นักบุญราฟาเอล
คาลินอฟสกี
St. Rafał
Kalinowski
ฉลองในวันที่ : 19 พฤศจิกายน
หลังจากสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์
ที่ 13 ทรงสถาปนาบุญราศียอห์น แห่ง
ไม้กางเขนขึ้นเป็นนักบุญในปี ค.ศ.1726
นับจากนั้นก็ไม่มีนักบุญปรากฏขึ้นในคณะคาร์เมไลท์ชายไม่สวมรองเท้า ทุกคนในคณะยังคงเฝ้ารอวันนั้นอีกครั้ง
วันที่สมาชิกคาร์เมไลท์ชายไม่สวมรองเท้าคนใดคนหนึ่งจะได้รับเกียรติขึ้นเป็นนักบุญอยู่เสมอ
กาลเวลาล่วงไปนานถึง 109 ปี การรอคอยนั้นก็ใกล้จะจบลงเต็มทีแล้ว
เมื่อเสียงทารกชายดังลอดผ่านออกมาจากครอบครัวอาจารย์คณิตศาสตร์นามอันเดรจ
คาลินอฟสกี กับ โยเซฟา โปวอยสกีค์ ในวันที่ 1 กันยายน
ค.ศ.1835 ที่ วิลนีอุส อาณาจักรรัสเซีย(ปัจจุบันอยู่ในประเทศลิทัวเนีย) แต่น่าเศร้าหลังจากให้กำเนิด
“โยเซฟ”
บุตรคนที่สองได้ไม่กี่วันมารดาท่านก็ได้จากไป
ต่อมาเมื่อมีวัยได้
8 ในปี ค.ศ.1843 ท่านก็ถูกส่งเข้ารับการศึกษาในสถาบันชนชั้นสูงในวิลนีอุส ที่บิดาท่านเป็นอาจารย์สอนอยู่ ก่อนจบในปี ค.ศ.1850 พร้อมด้วยรางวัลเหรียญทองจากคะแนนที่ดีเยี่ยม
และเนื่องจากท่านเติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเชื่อท่านจึงรู้สึกถึงกระแสเรียกการเป็นพระสงฆ์
แต่ท่านเลือกที่จะเชื่อบิดาท่านที่แนะนำให้ท่านเข้ามหาวิทยาลัย
ดังนั้นท่านจึ่งเข้าศึกษาต่อที่สถาบันเกษตรศาสตร์ ที่ ฮอรี ฮอร์กี ประเทศรัสเซีย
เป็นระยะเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ.1851 ถึง ค.ศ.1852
หลังจากนั้นในช่วงระหว่างปี
ค.ศ.1853 ถึง ค.ศ.1857 ท่านก็ตัดสินใจย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนวิศวกรรมทหาร ที่ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซียต่อ
จนได้รับปริญญาในด้านงานวิศวกรรม พร้อมยศร้อยโท ทันทีจากนั้นท่านก็เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยอาจารย์วิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียน
กระทั้งในปี ค.ศ.1859 ท่านก็ได้มีส่วนร่วมในออกแบบทางรถไฟสายโอเดซา-เคียฟ-เคิร์สต์
ตรงช่วงหนึ่ง หลังจากนั้นท่านจึงเดินทางกลับมาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
และได้ย้ายไปทำงานที่ป้อมเบรสตในเดือนกรกฏาคม ค.ศ.1860 เป็นระยะเวลาสามปี
ซึ่งที่นั่นท่านได้ตั้งโรงเรียนในวันอาทิตย์ โดยมีท่านเป็นผู้สอนด้วยตัวเอง
พร้อมจำกัดค่าใช้จ่ายของท่านเองเพื่อให้มีเงินพอที่จะสามารถช่วยเหลือผู้ยากไร้ในพื้นที่
จนเมื่อเกิดสงครามกลางเมืองในโปแลนด์เพื่อต่อต้านการกดขี่ของรัสเซียขึ้นในปี
ค.ศ.1863 ท่านที่น่าจะรู้สึกหนักอกหนักใจกับรัสเซียเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ก็เลยตัดสินลาออกจากกองทัพรัสเซียมาร่วมกับกองกำลังกบฏ
แต่โชคช่างไม่เข้าข้างท่านเท่าไรนัก เพราะ ในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ.1864 ท่านก็ถูกจับตัวได้และถูกตัดสินให้นำไปประหารชีวิต
