปอาโกนา
และอยู่ที่นั่นอีกสี่ปีบิดาท่านก็ได้รับเลื่อนให้เป็นประธานศาลอุทธรณ์
ครอบครัวของท่านจึงย้ายเข้าเนเปิลส์ตั้งแต่ ค.ศ.1884
เมื่ออายุได้ 8 ปี ในวันที่ 8
ธันวาคม ค.ศ.1888 ท่านก็ได้รับศีลมหาสนิทครั้งแรก ที่
วัดของคณะสตรีผู้รับใช้พระฤทัยศักดิ์สิทธิ์ และในวัดนี้ท่านก็มักพบกับบุญราศีบาร์โตโล
โลนโก ผู้ก่อตั้งสักการสถานแม่พระแห่งปอมเปอี
ท่านได้รับการโปรดศีลกำลังเมื่อท่านมีอายุได้ 10 ปี
การศึกษาหลังจากจบระดับชั้นประถมศึกษา
ท่านก็ได้เข้ารับการศึกษาต่อในระดับมัธยมที่วิตโตริโอ เอมานูเอเล (Vittorio Emanuele)
ที่นั่นท่านแสดงออกถึงความรักต่อการศึกษาและความศรัทธา
จนครูต่างพากันชื่นชมท่านทุกๆปี และเมื่อท่านจบการศึกษาในปี ค.ศ.1987 ท่านก็มีคะแนนที่ดีเยี่ยม
หลังจากนั้น ท่านก็ลงเรียนต่อในภาควิชาแพทยศาสตร์
ณ มหาทวิทยาลัยเมืองเนเปิลส์ แต่ในปีเดียวกันนั้นบิดาของท่านก็เสียชีวิตลง
หลังจากนั้นสามปีท่านเพียรศึกษา กระทั้งจบด้วยคะแนนเกียรตินิยมในวันที่ 4 สิงหาคม
ค.ศ.1903
หลังจากนั้นระหว่างปี
ค.ศ.1903 – ค.ศ.1908 ท่านก็ได้ไปทำงานเป็นผู้ช่วยชั่วคราวที่โรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีหนทางรักษา
การศึกษาการวิจัยและความสำเร็จของท่านดำเนินควบคู่ไปกับความรักต่อผู้ยากไร้
ท่านแสดงให้เห็นเมื่อครั้งภูเขาไฟวิสุเวียส ประทุในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ.1906 ขณะที่ผู้คนกำลังหนีตายกัน ท่านได้ฝ่าเข้าไปช่วยอพยพผู้ป่วยในโรงพยาบาลของโตรเร
เดล เกรโก (Torre del
Greco)
โรงพยาบาลเก่าแก่ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากปากปล่องภูเขาไฟเท่าไรนัก
ผู้ป่วยที่นั่นส่วนมากสูงวัย หลายๆคนเป็นอัมพาต
เพราะท่านรู้สึกถึงอันตราที่จะเกิดขึ้น และก็เป็นดังนั้น เมื่ออพยพผู้ป่วยออกหมดได้ไม่นานหลังคาของโรงพยาบาลยุบลงมา
สองวันหลังจากนั้นท่านก็ได้ส่งจดหมายไปให้ผู้อำนวยการของโรงพยาบาลเนเปิลส์ เพื่อขอให้เขามอบเงินแด่ผู้แด่ผู้ที่ช่วยเหลือในการอพยพในครั้งนี้
โดยที่ท่านมิได้เอ่ยถึงชื่อท่านเลย และจากการผ่านการสอบ ในปี ค.ศ.1908 ท่านก็ได้เข้าไปทำงานเป็นผู้ช่วยในสถาบันเคมีทางสรีรวิทยา
