นักบุญเปาลา
แห่ง พระหฤทัยอันระทมทุกข์ยิ่งของพระเยซูเจ้า
St. Paulina
do Coração Agonizante de Jesus
ฉลองในวันที่ : 9 กรกฎาคม
องค์อุปถัมภ์ : ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
ภายในอ้อมกอดขุนเขาสีเขียวขจี
บนเนินเขาสีเขียวตามบันไดที่มุ่งไป
เราก็จะพบอาคารทรงทันสมัยอันสวยงามตั้งตระหง่านอยู่
ที่มีมีรูปปั้นของสตรีท่านหนึ่งแต่งกายด้วยชุดซิสเตอร์สีดำ มีผ้าคาดเอวสีฟ้าสด
กำลังกางแขนออกคล้ายต้อนรับผู้คนมากมายที่จารึกมาเยือนสถานที่แห่งนี้
ยืนอยู่บนฐานหินสีเทาพร้อมป้ายที่ติดข้างล่างที่ทำให้เรารับรู้นามของสตรีคนนี้ “ซันตา เปาลีนา”
16 ธันวาคม ค.ศ.1865 วีโกโล วัตตาโร มณฑลทิโรล อาณาจักรออสเตรียฮังการี (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเตรน
ประเทศอิตาลี)
ในครอบครัวที่สืบเชื้อสายมาจากชนชาวเยอรมันที่มีหัวหน้าครอบครัวชื่ออันโตนิโอ
เนโปเลโอเน วีซินไทเนร์ ที่สมรสกับอันนา เปียเนซเซอร์
ก็ได้ต้อนรับสมาชิกคนที่สองของครอบครัวผู้เป็นทารกเพศหญิงผู้ได้รับนามว่า “อามาบีเร ลูเชีย
วีซินไทเนร์”
หลังจากนั้นท่านก็ได้เติบโตขึ้นมาในความเชื่อและความยากจนเช่นทุกคนในพื้นที่
จนที่สุดในเดือนกันยายน ค.ศ.1875 ครอบครัวท่านพร้อมชาวบ้านอีกหนึ่งร้อยชีวิตคิดเป็นหนึ่งในห้าของประชากรก็ได้ตัดสินใจย้ายไปอยู่ที่รัฐซันตากาตารีนา ในประเทศบลาซิลพร้อมก่อตั้งหมู่บ้านวีโกโลขึ้น(ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโนวา เตรนโต) ณ ที่นั่น จากนั้นท่านก็เติบโตขึ้นมาโดยมีแบบอย่างความเชื่อและความเมตตารักจากมารดาของท่าน
ท่านไม่ได้รับการศึกษาอะไรมากท่านจึงมีความรู้น้อยมากๆ
แต่ท่านก็มีความรักที่ยิ่งใหญ่ต่อพระเจ้า ความทุกข์ทรมานและความยากไร้
ซึ่งหลังจากศีลมหาสนิทครั้งแรกของท่านในวัย 12 ปี
ท่านก็เริ่มอุทิศชีวิตเพื่องานอภิบาลเขตวัด ทั้งการสอนคำสอนเด็กๆ ไปเยี่ยมคนป่วย
หรือทำความสะอาดวัด
เราอาบอกได้เลยว่าเด็กหญิงเปาลา
นั้นมีกระแสเรียกมาตั้งแต่เด็กแล้ว ท่านมักพูดถึงการใช้ชีวิตแด่พระเจ้ามาเสมอ
ซึ่งจุดเริ่มต้นชีวิตกระแสเรียกของท่านเริมในวันที่ 12 กรกฎาคม
ค.ศ.1890 เมื่อท่านพร้อมเพื่อนนามวีร์จีเนีย โรซา นีโกโลดี
ภายใต้คำแนะนำทางวิญญาณจากคุณพ่อลุยจี รอซซี สงฆ์คณะเยซูอิต ตัดสินใจอุทิศตนภายใต้การอารักข์ของพระมารดามารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล
โดยเริ่มจากการดูแลสตรีคนหนึ่งที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ที่บ้านหลังเล็กๆ
ที่รับบริจาคสำหรับคณะน้อยๆนี้ ที่ๆพวกท่านเริ่มใช้ชีวิตแห่งการถวายตัว
ซึ่งภายหลังการจากไปของสตรีคนนั้นท่านก็ได้ต้อนรับสมาชิกใหม่ของคณะนี้นามเทเรซา
อันนา เมาเล