แต่อย่างโชคก็ยังคงเข้าข้างท่านบ้างด้วยมีการลดหย่อนโทษให้ท่านเป็นการไปทำงานในไซบีเรียเป็นระยะเวลา
10 ปี เพราะครอบครัวท่านเข้าช่วย
ณ
ที่มั่นในไซบีเรีย ครั้งแรกท่านถูกส่งไปทำงานในเหมืองเกลือ ก่อนสามปีถัดมาท่านจึงได้รับนิรโทษกรรม
ท่านจึงไม่ต้องทำงานหนักและย้ายไปอีกเมืองหนึ่ง จากนั้นระหว่าง ค.ศ.1871- ค.ศ.1872 ท่านก็เข้าทำงานด้านอุตุนิยมวิทยาพร้อมมีส่วนร่วมในการวิจัยชายฝั่งทะเลไบคาล
ซึ่งที่ดินแดนไซบีเลียนั้น
ท่านกลายเป็นผู้นำเรื่องฝ่ายจิตของบรรดานักโทษทั้งหลายท่านคอยปลอบประโลมพวกเขาและให้กำลังใจพวกเขา
สร้างความหวังให้พวกเขา จนบ่อยครั้งบรรดาชาวโปแลนด์ที่ติดคุกที่ไซบีเรียมักสวดว่า “ผ่านการเสนอวิงวอนของคาลินนอฟสกี ทรงพระเมตตาเทอญ” นอกจากนั้นท่านยังเป็นสหายที่ดีของพระสงฆ์ที่ไซบีเรีย
ท่านคอยช่วยเขาในการเตรียมบุตรหลานของนักโทษในการรับศีลมหาสนิทครั้งแรก
พร้อมเตรียมตัวท่านเองให้พร้อมสำหรับกระแสเรียกของท่าน “การเข้าอาราม”
ดังนั้นหลังจากได้รับการปล่อยตัวในปี
ค.ศ.1873 ท่านจึงพยายามเคลียร์ปัญหาต่างๆเพื่อเข้าอารามตามที่ใจหวัง
แต่อย่างไรท่านก็ถูกเนรเทศออกจากประเทศลิทัวเนีย ท่านจึงเดินทางไปกรุงวอร์ซอ ในปี
ค.ศ.1874 และได้รับงานเป็นพระอาจารย์สอนพิเศษให้กับเจ้าชายออกัสติด ซาร์โตริสกี ท่านจึงออกเดินทางไปยังกรุงปารีสในวันที่ 8 กันยายน ปีนั้น
“พ่อ แม่ พยาบาล พี่ชาย เพื่อนและคนดูแล” คือความสัมพันธ์ของท่านต่อเจ้าชายน้อยวัย 16 ปี ผู้ที่ท่านติดตามไปทุกๆที่เพื่อสุขภาพของพระองค์
เมื่อพระองค์ทรงถูกวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรค
ท่านเขียนเช่นนี้จริงๆในจดหมายถึงน้องสาวต่างมารดา ท่านเป็นแบบอย่างของคริสตชนที่ดี
ท่านมีอิทธิพลมากสำหรับเจ้าชายน้อย
ซึ่งภายหลังเจ้าชายน้อยผู้นี้ก็ได้ถวายตนในคณะซาเลเซียนและได้เป็นบุญราศีในเวลาต่อมา
และเพราะการได้รู้จักเจ้าชายน้อยผู้นี้ก็ทำให้ท่านได้รู้จักเจ้าหญิงมาร์เซลีน ซาร์โตริสกี
ซึ่งภายหลังถวายตนเป็นซิสเตอร์อารามคาร์แมล พระญาติของเจ้าชายที่ทำให้ท่านรู้จัก “คาร์เมไลท์”
ที่สุดในฤดูร้อน
ค.ศ.1876 ที่ ดาวอส ประเทศสวิทเซอร์แลนด์ หลังจากการคิดอย่างยาวนานท่านก็ตัดสินใจจะไล่ตามความฝันในคณะคาร์เมไลท์ชายไม่สวมรองเท้า
แต่ต้องยืดเวลาเพราะหาคนแทนไม่ได้ กระทั้งในวันที่ 5 กรกฎาคม หลังจากสามปีที่อยู่ร่วมกันท่านก็ได้โบกมืออำลาศิษย์ที่ปารีส
ก่อนมุ่งสู่อารามคาร์แมล ที่ ลินซ์ ประเทศออสเตรีย พร้อมได้รับนามใหม่ว่า “ภารดาราฟาเอล แห่ง นักบุญยอแซฟ” และเข้าบ้านเณรคณะที่กราซ
เป็นระยะเวลาหนึ่งปีท่านจึงเข้าพิธีปฏิญาณตนครั้งแรกพร้อมรับชุดคณะในวันที่
26 พฤศจิกายน ค.ศ.1878
พร้อมออกกเดินทางไปศึกษาด้านเทววิทยาและปรัชญาต่อในประเทศฮังการี
และเข้าพิธีปฏิญาณตนตลอดชีพในวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ.1881 และได้รับศีลอนุกรมเป็นตัวแทนพระคริสตเยซูที่อารามคาร์เมไลท์ชาย ใน เทรนา
ใกล้ๆคราคูฟ เมื่อวันที่ 15
มกราคม ค.ศ.1882
ทันทีท่านก็ได้แต่งตั้งให้เป็นนวกจารย์