ที่นั่นท่านใช้เป็นที่ทำการทดลองและวิจัยจำนวนมากมาย ต่อมาเมื่ออหิวาตกโรคระบาดไปทั่วเนเปิลส์ ในปี ค.ศ.1911 ท่านก็ได้ช่วยเหลือแต่เป็นแบบที่ท่านชอบทำคือทำงานอยู่เบื้องหลังท่านวิจัยหาสาเหตุและวิธีการกำจัดมันซึ่งประสพผลสำเร็จตามคำสั่งของกระทรวง
นอกจากนี้ในปีนั้นท่านยังได้เป็นสมาชิกราชบัณฑิตยสถานแห่งศัลยแพทย์และได้รับปริญญาเอกในภาควิชาเคมีสรีรวิทยา อีกทั้งยังได้เข้าทำงานในโรงพยาบาล
ค.ศ.1911
ท่านก็ได้ย้ายมาเป็นผู้ช่วยประจำที่โรงพยาบาลรวม(the Ospedali Riuniti) หลังจากผ่านการสอบคัดเลือกกับแพทย์ทั่วสารทิศด้วยความกล้าและบ้าบิ่น
และในปีเดียวกันนั้นผ่านการเสนอของดร.อันโตนิโอ
การ์ดาเรลลิ (Dr. Antonio
Cardarelli)
ท่านก็ได้วุฒิครูในการที่สอนที่มหาวิทยาลัยเคมีสรีรวิทยา ยังไม่พอท่านยังได้รับตำแหน่งบริหารสถาบันพยาธิกายวิภาคศาสตร์(the Pathological Anatomy Institute) สถานอันเป็นที่ชันสูตรศพ ที่นั่นท่านติดวลีในห้องพักเหนือไม้กางเขนว่า
“โอ้ แดนคนตายเอ๋ย
เราจะเป็นความพินาศของเจ้า”
จากคำพูดของประกาศกโฮเชยา
ในพระธรรมโฮเชยาบทที่ 13 ข้อ 14
จากความเศร้าโศกที่มาเยือนท่านอีกครั้งเมื่อมารดาของท่านเสียชีวิตลงด้วยโรคเบาหวานในวันที่
25 พฤศจิกายน
ค.ศ.1914
ส่งให้หลายปีหลังจากนั้นท่านก็กลายมาเป็นแพทย์คนแรกๆในเนเปิลส์ที่นำอินซูลินมาใช้นการรักษาผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน
และเมื่อสงครามโลกครั้งหนึ่งประทุขึ้น ท่านก็ได้อาสาไปเป็นทหาร
แต่เจ้าหน้าที่ทางทหารได้มอบหมายให้ท่านทำหน้าที่ให้ดูแลทหารที่รับบาดเจ็บที่โรงพยาบาล
ครั้งนั้นท่านได้เยี่ยมปลอบประโลมและรักษาทหารไปมากกว่า 3000 นาย ในช่วงระหว่าง ค.ศ.1915 – ค.ศ.1918
ตามคำร้องขอของศาสตราจารย์ฟิลิปโป
โบตตาซซิ ผู้อำนวยการสถานบันสรีรวิทยาและอธิการบดีของมหาวิทยาลัยแห่งเมืองเนเปิลส์
ท่านจึงได้ดูแลการทดลองและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สถาบันเคมีทางสรีรวิทยา
นอกจากนั้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ท่านยังเป็นทีรู้จักในวงการการแพทย์ บทความหลายๆชิ้นของท่านได้รับการตีพิมพ์ในบทวิจารณ์พิเศษ และรู้ไหมว่าระหว่างนั้น ท่านยังเคยถูกทาบทามในปี ค.ศ.1911 ให้เป็นผู้สื่อข่าวต่างประเทศในเรื่องบทวิจารณ์เพราะท่านสามารถพูดภาษาอังกฤษและเยอรมันได้เป็นอย่างดี
ความจริงท่านเคยได้รับเลือกให้ขึ้นเก้าอี้ของสถาบันเคมีทางสรีรวิทยา