จากนั้นในปี ค.ศ.1895 คุณพ่อรอซซีและท่านก็เห็นพ้องต้องกันว่าคณะควรได้รับการก่อตั้งอย่างเป็นทางการซักทีด้วยเหตุหลายๆประการ
ดังนั้น “คณะภคินีน้อยแห่งพระแม่ผู้ปฏิสนธินิรมล”
จึงถือกำเนิดขึ้นและได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการโดยพระคุณเจ้าโฆเซ เด คามาร์โก
บาฮูซ พระสังฆราชประจำสังฆมณฑลกูรีตีบา ในวันที่ 25 สิงหาคม
ค.ศ.1895
ก่อนในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้นเองท่านและเพื่อนอีกสองคนก็ได้เข้าพิธีปฏิญาณตนพร้อมรับนามใหม่
ซึ่งนามใหม่ของท่านก็คือ “ซิสเตอร์เปาลา แห่ง
พระหฤทัยอันระทมทุกข์ยิ่งของพระเยซูเจ้า”
ในทันทีคณะนี้อันเป็นคณะแรกที่เกิดขึ้นในบลาซิลก็เติบโตอย่างรวดเร็วแม้จะมีความยากลำบากในการเจริญชีวิตก็ตาม
โดยคณะมีพันธกิจหลักคือการดูแลเด็กกำพร้าและผู้ป่วย
พร้อมทำงานทอผ้าไหมเพื่อเป็นรายได้ ส่งให้ในปี ค.ศ.1903 ท่านจึงถูกเลือกให้เป็นคุณแม่มหาธิการิณีของคณะ ซึ่งในปีเดียวกันนั้นท่านก็ตัดสินใจย้ายบ้านคณะจากโนวา
เตรนโต ไปที่อีพิรันกา ในเซาเปาโล และเปิดอารามเพื่อดูแลลูกของบรรดาอดีตทาสและทาสที่ชราที่ถูกทอดทิ้งเพราะไม่สามารถจะทำอะไรได้
ณ ที่นั่นบนเนินเขา ใกล้ๆกับซากราดา ฟามีเลีย
แต่แล้วในเดือนสิงหาคมปี
ค.ศ.1909
ด้วยข้อพิพาทเกี่ยวกับคณะด้วยความอยุติธรรม พระสังฆราชแห่งเซาเปาโลก็ได้ปลดท่านออกจากตำแหน่งคุณแม่มหาธิการิณีของคณะ พร้อมส่งตัวท่านไปทำงานกับผู้ป่วยที่ซานตา
คาซา และผู้สูงอายุที่บ้านพักสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายเซนต์วินเซน เดอ ปอล ที่ บรากันซา เปาลีสตา ที่ท่านก่อตั้งขึ้น
โดยมิสามารถเข้ามามีบทบาทสำคัญใดๆในคณะได้อีกเลย มีบันทึกถึงตอนนั้นว่า “ทันทีคุณแม่ก็คุกเข่าลง …. คุณแม่เจียมตัวของคุณแม่ดี ….คุณแม่ตอบว่าคุณแม่พร้อมแล้วพร้อมมากๆ
ที่จะส่งมอบคณะ…..คุณแม่เสนอตัวท่านเองอย่างเป็นธรรมชาติเพื่อรับใช้อยู่เบื้องล่างของคณะ” ดังนั้นท่านจึงใช้เวลาว่างไปกับการสวดภาวนาเพื่อคณะของท่าน
และน้อมรับน้ำพระทัยของพระเจ้าเพื่อคณะและ “เพื่อองค์พระเจ้าทรงเป็นที่รู้จัก ที่รักและที่รู้จักของวิญญาณทุกดวงบนโลก”
ท่านอยู่อย่างนั้นทำงานอันต่ำต้อยทั่วไปอยู่เก้าปี
พระอัครสังฆราชผู้นั้นจึงอนุญาตให้คุณแม่มหาธิการิณีคนใหม่ของคณะพาท่านกับมายังบ้านแม่ที่เซาเปาโลได้เช่นเดิม
พร้อมคำสั่งกำชับว่า “เธอควรจะมีชีวิตและตายในฐานะเบื้องล่าง”
เมื่อได้กลับมาท่านก็มิได้ดำรงตำแหน่งเป็นสิ่งใดทั้งสิ้นตรงข้ามท่านกลับเจริญชีวิตที่ซ่อนเร้นผสานกับการสวดภาวนาและความรักในช่วยเหลือซิสเตอร์ที่ไม่แข็งแรง
กระทั้งในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ.1933 สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุส ที่ 11 ก็ได้ทรงรับรองให้ท่านเป็น “คุณแม่ผู้ก่อตั้งคณะผู้น่าเคารพ” ในพระราชกฤษฎีกายกย่อง