ก่อนในปี ค.ศ.1883 ท่านจึงถูกเลือกให้เป็นรองอธิการอารามเทรนา
และด้วยความร้อนรนที่จะฟื้นฟูคาร์เมลท์ในโปแลนด์ที่เสื่อมโทรมไปจากการครอบครองของรัสเซีย
ท่านจึงเปิดอารามคาร์แมลสำหรับผู้หญิงและผู้ชายขึ้นในเปรมิสเลีย ในปี ค.ศ.1884 และเปิดอารามคณะชายที่เลโอโปลี ประเทศยูเครน กับอารามหญิงในลโวฟในปี ค.ศ.1888 หลังจากนั้นในอีกปีถัดมาท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจการพระศาสนจักร
นอกจากนั้นท่านยังค้นพบเอกสารทางประวัติศาสตร์ของอารามคาร์เมไลท์ในโปแลนด์
ซึ่งด้วยความช่วยเหลือของบรรดาซิสเตอร์คาร์เมไลท์ทำให้ท่านได้จัดพิมพ์จดหมายเหตุอารามคาร์เมไลท์ของวิลนา , วอร์ซอ ,
เลโอโปลีและคราคูฟขึ้น ทังนี้ท่านยังได้ตีพิมพ์บันทึกวิญญาณของนักบุญเทเรซา แห่ง
ลิซีเออร์ ฉบับภาษาโปแลนด์ขึ้นเป็นครั้งแรก ยิ่งไปกว่านั้นท่านยังได้จัดตั้งกลุ่มฆราวาสคาร์เมไลท์และชมรมสายจำพวกแม่พระแห่งภูเขาคาร์แมลขึ้นอีกด้วย
และเนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาปัญหาหลักคือการขาดกระแสเรียก
ดังนั้นท่านจึงตัดสินใจเปิดอาราม สามเณรราลัยสำหรับทดลองกระแสเรียกในแบบที่ผู้สนใจจะทดลองอยู่ในอารามและเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมในท้องถิ่น
ที่ วาโดวิซ
ในปี ค.ศ.1892
ซึ่งเริ่มด้วยความนบนอบและความยากลำบาก ก่อนจะกลายเป็นความประสบความสำเร็จเมื่อเริ่มกระแสเรียกมากมายหลั่งไหลเข้ามายังที่นั่น
ทำให้เจ็ดปีหลังจากนั้นท่านจึงได้สร้างสามเณรราลัยขนาดใหญ่
พร้อมวัดนักบุญยอแซฟอันงดงามขึ้น ณ ที่นั่น
หลังจากนั้นท่านก็ได้รับเลือกให้เป็นรองอธิการอารามที่เทรนาอีกครั้งในปี
ค.ศ.1894 ในเวลาเดียวกันที่ท่านทำงานด้านกระแสเรียก
ท่านก็อุทิศตนอย่างไม่รู้จักเหน็ดจักในเหนื่อยในการช่วยบรรดาผู้คนจากตมของบาปผ่านศีลอภัยบาป
เหตุนี้ท่านจึงใช้เวลาส่วนมากไปกับการฟังแก้บาปที่ท่านเรียกว่า “สักขีแห่งการฟังแก้บาป” ทั้งที่ในเทรนา และอารามทั้งสองแห่งในคราคูฟ ท่านไม่เคยปฏิเสธใครและไม่เคยเสียดายเวลาเลยซักนิดที่จะฟังแก้บาป
แม้จะป่วยเท่าใดก็ตาม ท่านยังภาวนาเพื่อการกลับใจของประเทศรัสเซียและการเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างพระศาสนจักรตะวันออกและตะวันตก
ท่านถวายความทุกข์ทรมานและการทรมานร่างกายเพื่อสิ่งนี้และเชิญชวนทุกคนให้ทำ
ท่านยังศรัทธาต่อแม่พระมากๆ
ตั้งแต่ในวัยหนุ่มที่ท่านได้อ่านหนังสือเรื่องแม่พระหลังจากกลับจากการสร้างทางรถไฟ
ท่านเคารพและรักพระนางในฐานะมารดาและผู้ก่อตั้งคณะ
ท่านพยายามอย่างหนักเพื่อให้มีการตระหนักถึงสถานนะของพระนางเสมอและยังทำงานเพื่อพระสิริของพระนาง
ท่านกล่าว “สำหรับบรรดาภารดาและภคินีคาร์เมไลท์ ต้องเคารพพระนางมารีย์
และเราต้องรักพระนาง หากเราพยายามเลียนแบบคุณธรรมของพระนาง
ต้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งความถ่อมตนและการระลึกถึงในคำภาวนาของพระนาง…ตาของเราจะต้องเปิดอยู่ตลอดให้พระนาง
ความรักของเราทุกคนต้องนำโดยพระนาง