เพราะรู้ไหมตั้งแต่ ค.ศ.1903 – ค.ศ.1916 งานเขียนทางวิทยาศาสตร์ของท่าน 27
งานได้รับการตีพิมพ์ และงานบรรยายของท่านก็มีนักเรียนมากมายสนใจฟัง
แต่ด้วยใจที่อุทิศตนต่อผู้ป่วยและบรรดาหมอน้อยๆในอนาคตของท่าน ท่านจึงเลือกที่จะอยู่โรงพยาบาลอันคือบ้านที่ท่านรัก และหลังจากนั้นในปี ค.ศ.1919 ท่านก็ได้เลือนตำแหน่งไปเป็นผู้บจัดการโรงพยาบาลสำหรับผู้ที่ไม่มีหนทางการรักษา
ในฐานะอาจารย์
แม้จะเหน็ดเหนื่อยจากผู้ป่วย ท่านก็ไม่เคยลืมนักเรียนของท่าน ท่านยิ้มเสมอเมื่อเจอพวกเขา
นักเรียนหลายๆคนยกย่องว่าท่านเป็น “ครูคาทอลิกในอุดมคติ”
“ผมจำได้อย่างชัดเจนถึงความน่ารักความเรียบง่ายและรูปลักษณ์ของท่าน
อ่อนโยนและผ่อนคลาย เปี่ยมด้วยจิตวิญญาณ ตรงไปตรงมาและลึกซึ่ง” อดีตนักเรียนของท่านเอนริโก โปลิเกตติ (Enrico Polichetti)
“บ่อยครั้งที่ท่านพูดคุยกับเราเกี่ยวกับเรื่องของพระเจ้า
พระญาณสอดส่อง ศาสนาคริสต์ของท่าน ใบหน้าของท่านสดใสด้วยความสุขเมื่อเราเดินตามท่านไปร่วมมิสซาในวัดหลายแห่งในเนเปิลส์” อดีตนักเรียนของท่านโซชโกรโซ เทชเช (Soccorso Tecce)
หลายคนอาจสงสัยว่าท่านไปเอาพลัง
ความรักต่อคนยากจนและความสมดุลระหว่างวิทยาศาสตร์และศาสนามาจากไหนในการทำงาน
ท่านก็จะยกข้อพระคัมภีร์ที่ว่า “ข้าพเจ้ากระทำทุกสิ่งได้โดยพระคริสต์ผู้ทรงเสริมกำลังข้าพเจ้า” (ฟิลิปปี
4:13) โดยในทุกๆเช้าวันใหม่ ท่านก็จะเริ่มด้วยการนมัสการพระองค์ในศีลมหาสนิทตั้งแต่เช้าตรู่ ก่อนอาจจะไปเยี่ยมเยียนผู้ยากไร้
โดยวิธีมองลอดหน้าต่างวัดเข้าไปผ่านหน้าต่างในห้องของท่าน ดร.เอนริโอ
ซิกา เล่าว่า “ฉันรู้ว่าเขารับศีลมหาสนิททุกวันด้วยการเตรียมตัวและโมทนาคุณพระเจ้า” การเตรียมตัวของท่านบางครั้งก็เป็นการอดอาหารอีกด้วย
ศีลมหาสนิทเป็นศูนย์กลางชีวิตของท่านจริงๆ
เช่นครั้งหนึ่งที่ท่านได้รับเชิญให้ไปเป็นแขกที่บ้านของศาสตราจารย์ฟิลิปโป โบตตาซซิ ที่ ดิโซ ซึ่งเขาก็รู้นิสัยท่านดี
เขาจึงจัดให้มีมิสซาในวัดส่วนตัวของเขาเอง แต่เขาดันลืมไปแจ้งพระสงฆ์
ดังนั้นในเช้าวันถัดมาท่านจึงตื่นแต่เช้ากว่าปกติ
แล้วเดินทางไปฟังมิสซาพร้อมกับชาวบ้านในหมู่บ้าน อีกครั้งเมื่อท่านเดินทางไปปอมเปอี
พร้อมกุยโด ปิกชินิโน ลูกศิษย์ที่กลายมาเป็นผู้ช่วยของท่าน ท่านได้ถามเขาว่า “ขณะที่พวกเราจะไปปอมเปอีวัลเล่ย์ เธอจะกรุณาไปร่วมรับศีลในสัการสถานได้ไหม