ด้วยสันตะสำนักได้อนุมัติคณะท่านอย่างเป็นทางการแล้ว
จากนั้นในช่วงสุวรรณสมโภชครบรอบ 50
ปีการก่อตั้งคณะในวันที่ 12
กรกฎาคม ค.ศ.1940 ท่านก็ได้เขียนพินัยกรรมฝ่ายจิตขึ้น “จงอ่อนน้อมถ่อมตน
วางใจเสมอและทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ภายใต้พระญาณสอดส่องขององค์พระผู้เป็นเจ้า จงห้ามและห้ามปล่อยตัวเองให้ท้อแท้แม้จะมีลมพัดมาปะทะเท่าใดก็ตาม
ดิฉันขอย้ำอีกครั้ง ‘จงวางใจในพระเจ้าและพระแม่มารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล’ จงซื่อสัตย์และจงก้าวป้างหน้าอย่างมั่นคง”
ในตอนนี้สุขภาพท่านก็ไม่ค่อยดีนัก
เนื่องจากตั้งแต่ปี ค.ศ.1938 โรคเบาหวานก็เริ่มคุกคามท่าน
จนต้องเข้ารับการผ่าตัดถึงสองครั้งคือที่ท้องและที่แขนขวาจนต้องตัดแขนนั้นออก
จากนั้นท่านหนึ่งเดือนสุดท้ายท่านก็กลายเป็นคนตาบอดและด้วยความสงบในวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ.1942 ด้วยอายุรวม 76 ปี ท่านก็ได้ถูกพระยกไปตลอดนิรันดร์ พร้อมด้วยคำพูดสุดท้ายคือ “พระเจ้าจะทรงทำมันให้สำเร็จแล้ว”
นับจากนั้นเรื่องราวของซิสเตอร์ผู้ก้าวไปด้วยศูนย์กลางของชีวิตคือพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท
ที่หล่อเลี้ยงด้วยการอุทิศตนแม่พระ และนักบุญยอแซฟ
ก็ได้รับการดำเนินเรื่องจนในระหว่างการเสด็จเยือนบลาซิลของสมเด็จพระสันตะปาปายห์น
ปอล ที่ 2 ก็ได้ทรงแต่งตั้งคุณแม่เป็นบุญราศี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมปี ค.ศ.1991 ไม่นานจากนั้นความยินดีก็มาเยือนชาวบลาซิลอีกครั้งเมื่อพวกเขาได้มีนักบุญองค์แรกมาจากประเทศของเขาในวันที่
19 พฤษภาคม ค.ศ.2002 เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงแต่งตั้งมาเดร เปาลีนา
เป็นนักบุญที่ลานหน้ามหาวิหารนักบุญเปโตร
“ข้าพเจ้ามุ่งมันรอคอยอย่างกระตือรือร้นเเละหวังว่า
ข้าพเจ้าจะไม่อับอายเเต่จะพูดอย่างกล้าหาญว่า พระคริสตเจ้าจะทรงได้รับเกียรติในร่างกายของข้าพเจ้า
ณ บัดนี้ เหมือนกับในอดีต ไม่ว่าข้าพเจ้าจะเป็นหรือตายก็ตาม”(ฟป 1:20) ท่านหวังเพียงรับใช้พระคริสตเจ้า
ดังนั้นแม้จะเจอพายุจากการแทรกแซงจนทำให้ท่านต้องถูกปลดจากการดำรงตำแหน่งเป็นคุณแม่มหาธิการิณี ท่านก็ไม่รู้สึกเศร้าที่จะน้อมรับไปทำงานที่ต่ำต้อยยาวนานถึงเก้าปี
เพราะท่านปล่อยให้ทุกสิ่งเป็นไปตามน้ำพระทัยเพือให้นามพระองค์ดังเกริกก้องไป
ด้วยผ่านการรับกางเขน เช่นกันเราต้องกล้ารับกางเขนตลอดเพื่อพระองค์
เพราะด้วยกางเขนนี้แหละพระเยซูเจ้าก็จะเป็นที่รู้จัก
“ข้าแต่ท่านนักบุญเปาลา แห่ง
พระหฤทัยอันระทมทุกข์ยิ่งของพระเยซูเจ้า ช่วยวิงวอนเทอญ”
ข้อมูลอ้างอิง