เรายังต้องดำรงไว้ซึ่งความทรงจำอันเป็นประโยชน์ของพระนางและมุ่งมั่นที่จะสัตย์ซื่อต่อพระนางเสมอไป”
ในปี ค.ศ.1897 ท่านก็ได้รับเลือกอีกครั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการอารามที่วาโดวิซ หลังจากนั้นท่านทำการสร้างวัดหลังปัจจุบันและอารามหลังที่สองขึ้น
แต่แล้วสุขภาพท่านก็แย่ลงจนไม่อาจคุมงานก่อสร้างได้ ท่านจึงขอออกจากตำแหน่งในตุลาคม
ค.ศ.1898 พร้อมกับไปอารามที่เทรนา หลังจากนั้นสุขภาพท่านก็แย่ลงเรื่อยๆ อย่างไรในปี
ค.ศ.1900
ท่านก็ได้ตำแหน่งเป็นผู้แทนคณะของอารามภูมิภาคนี้
แต่ท่านก็มีสุขภาพที่แย่ๆมากๆจนเข้าประชุมไม่ได้ ที่สุดในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ.1907 ในอารามที่วาโดวิซ
ท่านก็ถึงแก่มรณกรรมอย่าสงบด้วยอายุ 72 ปี
หลังจากอุทิศชีวิตเพื่อให้บรรดาพี่น้องคาร์เมไลท์ขึ้นสู่ภูเขาคาร์แมลอย่างครบครัน เราเสียนักบุญไปที่เมืองนัั้น แต่เมืองนั้นก็ให้กำเนิดนักบุญอีกคน คือ นักบุญสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2
ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของท่านอันเป็นที่ยอมรับจากทุกคน
หลายคนยังจำได้ถึงภาพในพิธีมิสซาที่สงบนิ่ง
ภาพตัวอย่างของผู้นำที่ดีในชีวิตผู้ถวาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสวดภาวนา
ชื่อเสียงท่านเป็นที่เลื่องลือไปกระทั้งเกิดอัศจรรย์ผ่านคำเสนอวิงวอนของท่านอันนำไปสู่การสถานาท่านเป็นบุญราศีในเมืองคราคูฟในวันที่
22 มิถุนายน ค.ศ.1983 โดยสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ระหว่างการเสด็จเยือนประเทศโปแลนด์ และที่สุดเวลาแห่งการรอคอยก็จบลงเมื่อสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น
ปอล ที่ 2 ทรงบันทึกนามท่านไว้ในสารบบนักบุญ ในวันที่ 17 พฤศจิกายนปี ค.ศ.1991 ทำให้ท่านเป็นนักบุญสมาชิกคณะคาร์เมไลท์ชายคนแรกต่อจากนักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขน
“หากพระองค์ทรงเก็บรักษาความผิดไว้
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ผู้ใดเล่าจะยืนหยัดอยู่ได้ แต่พระองค์ประทานอภัย
จึงได้รับความเคารพยำเกรง” (สดุดี 130:3-4) ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ท่านจะรักการฟังแก้บาปเพราะเป็นการเผยสำแดงถึงพระเมตตาของพระเจ้าต่อมนุษย์
ที่จะทำให้พระนามพระองค์เป็นที่สรรเสริญ
บางทีที่ท่านฟื้นฟูคณะคาร์เมไลท์ในโปแลนด์ก็เพราะท่านอาจต้องการช่วยบรรดาวิญญาณทั้งหลายให้ได้รับความรอด
เดชะพระนามพระคริสตเจ้า ก็ได้ เช่นกันบางทีเราต่างมีพันธกิจต่างกันไปแต่จุดหมายเดียวของเราคริสตชนก็คือการให้พระนามพระเจ้าเป็นที่สรรเสริญและสวรรค์ ทุกคนจะต้องได้พบกันสวรรค์ ไปร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าพร้อมกัน ด้วยใบหน้ายินดี แล้วพบกันในสวรรค์ ในวันหนึ่ง แต่ในตอนนี้เรามาเป็นบันไดพาทุกคนไปสวรรค์เหมือนท่านกันเถอะ
“ข้าแต่ท่านนักบุญราฟาเอล คาลินอฟสกี
ช่วยวิงวอนเทอญ”
ข้อมูลอ้างอิง