ถ้าเธอเห็นด้วย อย่าลืมที่จะอดอาหารนะ”
ความศรัทธาต่อพระมารดาพระเจ้าของท่านมีตั้งแต่เด็ก
ท่านมักพูดถึงพระนาง ท่านมีสายประคำไว้ที่กระเป๋าเสื้อกั๊กเสมอ
ซึ่งท่านมักหยิบออกมาจูบ และยามที่ระฆังทูตสวรรค์แจ้งสาส์นดังขึ้นท่านจะจูบทำสำคัญกางเขน
และขอให้ทุกคนในโรงพยาบาลสวดบททูตสวรรค์แจ้งสาส์นกัน
นอกจากท่านจะมีรูปแม่พระหินอ่อนอยู่ที่บ้านแล้ว
ท่านยังมีรูปปั้นแม่พระบรอนซ์องค์เล็กๆกำลังอุ้มพระกุมารบนตัก
มืออีกข้างแตะที่ปากแสดงสัญญาณให้เงียบ ที่มีฐานจารึกว่า “พรหมจารีแห่งความเงียบ” อยู่ที่โต๊ะทำงานของท่านเอง
“…นางฟ้าน้อยๆของคุณได้ไปสวรรค์ในขณะที่ยังเยาว์วัยเช่นเดียวกันกับเพื่อนรักของเธอ
บุญราศีเทเรซา
ผู้ที่จะมองดูอยู่ข้างหลังคุณและภรรยาของคุณจากเบื้องสูงและขอบคุณคุณเสมอ” จดหมายลงวันที่ 7 มีนาคม 1924 ถึงเพื่อนของท่านที่ต้องสูญเสียบุตรสาวไป
แสดงให้เราเห็นถึงความศรัทธาของท่านต่อนักบุญเทเรซา แห่ง พระกุมารเยซู
ท่านรู้เรื่องราวชีวิตของเธอเป็นอย่างดีและมักอ้างอิงคำพูดของเธอในบันทึกของท่านด้วย
จึงไม่แปลกที่ท่านจะมีภาพของเธอไว้ในห้องนอน “พระเป็นเจ้าทรงนำมรรคาของผมให้ห่างไกลโอกาสของหารทำบาป
พระองค์ทรงอนุญาตให้ผมอยู่ในพระเมตตาอันมิรู้สิ้นสุด สินติสุขพิเศษ
และความเงียบของพระองค์ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ไม่นานมานี้
เมื่อได้อ่านเรื่องราวของบุญราศีเทเรซา แห่ง พระกุมารเยซู ผมก็ได้ค้นพบข้อความหนึ่งที่เหมาะกับผม
‘โอ้
พระเจ้าข้า แม้ว่าการท้อถอยจะเป็นบาป’ ถูกแล้ว มันคือบาปแห่งการถือตน เพราะมันนำไปสู่ความเชื่อที่ว่าพระองค์จะทรงยอมความคิดส่วนตัวของผมที่ว่าผมได้ทำสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว
แทนที่จะตระหนักเสมอว่าตัวเป็นเพียงข้ารับใช้ที่ไร้ประโยชน์”จากบันทึกของท่านระหว่างการเดินทางไปประเทศอังกฤษ
ในวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ.1923
สองร้อยลีร์สำหรับคำปรึกษา ครั้งหนึ่งเมื่อท่านถูกเรียกตัวมาผ่าตัดชายที่ป่วยด้วยอาการไส้ติ่งอักเสบกับศาสตราจารย์ฟรานเชสโก
บรันกาชโช
หลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้นท่านก็ได้รับคำสั่งให้วางถุงน้ำแข็งที่หน้าท้องของผู้ป่วย
ท่านมาเยี่ยมเขาสี่ครั้งในสองสัปดาห์จนเขาหาย
ในตอนท้ายเมื่อท่านได้รับเงินท่านก็อุทานว่า “พระเจ้าเท่านั้นที่ทรงรู้ว่าพวกเขาใส่” เพราะท่านพบว่าในนั้นมีแบงค์อยู่ 1000 ลีร์
เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านก็รีบไปที่บ้านของชายผู้นั้น
พร้อมพุดเสียงดังต่อหน้าเขาว่า “คุณบ้าหรือคุณคิดว่าฉันเป็นขโมยกัน” มันทำให้ครอบครัวนั้นถึงกับผงะไปเลย
ค่าทำเนียมไม่พอหรือไง? ชายผู้นั้นเลยหยิบแบงค์ 1000 ลีร์ส่งให้ท่าน แต่ท่านดันกลับพร้อมควักเงินจำนวน
800 ลีห์ในกระเป๋าของท่านวางไว้ที่โต๊ะของเขา
ก่อนจากวิ่งจากไป ประการฉะนี้ผู้เชี่ยวชาญผู้มีชื่อเสียงจึงได้รับค่าจ้างเพียง 200 ลีร์สำหรับสี่คำปรึกษา
12 เมษายน ค.ศ.1927 เช่นปกติทั่วไปของทุกวันของท่าน
ท่านร่วมมิสซาและรับศีลมหาสนิท ก่อนจะใช้เวลาภาคเช้าในโรงพยาบาลสำหรับผู้ที่ไม่มีหนทางการรักษา
และกลับเข้าบ้านที่วิอา คิสเตรนา เดล ลอลิโอ 10
ที่นั่นท่านทานอาหารมื้อเบาๆ ก่อนตรวจผู้ป่วยตามปกติ กระทั้งเวลาประมาณบ่ายสามโมง
ท่านได้นั่งลงพักที่เก้าอี้ของท่าน และคืนชีวิตแด่พระเจ้าอย่างสงบ ด้วยอายุ 46 ปี 8 เดือน
ความเศร้าโศกระงมไปทั่ว
“คุณหมอนักบุญตายแล้ว” ทุกคนต่างเศร้า โดยเฉพาะผู้ยากไร้ทั้งหลาย
สามปีหลังจากการขอจากบรรดาฆราวาสและพระสงฆ์ก็มีการเปิดกระบวนการพิจารขอแต่งตั้งท่านเป็นบุญราศี
กระทั้งในวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ.1975
ก้าวอย่างสู่แท่นบูชาของท่านก็ยิ่งใกล้ขึ้นเมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาเาโล ที่ 6 ทรงบันทึกนามท่านไว้ในสารบบบุญราศี เป็นบุญราศีผู้น่ารัก
ที่ตราตรึงใจเพื่อนหลายๆคน
เป็นบุคคลที่ลบข้อกังขาที่ว่าวิทยาศาสตร์ไปกับพระเจ้าไม่ได้
เป็นคุณหมอผู้ถือพรหมจรรย์แต่สนับสนุนให้นักเรียนแต่งงานและพร้อมเสมอที่จะให้คำปรึกษา
และแล้ววันที่ทุกคนรอคอยก็มาถึงผ่านอัศจรรย์การรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวของชายหนุ่มในเนเปิลส์
สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ก็ได้ทรงสถาปนาท่านขึ้นเป็นนักบุญแพทย์ยุคใหม่คนแรกของพระศาสนจักร
ในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ.1987
“วิทยาศาสตร์เท่านั้นที่ยืนยันอย่างแน่วแน่
และนี่คือหนึ่งการเผยแสดงของพระเจ้า วิทยาศาสตร์ต่อจากนี้ไป”
จูเซปเป โมสกาติ
“ข้าแต่ท่านนักบุญจูเซปเป โมสกาติ ช่วยวิงวอนเทอญ”
ข้อมูลอ้างอิง